บทสรุปความคืบหน้าเป้าหมาย SDGs ของไทย และทิศทางขับเคลื่อนจากนี้สู่อนาคต

Article



UN Global Compact Network Thailand สรุปเนื้อหาสำคัญจากงานสัมมนาในหัวข้อ
“อนาคตของ SDGs : ทิศทางการขับเคลื่อน และความท้าทาย” ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2566 โดยคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ วุฒิสภา ณ อาคารรัฐสภา เพื่อเป็นการติดตามความคืบหน้าของการดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) ของประเทศไทย

01 

ในงานมีการบรรยาย “หัวข้อภาพรวมของมุมมองในการขับเคลื่อน SDGs เพื่ออนาคตของประเทศไทย” โดย ดร.วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ร่วมกับ นางสาวเอกสิริ ปิณฑะรุจิ อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ และผู้แทนจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้เน้นย้ำว่า 

SDGs จะต้องเป็นเรื่องที่สามารถเข้าถึงกลุ่มคนชั้นล่าง และบุคคลทั่วไปได้ ความท้าทายในการติดตามความคืบหน้าในการขับเคลื่อน SDGs ในเรื่องฐานข้อมูลยังคงไม่คลอบคลุมทุกพื้นที่ อย่างไรก็ตาม การดำเนินการสร้าง data dashboard ภายใต้การร่วมมือกับภาคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยให้ประเทศชาติขับเคลื่อนงานไปด้วยกันด้วยตัวชี้วัดร่วมกัน

นอกจากนี้ในแง่การดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ในการขับเคลื่อน SDGs การสร้างความรู้ความเข้าใจ การสร้างทักษะ และการมีทัศนคติ ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญ โดยเริ่มจากตัวเรา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งต่อเรา ต่อคนรุ่นหลัง และต่อโลก


02 

นอกจากนี้ยังมีการการอภิปรายในหัวข้อ “อนาคตของ SDGs : ทิศทางการขับเคลื่อน”  โดยผู้แทนทั้ง 5 องค์กรจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงานกิจการยุติธรรม และกรมองค์การระหว่างประเทศ ได้แลกเปลี่ยนมุมมองต่อหลักการ 5 Ps ประกอบด้วย 

1) ปัญหาความยากจน ความหิวโหยและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม (People) ผู้แทนจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กล่าวว่าความท้าท้ายของเกษตกรในประเทศไทยขาดทักษะ และความความสามารถในการจัดการเชิงธรุกิจ และการตลาด มีข้อจ้ากัดในการเข้าถึงและเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยในการทำการเกตร เป็นต้น 

นอกจากนี้มีการเน้นย้ำเรื่องการเติบโตสีเขียว BCG ยังคงเป็นเรื่องที่ท้าท้าย หากเราสามารถปฏิบัติได้จริง จะเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน เช่น เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) สร้างมูลค่าเพิ่มของทรัพยากรชีวภาพ เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่าหรือยาวนานที่สุด

2) การปกป้องและรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสภาพภูมิอากาศเพื่อพลเมืองโลกรุ่นต่อไป (Planet) 

ผู้แทนจากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ได้นำเสนอว่า เป้าหมายที่มีสถานะบรรลุแล้ว คือ SDG6 (น้ำสะอาดและการสุขาภิบาล) เป้าหมายที่มีสถานะท้าทายบางส่วน คือ SDG12 (การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน) เป้าหมายที่มีสถานะท้าทาย คือ SDG13 (การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) และSDG14 (ทรัพยากรทางทะเล) เป้าหมายที่มีสถานะท้าทายมาก คือ SDG15 (ระบบนิเวศบนบก) 

ทั้งนี้ในประเทศไทยได้มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อบรรลุในแต่ละเป้าหมายข้างต้น รวมทั้งได้เสนอประเด็นที่น่าสนใจและโอกาสเพื่อคนรุ่นต่อไป

3) การส่งเสริมให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีและสอดคล้องกับธรรมชาติ (Prosperity) SET กับบทบาทการพัฒนาความยั่งยืนของตลาดทุนไทย การสร้างการรับรู้ (Awareness) และความรู้ความเข้าใจ (Knowledge) ทั้งในเชิงลึก และกว้างขึ้น การยกระดับคุณภาพและการเปิดเผยข้อมูล อีกทั้งการสื่อสาร (communication promotion) ซึ่งถือเป็นใจความสำคัญในการขับเคลื่อน ESG 


4) การยึดหลักการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีสังคมที่สงบสุขและไม่แบ่งแยก (Peace) และ 5) ความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน (Partnership) 

