Urgency towards Food System Transformation Journey or it might too late
ถึงเวลาเปลี่ยนผ่าน...เส้นทางระบบอาหาร หรือ อาจจะสายเกินไป
ในโอกาสที่ได้รับเชิญให้ไปสังเกตการณ์ความพยายามที่จะชวนภาคธุรกิจมาทำความเข้าใจความหมายของคำว่า “ระบบอาหาร” เพื่อนำความรู้ไปปรับใช้กับธุรกิจ เพื่อเปลี่ยนความคิด สู่การลงมือทำ จนค่อยๆ เปลี่ยนแปลง (Transformation) ให้ธุรกิจ สังคม และธรรมชาติฟื้นคืนอยู่ร่วมกับมนุษยชาติ (Regenerating Nature) ได้อย่างกลมกลืน
ท่ามกลางความท้าทายของโลก ทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การขาดแคลนทรัพยากร และการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก มีการยอมรับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ถึงความจำเป็นของระบบอาหารที่ยั่งยืนและทนทานมากขึ้น ซึ่งภาคเอกชน ตั้งแต่การเกษตรถึงการแปรรูปและการกระจายอาหาร คือผู้มีบทบาทสำคัญในกระบวนการทั้งหมด
ในบทความนี้ เราจะสำรวจบทบาทสำคัญของภาคเอกชนในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงของระบบอาหาร ทางออกของภาคธุรกิจในการส่งเสริมความยั่งยืนของระบบอาหารมีให้เลือกมากมาย ไม่ว่าจะอยู่ที่กระบวนการใดในห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ตั้งแต่ปลูก ผลิต ขนส่ง กระจายและบริโภคอาหาร จนทิ้งเสีย พูดแบบง่าย คือตั้งแต่ปลูกถึงบริโภค
ในระบบอาหาร ถ้าจัดการไม่ดี ไม่รับผิดชอบต้นน้ำ กลางน้ำ หรือ ปลายน้ำร่วมกัน เราจะเห็นถึงการสูญเสียตั้งแต่ระบบปลูกและการขนส่ง (Food Loss) การสูญเสียในระหว่างการแปรรูป การปรุงอาหาร จนถึงการบริโภค ที่ทั้งเหลือทิ้งในส่วนที่ใช้ไม่ได้ (Food Waste) และ การใช้ไม่หมดใช้อย่างฟุ้มเฟือยหรือผลิตเกินกว่าการบริโภค (Food Surplus) ซึ่งล้วนสิ่งผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมทางใดทางหนึ่ง
จากการศึกษาของ Food and Agriculture Organization นอกจากการสูญเสียอาหารที่องเห็นได้ทางกายภาพแล้ว ยังมีการสูญเสียที่มองไม่เห็นและเป็นต้นทุนภายนอก (Externality) อีก ตั้งแต่การการสูญหายของความหลากหลายของชีวภาพ การสูญเสียพื้นที้ต้นน้ำ และพื้นที่ป่า คุณภาพของดินที่เสื่อมถอย dloสูญเสียศักยภาพการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์และอีกมากมาย
นอกจากนี้ สภาพภูมิอากาศที่สูงขึ้นทุกๆ ปี ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำท่วม และแห้งแล้งอย่างต่อเนื่อง ทำห้ผลผลิตในนานาประเทศลดลง ซึ่งมีการคาดการณ์ว่า ในอนาคตหลายประเทศจะประกาศลดการส่งออกผลผลิตทางอาหาร แต่จะเตรียมไว้ใช้แค่ในประเทศเท่านั้น สิ่งนี้ส่งผลให้ระบบอาหารโลกสุ่มเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างผกผันและคาดการณ์ไม่ได้
The Economics of Ecosystems and Biodiversity (TEEB) คือเครือข่ายด้านการเกษตรและอาหาร ซึ่งเป็นการริเริ่มระดับโลกที่มุ่งเน้นการทำให้คุณค่าของธรรมชาติเป็นที่มองเห็นได้ รวมถึงมีการรวมกลุ่มเครือข่ายจากภาคการเกษตรและอาหารที่เรียกว่า TEEBAgriFood ขึ้น เพื่อจัดการกับความท้าทายภายในระบบอาหาร
การประเมินทุน ในแนวทางเชิงระบบ (System Approach) ประเมินค่าผลที่เกิดระหว่างกันและผลที่เกิดต่างออกไปของ 'ทุน 4 ประเภท' คือ ทุนทางธรรมชาติ ทุนทางมนุษย์ ทุนทางและทุนทางการผลิต (ระบุใน Action 1.2) กรอบการประเมินทุน (TEEBAgriFood Evluation Framework) นี้ พัฒนาขึ้นเพื่อให้สามารถนำไปใช้ได้ตั้งแต่ ระดับนโยบายของภาครัฐ ธุรกิจ การเกษตร และภาคประชาสังคม
กรอบการประเมินทั้ง 4 ทุนจากกระบวนการผลิต (การปลูกและการเก็บสต็อก) กระบวนการไหลของวัตถุดิบในห่วงโซ่คุณค่าของสายการผลิตทั้งที่เห็นด้วยตา และที่มองไม่เห็น ผลลัพธ์จากการเปลี่ยนคุณค่าและมูลค่าในห่วงโซ่คุณค่า และท้ายสุดคือการประเมินผลกระทบต่างๆ ที่เกิดขึ้นตลอดเส้นทางของระบบอาหาร ที่ส่งผลต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ไปยังการอาศัยอยู่ของมนุษย์
โดยกรอบการประเมินนี้ ทำให้เห็นการใช้ทุนแต่ละประเภทในห่วงโซ่คุณค่า ตั้งแต่ผลผลิต การบริการในระบบนิเวศน์ ปัจจัยนำเข้าในกระบวนการผลิต และเศษเหลือต่างๆ จากการผลิต แปรรูป จนบริโภค แล้วนำมาประเมินกระทบที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมเศรษฐกิจ สุขภาวะ และสังคม
นับเป็นเครื่องมือประเมินผลการดำเนินธุรกิจภาคการเกษตรและอาหารที่รอบด้านและมีความซับซ้อน ซึ่งช่วยเบิกตาให้เราไม่ด่วนมอบความเชื่อมั่น ในผลิตภัณฑ์จนส่งผลกระทบต่อด้านต่างๆ ทั้งที่เกี่ยวและไม่เกี่ยวข้องกับตัวเอง
_____
บทความโดย ปารีณา ประยุกต์วงศ์ CIRCO Trainer
เลขาธิการสมาคมเครือข่ายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน