การฟื้นคืนแหล่งน้ำ (Water Resilience) ประเด็นเร่งด่วน เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมาย SDGs

Article

  • ทุกคนควรได้รับสิทธิในการเข้าแหล่งน้ำที่สะอาด ปลอดภัย สุขาภิบาล และถูกสุขอนามัยเพราะน้ำเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์
  • ภาคเอกชน สามารถมีบทบาทสำคัญในการช่วยยกระดับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบองค์รวม  รวมทั้งจำเป็นต้องใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

จากข้อมูลของสหประชาชาติ ทุกวันนี้ผู้คนมากกว่า 2 พันล้านคนขาดแคลนน้ำดื่มที่มีการจัดการอย่างปลอดภัย แม้ประสิทธิภาพการใช้น้ำจะเพิ่มขึ้น 9 เปอร์เซ็นต์ แต่การขาดแคลนน้ำยังคงเป็นปัญหาในหลายส่วนของโลก ผู้คนอย่างน้อย 3 พันล้านคน ไม่ทราบคุณภาพของน้ำที่พวกเขาอุปโภคและบริโภค เนื่องจากขาดการประเมินและตรวจสอบ ในอนาคต วิกฤติด้านน้ำจะยิ่งรุนแรงขึ้น การเติบโตของประชากรโลก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความต้องการอาหารที่เพิ่มขึ้น จะทำให้น้ำจืดที่มีคุณภาพกลายเป็นทรัพยากรที่มีจำกัดและหายาก 

วิกฤติน้ำทั่วโลกเป็นหนึ่งในความท้าทายด้านความยั่งยืนที่เร่งด่วนที่สุดแห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งเกี่ยวข้องทั้งด้านมนุษยธรรม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ มีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2030 ปริมาณน้ำสะอาดที่โลกมีกับความต้องการใช้น้ำ จะมีสัดส่วนต่างกันถึง 40 เปอร์เซ็นต์ และในปี 2050 GDP ของบางภูมิภาคอาจลดลงได้ถึง 6 เปอร์เซ็นต์ จากความเสี่ยงด้านน้ำ



ภาคเอกชนถือเป็นผู้ใช้น้ำรายใหญ่ที่สุดในโลก โดยการใช้น้ำของภาคเกษตรกรรมคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของการใช้น้ำทั่วโลก ในขณะที่ 19 เปอร์เซ็นต์เป็นการใช้ในกระบวนการทางอุตสาหกรรมผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าจะต้องใช้น้ำเพิ่มขึ้นถึง 15 เปอร์เซ็นต์ เพื่อตอบสนองความต้องการอาหารของประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น

ธุรกิจทุกประเภทต้องพึ่งพาน้ำหลายอุตสาหกรรมต้องใช้น้ำปริมาณมากทั้งเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตสินค้าและบริการโดยน้ำนั้นหล่อเลี้ยงอยู่ตลอดการดำเนินงานทั้งโดยตรงของธุรกิจเองและตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานภาคเอกชนจึงต้องมีบทบาทสำคัญในการฟื้นคืนแหล่งน้ำ 

  • ลูกจ้างภาคเอกชนจำนวนมากทั่วโลกสามารถเข้าถึงน้ำดื่มสะอาด สิ่งอำนวยความสะดวกด้านสุขอนามัย และผลิตภัณฑ์ด้านสุขอนามัยจากนายจ้างของตน โดยเป็นหน้าที่รับผิดชอบของนายจ้าง ที่ต้องแน่ใจว่าพนักงาน 100 เปอร์เซ็นต์สามารถเข้าถึงสุขอนามัยที่ได้รับการจัดการอย่างปลอดภัยในที่ทำงาน
  • องค์กร WaterAid ทำการวิจัยที่แสดงให้เห็นถึงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของการลงทุนใน WASH เพื่อช่วยให้ชุมชนปรับตัวกับท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศใน 3 ด้าน คือน้ำ (Water) สุขาภิบาล (Sanitation) และสุขอนามัย (Hygiene) และพบว่าผลตอบแทนการลงทุนอยู่ที่ 1.32-4.30 ดอลลาร์สำหรับทุกๆ 1 ดอลลาร์ที่ลงทุน
  • น้ำเสียเกือบ 80 เปอร์เซ็นต์ ถูกปล่อยกลับสู่ระบบนิเวศ โดยไม่ได้รับการบำบัดอย่างเหมาะสม

