Business & Human Rights Academy

UNGC Academy



สถาบันธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน 

สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย
  • หลักการและเหตุผล
องค์กรภาคธุรกิจ นอกจากจะมีบทบาทหน้าที่ในการประกอบกิจการของตนเองเพื่อสร้างผลกำไรตอบแทนแก่เจ้าของกิจการ สร้างรายได้แก่บุคลากรของกิจการ ด้วยการส่งมอบสินค้าหรือบริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าและสังคมแล้ว ในการดำเนินธุรกิจ จำเป็นจะต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในฐานะหน่วยหนึ่งของระบบเศรษฐกิจ หนึ่งในการแสดงความรับผิดชอบดังกล่าว คือการป้องกันมิให้การดำเนินกิจการของตนเอง สร้างผลร้ายต่อบุคคลใดก็ตามที่อาจได้รับผลกระทบจากกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรธุรกิจนั้น รวมไปถึงผลกระทบจากกิจกรรมอื่นๆ ที่แม้จะไม่ได้กระทำการโดยองค์กรธุรกิจนั้นก็ตาม แต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตหรือทำให้ได้มาซึ่งสินค้าและบริการที่องค์กรธุรกิจนั้นนำไปจัดจำหน่ายหรือนำไปเป็นวัตถุดิบ
การสร้างผลร้ายต่อผู้ได้รับผลกระทบนี้ ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นสิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีตามธรรมชาติ มีความเป็นสากลและได้รับการรับรองในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน หรือกติกา อนุสัญญา ข้อตกลงต่างๆ ระหว่างระหว่างประเทศ ด้านสิทธิมนุษยชน ที่ประเทศต่างๆ ให้การรับรอง

ในปัจจุบัน การดำเนินธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อภาคธุรกิจมีความคาดหวังที่ชัดเจนยิ่งขึ้นให้องค์กรธุรกิจเคารพและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ในการดำเนินกิจการ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานกำกับดูแล หน่วยงานภาครัฐ สถาบันการเงินและนักลงทุน ผู้บริโภค นักวิชาการ ภาคประชาสังคม ล้วนแต่แสดงความต้องการให้ภาคธุรกิจนำแนวคิดและมาตรการด้านสิทธิมนุษยชนไปปฏิบัติ ความต้องการนี้ อาจมีได้หลายรูปแบบ เช่น การออกกฎหมายซึ่งมีผลบังคับใช้ไปถึงคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทาน เกณฑ์การพิจารณาของสถาบันลงทุนหรือเจ้าของเงินกู้ การกำหนดเกณฑ์การจัดอันดับผลการดำเนินงานขององค์กรธุรกิจ (เช่น DJSI, FTSE Russell’s ESG Rating) และมาตรฐานในการเปิดเผยข้อมูล (เช่น มาตรฐาน GRI มาตรฐาน One-Report ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.))
ในประเทศไทย กระทรวงยุติธรรม ได้เผยแพร่แผนปฏิบัติการชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ที่ส่งเสริมให้ภาครัฐคุ้มครองและภาคเอกชนเคารพสิทธิมนุษยชน พร้อมกับการพิจารณาการเยียวยาแก่ผู้เสียหายร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง ในขณะเดียวกัน มีหลักฐานปรากฏให้เห็นชัดเจนว่าองค์กรธุรกิจที่ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนไม่เพียงสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงขององค์กรตนได้ดีขึ้นเท่านั้น แต่ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนยังเป็นโอกาสทางธุรกิจ (business case) สามารถสร้างคุณค่าร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งในพื้นที่ของการดำเนินธุรกิจและตลอดห่วงโซ่คุณค่า ดังนั้น ธุรกิจสามารถใช้กระแสที่เกิดขึ้นนี้ เป็นโอกาสทางธุรกิจได้เช่นกัน

สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย มีพันธกิจส่งเสริมให้องค์กรภาคธุรกิจในประเทศไทย ทั้งที่เป็นสมาชิก และไม่ได้เป็นสมาชิกของสมาคม ดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจอย่างสอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนและเป้าหมายสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืน (UN SDGs) 17 ประการ โดยมียุทธศาสตร์สร้างความร่วมมือ เพิ่มการตระหนักรู้และเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรในภาคธุรกิจไทย สมาคมฯ จึงมีความตั้งใจพัฒนาหลักสูตร “ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ภาคปฏิบัติ” นี้ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิ และพันธมิตรจากหลายภาคส่วน เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในประเด็นด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแก่ผู้บริหารองค์กรธุรกิจในประเทศไทย และพัฒนาศักยภาพในการนำหลักการและแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนที่ดีไปดำเนินการให้เกิดผลได้จริง
  • วัตถุประสงค์
- พัฒนาความรู้ความเข้าใจด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแก่บุคลากรในภาคธุรกิจของไทย
- เตรียมพร้อมบุคลากรในภาคธุรกิจ ให้สามารถนำเครื่องมือบริหารจัดการประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนในการดำเนินธุรกิจไปใช้ได้อย่างเหมาะสม
- สร้างเครือข่ายผู้บริหารธุรกิจและผู้บริหารองค์กรจากภาคส่วนต่างๆ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการยกระดับการดำเนินการด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
  • ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- ผู้เข้าร่วมหลักสูตร มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการสิทธิมนุษยชน มาตรฐานสากล และความคาดหวังต่อภาคธุรกิจในการเคารพสิทธิมนุษยชน
- ผู้เข้าร่วมหลักสูตร มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเครื่องมือบริหารจัดการประเด็นธุรกิจและสิทธิมนุษยชน เช่นกระบวนการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน (Human Rights Risk Assessment: HRRA) กระบวนการตรวจสอบรอบด้านด้านสิทธิมนุษยชน (Human Rights Due Diligence: HRDD)
- การแลกเปลี่ยนมุมมองและประสบการณ์ในการบริหารจัดการประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนในองค์กรต่างๆ
- การเรียนรู้จากประสบการณ์ การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของหน่วยงานในประเทศไทย โดยการเยี่ยมชมองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน (ภาคธุรกิจ)


หลักสูตรระดับประเทศเรียนรู้ประสบการณ์ล้ำค่าจากองค์กรต้นแบบดีเด่นด้านสิทธิมนุษยชน พร้อมแลกเปลี่ยนความเห็นกับองค์กรชั้นนำระดับประเทศ 

Day 1: การบรรยายปูพื้นฐานความเข้าใจ

  1. ภาพรวม และความเชื่อมโยงระหว่างBHR กับการพัฒนาที่ยั่งยืน
  2. แผนปฏิบัติการธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ที่สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย
  3. รู้จักHuman Rights Due Diligence
  4. การจัดทำนโยบาย และบูรณาการBHR ในการดำเนินธุรกิจ (Policy and Embedment) 

Day 2: เยี่ยมชมองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชนของไทย 

Day 3: ประชุมเชิงปฏิบัติการและการบรรยาย

  1. กระบวนการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน (Human Rights Risk Assessment)
  2. ประเด็นสิทธิมนุษยชนที่สำคัญของภาคธุรกิจ (Salient Issues)
  3. การติดตามตรวจสอบการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน (Tracking and Monitoring)

Day 4: การอภิปราย และการประชุมเชิงปฏิบัติการ

  1. การจัดทำกลไกรับข้อร้องเรียน และการเยียวยา (Grievance and Remedy)
  2. การรายงานผลและเปิดเผยข้อมูลด้านสิทธิมนุษยชน (Reporting and communication)
  3. การจัดทำกลยุทธ์ด้านสิทธิมนุษยชนขององค์กร (Corporate Human Rights Strategy)

"Business and Human Rights: HRDD Practical Guides"

Global Compact Network Thailand
  • Background
Over the past several years, the business sector has embraced responsibilities towards environmental and social issues, and expanded its considerations to include non-financial factors – its impacts on society and the environment, beyond its traditional focus of generating returns for owners and investors, providing income to employees by offering its customers with products and services that meets societal needs. As part of this social responsibility, a business organization needs to be able to ensure that its own actions, as well as actions of its partners along the value chain, do not adversely impact the any person.
These adverse impacts are considered a violation of human rights – a set of basic rights and freedoms that belong to every person in the world, from their birth until death. These basic rights are based on shared values like dignity, fairness, equality, respect and independence. These values are defined and protected by national and international laws and agreements.

