ถอดวิสัยทัศน์ผู้นำรุ่นใหม่ “แดน ปฐมวาณิชย์” ที่ลงทุนเพื่อสร้างโลกซึ่งผลิบานเป็นความยั่งยืน

Article

คุณแดน ปฐมวาณิชย์ คือผู้บริหารรุ่นใหม่ CEO แห่งบริษัทเอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ NRF ผู้นำด้านการผลิต Specialty Food ที่ผสมผสานรสชาติและสุขภาพเข้าด้วยกันด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ

เขาเป็นนักธุรกิจ ผู้สร้างกิจการผลิตอาหารจากโปรตีนพืช (Plant-Based Food) คนแรกๆ ของประเทศไทย ด้วยความเชื่อมั่นอย่างเต็มเปี่ยมว่าเราสามารถต่อกรกับสภาวะโลกร้อนได้ ด้วยการใช้อาหารเป็นเครื่องมือ เพราะอาหารที่ผลิตจากพืชปล่อยก๊าซก๊าซเรือนกระจกเพียง 1 ใน 10 ของอาหารที่ผลิตจากเนื้อสัตว์ 

อย่างไรก็ตามความมุ่งมั่นของคุณแดนไปไกลกว่าแค่ลดการปล่อยคาร์บอน หนึ่งในก๊าซเรือนกระจกตัวการทำให้โลกร้อน แต่เขาต้องการผลักดันให้ NRF เป็น Clean Food Tech Company และไปถึงจุดที่ปล่อยคาร์บอนเป็นลบ (Carbon Negative) ซึ่งนับเป็นเป้าหมายที่ท้าทายอย่างมาก

มุมมองการทำธุรกิจของคุณแดนน่าสนใจ เช่นเดียวกับทัศนคติและความมุ่งมั่นของเขา จะมีผู้บริหารสักกี่คน ที่เป็นนักลงมือทำด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างรอบด้าน ทั้งในด้านกิจการและชีวิตส่วนตัว หลายปีที่ผ่านมาเขาขึ้นพูดสร้างความตระหนักบนหลากหลายเวทีระดับโลก ทั้งยังลงทุนซื้อคาร์บอนเครดิตเพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในชีวิตประจำวันของตัวเองให้เป็นศูนย์

จากนักธุรกิจสู่นักเคลื่อนไหวด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คุณแดนพูดกับเราถึงความท้าทายในการขับเคลื่อนบริษัท ที่สร้างผลกำไรไปพร้อมกับช่วยโลกลดก๊าซเรือนกระจก และภายใต้โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกด้าน คนทำงานยุคใหม่ต้องปรับตัวอย่างไร และลงมือทำสิ่งใด เพื่อให้การทำงานและการใช้ชีวิตของเราเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างโลกที่ยั่งยืน


01 เมื่องานของเราช่วยกู้โลกได้


ระบบอาหารของโลกเราทุกวันนี้ไม่ยั่งยืน เพราะปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึง 30 เปอร์เซ็นต์จากปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของอุตสาหกรรมทั้งหมด 


ในแต่ละปีการปศุสัตว์มีการผลิตจำนวนมากให้เพียงพอต่อปริมาณความต้องการของผู้บริโภคซึ่งกระบวนการของปศุสัตว์คือขั้นตอนการขุนสัตว์ให้อ้วนพีมีโปรตีน ต้องใช้พื้นที่ รวมทั้งทรัพยากร และพลังงานมหาศาล นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมระบบอาหารจึงสร้างก๊าซเรือนกระจกมากตามไปด้วย และที่สำคัญไปกว่านั้น ในแต่ละวันวัวนับล้านตัวจะปล่อยก๊าซมีเทนออกจากร่างกายผ่าน “ตด” และ “เรอ” แต่แท้จริงแล้วมันมีปริมาณมากจนถือเป็นอีกหนึ่งแหล่งสร้างก๊าซเรือนกระจกร้ายแรงตัวการโลกร้อน



คุณแดนอธิบายว่า “ในปี 2050 โลกอาจจะมีจำนวนประชากรถึงหนึ่งหมื่นล้านคน คำถามที่ตามมาคือเราจะหล่อเลี้ยงประชากรจำนวนมากขนาดนั้นได้อย่างไร นั่นคือความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ และผมมองว่าการบริโภคอย่างยั่งยืน ที่เปลี่ยนห่วงโซ่อุปทานและการผลิต การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง คือหัวใจสำคัญของการแก้ปัญหานี้” 

ในยุคปัจจุบันที่โลกของเรากำลังเผชิญวิกฤติด้านต่างๆ  เราทุกคนมีส่วนเกี่ยวกับกับปัญหาใดไม่ก็ปัญหาหนึ่ง คำถามคือ เมื่อรู้แล้วว่าปัญหาคืออะไร เราจะเลือกลงมือแก้ไขมันหรือไม่? 


