โครงการ Rescue Kitchen ลดความหิวโหยให้คนไทยด้วยอาหารส่วนเกิน

Article

ทุกวันนี้ โลกของเราผลิตอาหารได้มากมาย แค่เดินเข้าซูเปอร์มาร์เก็ต ก็จะเห็นวัตถุดิบวางเรียงรายนับไม่ถ้วน อย่างไรก็ตาม มีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังหิวโหย ไม่สามารถเข้าถึงอาหารและวัตถุดิบเหล่านั้นได้ ด้วยข้อกำจัดด้านความยากจน

ในขณะเดียวกัน เบื้องหลังชั้นวางอาหารตระการตา อาหารจำนวนมากถูกทิ้งไปในแต่ละวัน เพราะมันอาจจะหน้าตาไม่สวยเข้าเกณฑ์หรือใกล้หมดอายุ เราเรียกพวกมันว่า อาหารส่วนเกิน (Food Surplus) ซึ่งเป็นอาหารที่เกินความต้องการ ขายไม่หมด แต่ยังคุณภาพดี รับประทานได้ไม่เน่าเสีย 

ผู้คนที่ยังหิวโหย และอาหารที่เกินความต้องการ เป็นเสมือนปัญหาของเหรียญทั้งสองด้านที่เกี่ยวโยงกัน

เราชวนทำความรู้จักโครงการ Rescue Kitchen โดยมูลนิธิ Scholars of Sustenance (SOS) หนึ่งในสมาชิกของเครือข่าย UN Global Compact Network ประเทศไทย ที่กำลังขับเคลื่อนเพื่อแก้ปัญหาข้างต้นอย่างแข็งขัน ผ่านการร่วมมือกับภาคเอกชนหลากหลาย เปลี่ยนอาหารส่วนเกินที่ไม่มีใครต้องการ เป็นมื้ออาหารแสนอร่อยที่ลดความหิวโหยของผู้คน


ครัวกู้ภัยความหิวโหยของชุมชน

นัทชา สุกฤตศาตนนท์ ผู้ประสานงานโครงการของ SOS อธิบายว่าอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่จะรวบรวมอาหารส่วนเกินจากตลาด โรงแรม และโกดังของผู้ผลิต จากนั้นนำไปมอบให้กับครอบครัวที่มีรายได้น้อย โครงการ Rescue Kitchen ช่วยเลี้ยงปากท้องเด็กๆ ที่หิวโหย คนยากจน คนชราหรือผู้พิการ โดยอาหารจะถูกปรุงในครัวชุมชน 28 แห่ง ที่กระจายอยู่ใน 4 จังหวัดคือ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ภูเก็ต และหัวหิน

“ในครัวเรือนที่ขัดสน ไม่ใช่ทุกบ้านจะมีห้องครัว Rescue Kitchen จึงเป็นเหมือนครัวของชุมชน ซึ่งทีมงานปรุงเมนูที่หลากหลายด้วยวัตถุดิบและส่วนผสมที่ได้รับบริจาคมา วัตถุดิบนั้นมีหลายชนิด ทั้งไก่ หมู หรือผักสดที่ไม่ได้ใช้หรือใกล้หมดอายุ ซึ่งปกติแล้วพวกเขาจะโยนมันทิ้งไป 

“เราพยายามปรุงเมนูที่คนชื่นชอบกัน อย่างพวกอาหารรสเผ็ดที่ถูกปากคนไทย โดยขอความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวเลือกเมนูจากผู้ได้รับอาหารอยู่เสมอ เพื่อปรับปรุงรสชาติให้ถูกปากถูกใจทุกคนให้ได้มากที่สุด” นัทชาเล่า

หนึ่งในภาคเอกชนที่สนับสนุนการทำงานของ SOS อย่างใกล้ชิดคือ Lotus’s เครือข่ายร้านค้าปลีกในเครือ CP Group และบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) ซึ่งทั้งหมดเป็นสมาชิกของ UN Global Compact Network ประเทศไทย เช่นกัน

ขยะอาหารที่ฝังกลบต้องเป็นศูนย์

Lotus’s ต้องการบรรลุเป้าหมายในการลดขยะอาหารที่ต้องฝังกลบให้เป็นศูนย์ (Zero Food Waste to Landfill) ภายในปี 2030 สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ข้อที่ 12.2 ซึ่งเรียกร้องให้มี ‘การจัดการและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน’