บทบาทของภาคธุรกิจ

แม้ว่าธุรกิจต่างๆ จะลงทุนหลายพันล้านเพื่อแก้ปัญหาเรื่องน้ำ แต่ความก้าวหน้าในปัจจุบันยังไม่เพียงพอ ภาคเอกชนจะต้องปรับปรุงการดำเนินการตลอดห่วงโซ่อุปทานให้เสริมสร้างความสมบูรณ์และยืดหยุ่นของน้ำ รวมถึงต้องร่วมมือกับกับธุรกิจอื่นๆ ภาคประชาสังคม และรัฐบาลทุกระดับ ในการสร้างผลกระทบเชิงบวกให้แหล่งน้ำที่มีความเปราะบาง

UN Global Compact ผลักดันเป้าหมายการฟื้นคืนแหล่งน้ำ ผ่านโครงการริเริ่ม CEO Water Mandate และการร่วมมือกับ Pacific Institute โดยพยายามระดมผู้นำธุรกิจจำนวนมากให้ริเริ่มดูแลน้ำขององค์กร เพื่อจัดการกับความท้าทายด้านน้ำระดับโลก 

การดูแลน้ำขององค์กร เป็นแนวทางที่จะช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถระบุและจัดการความเสี่ยงทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับน้ำ ทำความเข้าใจและบรรเทาผลกระทบเชิงลบต่อระบบนิเวศและชุมชน และมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรน้ำจืดที่ใช้ร่วมกันอย่างยั่งยืนมากขึ้น

การใช้ประโยชน์จาก AI, Smart Sensor และเทคโนโลยี Internet-of-Things เพิ่มประสิทธิภาพให้ระบบสาธารณูปโภคด้านน้ำ โดยเฉพาะในการระบุตำแหน่งและซ่อมแซมท่อที่รั่วได้อย่างรวดเร็ว (ปัญหาท่อรั่ว ยังคงเป็นสาเหตุใหญ่ของการสูญเสียน้ำทั่วโลก) ขณะที่ภาคเกษตรกรรม การเปลี่ยนมาใช้ระบบชลประทานจุลภาค (Micro Irrigation) แทนชลประทานแบบน้ำนอง (Flood Irrigation) ลดการใช้น้ำลงถึง 50 เปอร์เซ็นต์

การปรับปรุงการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ จะช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้ดีขึ้น เนื่องจากเป็นการลดความเสี่ยงทางธุรกิจที่อาจเกิดขึ้นจากการขาดแคลนน้ำ และความท้าทายด้านน้ำอื่นๆ ที่มีโอกาสเกิดขึ้นในอนาคต นี่คือการสร้างชื่อเสียงที่ดีในสังคม และความไว้วางใจจากนักลงทุน 

การดำเนินงานด้านน้ำ ช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศ ฟื้นคืนความหลากหลายทางชีวภาพ และช่วยลดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความมั่นคงยั่งยืนของทุกๆ ธุรกิจ ระบบน้ำที่แข็งแกร่งและมีความสามารถในการฟื้นตัว สำคัญอย่างมากต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนหลากมิติ ทั้งความมั่นคงทางอาหาร สุขภาพของมนุษย์ ความหลากหลายทางชีวภาพ ไปจนถึงความเท่าเทียมทางเพศ 

  • ในปี 2015 เกิดภัยแล้งรุนแรงขึ้นที่เมืองเซาเปาโล ประเทศบราซิล ภาคเอกชนรวมตัวกันก่อตั้งกองทุน Sao Paulo Water Fund เพื่อจ่ายเงินให้เกษตรกร ทำการฟื้นฟูลุ่มน้ำด้วยวิธีแก้ปัญหาที่มีธรรมชาติเป็นฐาน (Nature-Based Solution) ให้ลุ่มน้ำมีความยืดหยุ่นต่อภัยแล้ง สนับสนุนเศรษฐกิจท้องถิ่น และปกป้องระบบนิเวศ โดย 5 บริษัทที่สนับสนุนกองทุนนี้ เข้าร่วมโครงการ Water Resilience Coalition ภายใต้ความคิดริเริ่ม CEO Water Mandate ที่มุ่งมั่นจะสร้างผลกระทบเชิงบวกให้แหล่งน้ำที่มีความเปราะบาง 100 แห่ง ภายในปี 2030
  • Interloop Limited ที่มีสำนักงานใหญ่ในประเทศปากีสถาน คือผู้นำด้านการผลิตเครื่องแต่งกายอย่างมีความรับผิดชอบ พวกเขาสามารถลดปริมาณน้ำลงได้ 95 เปอร์เซ็นต์ ในกระบวนการซักผ่านเทคโนโลยี Nano Bubble รวมถึงใช้การฟอกและย้อมสีสิ่งทออย่างยั่งยืนที่ใช้น้ำน้อยลง และสามารถนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ได้ รวมถึงมีการกักเก็บน้ำฝนมาใช้ประโยชน์ด้วย

