ผู้นำภาคธุรกิจไทยองค์กรสมาชิก GCNT เข้าหารือรองเลขาธิการสหประชาชาติในประเด็นการพัฒนาที่ยั่งยืน

UNGCNT News


ผู้นำภาคธุรกิจไทย นายกสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย หารือรองเลขาธิการสหประชาชาติในประเด็นการพัฒนาที่ยั่งยืน ย้ำไทยพร้อมส่งเสริมเป้าหมาย
Net Zero และยกระดับการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียม

กรุงเทพฯ 29 มีนาคม 2565 ณ สำนักงานสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร  นางอามีนา เจ โมฮัมเหม็ด (Ms. Amina J. Mohammed) รองเลขาธิการสหประชาชาติ เปิดประชุมหารือภาคธุรกิจไทยร่วมกับตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆ ของสหประชาชาติ โดยมีผู้เข้าร่วมได้แก่ นายศุภชัย เจียรวนนท์ นายกสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย  นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์, ดร.ศรีกัญญา ยาทิพย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ, ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน), นายจำรัส สว่างสมุทร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ นางสาวกรรณิกา ว่องกุศลกิจ กลุ่มมิตรผล

สรุปสาระสำคัญการหารือ ดังนี้

นายกสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย  แสดงความมุ่งมั่นของภาคธุรกิจไทยที่พร้อมสนับสนุนการขับเคลื่อนวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างเต็มที่ พร้อมเชื่อมั่นว่า สหประชาชาติจะสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) และตอบสนองต่อความท้าทายของโลกปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้าน Climate Action การป้องกันปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

การหารือวันนี้จะเป็นโอกาสอันดีต่อการยกระดับความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจไทยและสหประชาชาติ สหประชาชาติมุ่งแสวงหาความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับภาคธุรกิจเพื่อเชื่อมโยงความร่วมมือระดับภูมิภาคไปสู่การแก้ไขปัญหาในประเด็นท้าทายระดับโลก ทั้งปัญหาความมั่นคงทางอาหาร พลังงาน การเงินและ ดิจิทัล ทรานสฟอร์มเมชั่น

ภาคธุรกิจไทยและรองเลขาธิการฯ ต่างเห็นพ้องว่า ประเทศไทยมีความคืบหน้าในการขับเคลื่อน SDGs รวมทั้งภาคธุรกิจไทยได้นำปัญหาและอุปสรรคมาเป็นบทเรียนในการทำกลยุทธ์ธุรกิจที่บูรณาการ SDGs มาเป็นโครงการที่เริ่มมีการดำเนินการแล้วกว่า 60 บริษัท ด้วยการลงทุนกว่า 40,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี ค.ศ. 2030 ช่วยให้ธุรกิจมีฐานรากที่มั่นคงส่งผลเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งการเข้ามามีส่วนร่วมของคนรุ่นใหม่และภาคประชาสังคม มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ

ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ภาคธุรกิจไทยตระหนักถึงความสำคัญเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหานี้ นอกจากนี้ สมาชิกสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทยตั้งเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ.  2050 หรืออย่างช้า 2070

  • ไทยควรพิจารณาหารือเพิ่มเติมในเรื่องการสนับสนุนเพื่อให้ไทยและประเทศกำลังพัฒนาสามารถบรรลุเป้าหมายได้ โดยเฉพาะเรื่อง แนวทางการพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าในอนาคต เปิดโอกาสให้ประชาชานเข้าถึง “Smart Grid” เพื่อให้เป็นเอกภาพ และลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อน โดยรัฐบาลควรเปิดเสรีให้มีการเปลี่ยนผ่านเป็นพลังงานสะอาดที่เข้าถึงได้โดยบริษัทขนาดเล็กและประชาชาชนทั่วไป ได้เร็วขึ้น ลดการพึ่งพาพลังงานฟอสซิล และจะเสริมให้ไทยสามารถยกระดับ NDC ของไทยขึ้นเป็นร้อยละ 40 ได้
  • ควรมีแนวทางให้ผู้ประกอบการธุรกิจ SME เพื่อความยั่งยืน ในระดับนโยบายสนับสนุนนวัตกรรมและเทคโนโลยี เตรียมความพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง ในความท้าทายด้านการรับมือความเสี่ยงจาก วิกฤต COVID-19 ภาวะเศรษฐกิจถดถอย และ ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ มีกลไกที่ช่วยให้ SME ปรับตัวได้เร็ว เตรียมความพร้อมและสร้างธุรกิจให้เติบโตปรับตัวได้


ในช่วงท้าย รองเลขาธิการสหประชาชาติฝากให้ร่วมกันหาทางร่วมมือให้มีการลงทุนเพื่อให้เยาวชนเข้าถึงระบบการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำและแสวงหากลไกสนับสนุนให้ธุรกิจไทยได้รับการลงทุนจากกองทุนต่างๆ ให้ปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจจนบรรลุเป้าหมายการพัฒนาในบริบทของไทยให้ได้


photos source: Thai Private Sector Meeting with UN Deputy Secretary-General
Representatives of Thailand’s private sector, bankers, and investors shared their collaboration with the UN and initiatives towards sustainable development.


ร่วมเปลี่ยนแปลงโลกกับเรา
UN Global Compact
Network Thailand
APPLY FOR MEMBERSHIP
เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ เราใช้คุกกี้เพื่อเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และการใช้งานของเว็บไซต์เพื่อปรับปรุง ปรับแต่งเนื้อหา และโฆษณาตามความต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้ เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์ และ นโยบายสิทธิส่วนบุคคล
Subscribe
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถปรับแต่งการตั้งค่าคุกกี้ในแต่ละประเภทได้ดังต่อไปนี้
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่จำเป็นต่อการให้บริการ
(Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการบนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่จะช่วยให้ท่านสามารถเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยของเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้เพื่อการวัดผลการทำงานและฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์
(Performance and Functionality Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะถูกใช้เพื่อจดจำท่านเมื่อท่านกลับเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้ง ช่วยให้เราปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะกับท่านและจดจำการตั้งค่าของท่าน (เช่น ภาษาหรือภูมิภาคที่ท่านเลือก) แต่ไม่จำเป็นต่อการวัดผลการทำงานของเว็บไซต์
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์หรือเพื่อการปรับแต่ง
(Analytical or Customization Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ใช้งานเข้าสู่เว็บไซต์และออกจากเว็บไซต์ เราใช้ข้อมูลนี้ในลักษณะของข้อมูลโดยรวมเพื่อช่วยให้เราปรับปรุงวิธีการทำงานของเว็บไซต์ หรือเพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราตามความสนใจของท่านได้