แต้มต่อธุรกิจยุคใหม่ ทำไมต้องสร้างความยั่งยืนให้ Supply Chain ทั้งระบบ?

Article

การระบาดของโควิด-19 ทำให้ผู้ประกอบการตระหนักว่าระบบห่วงโซ่การผลิตและกระจายสินค้าของตนสามารถเกิดการชะงักงันได้ เมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น 

อย่างไรก็ตาม โควิด-19 เป็นเพียงคลื่นลูกแรกเท่านั้น คลื่นลูกที่ใหญ่กว่า อย่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Chage) และการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Loss) คือความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมระยะยาว ที่จะสร้างผลกระทบต่อโลกธรรมชาติและโลกธุรกิจอย่างรุนแรงกว่ามาก

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แนวคิดการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน (Sustainable Supply Chain Management) จึงถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงมากขึ้น เพราะคนทำธุรกิจทั่วโลกตระหนักถึงวิกฤต และต่างมองหาหนทางสร้างความแข็งแรงและยืดหยุ่นให้ห่วงโซ่อุปทานของตน ผ่านการตรวจสอบย้อนกลับไปยังทุกขั้นตอนของการจัดหา ผลิต และจัดจำหน่ายสินค้าและบริการ จากนั้นพลิกโฉมทุกขั้นตอนตลอดห่วงโซ่เสียใหม่ให้ยั่งยืน  

UNGCNT สรุปและถอดรหัสการสร้างความยั่งยืนให้ห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจทั้งระบบ เพื่อให้บริษัทของคุณอยู่รอดอย่างสง่างาม เพิ่มโอกาสทางการแข่งขัน และสร้างผลตอบแทนระยะยาวในทุกมิติ


01 Decoupling ปลดล็อกเพื่อสร้างธุรกิจยืดหยุ่น

หนึ่งในกระแสสำคัญของการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืนคือ Decoupling หรือการแยกออกจากกันระหว่างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการเสื่อมโทรมลงของทรัพยากรธรรมชาติ ตรงข้ามกับในอดีตที่การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ นำไปสู่การถลุงใช้ทรัพยากรจนทำลายล้างระบบนิเวศ

ในบริบทของการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน Decoupling เกี่ยวข้องกับการลดปริมาณการใช้ต้นทุนทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน และวัตถุดิบที่จำเป็นในการผลิตและบริการ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งสามารถทำได้ผ่านหลากหลายกลยุทธ์ เช่น 

  • การกำจัดของเสีย ปรับกระบวนการผลิตให้เหมาะสม ลดการผลิตส่วนเกินให้เหลือน้อยที่สุด รวมถึงลดปริมาณบรรจุภัณฑ์ลง
  • การปรับปรุงระบบลอจิสติกส์ ส่งมอบสินค้าให้เส้นทางขนส่งที่สั้นและมีประสิทธิภาพที่สุด 
  • การนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ออกแบบธุรกิจ เน้นที่ความคุ้มค่าของผลิตภัณฑ์และบริการที่มีอายุการใช้งานนานขึ้น สามารถใช้ซ้ำ ซ่อมแซมได้ ซึ่งนับเป็นการสร้างห่วงโซ่อุปทานแบบครบวงจรปิดที่ลดของเสียและเพิ่มมูลค่าสูงสุด
  • การใช้พลังงานทางเลือก เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานจากน้ำ จะช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากการดำเนินธุรกิจ ซึ่งไม่เพียงส่งผลดีต่อระบบนิเวศ แต่ยังเพิ่มโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนสีเขียวในวันที่ระบบการเงินโลกส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานหมุนเวียน
  • การใช้พลังงานทางเลือกที่เป็นพลังงานหมุนเวียนนี้ยังอาจจะดีไม่พอ ทางผู้ที่ต้องรับผิดชอบทั้งห่วงโซ่อุปทานยังแสวงหาทางเลือกที่เป็นพลังงานสะอาดมากขึ้น เช่น ไปใช้พลังงานที่ไม่สร้างผลกระทบเชิงลบกับสิ่งแวดล้อม เปลี่ยนจากใช้ไฟฟ้าจากเขื่อนที่ทำลายความหลากหลายทางธรรมชาติ มาเป็นใช้ไฟฟ้าจากโีรงไฟฟ้าชีวมวลแทน