ผู้แทนจากกรมองค์การระหว่างประเทศ กล่าวว่า การดำเนินงานในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่องว่างทางดิจิทัลที่เกิดขึ้นกับกลุ่มคนเปราะบาง นอกจากนี้การขับเคลื่อน SDGs ในระดับพื้นที่ (SDG Localization) ทุกภาคีมีส่วนสำคัญในการร่วมผลักดันเรื่องนี้ในการสร้างความตระหนักรรู้เรื่อง SDGs ให้กับหน่วยงานระดับท้องถิ่นไปจนถึงคนในพื้นที่ รวมถึงการนำความคิดเห็น ข้อมูลจากท้องถิ่นเข้าไปอยู่ในแผนยุทธศาสตร์

03

ปิดท้ายด้วยเสวนา ในหัวข้อ “การสร้างพลังขับเคลื่อน SDGs เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน” โดยมีผู้แทนจากภาคการศึกษา ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม และภาคเด็กและเยาวชนได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ของแต่ละองค์กรในการขับเคลื่อน SDGs พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนถึงบทบาทต่อการดำเนินงานขับเคลื่อน SDGs ซึ่งทั้ง 4 องค์กรชี้ว่า ดังนี้

  • การกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ในฐานะตัวแทนจากภาคการศึกษา กล่าวว่า บทบาทของ กสศ. มีภารกิจเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ซึ่งเหนี่ยวนำทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชนให้เข้ามามีส่วนร่วมกับประเด็นความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ในการบรรลุเป้าหมายที่ 4 นั้น จะต้องมี Game Changers 7 ประการ ที่จะทำให้เป้าหมายในการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาเกิดขึ้นได้จริง ได้แก่ 
  1. การพัฒนาครูและสถานศึกษา
  2. ระบบข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ
  3. ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน
  4. นวัตกรรมการเงินและการคลัง
  5. การจัดการศึกษาตามบริบทพื้นที่ (area-based education)
  6. ระบบการคุ้มครองทางสังคมในระบบการศึกษา 5 ด้าน
  7. All for Education หรือ การศึกษาเป็นกิจของทุกคน
  • สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม ในฐานะตัวแทนจากประชาสังคม ได้นำเสนอแนวคิดการจัดทำ “ร่างกฎหมายอากาศสะอาด” กับการขับเคลื่อน สนับสนุนจากภาคประชาสังคม ภายใต้ความร่วมมือจากทั้ง 4P  (The public–private–people partnership) ยกตัวอย่าง ไฟในภาคเกษตร ทางภาคเอกชน บริษัท SCG องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF Thailand) ร่วมกับชุมชน และกับกรมอุทยานฯ หรือกรมป่าไม้ในการวางแผน จัดทำแนวทางบริหารจัดการ เครื่องมือ และระบบสนับสนุน

  • แพลตฟอร์ม Youth In Charge ในฐานะตัวแทนะภาคเด็กและเยาวชน กล่าวว่า SDG 4 (การศึกษาที่มีคุณภาพ) มีความสำคัญในทุกช่วงชีวิตของเยาวชน ในยุคที่โลกเปลี่ยนไป เยาวชนไม่ได้มีส่วนร่วมเป็นแค่พิธี แต่พวกเขาสามารถเป็นผู้นำหรือผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่อายุยังน้อย เพราะปัจจุบันเยาวชนไม่ได้มีแค่โลกในห้องเรียน โลกข้างนอกกว้างกว่าและสนุกกว่าสำหรับเขาด้วย นอกจากนี้การได้สนับสนุนสนุนจากผู้ใหญ่ และภาคส่วนต่างๆ มีส่วนสำคัญในการเปิดเวทีในการลงมือทำผ่านประสบการณ์ตรง เพื่อการพัฒนาทักษะในด้านต่างๆ ความเป็นผู้นำ และดึงศักยภาพที่ซ่อนอยู่ในตัวเยาวชนออกมา
  • ทาง UN Global Compact Network Thailand ในฐานะเครือข่ายภาคธรุกิจ ได้รับความร่วมมือของภาคธุรกิจไทยมาเป็นสมาชิก ที่มีข้อตกลงเพื่อร่วมมือในการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบ ใน 4 ด้าน คือ สิทธิมนุษยชน มาตรฐานแรงงาน การรักษาสิ่งแวดล้อมและการต่อต้านทุจริต

นอกจากนี้การน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาดำเนินการสู่การปฏิบัติการทำธุรกิจนั้นจะช่วยพัฒนา ที่สุดท้ายแล้ว จะมุ่งสู่ความสุขและประโยชน์สุขของสังคมได้อย่างไร หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจึงช่วยกำหนดเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน ความยั่งยืนต้องวัดผลได้จริง ในทุกมิติ จุดมุ่งหมายของการทำเรื่อง ESG คือ การสร้างความเปลี่ยนแปลงมีกลยุทธ์ความยั่งยืน ขับเคลื่อน 3 มิติทั้ง 