 



เป้าหมายปี 2030     

สร้างการฟื้นคืนให้กับแหล่งน้ำ ทุกพื้นที่ทั่วโลก ตลอดห่วงโซ่อุปทาน พร้อมทั้งสร้างความร่วมมือในการสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับแหล่งน้ำที่มีความอ่อนไหวอย่างน้อย 100 แห่งภายในปี 2030

Action Guide แนวปฏิบัติเพื่อเร่งให้เกิดผลลัพธ์ที่เร็วขึ้น
อ้างอิง:  https://forwardfaster.unglobalcompact.org/water-resilience

สำหรับองค์กร

  • ประยุกต์ใช้มาตรฐานที่เกี่ยวข้องด้านน้ำ
  • บูรณาการบริบทและข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ในการกำหนดเป้าหมายที่เหมาะสม
  • มั่นใจว่าน้ำที่ใช้มีความปลอดภัย สะดวกในการเข้าถึง ถูกหลักอนามัยและสุขาภิบาล (WASH) สำหรับพนักงาน
  • ประยุกต์ตัวอย่างที่ดีในการใช้น้ำและการบริหารจัดการน้ำเสียอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเชิงรุกสำหรับการนำน้ำมาใช้ใหม่ ใช้ซ้ำ และหมุนเวียน (Water reuse, recycle and circularity)
  • ประยุกต์ใช้แนวปฏิบัติในการใช้ประโยชน์ร่วมกันด้านสภาพภูมิอากาศ-พลังงาน-น้ำอย่างเหมาะสม เพื่อให้มั่นใจว่าระบบนิเวศได้รับการปกป้อง

สำหรับห่วงโซ่อุปทาน

  • เข้าใจความเป็นอิสระของแหล่งน้ำ และผลกระทบจากการเลิกสัญญาของคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทานและการกำหนดเป้าหมายที่เหมาะสม มีความยืดหยุ่นสำหรับแผนระยะยาว
  • ทำงานร่วมกับคู่ค้าในประเด็นความวิกฤต (Water-stressed) ของแหล่งน้ำ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการใช้น้ำ การบริหารจัดการน้ำเสีย สุขาภิบาล และสุขอนามัย ในสถานที่ทำงาน

กิจกรรมของคณะทำงานร่วม

  • เชื่อมโยงข้อมูลแหล่งน้ำที่องค์กรใช้งานอยู่หรือให้ความสนใจอยู่ และข้อมูลจาก CEO Water Mandate Secretariat เพื่อช่วยให้เกิดความร่วมมือในการทำงานยิ่งขึ้น
  • ทำงานร่วมกับผู้แทนภาครัฐ ผนวกข้อมูลตัวอย่างที่ดี (Best Practice) ในฐานข้อมูล ช่วยให้เกิดความโปร่งใสในขั้นตอนการตัดสินใจ
  • ทำงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่น (ผู้นำชุมชน ผู้มีอิทธิพลทางความคิด ชนพื้นเมือง กลุ่มคนที่ถูกมองข้าม) เพื่อยกระดับคุณภาพความเป็นอยู่ให้ได้ตามหลักการสิทธิมนุษยชน
  • ระบุและพัฒนากลไกความร่วมมือทางการเงินร่วมกับภาครัฐและผู้ให้ทุน เพื่อขจัดปัญหาทางการเงิน ซึ่งมีส่วนช่วยให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมเชิงรุก สำหรับการนำน้ำมาใช้ใหม่ ใช้ซ้ำและหมุนเวียน (Water reuse, recycle and circularity)
  • นำความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและนวัตกรรมต่างๆ ขององค์กร มาบริหารและพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อช่วยให้เกิดเครื่องมือใหม่และวิธีการจัดการรูปแบบใหม่