In recent times, business and human rights has received increasing attention from business stakeholders, with greater expectation and more stringent requirement for businesses to demonstrate their respect for, and promotion of, human rights in their day-to-day business operations. These stakeholders—regulatory bodies, government agencies, financial institutions and investors, consumers, and civil societies, are demanding the business sector to incorporate human rights principles and best practices through various approaches, including legislation, supply chain management requirements, investment and financing criteria, sustainability assessment criteria (e.g. DJSI, FTSE Russell’s ESG Ratings), and reporting requirements (GRI, One-Report Requirement from the Securities and Exchange Commission: SEC).
In Thailand, the Ministry of Justice has published the National Action Plan on Business and Human Rights (NAP) after an extensive consultation process with stakeholders from multiple sectors. This National Action Plan outlines the state’s duty to protect, and the business sector’s responsibility to respect human rights, as well as remedy mechanism for people whose rights have been violated.

At the same time, the business sector has increasingly witnessed that the companies that are more effective at managing their human rights responsibilities are better at managing business risks, and also leveraging human rights issues to create new business opportunities, generating shared values with stakeholders both within their own operations and along the value chains.
One of the key missions of Global Compact Network Thailand (GCNT) is to encourage business organizations in Thailand, including current members and non-members, to integrate human rights principles as well as the 17 United Nations Sustainable Development Goals (UN SDGs) into their business operations, through the strategy of cultivating network of collaborations, raising awareness and developing capacity of business professionals. GCNT has therefore embarked on this journey, with its partners and subject matter experts, to develop the "Business and Human Rights: HRDD Practical Guides" training program, with the aspiration to drive concrete actions and effective implementation of human rights principles within the Thai business community.
  • Objectives
- To develop knowledge and understanding on business and human rights issues for the Thai business community;
- To equip business professionals with the practical skills on the application of human rights management tools; and,
- To cultivate a network of leaders from the business sector, the public sector, and civil societies, as a platform for promoting business and human rights agenda in Thailand.
  • Expected Outcomes
- The training participants have thorough understanding of business and human rights principles, international standards and best practices, and expectations of business organizations’ respect for human rights.
- The training participants are equipped with practical knowledge and skills on the applications of human rights management tools, including Human Rights Risk Assessment (HRRA) and Human Rights Due Diligence (HRDD) processes.
- Exchanges of ideas and experiences in handling business and human rights issues among leaders of diverse group of business and non-business organizations.
- Learning from example: site visit to business organizations with outstanding performance in business and human rights management.


Resources:
  • The UN Guiding Principles Reporting Framework is the world’s first comprehensive guidance for companies to report on how they respect human rights. Why should companies’ reporting on human rights matter to you?
"The UN Guiding Principles tell us we should ‘know and show’ that we respect human rights in practice. To be able to show, you have to know. To be able to know, you have to do. The Reporting Framework uncovers the places where you need to focus and improve, so that it becomes very clear what you need to do." - Sofie Nyström, H&M

Please find the link for the video on the UNGP Reporting Framework here: The video on the UNGP Reporting Framework

ร่วมเปลี่ยนแปลงโลกกับเรา
UN Global Compact
Network Thailand
APPLY FOR MEMBERSHIP
เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ เราใช้คุกกี้เพื่อเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และการใช้งานของเว็บไซต์เพื่อปรับปรุง ปรับแต่งเนื้อหา และโฆษณาตามความต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้ เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์ และ นโยบายสิทธิส่วนบุคคล
Subscribe
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถปรับแต่งการตั้งค่าคุกกี้ในแต่ละประเภทได้ดังต่อไปนี้
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่จำเป็นต่อการให้บริการ
(Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการบนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่จะช่วยให้ท่านสามารถเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยของเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้เพื่อการวัดผลการทำงานและฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์
(Performance and Functionality Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะถูกใช้เพื่อจดจำท่านเมื่อท่านกลับเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้ง ช่วยให้เราปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะกับท่านและจดจำการตั้งค่าของท่าน (เช่น ภาษาหรือภูมิภาคที่ท่านเลือก) แต่ไม่จำเป็นต่อการวัดผลการทำงานของเว็บไซต์
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์หรือเพื่อการปรับแต่ง
(Analytical or Customization Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ใช้งานเข้าสู่เว็บไซต์และออกจากเว็บไซต์ เราใช้ข้อมูลนี้ในลักษณะของข้อมูลโดยรวมเพื่อช่วยให้เราปรับปรุงวิธีการทำงานของเว็บไซต์ หรือเพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราตามความสนใจของท่านได้