ในฐานะผู้บริหารธุรกิจเกี่ยวกับอาหาร คุณแดนตั้งเป้าหมายทันทีว่าบริษัทของเขาจะต้องเป็นพาหนะในการเปลี่ยนแปลงระบบอาหาร ให้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยลง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและยั่งยืนยิ่งขึ้น เพื่อแก้ปัญหานี้ให้ได้ 



02 ความยั่งยืนที่ทุกคนในทีมร่วมสร้าง

“เราจะผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ Plant-Based Food ที่คุณภาพได้มาตรฐาน ในราคาที่แข่งขันได้ในระดับโลก ที่เรามุ่งมาทางนี้ เพราะในกระบวนการผลิตอาหารจากพืช ที่ได้ทั้งสารอาหารและโปรตีนไม่แพ้เนื้อสัตว์ นั้นปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่าอาหารจากสัตว์ถึง 1 ใน 10”


หากคุณติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด จะเห็นได้ว่าปัจจุบันทิศทางการพัฒนาของประเทศต่างๆ ล้วนให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การที่คุณแดนเริ่มขยับตัวสู่ Plant-Based Food เป็นคนแรกๆ ของประเทศไทย นับเป็นวิสัยทัศน์และการตัดสินใจเฉียบขาดที่ผู้บริหารและคนทำงานในปัจจุบันต้องดูเป็นตัวอย่าง


“เราเป็นหนึ่งในไม่กี่บริษัทของไทยที่เซ็นสัญญาลดปล่อยก๊าซคาร์บอน หนึ่งในก๊าซเรือนกระจก เพื่อให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นไม่เกิน 1.5 องศา ทุกวันนี้ NRF เป็นโรงงานผลิตอาหารที่ได้รับการรับรองคาร์บอนเป็นกลาง (Carbon Neutral) แห่งแรกและแห่งเดียวในไทย สิ่งนี้ส่งผลต่อความรู้สึกเชิงบวกของผู้บริโภคโดยเฉพาะที่ต่างประเทศ อย่างซูเปอร์มาร์เก็ตที่สหรัฐฯ ก็นำสินค้าของเราขึ้นเชลฟ์แทนสินค้าหลายๆชิ้น เพราะเราเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า”


อย่างไรก็ตาม เป้าหมายของคุณแดนต่อการขับเคลื่อนระบบอาหารนั้นไม่มีจุดสิ้นสุด เมื่อหมุดหมายแรกสำเร็จ ก็ต่อขยายจุดต่อไปเรื่อย ๆ แผ่กิ่งก้านออกเป็นโครงข่ายความยั่งยืน ปีที่ 5 กำลังก้าวสู่ปีที่ 6 การบริหารงานของเขามุ่งเน้นไปที่การสร้างวัฒนธรรมองค์กรสู่การเติบโตร่วมกัน ให้ทีมงานทั่วโลกทั้ง 1,500 คนเห็นความสำคัญของระบบอาหารที่ยั่งยืน เมื่อทุกคนในทีมเห็นภาพเดียวกัน องค์กรก็เดินหน้าไปอย่างถูกทิศทางและรวดเร็ว


“หมุดหมายใหม่ของเราตอนนี้ คือการมุ่งสู่การเป็น Global Clean Food Tech Company เราจะไม่ใช่แค่เป็นกลางทางคาร์บอน แต่เราจะไปให้ถึงจุดที่ปล่อยคาร์บอนติดลบ (Carbon Negative) ”





03 การทำงานที่มีแต่วินกับวิน 

คุณแดนอธิบายต่อถึงกลยุทธ์สู่ Carbon Negative ของ NRF ว่า “เราใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการพัฒนาอาหาร ทำอย่างไรเพื่อปล่อยมลพิษและก๊าซเรือนกระจกน้อยลง แต่ยังคงคุณภาพและความอร่อยเหมือนเดิม เพิ่มเติมคือดีต่อสุขภาพกว่าเดิมด้วยซ้ำ ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของเทคโนโลยีทั้งนั้น เช่นเดียวกับการปล่อยคาร์บอนติดลบ เราก็นำเทคโนโลยีเข้ามาเช่นเดียวกัน”


