- การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ และการเปลี่ยนผ่านอย่างเป็นธรรม
- การลดปริมาณการใช้พลังงานและการปล่อยมลสาร (Emissions) มีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่ายการดำเนินงาน
- ช่วยเสริมสร้างชื่อเสียงให้แก่ลูกค้า คู่ค้า นักลงทุนและหน่วยงานกำกับ พร้อมทั้งช่วยลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- ไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ในช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจที่ยั่งยืน
ขณะนี้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ‘อยู่เหนือการควบคุม’ ดังที่เลขาธิการสหประชาชาติ
อันโต นิโอ กูเตอร์เรส เน้นย้ำเมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2023 ปัจจุบันการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกอยู่ในระดับสูงสุดที่บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ อุณหภูมิเฉลี่ยของพื้นผิวโลกเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1.1 องศาเซลเซียส นับตั้งแต่ปี 1880 นักวิทยาศาสตร์เห็นพ้องกันว่าการจำกัดการเพิ่มอุณหภูมิให้ไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ภายใน
ปี 2050 จะช่วยบรรเทา
ผลกระทบด้านสภาพภูมิอากาศที่เลวร้ายที่สุด เช่น น้ำท่วมร้ายแรงในปากีสถานเมื่อปีที่แล้ว และพายุไซโคลนที่กินเวลานานกว่าหนึ่งเดือนในแอฟริกาตะวันออกเฉียงใต้ในเดือนมีนาคม 2023
นอกจากความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมแล้ว คาดการณ์ว่าในปี 2050 ผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศจะทำให้ผู้คนเกือบ 216 ล้านคนต้องอพยพย้ายถิ่นฐาน และอาจทำให้ประชาชนจำนวนมากถึง 600 ล้านคน ขาดสารอาหารในปี 2080 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อภูมิศาสตร์ อุตสาหกรรม และภาคเอกชนแต่ละแห่งในรูปแบบที่แตกต่างกัน ธุรกิจต่างๆ ตระหนักถึงความจำเป็นในการปรับตัว สร้างความยืดหยุ่น และ
เร่งดำเนินการด้านสภาพอากาศ ซึ่งจะไม่เพียงช่วยรับประกันความมั่นคงให้ธุรกิจในอนาคต แต่ภาคเอกชนยังมีบทบาทสำคัญในการดำเนินงานด้านสภาพภูมิอากาศโลกอีกด้วย
บทบาทของภาคธุรกิจ
ธุรกิจจะต้องกำหนดเป้าหมายที่น่าเชื่อถือและบรรลุเป้าหมายระยะยาวผ่านการดำเนินการในระยะสั้น ที่ตรวจสอบได้ โดยเฉพาะเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการต่อสู้กับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
โครงการ
Science Based Targets initiative ซึ่งเป็นความร่วมมือของ UN Global Compact, CDP, World Resources Institute และ World Wide Fund ช่วยบริษัทต่างๆ ตั้งเป้าหมายสุทธิเป็นศูนย์ รวมถึงแผนการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการและแนวปฏิบัติด้านวิทยาศาสตร์สภาพภูมิอากาศที่ดีที่สุด
- ในเดือนสิงหาคม ปี 2023 บริษัทมากกว่า 5,900 แห่งกำลังทำงานร่วมกับ SBTi เพื่อปรับเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศให้สอดคล้องกับข้อตกลงปารีส โดยบริษัทมากกว่า 3,300 แห่งมีเป้าหมายที่ได้รับอนุมัติแล้ว
- โครงการสินเชื่อหมุนเวียนคู่ค้า (Supplier Chain Finance) เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น เช่น โครงการสินเชื่อของ Citibank ที่สถาบันการเงินเข้ามาเป็นตัวกลางช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของห่วงโซ่การผลิตให้กับผู้ประกอบการที่ให้ความสำคัญกับ ESG
- ในปี 2021 ซีอีโอเพียง 28 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ระบุว่าได้ทำการวิเคราะห์ขั้นสูงถึงความเสี่ยงที่องค์กรจะได้รับจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เราไม่สามารถเพิกเฉยต่อการเปลี่ยนผ่านอย่างเป็นธรรม (Just Transition) ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญของการบรรลุเป้าหมายคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ โดยนับจากนี้กลยุทธ์และการดำเนินการทางธุรกิจทั้งหมด จะต้องทำให้เกิดการสร้างงานที่มีคุณค่าและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยต้องแน่ใจว่าไม่มีคนงานหรือชุมชนถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง และจำเป็นต้องร่วมมือกับผู้มีส่วนร่วมทุกภาคส่วน
