5 มุมมองการร่วมมือ สู่เป้าหมายแห่งความยั่งยืน Collaborative Partnership for Sustainability

Article


ผ่านไปแล้วกับเวทีเสวนาเพื่อความยั่งยืน ในธีม Collaborative Partnership for Sustainability หรือ ปลุกพลังความร่วมมือสู่เป้าหมายสู่ความยั่งยืน ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 19 ส.ค. ที่ผ่านมา โดยกลุ่มธุรกิจ TCP และพันธมิตรทางธุรกิจ ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้ และหารือถึงแนวทางในการขับเคลื่อนความยั่งยืน ภายใต้ 3 หัวข้อ ได้แก่ เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ เศรษฐกิจหมุนเวียน และการจัดการทรัพยากรน้ำ ตามเป้าหมาย “ปลุกพลัง เพื่อวันที่ดีกว่า”



ปัญหาโลกร้อนที่เราเผชิญอยู่ เราต้องร่วมกันแก้ปัญหา โดยทางรัฐบาลได้ตั้งเป้าเพื่อเข้าสู่สภาวะ “ความเป็นกลางทางคาร์บอน” ภายในปี ค.ศ. 2050 และ “การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์” ภายในปี ค.ศ. 2065  เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว สามารถทำได้ 2 กระบวนการใหญ่ๆ คือ ‘การลดการปล่อยก๊าซ’ ทั้งในเชิงนโยบาย อาทิ นโยบายการพัฒนา “เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว” (BCG Economy) นำเทคโนโลยีมาช่วยพัฒนา สนับสนุนการลงทุนผลิตสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผ่านการใช้พลังงานทดแทน ให้ความสำคัญกับการกำจัดขยะ ลดน้ำเสียในชุมชน และลดการใช้ทรัพยากร ‘การเพิ่มการดูดซับก๊าซ’ การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในประเทศไทยเพื่อดูดซับก๊าซ และการผลักดันกลไกตลาด Carbon Credit รวมถึงมาตรการต่างๆ ที่ออกมาแล้ว การกำหนดปริมาณ Carbon Footprint ให้แต่ละภาคธุรกิจ ทั้งหมดนี้จะเป็นจริงได้เมื่อทุกภาคส่วนร่วมมือกัน




วิกฤตโควิด-19 ส่งผลกระทบซ้ำเติมความเปราะบางของระบบเศรษฐกิจไทยที่มีปัญหาเรื้อรังมายาวนาน การฟื้นฟูและพัฒนาไปสู่เศรษฐกิจสมัยใหม่ จึงต้องใช้แนวคิดที่ยั่งยืนและจริงจัง

แนวคิดเรื่องความยั่งยืนในเชิงองค์กร ควรให้ความสำคัญกับเรื่องการเติบโตผ่าน 2 สิ่ง
1.‘คน’ คือ ให้ความสำคัญเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ และความหลากหลายของคนภายในองค์กร
2.‘ทุน’ คือ การลงทุนเพื่อส่งเสริมกระบวนการต่างๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ลงทุนกับเทคโนโลยี หรือ นวัตกรรมเพื่อมาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาการผลิตที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น



การสร้างความร่วมมือกับพันธมิตร เพื่อขับเคลื่อนความยั่งยืน สามารถเปลี่ยนสิ่งที่ “เป็นไปไม่ได้” ให้ “เป็นไปได้” ซึ่งแนวทางการสร้างการร่วมมือประกอบไปด้วย 3 สิ่ง
1.‘ร่วมมือ’ เรื่องของความยั่งยืนไม่สามารถคิดคนเดียวได้ ต้องอาศัยความร่วมมือทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคผู้บริโภค
2.‘การแบ่งปันทรัพยากรและความรู้’ ไม่ควรเป็นความลับ แต่ควรเป็นเรื่องที่ทุกหน่วยงานควรแชร์กัน เพราะปัญหาเรื่องความยั่งยืนเป็นสิ่งที่เราต้องช่วยกันแก้ปัญหา
3.‘ปรับตัวและกำหนดเป้าหมายที่เป็นไปได้จริง’ คำว่า เป็นไปได้จริงนั้นมี 2 มิติ คือ มิติด้านเทคโนโลยีหรือวิธีการที่ทำให้เกิดขึ้นได้จริง และมิติที่ว่าเป้าหมายที่ตั้งนั้นคุ้มค่าที่จะทำ เช่น เรื่องบรรจุภัณฑ์ เราอาจบอกว่าอยากได้บรรจุภัณฑ์ที่รีไซเคิลได้อย่างแท้จริง แต่ถ้าราคาขายให้กับผู้บริโภคเพิ่มขึ้นไปสองเท่าตัว มันอาจไม่ยั่งยืน



