สิงห์-วรรณสิงห์ ชี้วิกฤตสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวกว่าที่คิด วิทยาศาสตร์ช่วยได้ แต่สำคัญต้องแก้ที่ระดับนโยบาย :: เก็บประเด็นจากเวที #UNGCNT นิทรรศการ “THE GLOBE VENGERs” #ฮีโร่พิทักษ์ความยั่งยืน

UNGCNT News

สิงห์-วรรณสิงห์ ชี้วิกฤตสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวกว่าที่คิด วิทยาศาสตร์ช่วยได้ แต่สำคัญต้องแก้ที่ระดับนโยบาย

จากเวที #UNGCNT สิงห์-วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล นักทำสารคดี และ นักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
บอกเล่าถึงสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่น่าเป็นห่วงทั่วโลก ที่ไม่ใช่แค่โลกร้อนขึ้น แต่ยังก่อให้เกิดภัยธรรมชาติรุนแรงและถี่ขึ้นทั่วโลก เพราะระบบนิเวศของโลกเสียสมดุล วิกฤตสิ่งแวดล้อมจึงเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ไม่ใช่เรื่องไกลตัว และส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของเราทุกคน

วรรณสิงห์ได้เล่าถึงเมืองที่เพิ่งเดินทางไปถ่ายทำสารคดีอย่างเมืองสวาลบาร์ด (Svalbard) ซึ่งเป็นหมู่เกาะบริเวณขั้วโลกเหนือ มีประชากรเพียง 2,000 คน แต่มีหมี 3,000 ตัว เรียกว่ามีประชากรหมีมากกว่าคน ผลของภาวะโลกร้อนทำให้น้ำแข็งละลาย
หมีไม่มีอาหารจึงพากันเข้ามาในเมือง จนชาวเมืองต้องยิงยาสลบหมีแล้วขนย้ายด้วยเฮลิคอปเตอร์ออกไป นี่คือผลพวงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) แล้วทั่วโลกมีปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นมากมายอย่างที่เราคิดไม่ถึง

“เราอยู่ในเมือง อาจจะลืมไปว่าทุกสิ่งรอบตัวเราต้องดึงทรัพยากรมาจากธรรมชาติ ถ้านับเมืองเป็นสิ่งมีชีวิต เมืองดูดทุกอย่างเข้ามากระจุกไว้ แล้วขับถ่ายเป็นขยะ เป็นมลพิษ ออกไปข้างนอก โดยคนที่อยู่ตรงนี้ไม่รู้ตัวว่าทำอะไรอยู่” สิงห์-วรรณสิงห์ กล่าว และมองว่าวิทยาศาสตร์อาจจะเป็นคำตอบหนึ่ง แต่สิ่งสำคัญยิ่งกว่าคือการมีโครงสร้างทางกฎหมายที่เข้มแข็ง และการปลูกฝังจิตสำนึกเรื่องสิ่งแวดล้อมตั้งแต่เด็ก

แก้ปัญหาโลกร้อน ต้องเปลี่ยนแปลงที่ระดับนโยบาย
วรรณสิงห์มองว่าปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ หรือ Climate Change นั้นวิกฤตเกินกว่าจะแก้ไขในเชิงสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ เพราะการเปลี่ยนความคิดของคนจำนวนมากนั้นยากและใช้เวลา วิทยาศาสตร์อาจเป็นคำตอบหนึ่ง ในการสร้างหรือใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมมาช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและช่วยผลักดันให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) แต่สิ่งสำคัญยิ่งกว่า คือการมีโครงสร้างทางกฎหมายที่เข้มแข็งและการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง เช่น กฎหมายเรื่องการแยกและจัดการขยะ กฎหมายเรื่องอากาศสะอาด กฎหมายเรื่องภาษีคาร์บอน เพื่อกำกับให้การดูแลสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องจำเป็นและเป็นจริงได้

ปลูกฝังจิตสำนึกเรื่องสิ่งแวดล้อมตั้งแต่เด็ก
อีกประเด็นสำคัญคือการปลูกฝังจิตสำนึกเรื่องสิ่งแวดล้อมตั้งแต่เด็กวรรณสิงห์ยกตัวอย่างประเทศในยุโรปที่มีหลักสูตรสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องสิ่งแวดล้อมให้กับเด็กและเยาวชนในโรงเรียนเพื่อสร้างความตระหนักว่าเราทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติและสรรพสิ่ง สิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องใกล้ตัว แล้วเกิดจิตสำนึกรักและรับผิดชอบสิ่งแวดล้อมตั้งแต่เด็ก พร้อมทั้งเสนอว่า ถ้าจะขับเคลื่อนเรื่องนี้ให้ประสบผลสำเร็จ ประเทศไทยควรบรรจุ เรื่องการแยกขยะและการอนุรักษ์ธรรมชาติ เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

เศรษฐกิจหมุนเวียนคือทางออก แต่จะเป็นจริงได้ต้องอาศัยภาครัฐ

ในบทบาทของภาคธุรกิจ วรรณสิงห์มองว่าปัจจุบันผู้ประกอบการของไทยตื่นตัวและจริงจังเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่เน้นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และนำวัสดุที่เกี่ยวกับสินค้าของตนกลับมาใช้ประโยชน์ต่อ ซึ่งเป็นแนวโน้มที่ดี แต่สิ่งเหล่านี้ยังเป็นไปโดยความสมัครใจของแต่ละองค์กร  ดังนั้น การจะผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ ต้องอาศัยการหนุนเสริมจากภาครัฐ ในการออกกฎหมายบังคับให้ทุกองค์กรต้องดำเนินธุรกิจที่ช่วยดูแลและไม่ส่งผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น กฎหมายภาษีคาร์บอน พ.ร.บ.อากาศสะอาด กฎหมายการจัดการและแยกขยะ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน

 :: เก็บประเด็นจากเวที #UNGCNT นิทรรศการ “THE GLOBE VENGERs” #ฮีโร่พิทักษ์ความยั่งยืน
งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ปี 2567 (NST Fair 2024) วันที่ 18 ส.ค. 67








ร่วมเปลี่ยนแปลงโลกกับเรา
UN Global Compact
Network Thailand
APPLY FOR MEMBERSHIP
เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ เราใช้คุกกี้เพื่อเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และการใช้งานของเว็บไซต์เพื่อปรับปรุง ปรับแต่งเนื้อหา และโฆษณาตามความต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้ เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์ และ นโยบายสิทธิส่วนบุคคล
Subscribe
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถปรับแต่งการตั้งค่าคุกกี้ในแต่ละประเภทได้ดังต่อไปนี้
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่จำเป็นต่อการให้บริการ
(Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการบนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่จะช่วยให้ท่านสามารถเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยของเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้เพื่อการวัดผลการทำงานและฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์
(Performance and Functionality Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะถูกใช้เพื่อจดจำท่านเมื่อท่านกลับเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้ง ช่วยให้เราปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะกับท่านและจดจำการตั้งค่าของท่าน (เช่น ภาษาหรือภูมิภาคที่ท่านเลือก) แต่ไม่จำเป็นต่อการวัดผลการทำงานของเว็บไซต์
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์หรือเพื่อการปรับแต่ง
(Analytical or Customization Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ใช้งานเข้าสู่เว็บไซต์และออกจากเว็บไซต์ เราใช้ข้อมูลนี้ในลักษณะของข้อมูลโดยรวมเพื่อช่วยให้เราปรับปรุงวิธีการทำงานของเว็บไซต์ หรือเพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราตามความสนใจของท่านได้