อีกหนึ่งภารกิจของคุณแดนและ NRF ตอนนี้คือพัฒนาไบโอคาร์บอน (Biocarbon) จากของเหลือทางการเกษตรที่ไม่มีมูลค่าใดๆ ซึ่งปกติจะถูกเผาทิ้งเนื่องจากเกษตรกรต้องจัดเตรียมพื้นที่สำหรับเพาะปลูกฤดูกาลถัดไป ของเหลือทางการเกษตรเหล่านี้มีมหาศาลทั่วโลก ซึ่งการเผานับเป็นหนึ่งในบ่อเกิดของมลภาวะ PM2.5 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเผาไหม้



“เราจึงนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ในกระบวนการนี้เพื่อการเพิ่มมูลค่าผ่านการแปรรูปของเหลือจากการเกษตรเหล่านั้น เช่น ซังข้าวโพด ให้กลายเป็นไบโอคาร์บอน ซึ่งเป็นถ่านชีวภาพที่เมื่อฝังแล้วจะช่วยเพิ่มศักยภาพของดิน ทำให้ดินดูดซึมน้ำได้ดีขึ้นถึง 3-4 เท่า ส่งผลให้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น แทนที่ซังข้าวโพดจะถูกเผา แต่ถูกแปรรูปเป็นไบโอคาร์บอน เปรียบเสมือนโรงงานดักจับก๊าซเรือนกระจกไม่ให้ลอยขึ้นไปยังชั้นบรรยากาศ”



04 ทุกการลงมือทำล้วนมีความหมาย


นอกจากบทบาทนักลงทุนและผู้บริหารที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้ระบบอาหารยั่งยืนขึ้น ผ่านการสร้างผลกำไรให้บริษัทไปพร้อมกับการแก้วิกฤติปัญหาของโลก จนได้รับการกล่าวถึงจากสื่อสิ่งพิมพ์ต่างประเทศมากมาย ทั้ง Time, Forbes, Bloomberg และ CNN คุณแดนยังเป็น Climate Actor ที่ผลักดันการใช้ชีวิตแบบคาร์บอนต่ำอย่างจริงจัง ได้รับเชิญเป็นวิทยากรในหลายเวทีความยั่งยืนระดับโลก อย่าง COP26 เวทีบรรเทาสภาพอากาศที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่เมืองกลาสโกล์เมื่อปีที่ผ่านมา


คุณแดนอธิบายว่าคนจำนวนมากยังคิดว่าปัญหาโลกร้อนไม่เกี่ยวกับตัวเอง น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ภัยพิบัติต่างๆ มันเกิดที่ทวีปอื่น ไม่มาถึงประเทศไทยหรอก ทั้งที่จริงโลกร้อนส่งผลกระทบกับเราในแทบทุกมิติ เอาใกล้ตัวที่สุดก็คืออาหารการกิน ดังนั้นอย่างแรกคือคุณต้องตระหนักก่อนว่ามันเกี่ยวกับคุณแน่ ๆ 


“อย่าคิดว่าการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวัน จะไม่ช่วยแก้ปัญหานี้ หากร่วมกันปรับเปลี่ยนคนละนิดละหน่อยก็สามารถช่วยโลกได้ อย่างตัวผมเอง เวลาไปออฟฟิศที่อยู่ชั้น 6 ผมจะเลี่ยงการใช้ลิฟต์แต่จะเปลี่ยนเป็นเดินขึ้นบันไดแทน ต่างกันไม่กี่นาที บางทีเราเลือกเดินอาจจะไวกว่าการขึ้นลิฟต์ และยังได้ออกกำลังกาย แถมยังประหยัดพลังงานอีกต่างหาก ลองคิดดูว่าถ้าทุกคนคิดแบบเดียวกับผม นั่งบีทีเอสบ้าง ลองเปิดหน้าต่างปิดเครื่องปรับอากาศดูบ้าง วันๆ นึงทั้งโลกจะลดการใช้พลังงาน ลดก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานนั้นไปได้มากมาย”


