18 โครงการจากภาคธุรกิจไทยคว้ารางวัล Women’s Empowerment Principles (WEPs) ประจำปี 2567 ของ UN Women

UNGCNT News

งานประกาศรางวัล Women’s Empowerment Principles (WEPs) ประจำปี 2567 ซึ่งจัดขึ้นทุกสองปีได้มอบรางวัลให้แก่ 18 องค์กรธุรกิจในไทย ที่ส่งผลงานและแนวทางการดำเนินกิจการโดดเด่นในด้านการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศในทุกส่วนของห่วงโซ่คุณค่า โดยปีนี้ สมัครเข้ามาจำนวน 64 ผลงาน จากองค์กรธุรกิจทั่วประเทศไทย โดยมีตั้งแต่บริษัทขนาดใหญ่ไปจนถึงวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)

งานประกาศรางวัล WEPs Awards ประจำปี 2567 ที่ UN Women จัดขึ้นได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการต่างประเทศและการค้า (DFAT) รัฐบาลออสเตรเลีย อีกทั้งยังได้ร่วมจัดกับองค์กรภาคีที่สนับสนุนการเสริมสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจของผู้หญิงในไทย ได้แก่ องค์กร Advantage Austria Bangkok สมาคมการค้าอิเล็กทรอนิกส์ไทย สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็คแห่งประเทศไทย (UN Global Compact Network Thailand)

คริสตีน อาหรับ ผู้อำนวยการ UN Women สำนักงานภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกและผู้แทนประจำประเทศไทย กล่าวว่า "รางวัล WEPs Awards ไม่ได้เป็นเพียงการยกย่องแนวทางการดำเนินธุรกิจเพียงเท่านั้น แต่ยังเป็นทั้งแรงบันดาลใจและแรงขับเคลื่อนให้กับพันธมิตรทางธุรกิจ ซัพพลายเออร์ พนักงาน ลูกค้า และผู้ประกอบการคนอื่น ๆ ในอนาคต ที่ต้องการขับเคลื่อนนวัตกรรมและสร้างความยืดหยุ่นให้แก่องค์กร พร้อมผลักดันเศรษฐกิจไทยและประเทศต่าง ๆ ให้เดินหน้าได้อย่างยั่งยืน ในประเทศไทยเองสัดส่วนของผู้หญิงในตำแหน่งผู้บริหารและ CEO อยู่สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับโลก สิ่งนี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลและภาคเอกชนในการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและเสริมพลังให้แก่ผู้หญิง”

เพื่อแสดงความขอบคุณผู้นำหน่วยงานภาครัฐที่มีบทบาทสำคัญต่อการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและศักยภาพของผู้หญิงในปีนี้ UN Women ได้มอบโล่เกียรติยศให้แก่ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อเชิดชูองค์กรภาครัฐที่เป็นแบบอย่างในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไปสู่ความยั่งยืน และส่งเสริมหลักการเสริมสร้างศักยภาพของผู้หญิง

มิเกลล่า ฟิลแบรย์-สตอเร่ ผู้ประสานสหประชาชาติประจำประเทศไทย ยังได้เสริมต่ออีกว่าความเสมอภาคระหว่างเพศคือฟันเฟืองสำคัญต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และยังได้ยกย่องประเทศไทยในฐานะผู้นำด้านความเสมอภาคระหว่างเพศในสถานที่ทำงาน ซึ่งมีสัดส่วนผู้หญิงที่เป็น CEO ร้อยละ 41 และ CFO ร้อยละ 43

ภายในงานมีการมอบรางวัลให้แก่ผู้บริหารระดับสูงและผู้นำองค์กรวิสัยทัศน์ไกล และแนวทางการดำเนินกิจการเพื่อส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศในด้านต่าง ๆ ขององค์กรธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นด้านการออกแบบนโยบายให้ครอบคลุมและตอบโจทย์พนักงานทุกเพศ การนำมิติทางเพศไปพัฒนาสินค้า บริการ และห่วงโซ่คุณค่า รวมถึงการจัดทำโครงการกิจกรรมเพื่อสังคมที่ส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ การรายงานความโปร่งใสโดยผนวกมิติทางเพศเข้าไป และการจัดการเงินอย่างมีนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ นอกจากนี้ยังมีการมอบรางวัล SME Champion ให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่นำหลักการ WEPs ไปประยุกต์ใช้กับการดำเนินธุรกิจอย่างสร้างสรรค์

องค์กรที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจากแต่ละสาขาทั้ง 7 องค์กรยังได้รับการคัดเลือกให้เป็นตัวแทนประเทศ ไทยเข้าชิงรางวัล WEPs Awards ในระดับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกร่วมกับผู้ชนะจากประเทศอื่น ๆ ซึ่งจะมีการประกาศผลในวันที่ 3 ธันวาคมนี้ และถ่ายทอดสดผ่านช่องทาง UN Women Asia-Pacific

“การเสริมสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจให้กับผู้หญิงจะช่วยให้เศรษฐกิจในเขตลุ่มแม่น้ำโขงมีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น การเพิ่มศักยภาพของธุรกิจที่ผู้หญิงเจ้าของและวิสาหกิจที่คำนึงถึงความเสมอภาคระหว่างเพศเป็นกุญแจสำคัญสู่เศรษฐกิจที่ครอบคลุมและภาคธุรกิจที่มั่นคง” ดร.แองเจลา แมคโดนัลด์ เอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย กล่าวเสริม

เครือข่าย Women’s Empowerment Principles (WEPs) มีบริษัทจากทั่วโลกมากกว่า 10,000 องค์กรเข้าร่วมแล้ว เพื่อนำแนวทางและหลักการเสริมสร้างศักยภาพของผู้หญิงไปปรับใช้และพัฒนาสถานที่ทำงาน ตลาด และชุมชน ในประเทศไทยมีบริษัทจากทุกขนาดเข้าร่วมเครือข่ายธุรกิจนี้แล้วกว่า 150 องค์กร โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเพิ่มโอกาสที่เท่าเทียม สร้างความร่วมมือและค้นหาโซลูชั่นที่แตกต่างหลากหลาย เพื่อผลักดันความก้าวหน้าในด้านความเสมอภาคระหว่างเพศ ยกระดับความรับผิดชอบขององค์กร และขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืนทั้งในประเทศไทยรวมถึงภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกแปซิฟิก

ผู้นำและองค์กรธุรกิจที่ได้รับรางวัลทั้ง 7 สาขาในประเทศไทย ได้แก่:

สาขาผู้นำองค์กรที่สนันสนุนความเสมอภาคระหว่างเพศ

  • รางวัลชนะเลิศ เภสัชกรหญิง กานต์มณี มิติสุบิน
    ผู้บริหารฝ่ายกิจการภายนอกและสื่อสารองค์กร บริษัท ออร์กานอน (ประเทศไทย) จำกัด
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง ศรินทร์รา วงศ์ศุภลักษณ์
    หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคล บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง ปิยจิต รักอริยะพงศ์
    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็ปเป้ จำกัด (มหาชน)

สาขาสถานที่ทำงานที่มีความความเสมอภาคระหว่างเพศ

  • รางวัลชนะเลิศบริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน)
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด

สาขาการตลาดที่คำนึงถึงมิติทางเพศ

  • รางวัลชนะเลิศ บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง โรงแรม เดอะ สลิล ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพ
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน)

สาขาการส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศผ่านกิจกรรมชุมชนและอุตสาหกรรม

  • รางวัลชนะเลิศ บริษัท โนวาร์ตีส (ประเทศไทย) จำกัด
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)

สาขาความโปร่งใสและการรายงาน

  • รางวัลชนะเลิศ บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน)
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน)

สาขาการจัดการเงินอย่างมีนวัตกรรมเพื่อความเสมอภาคทางเพศ

  • รางวัลชนะเลิศ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

รางวัล SME Champion

  • รางวัลชนะเลิศ Akha Ma-De (สาขาการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศผ่านกิจกรรมชุมชนและอุตสาหกรรม)
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง บริษัท ราโมนา จำกัด (สาขาการตลาดที่คำนึงถึงมิติทางเพศ)
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง สิริปตี พุ่มจันทร์ ผู้ก่อตั้ง ยายสิริ (สาขาผู้นำองค์กรที่สนับสนุนความเสมอภาคระหว่างเพศ)

 

ร่วมเปลี่ยนแปลงโลกกับเรา
UN Global Compact
Network Thailand
APPLY FOR MEMBERSHIP
เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ เราใช้คุกกี้เพื่อเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และการใช้งานของเว็บไซต์เพื่อปรับปรุง ปรับแต่งเนื้อหา และโฆษณาตามความต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้ เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์ และ นโยบายสิทธิส่วนบุคคล
Subscribe
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถปรับแต่งการตั้งค่าคุกกี้ในแต่ละประเภทได้ดังต่อไปนี้
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่จำเป็นต่อการให้บริการ
(Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการบนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่จะช่วยให้ท่านสามารถเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยของเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้เพื่อการวัดผลการทำงานและฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์
(Performance and Functionality Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะถูกใช้เพื่อจดจำท่านเมื่อท่านกลับเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้ง ช่วยให้เราปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะกับท่านและจดจำการตั้งค่าของท่าน (เช่น ภาษาหรือภูมิภาคที่ท่านเลือก) แต่ไม่จำเป็นต่อการวัดผลการทำงานของเว็บไซต์
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์หรือเพื่อการปรับแต่ง
(Analytical or Customization Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ใช้งานเข้าสู่เว็บไซต์และออกจากเว็บไซต์ เราใช้ข้อมูลนี้ในลักษณะของข้อมูลโดยรวมเพื่อช่วยให้เราปรับปรุงวิธีการทำงานของเว็บไซต์ หรือเพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราตามความสนใจของท่านได้