“ความร่วมมือ คือ กุญแจสู่เป้า SDGs” UNGCNT เผยผลสำรวจผู้บริหารพร้อมร่วมมือพัฒนาเยาวชน ในเวที MU SDGs Showcase

UNGCNT News

ในงานมหกรรมมหิดลเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2024 (Mahidol University SDGs Showcase 2024) เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2567 ณ มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ดร.ธันยพร กริชติทายาวุธ ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (UNGCNT)  เข้าร่วมเสวนาหัวข้อ “Leveraging SDGs in Mahidol University” ในฐานะเครือข่ายภาคธุรกิจของประเทศไทยที่ขับเคลื่อนการดำเนินงานไปสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ตั้งแต่ปี 2018 

ดร.ธันยพร เผยถึงผลสำรวจล่าสุดของ UN Global Compact ว่า ซีอีโอจำนวนมากกำลังขยายบทบาทของตนเอง เนื่องจากความจำเป็นทางธุรกิจและความคาดหวังของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ซีอีโอทั่วโลกได้ริเริ่มสร้างความยืดหยุ่นให้กับบริษัท ตั้งแต่การตั้งเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศที่มีฐานวิทยาศาสตร์ (science-based climate targets) การใช้เทคโนโลยีที่ดีขึ้น การสร้างความร่วมมือข้ามอุตสาหกรรม และการเพิ่มความโปร่งใสในห่วงโซ่อุปทาน นอกจากนี้ ซีอีโอยังเรียกร้องให้รัฐบาลมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงนโยบาย ต้องให้ความสำคัญกับเป้าหมายระยะยาวที่สามารถวัดผลได้ อาทิ การกำหนดกรอบการรายงาน ESG และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นไปตามมาตรฐานโลก 

อย่างไรก็ตาม 86% ของซีอีโอในเอเชียเชื่อว่า ความไม่มั่นคงทางภูมิรัฐศาสตร์ เป็นอุปสรรคที่ทำให้การส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนทำได้ยากลำบาก เนื่องจากบริษัทต้องการความร่วมมือและการสนับสนุนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรอบด้าน ที่จะช่วยกันสร้างระบบนิเวศให้ภาคธุรกิจยังคงเติบโต พร้อมไปกับการแสดงความรับผิดชอบต่อผู้คนและสิ่งแวดล้อม

สมาคมฯ จึงให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่ายระหว่างกันและส่งเสริมองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง อาทิ สิทธิมนุษยชน เศรษฐกิจหมุนเวียน ความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นต้น โดยในปีที่ผ่านมา 133 องค์กรสมาชิกมีการประกาศเจตนารมณ์ที่จะส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรบุคคลอย่างน้อย 1 ล้านคน ภายในปี ค.ศ. 2030 และมุ่งมั่นที่จะลงทุนกว่า 46,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเร่งบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ปกป้องพื้นที่ทางบกและทะเลของชาติให้ได้หนึ่งในสาม และบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050

ในขณะเดียวกัน บริษัทไทยหลายแห่งมีการตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและสร้างพอร์ตโฟลิโอด้านการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของตนเองให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาแห่งชาติอีกทั้งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในการจัดทำ Green Taxonomy และ คู่มือเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน สำหรับบริษัทจดทะเบียนไทย” (SDG Guidebook for Thai Listed Companies) เป็นแนวปฏิบัติสำหรับบริษัทจดทะเบียนไทยในการผนวกแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนเข้ากับกลยุทธ์และการดำเนินธุรกิจขององค์กร 

ดร.ธันยพร เน้นย้ำว่า อนาคตของความยั่งยืนยังขึ้นอยู่กับการลงทุนและบ่มเพาะเยาวชน ทางสมาคมฯ และสมาชิก UNGCNT ได้ร่วมจัดทำโครงการ SI SPHERE มุ่งบ่มเพาะทักษะและเตรียมความพร้อมให้กับเยาวชนในสังคมยุค 5.0 ในด้านเทคโนโลยีที่ควบคู่กับการตระหนักรู้ด้านความยั่งยืน ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล (MU) ศิษย์เก่า และภาคเอกชนจะยิ่งทำให้เกิดให้เกิดการผลักดันที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยทั่วประเทศไทยในการจัดงานมหกรรมวิทยาศาสตร์ที่จะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า 

ทั้งนี้ ภายในงานมีการนำเสนอผลงานวิทยานิพนธ์ที่มีความโดดเด่นในการขับเคลื่อนนโยบาย SDGs จาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรน้ำ ได้แก่ 
  • การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์และต้นทุนทางสุขภาพของการเกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กในประเทศไทย (นางเมวาลินญ์ ชุมสาย ณ อยุธยา)
  • Biodegradation of plastic by actinomycetes isolated from soils and plastic wastes in Thailand  (Ms. Kawinthip Wichatham)
  • Spatially differentiated health impacts and costs of fine particulate matter formation from agricultural waste management in Thailand (Ms. Aakriti Deuja)
  • Using Bio-Based Hybrid Granular Activated Carbon for Adsorption of Uremic Toxins to Regenerate Dialysate in Hemodialysis System (Ms. Nuttawan Arpasopana)
ร่วมเปลี่ยนแปลงโลกกับเรา
UN Global Compact
Network Thailand
APPLY FOR MEMBERSHIP
เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ เราใช้คุกกี้เพื่อเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และการใช้งานของเว็บไซต์เพื่อปรับปรุง ปรับแต่งเนื้อหา และโฆษณาตามความต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้ เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์ และ นโยบายสิทธิส่วนบุคคล
Subscribe
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถปรับแต่งการตั้งค่าคุกกี้ในแต่ละประเภทได้ดังต่อไปนี้
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่จำเป็นต่อการให้บริการ
(Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการบนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่จะช่วยให้ท่านสามารถเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยของเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้เพื่อการวัดผลการทำงานและฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์
(Performance and Functionality Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะถูกใช้เพื่อจดจำท่านเมื่อท่านกลับเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้ง ช่วยให้เราปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะกับท่านและจดจำการตั้งค่าของท่าน (เช่น ภาษาหรือภูมิภาคที่ท่านเลือก) แต่ไม่จำเป็นต่อการวัดผลการทำงานของเว็บไซต์
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์หรือเพื่อการปรับแต่ง
(Analytical or Customization Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ใช้งานเข้าสู่เว็บไซต์และออกจากเว็บไซต์ เราใช้ข้อมูลนี้ในลักษณะของข้อมูลโดยรวมเพื่อช่วยให้เราปรับปรุงวิธีการทำงานของเว็บไซต์ หรือเพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราตามความสนใจของท่านได้