นี่คือจุดเปลี่ยนที่จะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพและลดต้นทุนการดำเนินงานให้ธุรกิจ ผ่านการลดการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะการลดการปล่อยก๊าซทางอ้อมใน scope 3 (ซึ่งคิดเป็น 70 เปอร์เซ็นต์ของการปล่อยก๊าซทั้งหมดขององค์กร)
การสร้างผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อเร่งการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รวมทั้งการวิจัยและพัฒนาที่ขับเคลื่อนโดยภาคเอกชนกำลังสร้างเทคโนโลยีเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนและกำจัดคาร์บอนออกจากชั้นบรรยากาศไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมโซลาร์เซลล์กังหันลมการดักจับและกักเก็บคาร์บอน ไปจนถึงแบตเตอรี่
ในหลายๆ อุตสาหกรรม คาร์บอนฟุตพริ้นท์ตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การผลิต การขนส่ง การใช้งาน และการกำจัด ได้รับการบ่งชี้และวัดปริมาณ รวมถึงถูกทำให้ลดปริมาณลงอย่างมาก และแนวโน้มเหล่านี้ก็กำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมากขึ้น
ในอนาคตนโยบายและกฏระเบียบต่างๆทางการค้าระหว่างประเทศจะเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆการดำเนินการด้านสภาพอากาศตั้งแต่เนิ่นๆ ทำให้องค์กรได้เปรียบ ทั้งในด้านการเตรียมความพร้อม นำหน้าการเปลี่ยนแปลง และยังเสริมสร้างชื่อเสียงขององค์กรต่อลูกค้า ซัพพลายเออร์ นักลงทุน และหน่วยงานกำกับดูแลอีกด้วย
- Mahindra Group บริษัทผลิตพลังงานทดแทนในประเทศอินเดีย ได้ตั้งศูนย์ฝึกอบรมทักษะเกี่ยวกับเครื่องมือโซลาร์เซลล์แก่ชุมชนที่เปราะบาง ในเมืองคาร์จัต รัฐมหาราษฏระ เพื่อช่วยให้ชาวบ้านเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานหมุนเวียน โดยมุ่งเน้นการฝึกอบรมผู้สมัครผู้หญิง จนถึงวันนี้ ศูนย์ฝึกนี้ได้ส่งช่างเทคนิคออกสู่ตลาดงานสีเขียวไปแล้วกว่า 4,700 คน
- Talawakelle Tea Estates PLC ธุรกิจสัญชาติศรีลังการายแรกที่นำเป้าหมายตามวิทยาศาสตร์ไปปรับใช้ โดยได้เปลี่ยนหม้อต้มเชื้อเพลิงดีเซลทั้งหมดเป็นหม้อต้มชีวมวล รวมถึงเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาดจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กและพลังงานแสงอาทิตย์ ส่งผลให้การใช้พลังงานสะอาดของบริษัท มีอัตราส่วนเกินกว่าการใช้พลังงานถึง 136 เปอร์เซ็นต์ โดยองค์กรมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในโครงการฟื้นฟูระบบนิเวศ และตั้งเป้าหมายปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2050
เป้าหมายปี 2030
1. ภายในปี 2030 องค์กรจะต้องตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์อย่างช้าที่สุดจะต้องบรรลุเป้าหมายดังกล่าวภายในปี 2050
2. องค์กรต้องมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนผ่านอย่างยุติธรรม เพื่อบรรเทาผลกระทบและช่วยให้สังคมปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยต้องร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ เช่น คนงาน สหภาพแรงงาน คู่ค้า และชุมชน
Action Guide แนวปฏิบัติเพื่อเร่งให้เกิดผลลัพธ์ที่เร็วขึ้น
อ้างอิง : https://forwardfaster.unglobalcompact.org/climate-action
เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ 1 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-zero)
- ทบทวนสถานการณ์ในปัจจุบัน
- ตรวจสอบและจัดทำรายการ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ครอบคลุมขอบเขตที่ 1 ขอบเขตที่ 2 และขอบเขตที่ 3 ในทุกแหล่งกำเนิด