หนึ่งในบริษัทที่ประสบความสำเร็จอย่างโดดเด่นคือ Patagonia บริษัทค้าปลีกเสื้อผ้าและอุปกรณ์กลางแจ้ง ที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการสร้างความยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทาน ต้งแต่จัดหาวัสดุ การผลิต ไปจนถึงกระจายสินค้า และการจัดจำหน่าย

Patagonia มีการลงทุนในเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมจำนวนมาก โดยเฉพาะวัสดุและกระบวนการผลิตที่ยั่งยืน เช่น การใช้เส้นใยโพลีเอสเตอร์รีไซเคิลและฝ้ายออร์แกนิก ซึ่งช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ยังใช้กระบวนการผลิตแบบวงจรปิด (closed-loop) ซึ่งช่วยลดของเสียและทำให้สามารถนำวัสดุกลับมาใช้ซ้ำและรีไซเคิลใช้ใหม่ รวมถึงใช้โปรแกรมการตรวจสอบย้อนกลับที่ช่วยให้ลูกค้ารู้แหล่งที่มาของวัสดุที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ของตัวเองได้ 

Patagonia ให้ความสำคัญกับความโปร่งใสและความรับผิดชอบ โดยได้กำหนดมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมที่เข้มงวดให้ซัพพลายเออร์ปฏิบัติตาม โดยมีการตรวจสอบและติดตามผลเป็นประจำ บริษัทริเริ่มโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหลายอย่าง เช่น เพิ่มประสิทธิภาพเส้นทางการขนส่ง และเปลี่ยนมาใช้พลังงานหมุนเวียนในร้านค้าและศูนย์กระจายสินค้า 



02 มาตรฐานความยั่งยืนที่ต้อง 'บริหารจัดการ' รอบด้าน

Decoupling ยังมีความหมายอีกนัยยะที่สื่อถึงการแยกเศรษฐกิจหรือห่วงโซ่การผลิตออกจากอีกประเทศใดประเทศหนึ่งอย่างสิ้นเชิง เพื่อลดผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานทั้งระบบในยามที่อะไรๆ ก็มีความไม่แน่นอนสูง 

อย่างการที่สหรัฐฯ และจีน พยายามที่จะแยกห่วงโซ่เศรษฐกิจออกจากกัน ลดการพึ่งพาในแง่การใช้เป็นฐานการผลิต ฐานการนำเข้าหรือซัพพลายเออร์วัตถุดิบและส่วนประกอบ หรือการที่อินโดนีเซีย ผู้ส่งออกน้ำมันปาล์มรายใหญ่ของโลกได้ระงับการส่งออกน้ำมันปาล์มนานหลายเดือนด้วยภาวะเฟ้อจากสงครามในยูเครน เพื่อให้มั่นใจว่าน้ำมันปาล์มจะเพียงพอสำหรับการบริโภคภายในประเทศ

การจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืนนับเป็นความพยายามระดับโลก โดยปัจจุบันหลายประเทศเริ่มเดินหน้ากฏหมายและข้อบังคับเพื่อให้แน่ใจว่าบริษัทต่างๆ จะรับผิดชอบต่อผลกระทบด้านลบจากห่วงโซ่อุปทานของตน อย่าง Supply Chain Act ของประเทศเยอรมนีที่เริ่มบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2023 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่บริษัทสัญชาติเยอรมัน รวมถึงบริษัทที่มีสาขาในประเทศเยอรมนีจะต้องปฏิบัติตามพันธะสัญญา ในการตรวจสอบสถานะด้านสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมในห่วงโซ่อุปทานของตนอย่างเหมาะสม

เช่นเดียวกับสหภาพยุโรปที่ได้เสนอร่างกฏหมาย “EU Directive on Corporate Sustainability Due Diligence” ซึ่งกำหนดให้มีการตรวจสอบห่วงโซ่อุปทานของบริษัทในสหภาพยุโรป รวมถึงบริษัทต่างชาติที่ทำธุรกิจในเขตสหภาพยุโรป ตลอดจนเครือข่ายธุรกิจของบริษัทนั้นๆ ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่การเพาะปลูก ผลิต และแปรรูป ไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่ใดของโลกว่าดำเนินการอย่างรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมหรือไม่

