โกลบอลคอมแพ็กประเทศไทย ผนึกกำลัง “ซีอีโอ”ธุรกิจไทยชั้นนำ ยกระดับแผนธุรกิจ ตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในงาน UN Global Compact Virtual Leaders Summit 2021

UNGCNT News
  • โกลบอลคอมแพ็กประเทศไทย ผนึกกำลัง 3 ซีอีโอองค์กรสมาชิกชั้นนำร่วมแชร์วิสัยทัศน์เปลี่ยนโลกสู่ความยั่งยืน ในงาน UN Global Compact Virtual Leaders Summit 2021 หวังผลักดันภาคเอกชนนำเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนระดับโลกผนวกเข้ากับเป้าหมายและแผนธุรกิจ โดยเฉพาะการตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  • ผู้นำความยั่งยืนระดับโลก เข้าร่วมงาน “UN Global Compact Virtual Leaders Summit 2021” ของ UN Global Compact มากกว่า 20,000 คน จาก 165 ประเทศทั่วโลกร่วมขับเคลื่อน SDGs ระบุ “โลกร้อน” เป็นประเด็นเร่งด่วนต่อจาก COVID-19


17 มิถุนายน 2564
: สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย เครือข่ายท้องถิ่นของ UN Global Compactร่วมเป็นเจ้าภาพในงานสัมมนาระดับโลก UN Global Compact Virtual Leaders Summit 2021 ของ UN Global Compact ซึ่งปีนี้องค์กรธุรกิจไทยชั้นนำได้รับเกียรติร่วมเวทีสำคัญถึง 3 เวที สะท้อนให้เห็นถึงภาวะผู้นำด้านความยั่งยืนของประเทศไทยที่พร้อมสร้างการเปลี่ยนแปลงในระดับโลก โดยเฉพาะการรับมือกับมหันตภัยโลกร้อน ซึ่งผู้นำความยั่งยืนจากทั่วโลกให้ความสำคัญ  โดยมองว่าปี ค.ศ. 2021 เป็นช่วงเวลาสำคัญที่จะขับเคลื่อนโลกไปสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) สอดรับกับความเคลื่อนไหวก่อนหน้านี้ของหลายประเทศ ที่ประกาศเป้าหมายและมาตรการเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ตามข้อตกลงปารีสที่ต้องการให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ การผนึกกำลังของซีอีโอบริษัทไทยชั้นนำในเวทีโลกปีนี้ ยังสอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักในการก่อตั้งสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย ในการเป็นเครือข่ายความยั่งยืนยุคใหม่ที่จะร่วมกันลงมือทำเพื่อเปลี่ยนแปลงโลก (A New Era of Action)

นางสาวธันยพร กริชติทายาวุธ  ผู้อำนวยการสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปีนี้นับเป็นปีที่สองที่ประเทศไทยได้รับเกียรติจาก UN Global Compact ให้ร่วมเป็นเจ้าภาพในเวทีสัมมนาระดับโลก โดยมีซีอีโอองค์กรธุรกิจไทยชั้นนำ ได้ร่วมแสดงวิสัยทัศน์ถึง 3 องค์กรใน 3 เวทีสำคัญ เริ่มจากเวทีหลัก ซึ่งเป็นหัวใจของงาน คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ซีอีโอ เครือเจริญโภคภัณฑ์ และนายกสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย ร่วมเสวนาในหัวข้อ “Light the Way to Glasgow and Net Zero: Credible Climate Action for a 1.5 °C World”  หรือ “จุดคบเพลิงเพื่อมุ่งหน้าสู่การประชุม COP26 Glasgow และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์: ลงมือทำอย่างจริงจังเพื่อควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส”  คุณแดน ปฐมวาณิชย์  ซีอีโอ บริษัท เอ็น อาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) ร่วมเสวนาในหัวข้อ A New Era of Action. Accelerate Climate Action: Raising Business Pathway to Decarbonization” หรือ “การต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ: ยกระดับแนวทางธุรกิจเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก” คุณโฮ เรน ฮวา ซีอีโอ บริษัท ไทยวา จำกัด (มหาชน) ร่วมเสวนาในหัวข้อ SDG Ambition: Mobilizing Ambitions Corporate Actions Towards the Global Goals หรือ ยกระดับการดำเนินงานขององค์กรธุรกิจสู่เป้าหมายความยั่งยืนระดับโลก ผู้บริหารจาก 3 องค์กรชั้นนำ ซึ่งถือเป็นตัวแทนประเทศไทย ได้แสดงวิสัยทัศน์ที่สะท้อนถึงศักยภาพของภาคธุรกิจไทยที่พร้อมสร้างความเปลี่ยนแปลงเพื่อความยั่งยืนในระดับโลก และเป็นตัวอย่างขององค์กรธุรกิจที่นำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนระดับโลก (Global Goals) มาผนวกเข้ากับเป้าหมายองค์กร มีแผนงานที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม รวมทั้งวัดผลได้ โดยเฉพาะเรื่องการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)

นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ และนายกสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย  กล่าวว่า การที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ ต้องเริ่มจากการทำให้คนในประเทศตระหนักถึงปัญหาการบริโภคที่ยังไม่ยั่งยืน ทั้งระดับบุคคลและบริษัท เช่น การใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากเกินไปมาอย่างยาวนานที่ส่งผลให้อุณหภูมิโลกร้อนขึ้นเรื่อยๆ  ในฐานะที่ธุรกิจของเครือเจริญโภคภัณฑ์เกี่ยวข้องกับอาหาร การเกษตร และการค้าปลีก จึงพยายามทำงานร่วมกับพันธมิตรมากกว่า 100,000 ราย ในการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) และที่สำคัญ ต้องสร้างความตระหนักรู้ให้พนักงานกว่า 400,000 คนของเครือฯ เดินตามเป้าหมายเดียวกัน

เครือเจริญโภคภัณฑ์ตั้งเป้าหมายว่าภายใน 10 ปีข้างหน้าจะดำเนินการใน 3 หัวข้อหลัก  คือ 1) ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนตามปริมาณที่เครือฯ ต้องการใช้ในปี 10 หน้า 1,600 เมกะวัตต์ โดยจะลงทุนเรื่องพลังงานสีเขียวกว่า 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 2) ปลูกป่าให้ได้ 16 ล้านไร่ เพื่อครอบคลุมการชดเชยคาร์บอนฟุตพริ้นท์ใน 10 ปีข้างหน้า รวมถึงมุ่งมั่นลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกครอบคลุมพื้นที่ของเกษตรกรในห่วงโซ่อุปทาน 3) ขับเคลื่อนการกำจัดขยะ โดยเฉพาะขยะอาหารในกระบวนการทั้งหมดให้เป็นศูนย์

นอกจากนี้ นายศุภชัย ได้ยกตัวอย่างพื้นที่ในภาคเหนือของประเทศไทยว่า มีภูเขาหัวโล้นจำนวนมาก เนื่องจากระบบเกษตรกรรมพืชเชิงเดี่ยว (mono-crop) แต่เมื่อมีการส่งเสริมให้เปลี่ยนระบบเกษตรไปทำแบบผสมผสาน ก็ทำให้พื้นที่ป่าบนภูเขาเพิ่มขึ้นมาเองโดยธรรมชาติ จึงเป็นคำตอบที่ชัดเจนว่า เราต้องหยุดการตัดป่าอย่างต่อเนื่อง และแนะนำให้นำเทคโนโลยี เช่น บล็อกเชน และ IoT มาช่วยจัดการดูแลระบบเกษตรกรรมมากขึ้น

