ไทยประกาศแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วย ‘ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน’ เป็นฉบับแรกในเอเซีย

Thailand's Hot Issues

16 ธันวาคม 2562

ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร

 

ที่มา

กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Program - UNDP) จัดงานประกาศแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๖๒ - ๒๕๖๕) เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๒ ณ ห้อง Conference Room 2 ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ (UN Conference Center) ถนนราชดำเนิน กรุงเทพมหานคร

 

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

๑) ประกาศใช้แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

๒) สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับทุกภาคส่วนเพื่อส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษชน

๓) ยืนยันเจตนารมณ์และแสดงถึงความตั้งใจจริงของรัฐบาลในการขับเคลื่อนงานด้านธุรกิจกับสิทธิมนุษชน

 

ทั้งนี้ กลุ่มผู้เข้าร่วมงานฯ ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับประเด็นธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนกว่า 300 คน

 

แผนการปฏิบัติการแห่งชาติฯ รัฐดึงภาคธุรกิจร่วมลงมือ เน้นจะไม่ทิ้งใครให้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนไว้ข้างหลัง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. วิษณุ เครืองาม

รองนายกรัฐมนตรี

ตัวแทนรัฐบาลไทยกล่าวเปิดและปาฐกถาพิเศษ

 

“สิ่งที่ยากมากกว่าทำแผนให้เสร็จ คือ การขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรม หรือเป็นจริงให้ได้ เห็นว่าในแผนนี้มี หลักนิติธรรม ธรรมาภิบาล และหลักสิทธิมนุษยธรรมอย่างครบถ้วน ขอให้ช่วยกันนำเนื้อหาแผนปฏิบัติแห่งชาติฯ นี้เผยแพร่องค์ความรู้ไปสู่องค์กรธุรกิจทุกกลุ่มอย่างกว้างขวาง

หัวใจหรือสามเสาหลักของแผนปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน คือ การคุ้มครองป้องกัน เคารพ และเยียวยา ที่เป็นหลักแนวการใช้ตลอดแผน

แผนปฏิบัติการนี้มีความท้าทายในบทที่ 3 สาระสำคัญของแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ซึ่งครอบคลุมเรื่องที่สำคัญ 4 ประการ  1) ด้านแรงงาน 2) ด้านชุมชน ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3) ด้านบทบาทนักปกป้องสิทธิมนุษยชน 4) ด้านการลงทุนระหว่างประเทศและบรรษัทข้ามชาติ ทั้ง 4 ประการนี้ นับวันจะมีบทบาทมากขึ้นในโลกยุคปัจจุบัน วันนี้เราพูดถึงการลงทุนขนาดใหญ่มากมายที่จะนำความเจริญมาสู่ประเทศชาติ แต่ก็มีโอกาสสร้างผลกระทบต่อ ชุมชน ท้องถิ่น ราษฎร เช่นกัน ดังนั้นธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนจะต้องต้องพึ่งพาอาศัยกันอย่างแยกจากกันไม่ได้  แผนปฏิบัติการนี้ฯ ร่างอย่างสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ทั้งแผนปฏิรูปประเทศ นโยบายแห่งรัฐบาล กฎหมายกติกาต่างๆ รวมถึงกรอบความตกลงระหว่างประเทศ โดยเฉพาะ SDGs (เป้าหมายการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน) จึงเป็นแผนปฏิบัติการที่สมบูรณ์ การขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการนี้เป็นส่วนหนึ่งที่มีภาคธุรกิจเข้ามาเดินเคียงคู่กับภาครัฐไม่ทิ้งใครให้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนไว้ข้างหลัง ทุกคนจะก้าวเดินไปด้วยกันเพื่อความเจริญรุ่งเรือง ความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน ของประเทศชาติ    

 

ภาคเอกชนขานรับแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน

นางสุนันทา เตียสุวรรณ์

รองนายกสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย

 

ผู้ประกอบการไทยปัจจุบันมีความตื่นตัวอย่างมากที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับ การทําธุรกิจที่มีความรับผิดชอบ โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน อย่างไรก็ดี ยังมี ความท้าทายอีกหลายประการที่ทุกฝ่ายจําเป็นต้องร่วมกันคิดหาทางออกต่อไป

สมาคมฯ เชื่อว่า เมื่อนําแผนปฏิบัติการระดับชาติฯ ระยะที่ 1 ไปปฏิบัติจริง ก็จะนําไปสู่ ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อนําไปปรับปรุงการยกร่างแผนปฏิบัติการระดับชาติฯ ฉบับต่อๆ ไป ที่จะสามารถตอบสนองความต้องการของทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง สิ่งสําคัญ คือ ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ในการนี้ สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย ขอยืนยันเจตนารมณ์มุ่งมั่นของสมาชิก สมาคมฯ ที่จะเป็นหนึ่งในผู้แทนของภาคเอกชน ร่วมมือกับกระทรวงยุติธรรมและภาคส่วนอื่น ๆ ผลักดัน ให้ดำเนินธุรกิจที่เคารพสิทธิมนุษยชนอย่างแท้จริงในประเทศ เป็นตัวอย่างที่ดีต่อทั้งภูมิภาค และนานาประเทศ อันจะนําไปสู่การพัฒนาที่เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วม ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และยั่งยืนสืบไป

ร่วมเปลี่ยนแปลงโลกกับเรา
UN Global Compact
Network Thailand
APPLY FOR MEMBERSHIP
เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ เราใช้คุกกี้เพื่อเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และการใช้งานของเว็บไซต์เพื่อปรับปรุง ปรับแต่งเนื้อหา และโฆษณาตามความต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้ เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์ และ นโยบายสิทธิส่วนบุคคล
Subscribe
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถปรับแต่งการตั้งค่าคุกกี้ในแต่ละประเภทได้ดังต่อไปนี้
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่จำเป็นต่อการให้บริการ
(Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการบนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่จะช่วยให้ท่านสามารถเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยของเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้เพื่อการวัดผลการทำงานและฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์
(Performance and Functionality Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะถูกใช้เพื่อจดจำท่านเมื่อท่านกลับเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้ง ช่วยให้เราปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะกับท่านและจดจำการตั้งค่าของท่าน (เช่น ภาษาหรือภูมิภาคที่ท่านเลือก) แต่ไม่จำเป็นต่อการวัดผลการทำงานของเว็บไซต์
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์หรือเพื่อการปรับแต่ง
(Analytical or Customization Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ใช้งานเข้าสู่เว็บไซต์และออกจากเว็บไซต์ เราใช้ข้อมูลนี้ในลักษณะของข้อมูลโดยรวมเพื่อช่วยให้เราปรับปรุงวิธีการทำงานของเว็บไซต์ หรือเพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราตามความสนใจของท่านได้