ในปี 2018 หนึ่งปีหลังจากที่ Lotus’s เริ่มบริจาคอาหารส่วนเกินให้กับ SOS อาหารประมาณ 10,000 ตันของบริษัทยังคงถูกทิ้ง อย่างไรก็ตามในปี 2023 นี้ Lotus’s สามารถลดขยะอาหารลงเหลือประมาณ 7,000 ตัน ซึ่งแม้จะลดลงมาก แต่ฝ่ายความยั่งยืนของ Lotus’s อธิบายว่ายังเป็นปริมาณที่ยอมรับไม่ได้ 

จนถึงวันนี้ อาหารส่วนเกินทั้งหมดที่ Lotus’s บริจาคให้กับ SOS นับเป็นปริมาณมากกว่า 2.9 ล้านมื้ออาหาร ชุมชน 85 แห่งที่ได้รับอาหารจาก Rescue Kitchen มักตั้งอยู่ในย่านที่เป็นตรอกซอกซอยของกรุงเทพฯ เช่น ชุมชนวัดแค ในย่านประวัติศาสตร์นางเล้ง

ซึ่ง Rescue Kitchen ปรุงอาหารหลายร้อยรายการ รวมถึงเมนูล่าสุดบะหมี่จีนร้อนๆ พร้อมไข่และหมูในซอสเข้มข้น ของหวานก็มีเผือกและสาคูน้ำกะทิ เมนูเหล่านี้มาจากเนื้อสัตว์ที่บริจาคโดย CP Freshmart อีกร้านในเครือ CP Group

ความช่วยเหลือที่ต่างฝ่ายต่างหยิบยื่นให้กัน

ระหว่างการดำเนินงานโครงการ Rescue Kitchen ชาวบ้านในหลายๆ ชุมชนได้เข้ามาช่วยจัดเตรียมวัตถุดิบและปรุงอาหาร โดยเฉพาะผู้สูงอายุ หรือ ‘คุณป้าและลุง” ที่เกษียณอายุจากการทำงาน มีเวลาว่างและอยากหยิบยื่นความช่วยเหลือให้อาสาสมัครและเจ้าหน้าที่

ชุมชนบางแห่งมีผู้อยู่อาศัยมากถึง 400 คนที่รับอาหารจาก Rescue Kitchen โดยชุมชนที่ใหญ่ที่สุดที่โครงการเข้าไปดำเนินการ มีผู้อยู่อาศัยถึง 1,000 คน นอกจากนี้อาหารที่รวบรวมได้ จะถูกส่งไปยังโรงเรียนอนุบาลในท้องถิ่นเช่นกัน สำหรับเด็กเล็กที่ครอบครัวไม่สามารถจัดหาอาหารเพื่อสุขภาพได้เพียงพอ

นัทชาชี้ให้เห็นว่าหนึ่งในความท้าทายของทีมงาน คือการคำนวณปริมาณให้ได้ล่วงหน้าว่า โครงการจะมีอาหารมากแค่ไหนสำหรับแจกจ่าย

“อย่างสัปดาห์ที่แล้ว เรามีวัตถุดิบเพียงพอสำหรับปรุงอาหารมอบให้ห้าชุมชน แต่สัปดาห์นี้เราได้วัตถุดิบน้อยลง ดังนั้นเราจึงสามารถเลี้ยงปากท้องได้แค่สามชุมชนเท่านั้น” เพื่อแก้ไขปัญหานี้ บางครั้งชุมชนจะได้รับอาหารแห้งหรืออาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทานที่มีคนบริจาคมาแทน

นัทชาเล่าต่อว่า ความท้าทายอีกอย่างคือการสร้างสรรค์เมนูจากวัตถุดิบสไตล์ตะวันตก อย่างพวกผักเคลหรือเส้นสปาเก็ตตี้ ที่ต้องนำมาปรับใช้ให้เข้ากับรสนิยมคนไทย ทีมงานจะต้องค้นคว้า หาสูตรอาหารที่ใช้ส่วนผสมที่ไม่คุ้นเคยเหล่านี้