- ดำเนินการตามหลักการ SBTi’s เพื่อตั้งเป้าหมายที่อ้างอิงหลักฐานทางวิทยาศาสตร์
- ร่วมมือกับเครือข่ายและห่วงโซ่อุปทาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Net-zero targets)
- จัดทำแผนการเปลี่ยนผ่าน (Transition Plan) เพื่อแสดงความมุ่งมั่นขององค์กรในการเปลี่ยนผ่านอย่างเป็นธรรมและเหมาะสม
- ประยุกต์ใช้นโยบายจากเครือข่ายภายนอก ที่ช่วยให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายในการลดการปล่อยมลพิษ และสร้างผลกระทบเชิงบวก
เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ 2 การเปลี่ยนผ่านอย่างเป็นธรรม (Just Transition)
เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเปลี่ยนผ่านทางสภาพภูมิอากาศ มีลักษณะเฉพาะ และมีความแตกต่างกันในรายละเอียด ขึ้นอยู่กับ ลักษณะภูมิประเทศที่องค์กรตั้งอยู่ ลักษณะอุตสาหกรรม และลักษณะเฉพาะของกลุ่มธุรกิจการนำหลักการ
‘การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม’ ซึ่งถือเป็นหลักการสากลที่สามารถประยุกต์ใช้ได้ทั่วไปไม่จำกัดเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมหรือลักษณะธุรกิจ โดยในเอกสาร The Introduction to Just Transition : A Business Brief จะให้ข้อมูลเฉพาะบทบาทของภาคธุรกิจในการดำเนินการสำหรับทุกคน ครอบคลุม หลักการพื้นฐาน คำนิยาม แนวปฏิบัติ 7 ประการสำหรับองค์กร ลักษณะงานที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างการดำเนินงานขององค์กร รวมทั้ง อภิธานคำศัพท์ที่สำคัญและแหล่งค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม ดังนั้น การนำหลักการดังกล่าวไปใช้ จำเป็นต้องประยุกต์ให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละองค์กร
ตัวอย่างข้อมูลที่ควรเปิดเผย
ข้อมูลเพื่อแสดงผลการดำเนินงานตามเป้าหมายที่ 1 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-zero)
- การกำหนดเป้าหมายที่เป็นรูปธรรม และช่วงเวลาที่จะบรรลุเป้าหมาย/ตัวชี้วัด
- การแสดงความมุ่งมั่นในการดำเนินการที่สอดคลองกับโครงการริเริ่ม Science Based Targets initiative อาทิ การพัฒนาเรื่องการวัดวัดผล การรายงาน และการรับรอง (Measurement, Reporting and Verification : MRV)
ข้อมูลเพื่อแสดงผลการดำเนินงานตามเป้าหมายที่ 2 การเปลี่ยนผ่านอย่างเป็นธรรม (Just Transition)
ผลการดำเนินงานที่ช่วยเกิดการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม และช่วยแก้ไขผลกระทบทางสังคมที่เกิดจากการปรับตัวและบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาทิ
- การตรวจสอบวิเคราะห์สถานะ (Due Diligence Process) โดยพิจารณาเรื่องการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม
- การกำหนดเป้าหมายและติดตามผลความก้าวหน้า ของแผนการเปลี่ยนผ่านอย่างเป็นธรรม
- การดำเนินงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือกลุ่มตัวแทนทางกฎหมาย อาทิ ผู้ถือหุ้น พนักงาน สหภาพ คู่ค้า หรือชุมชน ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบทางลบที่รุนแรง ต่อแผนการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม (Just Transition Plan)
- การบูรณาการปฎิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง (UNDRIP) และประยุกต์ใช้ฉันทานุมัติที่ได้รับการรับรู้บอกแจ้งล่วงหน้าและเป็นอิสระ (The Principle of free, prior and informed consent) ในแผนดำเนินงานภายในองค์กร
- การจัดสรรเงินลงทุนเพื่อการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม (Just Transition) อาทิ การลงทุนเพื่อพัฒนาทักษะและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในส่วนของการจ้างงาน การไม่ไล่ออก การฝึกอบรมใหม่ การปรับรูปแบบ การสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจเพิ่มเติม และให้คืนสังคมในเชิงป้องกัน