Circo Hub Thailand จัดงานรวมตัวพาร์ทเนอร์สร้างระบบนิเวศเศรษฐกิจหมุนเวียนไทย

UNGCNT News

Circo Hub Thailand ร่วมกับสถานทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย จัดงาน Circular Ecosystem Connect through CIRCO: “Wonglao Season 3” เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา เพื่อขยายความร่วมมือและพัฒนาทักษะองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในประเทศไทย


ดร.ธันยพร กริชทายาวุธ  ผู้อำนวยการสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในช่วงสามปีที่ผ่านมา CIRCO Hub Thailand ได้ก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางแห่งความร่วมมือจากหลายภาคส่วนทั้งภาคการศึกษา ภาครัฐและเอกชนในการผลักดันแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน หลังจากที่มีการเปิดอบรมหลักสูตร CIRO และนำไปใช้จริงในหลายธุรกิจ ย่อมเป็นธรรมดาที่ต่างคนต่างเจอความท้าทายไม่เหมือนกัน ท่ามกลางความเร่งด่วนที่ประเทศเราต้องเปลี่ยนผ่านจาก Linear Economy ไปสู่ไป Circular Economy งานในครั้งนี้จึงถือเป็นการแบ่งปันประสบการณ์ เชื่อมต่อความร่วมมือ และจุดประกายความหวังที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนในประเทศไทยต่อไป

โดยงานในครั้งนี้ได้ มีการนำเสนอตัวอย่างกรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จระดับโลก ได้แก่ Signify บริษัทแม่ของหลอดไฟแบรนด์ Philips ที่ใช้โมเดลการให้บริการแสงไฟตามการใช้งานจริงแทนการขายหลอดไฟต่อหน่วยเพื่อใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่ามากที่สุด และ Unilever บริษัทสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ ที่มุ่งเน้นการลดใช้พลาสติกและใช้พลาสติกรีไซเคิลในบรรจุภัณฑ์


ต่อจากนั้น ดร.จุฑาทิพย์ มณีพงษ์ CIRCO Trainer ร่วมกับ Dr. René Van Berkel ได้แนะนำ ASEAN Circular Economy Business Alliance (ACEBA) เครือข่ายประสานงานเพื่อสนับสนุนธุรกิจหมุนเวียนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  โดย ACEBA ได้คัดเลือกเคสธุรกิจ 67 แห่งเพื่อในไทย กัมพูชา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม เพื่อจัดทำข้อมูลและวิเคราะห์รูปแบบธุรกิจ ซึ่งจะช่วยเป็นตัวอย่างให้ผู้ประกอบการอื่นได้ศึกษาและเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนในวงกว้างขึ้น สำหรับธุรกิจไทยที่มาร่วมในงาน อาทิ Nornnorn SC Grand โรงแรมศิวาเทล เป็นต้น

ในช่วงของการเสวนาสร้างระบบนิเวศสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนในไทย ดร.พงษ์วิภา หล่อสมบูรณ์ ประธานอนุกรรมการแผนงานกลุ่มเศรษฐกิจหมุนเวียน กล่าวว่า บพข. เป็นหน่วยงานบริหารจัดการทุนที่ส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนทั้งในและนอกประเทศ เพื่อนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และศาสตร์ต่างๆ มาเชื่อมโยง value chain ก่อให้เกิดอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์และบริการมูลค่าสูง ปัจจุบันมีทุนจำนวนมากที่สนับสนุนการใช้นวัตกรรมสร้างรูปแบบธุรกิจใหม่จากโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ รวมไปถึงการพัฒนาบุคลากร เช่น ที่ปรึกษา ผู้ตรวจประเมิน และหน่วยรับรอง สนับสนุนมาตรฐานระบบการจัดการเศรษฐกิจหมุนเวียนขององค์กร

ดร.นุจรินทร์ รามัญกุล ผู้เชี่ยวชาญวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) กล่าวว่า MTEC เน้นผลักดัน Circular Economy by DESIGN หรือการออกแบบตั้งแต่ต้นทางเพื่อแก้ปัญหา เนื่องจากคนส่วนใหญ่เข้ามาปรึกษาด้วยการมีธงในใจมาอยู่แล้วโดยเฉพาะเรื่องการรีไซเคิล แต่ตามหลัก CE ยังมีหลายขั้นตอนที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ด้วยการเสริมศักยภาพทางเทคนิค นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาต่อยอด และต้องประยุกต์ใช้มาตรฐานสากล เพื่อนำไปสู่การพัฒนา CE Solution ที่เป็นที่ยอมรับในเวทีโลก ไม่นำไปสู่ Circular Wash

“เราจะสอนการออกแบบการตายของผลิตภัณฑ์ให้สวย นั่นคือเมื่อหมดอายุการใช้งานแล้ว วัสดุนั้นต้องพร้อมกลับมาเกิดใหม่ มีกลไกรองรับการกลับมา ไม่ใช่แค่จบที่การรีไซเคิล กระบวนการในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นงานกลุ่ม ซึ่งคนไทยอาจไม่ค่อยถนัด ชอบต่างคนต่างทำมากกว่า”