แม้ร่างกฏหมายดังกล่าว จะไม่มีผลใช้บังคับกับผู้ประกอบการรายย่อย แต่ SMEs ไทยจำนวนไม่น้อยที่เป็นซัพพลายเออร์ให้บริษัทที่เข้าข่าย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มสินค้าเกษตรและอาหาร สินค้าแฟชั่น อัญมณี ก็จะได้รับผลกระทบอยู่ดี 



03 ติดอาวุธธุรกิจ เมื่อทั่วโลกเดินหน้านโยบายสิ่งแวดล้อม

นับจากนี้ กฎหมาย ข้อบังคับของประเทศต่างๆ ทั่วโลกจะยิ่งจะเป็นสีเขียวและเข้มงวดขึ้น เราจะเห็นการเปลี่ยนผ่านของฐานการผลิตสินค้าประเทศต่างๆ ทั่วโลก บริษัทใหญ่หลายแห่งที่เคยใช้ทวีปเอเชียเป็นฐานการผลิต จะเริ่มมองหาฐานการผลิตใหม่ที่ต้นทางของวัตถุดิบ การผลิต และการบริโภคอยู่ในภูมิภาคเดียวกัน เนื่องจากลดระยะทางของการขนส่งลง ส่งผลให้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่า 

ดังนั้นผู้ประกอบการไทยต้องเริ่มขยับตัวเช่นกัน เพื่อให้การดำเนินธุรกิจของบริษัทคุณเป็นไปตามมาตรฐานการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน การเปลี่ยนแปลงนี้ แม้จะท้าทายอยู่มากแต่ก็นับเป็นโอกาสในการสร้างความเชื่อมั่นให้บริษัทคู่ค้าและผู้บริโภค ตลอดจนตลาดใหม่ๆ จากเป้าหมายทางธุรกิจใหม่ๆ เช่น หันมามุ่งเน้นการทำธุรกิจในภูมิภาค หรือ ออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ผลิตบนแนวคิดที่ยั่งยืนกว่า

ในระดับองค์กร CEO คือผู้มีบทบาทในการส่งเสริมการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืนของธุรกิจ และนี่คือ 5 ขั้นดำเนินการเริ่มต้น

  1. ทำแผนที่ห่วงโซ่อุปทาน เพื่อทำความเข้าใจว่าผลิตภัณฑ์และวัสดุของคุณมาจากไหน ผลิตและจัดจำหน่ายอย่างไร จากนั้นประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมที่เกี่ยวข้องกับแต่ละขั้นตอนของห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่การใช้พลังงาน การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ของเสียจากการผลิต ของเหลือจากการจัดจำหน่าย การปฏิบัติด้านแรงงานและสิทธิมนุษยชน

  2. กำหนดเป้าหมายความยั่งยืน ที่ชัดเจน วัดผลได้ และสอดคล้องกับกลยุทธ์ทางธุรกิจและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน เพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียน ลดของเสียให้เหลือน้อยที่สุด ปรับปรุงความปลอดภัยและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน

  3. ร่วมมือกับซัพพลายเออร์ ส่งเสริมให้ซัพพลายเออร์นำแนวปฏิบัติที่ยั่งยืนไปใช้ โดยบริษัทควรกำหนดเกณฑ์ความยั่งยืนที่ชัดเจนสำหรับการประเมินและคัดเลือกซัพพลายเออร์ เพื่อสร้างความยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทาน

  4. ตรวจสอบและวัดผลประสิทธิภาพ ของห่วงโซ่อุปทานเป็นประจำ เพื่อระบุส่วนที่ต้องปรับปรุงและรายงานผลการปฏิบัติงานให้บุคคลที่สามเข้ามาตรวจสอบ และรับรองความโปร่งใสของการดำเนินด้านความยั่งยืน