“ผมอยากให้ในงานประชุม COP26 ระหว่างผู้นำโลก ณ เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ ซึ่งจะจัดขึ้นเดือน พ.ย. 2564เรียกร้องให้รัฐบาลและตลาดหลักทรัพย์ในแต่ละประเทศ กำหนดให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และภาคเอกชน ตั้งเป้าหมายความยั่งยืนและทำรายงานเกี่ยวกับ zero emission เพื่อช่วยขับเคลื่อนทั้งระบบนิเวศ (eco-system) ให้การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อลดอุณหภูมิโลกเกิดขึ้นได้จริง ตามเป้าหมายภายในปี  2593 โดยภาคเอกชนควรมองเรื่องเหล่านี้เป็นโอกาสทางธุรกิจ เมื่อเราหันมาลงมือทำอย่างจริงจัง และสุดท้าย อยากให้ระบบการศึกษาของคนรุ่นใหม่ ปรับจากยุค 2.0 เป็น 4.0 ที่ไม่เพียงเน้นเฉพาะเรื่องเทคโนโลยี แต่ต้องสอนให้ตระหนักถึงความสำคัญเรื่องการดำรงชีวิตอย่างยั่นยืนด้วย” นายศุภชัย กล่าว


ด้านนายแดน ปฐมวาณิชย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
บริษัท เอ็น อาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน)  เปิดวิสัยทัศน์และเป้าหมายขององค์กรว่า เอ็นอาร์เอฟ จะทำให้โลกปลอดคาร์บอนผ่านการเปลี่ยนแปลงระบบอาหาร โดยระบุอยู่ในทุกสิ่งขององค์กร ตั้งแต่วิสัยทัศน์ นโยบาย และเป้าหมายที่จะเป็นผู้ผลิตโปรตีนทางเลือกและอาหารจากพืชที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยสร้างเครือข่ายกำลังการผลิตที่ครอบคลุมมากที่สุดในโลก ตั้งแต่แบรนด์ระดับสากล ไปจนถึงสตาร์ทอัพ สู่ซุปเปอร์มาร์เก็ต เพื่อเปลี่ยนไปสู่การผลิตอาหารคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน สิ่งที่เอ็นอาร์เอฟให้ความสำคัญ ก็คือ การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน ให้เข้าใจถึงวิสัยทัศน์และเป้าหมายขององค์กร ด้วยการมีนโยบายที่ชัดเจน ที่ถ่ายทอดจากระดับผู้บริหารสูงสุด ไปถึงผู้บริหารระดับกลาง และผู้ปฏิบัติงานในระดับจัดซื้อ เพื่อให้มั่นใจว่าได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตรงตามมาตรฐานขององค์กร

ซีอีโอ เอ็นอาร์เอฟ ยังได้แชร์มุมมองที่น่าสนใจว่า ความท้าทายสำคัญในธุรกิจอาหาร ก็คือ การเปลี่ยนผ่านจากผู้ผลิตที่ทำการเกษตรบนพื้นฐานของสารเคมี ไปสู่การทำการเกษตรชีวภาพ ที่ไม่ใช่สารเคมี  เพราะถ้าทำเช่นนี้ได้ย่อมทำให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจำไปได้ในตัว

“COVID-19 นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในห่วงโซ่อุปทาน เพราะทุกคนต้องการมีสุขภาพดี ทุกคนต้องการอาหารสะอาด และต้องการ “เดี๋ยวนี้”  สิ่งที่ทุกคนต้องการ ไม่เพียงแต่ทำให้ตนเองรู้สึกดี แต่ยังทำให้โลกดีขึ้นด้วย การเปลี่ยนแปลงเพื่อตอบสนองสิ่งที่ผู้คนต้องการนี้ จะผลักดันให้ภาคธุรกิจยกระดับแผนธุรกิจเพื่อความยั่งยืน เพื่อให้เป็นบริษัทแห่งศตวรรษที่ 22” นายแดน กล่าว