ด้านดร.สวนิตย์ บุญญาสุวัฒน์ คณะทำงาน BCG สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตอกย้ำถึง BCG Model ที่ประเทศไทยควรทำอย่างต่อเนื่อง ความสำเร็จในการลดขยะพลาสติกจากความร่วมมือของภาคเอกชนทำให้ประเทศไทยที่เคยติดอันดับประเทศปล่อยขยะลงทะเลมากที่สุดในโลกเริ่มมีอันดับที่ดีขึ้น ปัจจุบัน สอท.ยังมีการทำงานร่วมกับผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมในการเปลี่ยนขยะมาใช้ประโยชน์ในด้านอื่น เช่น การใช้น้ำมันทำอาหารเก่ามาเปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิงอากาศยาน การนำของเสียทางการเกษตรมาเปลี่ยนเป็นพลังงาน การสกัดของเสียจากขยะอิเลกทรอนิกส์มาเป็นใช้งานใหม่ เป็นต้น

คุณยุทธนา เจียมตระการ ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนและสิ่งแวดล้อม หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่าจากสมาชิกกว่าแสนรายของหอการค้า มีเพียง 30% ที่เข้าใจคำว่าเศรษฐกิจหมุนเวียน การเพิ่มพูนองค์ความรู้จึงเป็นเรื่องสำคัญ ได้มีการจัดตั้งสถาบัน CE ภายในมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เพื่อทำโปรเจคกับพื้นที่จริง อาทิ โครงการ NETS UP ทางหอการค้าและ YEC เป็นเจ้าภาพในการริเริ่มให้ผู้ประกอบการประมงท้องถิ่นรวบรวมแหอวนซึ่งทำจากโพลิเมอร์ที่แข็งแรงมาก นำไปส่งต่อให้โรงงานรีไซเคิลเพื่อใช้ประโยชน์จากเม็ดพลาสติกต่อไปได้

คุณกฤตชัย สุทธิลักษณ์ คณะทำงานเครือข่ายเศรษฐกิจหมุนเวียนในกลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้าง กล่าวว่า ทางผู้ประกอบการก่อสร้างได้รวมตัวกันจัดตั้ง CECI หรือ Circular Economy in Construction Industry เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมโดยนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาประยุกต์ใช้ เพิ่มความสามารถในการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า มีการเก็บข้อมูลของเสียจากผู้ประกอบการในเครือข่าย ตั้งแต่โรงงานผลิตไปจนถึงไซต์งานก่อสร้าง เพื่อลดของเสียได้อย่างตรงจุด เช่น นำเศษคอนกรีตเหลือใช้นำไปเป็นแผ่นปูทางเดินและกระถางต้นไม้ก้อนอิฐ

ในช่วงท้ายของงานเสวนา ยังมีการบรรยายพิเศษจากคุณภาคภูมิ โกเมศโสภา ผู้ก่อตั้งองค์กร Reviv Community โดยให้ความสำคัญกับการซ่อมแซมที่ช่วยยืดอายุสิ่งของต่าง ๆ ให้ไม่กลายเป็นขยะ หนึ่งในหัวใจสำคัญของกิจกรรมทางสังคมที่ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน คุณภาคภูมิได้เล่าถึงมาตรการล่าสุดของสหภาพยุโรป Right to Repair ที่กำหนดให้ผู้ผลิตต้องแสดงความรับผิดชอบต่อสินค้าที่ผลิตขึ้นให้สามารถใช้งานได้ยาวนานขึ้น มีชิ้นส่วนอะไหล่จัดจำหน่ายเมื่อจำเป็นต้องซ่อม หรือต้องเปิดบริการให้ผู้บริโภคเข้าถึงการซ่อมแซมได้มากขึ้น นอกจากนี้ ทาง Reviv ยังได้จัดกิจกรรม Repair Café พื้นที่การเรียนรู้ทักษะการซ่อมจากอาสาสมัคร และจัดทำแพลตฟอร์ม 'Won Won' หรือ 'วน วน'  รวมร้านซ่อมผ้าใกล้บ้านที่มีอยู่ทุกหัวถนนในกรุงเทพมหานคร แต่ขาดการบันทึกและรวบรวมอย่างเป็นระบบในโลกออนไลน์

ทั้งนี้ CIRCO Hub Thailland ได้เปิดอบรมการสร้างโมเดลธุรกิจหมุนเวียนเพื่อผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง https://circo.globalcompact-th.com



ร่วมเปลี่ยนแปลงโลกกับเรา
UN Global Compact
Network Thailand
APPLY FOR MEMBERSHIP
เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ เราใช้คุกกี้เพื่อเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และการใช้งานของเว็บไซต์เพื่อปรับปรุง ปรับแต่งเนื้อหา และโฆษณาตามความต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้ เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์ และ นโยบายสิทธิส่วนบุคคล
Subscribe
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถปรับแต่งการตั้งค่าคุกกี้ในแต่ละประเภทได้ดังต่อไปนี้
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่จำเป็นต่อการให้บริการ
(Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการบนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่จะช่วยให้ท่านสามารถเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยของเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้เพื่อการวัดผลการทำงานและฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์
(Performance and Functionality Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะถูกใช้เพื่อจดจำท่านเมื่อท่านกลับเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้ง ช่วยให้เราปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะกับท่านและจดจำการตั้งค่าของท่าน (เช่น ภาษาหรือภูมิภาคที่ท่านเลือก) แต่ไม่จำเป็นต่อการวัดผลการทำงานของเว็บไซต์
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์หรือเพื่อการปรับแต่ง
(Analytical or Customization Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ใช้งานเข้าสู่เว็บไซต์และออกจากเว็บไซต์ เราใช้ข้อมูลนี้ในลักษณะของข้อมูลโดยรวมเพื่อช่วยให้เราปรับปรุงวิธีการทำงานของเว็บไซต์ หรือเพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราตามความสนใจของท่านได้