“ธนาคารยูโอบีหยั่งรากลึกในประเทศไทยและเติบโตอย่างต่อเนื่อง เป็นโอกาสสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกและมีส่วนร่วมในการพัฒนาอนาคตของประเทศ ความมุ่งมั่นจัดการความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล รวมทั้งกลยุทธ์ของธนาคารตั้งอยู่บนพื้นฐานของความยั่งยืน เพราะเราเชื่อมั่นว่าเรามีหน้าที่สร้างสรรค์โลกให้ดียิ่งขึ้น” ตัน ชุน ฮิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคาร ยูโอบี ประเทศไทย
ขับเคลื่อนการเติบโตอย่างยั่งยืน
ในการขับเคลื่อนการเติบโตอย่างยั่งยืนยูโอบีปลูกฝังความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลไว้ในแนวทางสู่การบริหารจัดการความเสี่ยงของธนาคารและยังได้รวมข้อพิจารณาด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมไว้ในกระบวนการประเมินและอนุมัติสินเชื่อ รวมทั้งส่งเสริมแนวปฏิบัติต่อความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศเพื่อสนับสนุนลูกค้าของธนาคารในการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจแบบคาร์บอนต่ำ ตลอดจนมุ่งมั่นพัฒนาและให้บริการทางการเงินที่ยั่งยืนและโซลูชันการลงทุนที่ยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ การสนับสนุนต่อเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero)
มุ่งมั่นสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ
ยูโอบีได้ประกาศคำมั่นในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ภายในปี 2593 บนพื้นฐานของความต้องการการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม ที่ยังคงสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคม และเดินหน้าร่วมสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ ด้วยการบ่มเพาะให้ลูกค้าและธุรกิจก้าวสู่เส้นทางความยั่งยืนไปด้วยกัน ด้วยความเชื่อมั่นว่านี่คือ “โอกาสสำหรับทุกคน” ภายใต้ เป้าหมายนี้ ธนาคารมุ่งเน้นอุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงทั้ง 6 กลุ่ม ได้แก่ ธุรกิจพลังงาน ยานยนต์ น้ำมันและ ก๊าซธรรมชาติ อสังหาริมทรัพย์ อุตสาหกรรมก่อสร้าง และเหล็กกล้า ซึ่งทั้ง 6 อุตสาหกรรมนี้ คิดเป็น 60% ของพอร์ต โฟลิโอสินเชื่อของธุรกิจธนาคารยูโอบี
คิดค้นและพัฒนาโซลูชันทางการเงิน
ในฐานะผู้ให้บริการทางการเงิน ความท้าทายของยูโอบี คือ การเป็นตัวเร่งให้ลูกค้าเปลี่ยนผ่าน ช่วยให้ธุรกิจของลูกค้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยมี2ประเด็นที่ให้ความสำคัญ ประเด็นแรก คือ การเป็นผู้นำทางความคิด (Thought Leadership) เพื่อร่วมขับเคลื่อนธุรกิจสู่เส้นทางของความยั่งยืน โดยมุ่งสนับสนุนลูกค้าและพาร์ตเนอร์ของธนาคารให้เปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืนรวมถึงธุรกิจขนาดเล็กเช่น กลุ่ม SMEs ที่ยังต้องการแรงจูงใจและสนับสนุนอย่างมาก ให้ขับเคลื่อนธุรกิจไปในทิศทางนี้ ยุโอบียังกระตือรือร้นที่จะนำประเด็นความยั่งยืนมาพูดคุยในการหารือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่ว่าจะเป็นพาร์ตเนอร์ หน่วยงานราชการหรือลูกค้าโดยหวังให้ “ความยั่งยืน” เป็นเรื่องสำคัญสำหรับทุกคนทุกฝ่าย ประเด็นที่ 2 คือ การพัฒนาโซลูชันทางการเงินสีเขียว (Sustainable Financing Solutions) ภายใต้กรอบแนวคิดการเข้าถึงการเงินทุนที่ยั่งยืน 6 ด้าน อาทิ กรอบแนวคิดด้านเมืองอัจฉริยะ กรอบแนวคิดด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน กรอบแนวคิดด้านสินเชื่อเพื่อการเปลี่ยนผ่าน ซึ่งจะครอบคลุมธุรกิจต่างๆ ในห่วงโซ่คุณค่า เช่น กลุ่มรถยนต์ไฟฟ้า กลุ่มพลังงานหมุนเวียน กลุ่มก่อสร้าง เพื่อสนับสนุนธุรกิจให้สามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องและเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำ รวมทั้ง 'อุตสาหกรรมสีน้ำตาล' ซึ่งรวมถึงน้ำมัน ก๊าซและเคมีภัณฑ์ โลหะและเหมืองแร่ และพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล ที่เป็นอุตสาหกรรมหลักในการปล่อยมลพิษจำนวนมากและยากต่อการกำจัด