ขยายความทะเยอะทะยานของภาคธุรกิจ

SOS ประมาณการว่า โครงการได้ส่งมอบมื้ออร่อยที่ปรุงจากอาหารส่วนเกินไปแล้วมากกว่า 29 ล้านมื้อ พวกเขามีสาขาดำเนินงานในประเทศอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์เช่นกัน และได้ประมาณการว่าร้อยละ 35 ของอาหารที่ถูกซื้อทั่วทั้งภูมิภาค ไม่เคยถูกรับประทานและสุดท้ายถูกนำไปทิ้งในหลุมฝังกลบ

องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ระบุว่า คนไทยประมาณ 5.1 ล้านคน (มากกว่าร้อยละ 7) กำลังเผชิญกับความไม่มั่นคงด้านอาหารระดับปานกลางหรือรุนแรง ขณะที่กลุ่มเด็กและเยาวชน ประมาณ 1 ใน 8 มีการเจริญเติบโตที่แคระแกรนเนื่องจากความหิวโหย และ 1 ใน 13 ต้องทุกข์ทรมานจากการบริโภคอาหารอย่างสิ้นเปลืองของคนในสังคม

ความร่วมมือระหว่าง SOS และภาคเอกชนที่หลากหลายรวมถึง Lotus’s ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงคุณค่าในการสร้างแนวปฏิบัติด้านความยั่งยืนในระบบอาหาร คุณธันยพร กริชติทายาวุธ ผู้อำนวยการบริหารเครือข่าย UN Global Compact Network ประเทศไทย กล่าว

SOS ก่อตั้งขึ้นที่กรุงเทพฯ ในปี 2012 จากนั้นเข้าร่วม UN Global Compact ในปี 2021 โดยทำงานร่วมกับสมาชิกอื่นๆ เช่น รวบรวมอาหารที่ขายไม่ได้จากร้าน Starbucks สาขาที่เข้าร่วม ในกรุงเทพฯ หัวหิน เชียงใหม่ และภูเก็ตเพื่อจัดส่งให้ชุมชนที่ต้องการ

สำหรับผู้สนับสนุนที่ทำงานใกล้ชิดอย่าง Lotus’s ซึ่งมีซูเปอร์มาร์เก็ตและไฮเปอร์มาร์เก็ตประมาณ 2,600 แห่งในประเทศไทย พวกเขาอยากเห็นโครงการ Rescue Kitchen ขยายไปทั่วประเทศ โดยความทะเยอทะยานในอนาคต คือการเชิญชวนให้ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ไฮเปอร์มาร์เก็ตของ Lotus’s มาร่วมกันขับเคลื่อนเรื่องปากท้องคนไทยไปด้วยกัน

ร่วมเปลี่ยนแปลงโลกกับเรา
UN Global Compact
Network Thailand
APPLY FOR MEMBERSHIP
เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ เราใช้คุกกี้เพื่อเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และการใช้งานของเว็บไซต์เพื่อปรับปรุง ปรับแต่งเนื้อหา และโฆษณาตามความต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้ เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์ และ นโยบายสิทธิส่วนบุคคล
Subscribe
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถปรับแต่งการตั้งค่าคุกกี้ในแต่ละประเภทได้ดังต่อไปนี้
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่จำเป็นต่อการให้บริการ
(Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการบนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่จะช่วยให้ท่านสามารถเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยของเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้เพื่อการวัดผลการทำงานและฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์
(Performance and Functionality Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะถูกใช้เพื่อจดจำท่านเมื่อท่านกลับเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้ง ช่วยให้เราปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะกับท่านและจดจำการตั้งค่าของท่าน (เช่น ภาษาหรือภูมิภาคที่ท่านเลือก) แต่ไม่จำเป็นต่อการวัดผลการทำงานของเว็บไซต์
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์หรือเพื่อการปรับแต่ง
(Analytical or Customization Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ใช้งานเข้าสู่เว็บไซต์และออกจากเว็บไซต์ เราใช้ข้อมูลนี้ในลักษณะของข้อมูลโดยรวมเพื่อช่วยให้เราปรับปรุงวิธีการทำงานของเว็บไซต์ หรือเพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราตามความสนใจของท่านได้