อย่างไรก็ตาม การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมหาสมุทร อุณหภูมิของน้ำทะเลสูงขึ้นและเป็นกรด การสูญเสียทรัพยากรและมลพิษเป็นอันตรายต่อชีวิตใต้น้ำและบนบก ทั้งยังลดความสามารถในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มหาสมุทรจึงจำเป็นต้องได้รับการปกป้องและฟื้นฟูอย่างเร่งด่วน
สนธิสัญญาทะเลหลวง #HighSeaTreaty สนธิสัญญาพลาสติกโลก #GlobalPlasticsTreaty และกรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก #GlobalBiodiversityFramework #KunmingMontreal เป็นตัวอย่างสำคัญของความมุ่งมั่นที่มากขึ้นต่อการลงทุนในมหาสมุทร และการจัดหาเงินทุนจากภาคเอกชนก็มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเยียวยาวิกฤตและสร้างเศรษฐกิจมหาสมุทรที่ยั่งยืน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจของเราทุกคน
เนื่องใน #WorldOceanDay2023 เราสรุปคำแนะนำ 4 ขั้นดำเนินการเพื่อกระตุ้นให้เกิด “การลงทุนในมหาสมุทรที่ยั่งยืน” จากการประชุมระดับสูงระหว่างจากผู้นำในอุตสาหกรรม ผู้กำหนดนโยบาย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านการเงิน ซึ่งจัดขึ้นโดย UN Global Compact Ocean Stewardship Coalition เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา
01 ให้ความรู้แก่นักลงทุน
เศรษฐกิจมหาสมุทรที่ยั่งยืน นำมาซึ่งโอกาสในการลงทุนในเทคโนโลยีที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น พลังงานหมุนเวียน การขนส่ง-ท่าเรือ-การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ปล่อยคาร์บอนน้อยลง เพื่อเพิ่มการลงทุนด้านความยั่งยืนในมหาสมุทร เราจำเป็นต้องพัฒนาทักษะและเสริมสร้างศักยภาพให้ผู้นำภาคเอกชน ผู้กำหนดนโยบายและหน่วยงานกำกับดูแล
02 ภาครัฐต้องให้คำมั่นสัญญากับการลงทุนทางทะเลที่ยั่งยืน
รัฐบาลมีบทบาทสำคัญต่อการเร่งการจัดหาเงินทุนสำหรับเศรษฐกิจมหาสมุทรที่ยั่งยืน พวกเขาสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้อุตสาหกรรมและการลงทุนในมหาสมุทรเปลี่ยนไปสู่แนวทางที่ยั่งยืนขึ้นได้ ผ่านนโยบายการเงินและมาตรการด้านภาษี
03 เพิ่มบทบาทของสถาบันการเงินระหว่างประเทศ
ธนาคารเพื่อการพัฒนาพหุภาคี (Multilateral Development Banks) มีความสำคัญต่อการขยายงบดุลของรัฐบาลและภาคเอกชน รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถและความช่วยเหลือทางเทคนิคสำหรับตลาดที่เกิดใหม่ สถาบันการเงินเหล่านี้สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการจัดหาเงินทุนสำหรับเทคโนโลยีใหม่ ขยายผลเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้ว และใช้ประโยชน์จากเครื่องมือลงทุนต่างๆ
04 กำหนดแนวทางและมาตรฐานสำหรับ Blue Finance Initiatives
เพื่อให้เกิดเศรษฐกิจมหาสมุทรหรือเศรษฐกิจสีน้ำเงิน (Blue Economy) ที่ยั่งยืน เราต้องนำกระแสการเงินไปสู่กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับมหาสมุทร กระแสเหล่านี้เรียกว่าการเงินสีน้ำเงิน (Blue Finance) ซึ่งปัจจุบันแม้จะมีโครงการริเริ่มอยู่มากมาย แต่ก็ยังขาดจุดอ้างอิงที่ชัดเจน ทำให้เกิดความสับสน ส่งผลให้การลงทุนของธนาคารและนักลงทุนถูกจำกัด การกำหนดแนวทางที่ชัดเจน พร้อมเป้าหมายที่สามารถวัดผลได้ จะช่วยให้ทุกภาคส่วนมีข้อมูลที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และปลดล็อกข้อจำกัดดังกล่าว
ล้อมกรอบ
เพื่อช่วยคุณสื่อสารเกี่ยวกับการทำงานของ UN Global Compact Action Platform for Sustainable Ocean Business เราได้รวบรวมชุดข้อมูลสั้นๆ เกี่ยวกับพื้นที่ทำงานหลักของเราเอาไว้ โดยทุกชุดข้อมูลประกอบไปด้วยแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Ocean Stewardship Coalition โครงการริเริ่มที่เชื่อมโยงบริษัท สตาร์ทอัพ นักลงทุน และองค์กรต่างๆ เข้าหากัน เพื่อสนับสนุนการใช้โซลูชั่นทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับมหาสมุทร ซึ่งนำไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้ที่ https://unglobalcompact.org/take-action/ocean/communication