โครงสร้างการจัดการน้ำที่เปลี่ยนจากระบบ Centralization มาเป็น Localization หรือ การปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะพื้นที่ในแต่ละชุมชน สามารถช่วยเพิ่มมูลค่ามหาศาลให้กับการเกษตร และภาคเอกชนเองก็เป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมทางการเกษตร ซึ่งเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมหลักของประเทศไทย ร่วมกับภาครัฐและชุมชน



การเก็บกลับขวด PET เป็นอีกหนึ่งวิธีในการช่วยเรื่องสิ่งแวดล้อมยั่งยืน โดยประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการเก็บกลับของขวด PET สูง ถ้าเทียบกับประเทศฝั่งยุโรปและอเมริกา แต่ทั้งนี้ประเทศไทยยังมีโอกาสที่จะทำให้การเก็บกลับนี้ดีขึ้นได้ ผ่าน 3 อย่างนี้

1.‘ทำระบบการเก็บกลับอย่างจริงจัง’ ทั้งในเชิงนโยบายและเชิงปฏิบิติ
2.‘ทุกหน่วยงานในห่วงโซ่การผลิตต้องร่วมมือกัน’ ในการลดต้นทุนของการรีไซเคิล และไม่ให้กลายเป็นภาระต่อผู้บริโภค
3.‘การให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการเก็บกลับ’ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กคนรุ่นใหม่ ที่จะกลายเป็นพลังช่วยขับเคลื่อนสิ่งเหล่านี้ในอนาคต ทางบริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) หรือ ไอวีแอล ก็มีเป้าหมายที่จะให้ความรู้เรื่องนี้กับกลุ่มเด็กและเยาวชนจำนวน 1 ล้านคนภายในปี ค.ศ. 2030

ที่มา: https://www.facebook.com/TCPGroupThailand 
อ่านเพิ่มเติม: “ความร่วมมือเท่านั้นที่จะเปลี่ยน “ความเป็นไปไม่ได้” ให้ “เป็นไปได้” ถอด 3 แนวทางปลุกพลังความร่วมมือสู่เป้าหมายความยั่งยืน จาก สราวุฒิ อยู่วิทยา

#TCP #กลุ่มธุรกิจTCP #TCPGroup #ปลุกพลังเพื่อวันที่ดีกว่า #EnergizingABetterWorldForAll #ปลุกพลังความร่วมมือสู่เป้าหมายความยั่งยืน #SDForum 

ร่วมเปลี่ยนแปลงโลกกับเรา
UN Global Compact
Network Thailand
APPLY FOR MEMBERSHIP
เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ เราใช้คุกกี้เพื่อเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และการใช้งานของเว็บไซต์เพื่อปรับปรุง ปรับแต่งเนื้อหา และโฆษณาตามความต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้ เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์ และ นโยบายสิทธิส่วนบุคคล
Subscribe
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถปรับแต่งการตั้งค่าคุกกี้ในแต่ละประเภทได้ดังต่อไปนี้
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่จำเป็นต่อการให้บริการ
(Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการบนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่จะช่วยให้ท่านสามารถเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยของเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้เพื่อการวัดผลการทำงานและฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์
(Performance and Functionality Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะถูกใช้เพื่อจดจำท่านเมื่อท่านกลับเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้ง ช่วยให้เราปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะกับท่านและจดจำการตั้งค่าของท่าน (เช่น ภาษาหรือภูมิภาคที่ท่านเลือก) แต่ไม่จำเป็นต่อการวัดผลการทำงานของเว็บไซต์
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์หรือเพื่อการปรับแต่ง
(Analytical or Customization Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ใช้งานเข้าสู่เว็บไซต์และออกจากเว็บไซต์ เราใช้ข้อมูลนี้ในลักษณะของข้อมูลโดยรวมเพื่อช่วยให้เราปรับปรุงวิธีการทำงานของเว็บไซต์ หรือเพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราตามความสนใจของท่านได้