นาย โฮ เรน ฮวา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยวา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กลยุทธ์ด้านความยั่งยืนนั้น เป็นส่วนหนึ่งของของวิสัยทัศน์และกลยุทธ์หลักของไทยวา โดยวิสัยทัศน์ของไทยวา คือ “พัฒนาสร้างสรรค์นวัตกรรมและความยั่งยืนจากไร่สู่มือผู้บริโภค” ผ่านการดำเนินกลยุทธ์ร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกด้านตลอดห่วงโซ่คุณค่า ภายใต้ 4 เสาหลัก คือ เกษตรกร (Farm) โรงงาน (Factory) ครอบครัวไทยวา (Family) และอาหาร (Food)

ไทยวากำลังจะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ในปลายปีนี้ เป็นการพัฒนานวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อย่างพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพจากแป้งมันสำปะหลัง ซึ่งนอกจากจะสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ 100% ปลอดสารพิษและไม่เป็นอันตราย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อีกด้วย โดยไทยวาจะเป็นผู้บุกเบิกพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพจากมันสำปะหลังรายแรกของไทย และมีเป้าหมายที่จะก้าวขึ้นเป็นหนึ่งในผู้ผลิตพลาสติกชีวภาพชั้นนำในระดับภูมิภาค เพื่อนำไปสู่แนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรในระยะยาว  ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างทวนสอบรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร คาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงครึ่งปีหลังนี้

ซีอีโอ ไทยวา ยังย้ำว่า ภาคเอกชนและภาครัฐ จะผลักดันการพัฒนานวัตกรรมร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ของสังคมได้ เช่นเดียวกับที่ไทยวาทำงานร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจ สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยชั้นนำ และสตาร์ทอัพ ในการวิจัยพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้า สร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจ จนถึงคุณค่าต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

“ความยั่งยืน เป็นสิ่งที่สำคัญมาก และไม่สามารถสร้างได้จากคนคนเดียว แต่จะต้องเกิดจากการระดมสมองและความร่วมมือกันของทุกฝ่าย ทั้งในและนอกองค์กร ที่จะมีส่วนช่วยพัฒนาและสร้างนวัตกรรมรูปแบบใหม่ๆ ในเวลาอันรวดเร็ว และแน่นอนว่ามันดีกว่าการทำงานตัวคนเดียวมาก อย่างที่คุณคาดไม่ถึงเลย” นายโฮ เรน ฮวา กล่าว
ในส่วนขององค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก (อบก.) ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่รับผิดชอบด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทย นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการ อบก. ซึ่งเข้าร่วมงานในครั้งนี้ด้วย กล่าวว่า ถึงแม้ว่าการระบาดของโควิด-19 ยังมีอยู่ในประเทศไทย แต่จากข้อมูลของ อบก. พบว่าหลายบริษัทในไทยได้ยกระดับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก  เพื่อช่วยกันบรรเทาปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยในปี 2563 มีถึง 193 บริษัทที่ได้รับการรับรองเรื่องคาร์บอนฟุตพริ้นท์  และมีหลายบริษัทที่ดำเนินโครงการเพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ มากขึ้น ซึ่ง อบก. จะร่วมมือกับ GCNT สนับสนุนองค์ความรู้และข้อมูลทางเทคนิคทุกอย่าง เพื่อให้บริษัทสามารถตั้งเป้าหมาย ดำเนินการ ตรวจสอบ และได้รับรองการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล

ธันยพร กล่าวทิ้งท้ายว่า “UN Global Compact ให้ความสำคัญอย่างมาก กับการผลักดันและส่งเสริมให้ภาคธุรกิจมีบทบาทในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจัง โดยมุ่งเน้นไปที่การกำหนดเป้าหมายตามหลักวิทยาศาสตร์ที่มีนัยสำคัญและวัดผลได้ ซึ่งสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย ในฐานะเครือข่ายท้องถิ่นของ UN Global Compact จะเตรียมความพร้อมในเรื่องนี้ให้กับองค์กรธุรกิจไทย  เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ และเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนของธุรกิจเอง โดยถือเป็นสร้างโอกาสทางธุรกิจรูปแบบใหม่ และหลีกเลี่ยงผลกระทบจากมาตรการทางการค้าที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย”

โกลบอลคอมแพ็กประเทศไทยร่วมเป็นเจ้าภาพในงานสัมมนาระดับโลก UN Global Compact Leaders Summit 2021 

………………………………………………………………………………………………..