  • ด้านทรัพยากรธรรมชาติ ธุรกิจในไทยมีการริเริ่มใช้การตั้งเป้าหมายและตัวชี้วัดในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิ 
  • ด้านสังคม ให้การเคารพและมีส่วนร่วมของพนักงานให้ได้มากกว่าเดิม 
  • ด้านธรรมาภิบาล มีการคัดเลือกและบังคับใช้จรรยาบรรณสำหรับคู่ค้าในกลุ่มกลยุทธ์ต้องมีการจัดทำข้อตกลงร่วมกัน ว่าจะมีความร่วมมือสู่ผลกระทบเชิงบวกได้อย่างไร   

ผู้แทนจากคธรุกิจ  ได้นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของไทย เกี่ยวกับโมเดลธุรกิจเพื่อความยั่งยืนในรูปแบบธุรกิจที่เรียกว่า ดอกไม้กับแมลง ยกตัวอย่าง SME  การหนุนธุรกิจรายใหญ่ ต้องอยู่ร่วมธุรกิจรายเล็ก ดังนั้นบทบาทของธุรกิจขนาดใหญ่ที่ยั่งยืน ไม่ใช่แค่พาตัวเอง สู่ความยั่งยืนแต่ต้อง empower ธรุกิจที่เป็นคู่ค้า (supply chain) empower ธุรกิจขนาดเล็กสู่ความยั่งยืนด้วย

การทบทวนวาระจากครึ่งทางการพัฒนา 15 ปี จะไปถึงปี 2030 เราปรับประเด็นทิศทางร่วมกันให้กับภาคธุรกิจที่จะประสานนโยบายภายใต้หารือกับประเทศต่างๆและรัฐบาลนานาชาติว่าจะปูพรมในการนำ SDG Summit มาสอดแทรกวาระความท้าทายของโลก มีดังนี้ 

1) Gender Equality แนวทางความสำคัญของมนุษย์เป็นส่วนกลาง ไม่ทิ้งกลุ่มคนใดไว้ข้างหลัง มีค่าตอบแทนที่เป็นธรรม 

2) Climate Action การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ใช้เทคโนโลยีมาช่วยการรับมือกับการปรับตัวเพื่อไม่ให้โลกอุณหภูมิสูงขึ้นไปกว่า 1.5C ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงครึ่งหนึ่ง

ภายในปี 2030 และมีกิจการที่ชัดเจนว่าจะลดผลกระทบทางสังคมเนื่องจากเมื่อโลกรวนเกิดขึ้นแล้วได้อย่างไร

3) Living Wage ส่งเสริมสิทธิมนุษยชน รวมถึงคำนึงถึงความสำคัญของหลักประกันสิทธิถ้วนหน้า ระบบประกันสังคมทุกคนรวมถึงคู่ค้าในการทำธุรกิจ ได้รับค่าจ้างที่พอเพียงในการดำเนินชีวิต 

4) Finance & Investment ระดมทุนเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ เน้นส่วนธุรกิจที่หลากหลายมากขึ้น 

5)  Water Resilience สร้างความยืดหยุ่นในการใช้น้ำร่วมมือกันเพื่อให้บรรลุผลเชิงบวกต่อน้ำในแหล่งน้ำที่มีความเสี่ยงอย่างน้อย 100 แห่ง ภายในปี 2030


ทั้งนี้การระดมความเห็นและได้รับความร่วมมื่อจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการเตรียมการสำหรับกำหนดประเด็นวาระหารือในการสร้างพลังการขับเคลื่อนสู่การประกาศ national commitment สร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีตัวชี้วัดที่ชัดเจน 2027-2030 ควบคู่กับการประกาศระดับโลกที่เคยประกาศไว้ด้านความเป็นกลางทางคาร์บอน

ร่วมเปลี่ยนแปลงโลกกับเรา
UN Global Compact
Network Thailand
APPLY FOR MEMBERSHIP
เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ เราใช้คุกกี้เพื่อเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และการใช้งานของเว็บไซต์เพื่อปรับปรุง ปรับแต่งเนื้อหา และโฆษณาตามความต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้ เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์ และ นโยบายสิทธิส่วนบุคคล
Subscribe
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถปรับแต่งการตั้งค่าคุกกี้ในแต่ละประเภทได้ดังต่อไปนี้
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่จำเป็นต่อการให้บริการ
(Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการบนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่จะช่วยให้ท่านสามารถเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยของเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้เพื่อการวัดผลการทำงานและฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์
(Performance and Functionality Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะถูกใช้เพื่อจดจำท่านเมื่อท่านกลับเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้ง ช่วยให้เราปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะกับท่านและจดจำการตั้งค่าของท่าน (เช่น ภาษาหรือภูมิภาคที่ท่านเลือก) แต่ไม่จำเป็นต่อการวัดผลการทำงานของเว็บไซต์
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์หรือเพื่อการปรับแต่ง
(Analytical or Customization Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ใช้งานเข้าสู่เว็บไซต์และออกจากเว็บไซต์ เราใช้ข้อมูลนี้ในลักษณะของข้อมูลโดยรวมเพื่อช่วยให้เราปรับปรุงวิธีการทำงานของเว็บไซต์ หรือเพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราตามความสนใจของท่านได้