ปตท. เปิดโครงการ “ลมหายใจเพื่อเมือง” ปลูกต้นไม้ 100,000 ต้น เพิ่มพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพมหานคร

Human Rights


ปตท. เปิดโครงการ “ลมหายใจเพื่อเมือง” ปลูกต้นไม้ 100,000 ต้น เพิ่มพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพมหานคร พร้อมมอบเงินสนับสนุนในโครงการ “ลมหายใจเพื่อน้อง” แก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา โดยมี นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ศาสตราจารย์ ดร.สมพงษ์ จิตระดับ กรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และ นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ร่วมพิธี ณ ที่ดิน ปตท. ถ.กำแพงเพชร 6 กรุงเทพมหานคร

การดำเนินงานของ ปตท. ร่วมดูแลสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้จัดตั้ง “โครงการลมหายใจเดียวกัน” เพื่อช่วยเหลือสังคมจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 และต่อเนื่องด้วย “โครงการลมหายใจเพื่อน้อง” ช่วยเหลือเยาวชนจากวิกฤตการศึกษา โดยเฉพาะในช่วงชั้นรอยต่อ

ภายในงานจึงจัดพิธีมอบเงินสนับสนุนแก่ กสศ. เพื่อจัดตั้ง “กองทุนแรกเริ่มศูนย์ช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในวิกฤตการศึกษา” งบประมาณ 20 ล้านบาท เบื้องต้นสามารถช่วยเหลือเยาวชนที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยทางสังคม อย่างน้อย 241 คน ให้ได้รับโอกาสทางการศึกษาในปี 2565 อีกทั้งที่ผ่านมาได้ช่วยเหลือเด็กและเยาวชนช่วงชั้นรอยต่อที่มีปัจจัยเสี่ยงด้านเศรษฐกิจกว่า 60,000 คน จาก 17,432 โรงเรียนทั่วประเทศ รวมสนับสนุนการศึกษาแก่เยาวชนภายใต้โครงการลมหายใจเพื่อน้อง ทั้งสิ้น 171 ล้านบาท

ในวันนี้ ปตท. จึงเริ่มดำเนินโครงการ “ลมหายใจเพื่อเมือง” สนับสนุนเป้าหมายของกรุงเทพมหานคร ในการปลูกต้นไม้ 1 ล้านต้น ปตท. จะร่วมปลูกต้นไม้ 100,000 ต้น ในพื้นที่ของ ปตท. และพื้นที่ของ กทม. เป็นไม้ยืนต้น ไม้พุ่มอายุยาว และไม้เถาที่มีเนื้อไม้ เป็นพันธุ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่กรุงเทพฯ อาทิ ต้นประดู่ป่า ต้นรวงผึ้ง ต้นไทรย้อยใบแหลม โดยนำร่องพัฒนาพื้นที่บริเวณถนนกำแพงเพชร 6 ซึ่งเป็นพื้นที่ของ ปตท. ที่จะพัฒนาใช้ประโยชน์และมุ่งให้เกิดพื้นที่สีเขียวควบคู่กันต่อไปในอนาคต สอดคล้องกับนโยบายการเชื่อมโยงกับพื้นที่สีเขียวของ กทม.

ทั้งนี้ นอกจากจะปลูกต้นไม้ในพื้นที่ของ ปตท. แล้ว ยังร่วมกับ กทม. ปลูกต้นไม้ในพื้นที่สวนสาธารณะ อาทิ สวนจตุจักร สวนรถไฟ และอีกหลายพื้นที่ที่สำคัญทั่วกรุงเทพฯ เพื่อช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ กักฝุ่นและมลพิษ รวมทั้งยังเป็นการช่วยลดอุณหภูมิรอบพื้นที่ปลูก ให้ร่มเงา และเพิ่มความน่าอยู่ให้กับสังคมเมืองอีกด้วย ปตท. หวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการลมหายใจเพื่อเมือง จะเป็นส่วนช่วยขับเคลื่อนให้ประเทศน่าอยู่ต่อไป

อนึ่ง การพัฒนาพื้นที่สีเขียว เป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของ ปตท. มาโดยตลอด เริ่มตั้งแต่
  • โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ 1 ล้านไร่ จนได้รวบรวม พัฒนาองค์ความรู้มาเป็นสถาบันปลูกป่าและระบบนิเวศ ปตท. ในปัจจุบัน
  • อีกทั้ง ปตท. พร้อมสนับสนุนเป้าหมายของประเทศสู่สังคมคาร์บอนต่ำ โดยได้กำหนดกลยุทธ์ 3P ได้แก่
• Pursuit of lower emissions ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการ
• Portfolio Transformation ปรับพอร์ตการดำเนินธุรกิจสู่ธุรกิจสีเขียว เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
• Partnership with nature and society ดำเนินการปลูกและบำรุงรักษาป่า ร่วมกับภาครัฐและชุมชน มุ่งสู่การเพิ่มการดูดซับก๊าซเรือนกระจกจากชั้นบรรยากาศ

ซึ่งดำเนินงานทั้งหมดจะร่วมผลักดันองค์กรให้บรรลุเป้าหมาย Net Zero Emission ต่อไป
ร่วมเปลี่ยนแปลงโลกกับเรา
UN Global Compact
Network Thailand
APPLY FOR MEMBERSHIP
เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ เราใช้คุกกี้เพื่อเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และการใช้งานของเว็บไซต์เพื่อปรับปรุง ปรับแต่งเนื้อหา และโฆษณาตามความต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้ เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์ และ นโยบายสิทธิส่วนบุคคล
Subscribe
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถปรับแต่งการตั้งค่าคุกกี้ในแต่ละประเภทได้ดังต่อไปนี้
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่จำเป็นต่อการให้บริการ
(Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการบนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่จะช่วยให้ท่านสามารถเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยของเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้เพื่อการวัดผลการทำงานและฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์
(Performance and Functionality Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะถูกใช้เพื่อจดจำท่านเมื่อท่านกลับเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้ง ช่วยให้เราปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะกับท่านและจดจำการตั้งค่าของท่าน (เช่น ภาษาหรือภูมิภาคที่ท่านเลือก) แต่ไม่จำเป็นต่อการวัดผลการทำงานของเว็บไซต์
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์หรือเพื่อการปรับแต่ง
(Analytical or Customization Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ใช้งานเข้าสู่เว็บไซต์และออกจากเว็บไซต์ เราใช้ข้อมูลนี้ในลักษณะของข้อมูลโดยรวมเพื่อช่วยให้เราปรับปรุงวิธีการทำงานของเว็บไซต์ หรือเพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราตามความสนใจของท่านได้