ยู-โซลาร์ เชื่อมผู้ประกอบการและลูกค้า สู่เส้นทางพลังงานสะอาด
ยู-โซลาร์ (U-Solar) เป็นหนึ่งในโครงการหลักของธนาคาร เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำ โครงการนี้เปิดตัวในประเทศไทย เมื่อปี 2563 เพื่อสนับสนุนการจัดการพลังงานอย่างยั่งยืน สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจและผู้อยู่อาศัย โดยยูโอบีทำหน้าที่เป็นตัวกลาง ผ่านการสนับสนุนทางการเงิน และเชื่อมต่อพันธมิตรผู้ประกอบการ ให้บริการด้านพลังงานแสงอาทิตย์
นับตั้งแต่เปิดตัวโครงการในประเทศไทย สินเชื่อ U-Solar ที่ปล่อยโดยยูโอบี ประเทศไทย ได้ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแล้วกว่า 84,500 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าหรือเทียบเท่าการปลูกต้นไม้ 1.2 ล้านต้นภายในระยะเวลากว่า 10 ปี (อ้างอิงข้อมูลถึงเดือนธันวาคม 2566)
นอกจากนี้ ยังมีโครงการ
ยู-เอนเนอร์จี (U-Energy) โซลูชันเพื่อการพัฒนาและการบริหารประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคารและที่อยู่อาศัย และโครงการ
ยู-ไดรฟ์ (U-Drive) โซลูชันทางการเงินสำหรับระบบนิเวศของรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ทั้งหมดที่ยูโอบีได้พัฒนาขึ้นเพื่อนำเสนอโซลูชันทางการเงินที่ยั่งยืนแบบบูรณาการให้กับลูกค้าธุรกิจ เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านธุรกิจไปสู่อนาคตที่ยั่งยืน
หนุน SMEs ปรับธุรกิจสู่ดิจิทัลและความยั่งยืน
ยูโอบียังบ่มเพาะ SMEs ให้ปรับธุรกิจสู่ดิจิทัลและความยั่งยืน ผ่านโครงการ "Smart Business Transformation" (SBTP) ที่ดำเนินการโดย UOB FinLab หน่วยงานบ่มเพาะนวัตกรรมภายใต้กลุ่มธนาคารยูโอบี ซึ่งได้ช่วยเปิดโลกธุรกิจยั่งยืนให้กับ SMEs ไปแล้วกว่า 4,000 ราย โดยมีจุดเริ่มต้นโครงการจากความร่วมมือเพื่อทำให้เกิด Ecosystem Builder สำหรับบริษัทต่างๆ ทั้ง SMEs หรือ Start up รวมถึงบริษัทขนาดใหญ่ ให้สามารถอยู่ได้ในสภาวะเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป จนดำเนินงานอย่างต่อเนื่องในปัจจุบันและต่อยอดสู่การให้ความรู้ในการทำธุรกิจอย่างยั่งยืนกับ SMEs โดยเมื่อเดือนเมษายน 2567 ได้เปิดตัวโครงการ Sustainability Innovation 2024 (SIP) มุ่งสนับสนุนธุรกิจเอสเอ็มอีไทย ในทุกอุตสาหกรรมเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจสีเขียว
โครงการ SIP ได้รวบรวมพันธมิตรจากภาครัฐและเอกชนที่สามารถช่วยเหลือ SMEs ไทยในทุกกลุ่มธุรกิจ เพื่อเริ่มต้นปรับใช้แนวทางปฏิบัติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยองค์ความรู้เฉพาะทาง นอกจากนี้ SMEs จะสามารถประเมินความพร้อมของธุรกิจสำหรับการพัฒนาสู่ความยั่งยืนได้ ผ่าน UOB Sustainability Compass ซึ่งเป็นเครื่องมือด้านความยั่งยืนของทางธนาคารที่พัฒนาขึ้นมาโดยเฉพาะโดยเครื่องมือนี้จะแนะนำแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มธุรกิจต่างๆ
นอกจากโครงการ SIP ยูโอบี ยังจัดทำโครงการสำหรับสตาร์ทอัพและบริษัทผู้ให้บริการโซลูชันเพื่อสิ่งแวดล้อมหรือกรีนเทค ที่ชื่อว่า GreenTech Accelerator (GTA) เพื่อคัดเลือกและสนับสนุนเทคโซลูชันที่จะมาช่วยจัดสรรทรัพยากรอย่างถูกต้องมากขึ้น เพื่อทำให้ต้นทุนของ SMEs ลดลง โดยส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น โลกดีขึ้น และสังคมยั่งยืนขึ้น
ในฐานะสถาบันการเงิน ยูโอบี ตระหนักถึงบทบาทในการเป็นผู้เร่งและผู้สร้างอิทธิพลต่อเศรษฐกิจ จึงให้ความสำคัญกับการสร้างคุณค่าด้านความยั่งยืนสำหรับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายของธนาคารโดยกำหนดให้กลยุทธ์ทางธุรกิจในระยะยาวให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับผลประโยชน์ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเหล่านั้นและเชื่อมั่นในการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ตอบสนองต่อความต้องการในปัจจุบันโดยไม่ส่งผลต่อขีดความสามารถของคนรุ่นต่อไปในการตอบสนองต่อความต้องการของพวกเขาเช่นกัน