  5. สร้างนวัตกรรมและการมีส่วนร่วม การจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืนต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทั้งห่วงโซ่ มันสำคัญมากที่ผู้ประกอบการจะต้องเปลี่ยนทัศนคติต่อการทำธุรกิจ จากรูปแบบเดิมที่มุ่งเน้นแต่การแข่งขันเชิงปริมาณ เป็นการความร่วมมือและแบ่งปันความรู้เชิงคุณค่า ไม่จำเป็นต้องใช้เพียงเทคโนโลยีแต่แสวงหานวัตกรรมทางความคิดมาออกแบบธุรกิจรูปแบบที่เป็นเศรษฐกิจหมุนเวียน ตลอดจนลดการใช้ทรัพยากร มาเป็นการปรับตัวระยะยาวที่จะมีแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการ ซัพลายเออร์ ผู้บริโภค ตลอดจนองค์กรพัฒนาเอกชน รัฐบาล และชุมชน เพื่ออนาคตที่เศรษฐกิจโลกเติบโตอย่างยั่งยืนและยืดหยุ่นสำหรับทุกคน

04 ตั้งคำถามใหม่ ไม่ใช่ what-why แต่เป็น how-when

ภาวะโลกรวนนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงมากมาย ทั้งยังเป็นวิกฤตซ้อนวิกฤต หลายสิ่งที่เคยอธิบายได้ก็อธิบายไม่ได้ โลกของเราอ่อนแอลง ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมรุมเร้า พร้อมๆ กับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว 

โจทย์ความยั่งยืนในวันนี้จึงท้าทายกว่าที่เคยเป็นมา มีหลากปัญหาวิ่งเข้ามาทดสอบผู้นำองค์กรและผู้บริหารธุรกิจอย่างต่อเนื่อง นี่คือเวลาสำคัญที่คุณต้องพิสูจน์ และเลือกว่าจะรบ-หลบ-หรือยืนรอความพ่ายแพ้ เพราะถ้ายิ่งช้าจะยิ่งเสียเปรียบ โจทย์วันนี้จึงไม่ใช่เรื่องของความตระหนักหรือ what-why แต่เป็นเรื่องของ how-when การเร่งลงมือทำเพื่อแข่งขันกับเวลาต่างหาก 

Sustainable Supply Chain Management ไม่ใช่แค่ข้อบังคับที่ต้องทำให้เสร็จและสอบให้ผ่าน แต่มันคือแผนที่ที่ช่วยระบุแนวทางให้ธุรกิจเดินหน้าได้ง่ายและเร็วขึ้น ในท้ายที่สุด ความต้องการของตลาดส่วนใหญ่จะเบนเข็มมาทิศทางความยั่งยืน “how-when” ตั้งคำถามให้ถูก เพื่อเริ่มรับมือและคว้าโอกาสตั้งแต่วันนี้


ข้อมูลอ้างอิง

ร่วมเปลี่ยนแปลงโลกกับเรา
UN Global Compact
Network Thailand
APPLY FOR MEMBERSHIP
เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ เราใช้คุกกี้เพื่อเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และการใช้งานของเว็บไซต์เพื่อปรับปรุง ปรับแต่งเนื้อหา และโฆษณาตามความต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้ เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์ และ นโยบายสิทธิส่วนบุคคล
Subscribe
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถปรับแต่งการตั้งค่าคุกกี้ในแต่ละประเภทได้ดังต่อไปนี้
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่จำเป็นต่อการให้บริการ
(Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการบนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่จะช่วยให้ท่านสามารถเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยของเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้เพื่อการวัดผลการทำงานและฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์
(Performance and Functionality Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะถูกใช้เพื่อจดจำท่านเมื่อท่านกลับเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้ง ช่วยให้เราปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะกับท่านและจดจำการตั้งค่าของท่าน (เช่น ภาษาหรือภูมิภาคที่ท่านเลือก) แต่ไม่จำเป็นต่อการวัดผลการทำงานของเว็บไซต์
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์หรือเพื่อการปรับแต่ง
(Analytical or Customization Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ใช้งานเข้าสู่เว็บไซต์และออกจากเว็บไซต์ เราใช้ข้อมูลนี้ในลักษณะของข้อมูลโดยรวมเพื่อช่วยให้เราปรับปรุงวิธีการทำงานของเว็บไซต์ หรือเพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราตามความสนใจของท่านได้