ตัวอย่างข้อมูลที่ควรเปิดเผย
  • เป้าหมายด้านน้ำขององค์กร ได้แก่ ขนาดของน้ำ อะไรคือเป้าหมายที่ต้องการบรรลุภายในปีนี้
  • การดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายด้านน้ำ ทั้งภายในองค์กร ในห่วงโซ่อุปทาน และชุมชนรอบข้าง
  • ความก้าวหน้าของเป้าหมายที่กำหนดไว้ในรอบปีการรายงาน ทั้งเรื่องปริมาณน้ำ คุณภาพน้ำ และ ความสามารถในการเข้าถึง (WASH)
  • ระบุรายชื่อแหล่งน้ำที่มีความวิกฤต (Water-stressed)** ของแหล่งน้ำ (Water-stressed basin) ที่เกี่ยวข้องกับองค์กร จำนวน 10 แห่ง (คัดเลือกมาจากรายการ CEO water Mandate แหล่งน้ำที่สำคัญ 100 แห่ง***)
  • จัดลำดับความสำคัญของแหล่งน้ำ จำนวน 10 แห่งนั้น โดยพิจารณาจากระดับความวิกฤตของน้ำ (Water-stressed) และปัจจัยอื่นๆ อาทิ เป็นแหล่งน้ำที่เกี่ยวข้องกับองค์กรในปัจจุบันหรือไม่ /มีแผนที่จะใช้น้ำจากแหล่งน้ำนี้ในอนาคตหรือไม่ /ปริมาณน้ำ / คุณภาพน้ำ / ความยากง่ายใน การแหล่งน้ำ / การใช้น้ำ ใช้ในองค์กร ใช้ในห่วงโซ่อุปทาน หรือใช้ในชุมชน
  • ระบุรายชื่อแหล่งน้ำที่อยู่นอกเหนือรายการของ CEO water Mandate 100 แห่ง* พร้อมทั้งชี้แจงรายละเอียดของแต่ละแห่ง ว่าเป็นแหล่งน้ำที่เกี่ยวข้องกับองค์กรหรือไม่ และ มีแผนที่จะใช้น้ำจากแหล่งน้ำในอนาคตหรือไม่

 หมายเหตุ

* องค์กรที่จะเลือกเป้าหมายนี้ จำเป็นต้องลงนามในเอกสาร CEO Water Mandate
** water-stresses คือ พื้นที่ที่มีการดึงน้ำจืดออกมาใช้ใหม่ สูงกว่าร้อยละ 25 https://www.unwater.org/water-facts/water-scarcity
*** 100 Basin ของ CEO water mandate in Thailand https://wateractionhub.org/geos/basin/search/?basin=264&country=Thailand&state=

 



 



ร่วมเปลี่ยนแปลงโลกกับเรา
UN Global Compact
Network Thailand
APPLY FOR MEMBERSHIP
เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ เราใช้คุกกี้เพื่อเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และการใช้งานของเว็บไซต์เพื่อปรับปรุง ปรับแต่งเนื้อหา และโฆษณาตามความต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้ เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์ และ นโยบายสิทธิส่วนบุคคล
Subscribe
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถปรับแต่งการตั้งค่าคุกกี้ในแต่ละประเภทได้ดังต่อไปนี้
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่จำเป็นต่อการให้บริการ
(Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการบนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่จะช่วยให้ท่านสามารถเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยของเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้เพื่อการวัดผลการทำงานและฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์
(Performance and Functionality Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะถูกใช้เพื่อจดจำท่านเมื่อท่านกลับเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้ง ช่วยให้เราปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะกับท่านและจดจำการตั้งค่าของท่าน (เช่น ภาษาหรือภูมิภาคที่ท่านเลือก) แต่ไม่จำเป็นต่อการวัดผลการทำงานของเว็บไซต์
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์หรือเพื่อการปรับแต่ง
(Analytical or Customization Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ใช้งานเข้าสู่เว็บไซต์และออกจากเว็บไซต์ เราใช้ข้อมูลนี้ในลักษณะของข้อมูลโดยรวมเพื่อช่วยให้เราปรับปรุงวิธีการทำงานของเว็บไซต์ หรือเพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราตามความสนใจของท่านได้