คุณแดนเสริมต่อว่า เราทุกคนกู้โลกได้จากอาหารวันละ 3 มื้อ สนับสนุนเกษตรกรและผู้ผลิตอาหารที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม หรือลองเริ่มลดการกินเนื้อสัตว์ ปรับมากิน Plant-Based Food บ้าง ตอนนี้ในเมืองไทยมีผู้ประกอบการทั้งรายเล็กรายใหญ่ พัฒนาอาหารหลายสูตรที่อร่อยไม่แพ้เนื้อจริงๆ และไม่ได้มีแค่ทางเลือกทดแทนเนื้อ แต่นมทดแทนจากพืชก็มีให้เลือก สิ่งแวดล้อมดีขึ้นและสุขภาพก็ดีขึ้นด้วย เพราะอาหารจากพืชไม่มีคอเลสเตอรอล



“สิ่งที่ผมพยายามทำคือการสร้างเวทีให้อุตสาหกรรมอาหารและการเกษตรทั่วโลก รวมถึงสร้างแพลตฟอร์มและสร้างเครือข่ายให้ SME ไทยที่ทั้งเก่งและครีเอทีฟในด้านการพัฒนาอาหาร ตอนนี้เรามีร้าน alt.Eatery ซึ่งร่วมมือกับผู้ประกอบการรายย่อยที่ทำ Plant-Based Food มากมาย ยิ่งมีร้านเยอะ เราก็ยิ่งขยายสิ่งนี้ออกไปหาคนได้เยอะขึ้น ผลิตภัณฑ์ก็จะหลากหลายขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการทำตลาดได้เยอะขึ้น”


คุณแดนกล่าวทิ้งท้ายว่า “เมื่อคนกินอาหารจากพืชมากขึ้น ก็เท่ากับการผลิตอาหารปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยลง คนได้กำไรทางตรงคือคนทำธุรกิจก็จริง แต่คนได้กำไรระยะยาวที่แท้จริงคือมนุษย์ทุกคนบนโลก” 




เราปรับ โลกเปลี่ยน
#NextGeneration


เพราะเราทุกคน เปลี่ยน” โลกให้ดีขึ้นได้  
พบหลาก idea หลาย action ของคนรุ่นใหม่ที่ลุกขึ้นมา “ปรับ”
คิดแล้วลงมือทำ เพื่อร่วมกันสร้างโลกให้ยั่งยืน

GCNT ขอเชิญติดตาม เราปรับ โลกเปลี่ยน
เผยแพร่ระหว่าง ก.ย.-พ.ย. 65

ทุกวันพุธ  
TNN
       หลังข่าวพระราชสำนัก เวลา 20.10-20.30 น  (โดยประมาณ)
               Rerun  วันศุกร์ ระหว่าง 10.40-11.00 น. (โดยประมาณ)

True4U  ก่อนเข้าข่าวพระราชสำนัก  เวลา 19.57 น. 
                Rerun วันจันทร์ 07.56 น. (ในสัปดาห์ถัดไป) 

GCNT FacebookGlobal Compact Network Thailand
GCNT YoutubeGlobal Compact Network Thailand

 

#WeShiftWorldChange #NextGeneration #เราปรับโลกเปลี่ยน #ทุกคนเปลี่ยนโลกให้ดีขึ้นได้





ร่วมเปลี่ยนแปลงโลกกับเรา
UN Global Compact
Network Thailand
APPLY FOR MEMBERSHIP
เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ เราใช้คุกกี้เพื่อเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และการใช้งานของเว็บไซต์เพื่อปรับปรุง ปรับแต่งเนื้อหา และโฆษณาตามความต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้ เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์ และ นโยบายสิทธิส่วนบุคคล
Subscribe
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถปรับแต่งการตั้งค่าคุกกี้ในแต่ละประเภทได้ดังต่อไปนี้
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่จำเป็นต่อการให้บริการ
(Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการบนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่จะช่วยให้ท่านสามารถเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยของเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้เพื่อการวัดผลการทำงานและฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์
(Performance and Functionality Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะถูกใช้เพื่อจดจำท่านเมื่อท่านกลับเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้ง ช่วยให้เราปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะกับท่านและจดจำการตั้งค่าของท่าน (เช่น ภาษาหรือภูมิภาคที่ท่านเลือก) แต่ไม่จำเป็นต่อการวัดผลการทำงานของเว็บไซต์
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์หรือเพื่อการปรับแต่ง
(Analytical or Customization Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ใช้งานเข้าสู่เว็บไซต์และออกจากเว็บไซต์ เราใช้ข้อมูลนี้ในลักษณะของข้อมูลโดยรวมเพื่อช่วยให้เราปรับปรุงวิธีการทำงานของเว็บไซต์ หรือเพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราตามความสนใจของท่านได้