เกี่ยวกับ United Nations Global Compact (UNGC)
United Nations Global Compact  คือ โครงการริเริ่มของเลขาธิการสหประชาชาติที่สนับสนุนให้บริษัทต่างๆ ปรับยุทธศาสตร์และการดำเนินงานให้สอดคล้องกับหลักสากลสิบประการในด้านสิทธิมนุษยชน แรงงาน สิ่งแวดล้อม และการต่อต้านการทุจริต UNGC ได้เปิดตัวในปี พ.ศ.​2543 โดยมีเป้าหมายที่จะให้คำแนะนำและสนับสนุนให้องค์กรธุรกิจทั่วโลกดำเนินกิจการด้วยแนวทางที่รับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาที่ยั่งยืน อันสอดคล้องเป้าหมายและค่านิยมขององค์การสหประชาชาติ  โดยมีบริษัทมากกว่า 13,000 แห่ง และ องค์กรไม่แสวงหากำไรมากกว่า 3,000 แห่งใน 165 ประเทศ และเครือข่ายท้องถิ่นมากกว่า 60 แห่ง เข้าร่วมเป็นเครือข่าย

เกี่ยวกับ Global Compact Network Thailand (GCNT)
สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (Global Compact Network Thailand: GCNT) ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม 2561 โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งในไทย 15 บริษัท ปัจจุบันมีสมาชิก 70 บริษัท โดย GCNT ถือเป็นหนึ่งในเครือข่ายท้องถิ่น (Local Network) ของโครงการสำคัญในระดับโลกขององค์การสหประชาชาติ UN Global Compact เครือข่ายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งรณรงค์ให้บริษัททั่วโลกวางกลยุทธ์และยึดหลักการทำงานที่สร้างเศรษฐกิจยั่งยืนครอบคลุมการดำเนินงานใน 4 ด้าน ได้แก่ สิทธิมนุษยชน มาตรฐานแรงงาน สิ่งแวดล้อม การต่อต้านทุจริต ตลอดจนดำเนินกิจกรรมที่ช่วยผลักดันเป้าหมายของสังคมในวงกว้าง ภายใต้หลักสากล 10 ประการของ UN Global Compact เพื่อบรรลุเป้าหมายของสหประชาชาติ

ร่วมเปลี่ยนแปลงโลกกับเรา
UN Global Compact
Network Thailand
APPLY FOR MEMBERSHIP
เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ เราใช้คุกกี้เพื่อเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และการใช้งานของเว็บไซต์เพื่อปรับปรุง ปรับแต่งเนื้อหา และโฆษณาตามความต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้ เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์ และ นโยบายสิทธิส่วนบุคคล
Subscribe
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถปรับแต่งการตั้งค่าคุกกี้ในแต่ละประเภทได้ดังต่อไปนี้
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่จำเป็นต่อการให้บริการ
(Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการบนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่จะช่วยให้ท่านสามารถเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยของเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้เพื่อการวัดผลการทำงานและฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์
(Performance and Functionality Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะถูกใช้เพื่อจดจำท่านเมื่อท่านกลับเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้ง ช่วยให้เราปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะกับท่านและจดจำการตั้งค่าของท่าน (เช่น ภาษาหรือภูมิภาคที่ท่านเลือก) แต่ไม่จำเป็นต่อการวัดผลการทำงานของเว็บไซต์
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์หรือเพื่อการปรับแต่ง
(Analytical or Customization Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ใช้งานเข้าสู่เว็บไซต์และออกจากเว็บไซต์ เราใช้ข้อมูลนี้ในลักษณะของข้อมูลโดยรวมเพื่อช่วยให้เราปรับปรุงวิธีการทำงานของเว็บไซต์ หรือเพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราตามความสนใจของท่านได้