ธุรกิจไม่อาจเติบโตแบบตัวคนเดียวได้บนเส้นทางสู่ความยั่งยืน ดังนั้น ธุรกิจต้องเปลี่ยนวิธีคิดและการทำธุรกิจจากตัวเราเท่านั้น (Exclusive) ไปสู่ธุรกิจแบบมีส่วนร่วม ที่แม้แต่ประชากรกลุ่มฐานรากของปิรามิดเศรษฐกิจก็มีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ (Inclusive Business)
ที่ผ่านมาประเทศไทยได้มุ่งเน้นการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่การขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม พร้อมทั้งส่งเสริมการพัฒนาแบบครอบคลุมด้วยนโยบายที่สนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กและเศรษฐกิจฐานราก แม้จะมีความล่าช้าของการดำเนินงานตามเป้าหมาย ขาดการพัฒนาทุนมนุษย์ที่ถูกทาง และขาดการส่งเสริมแนวทางพหุภาคีเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในระดับผู้นำองค์กร แต่ก็นับว่าประเทศไทยมาถูกทาง
แนวคิดธุรกิจที่เน้นความสามารถในการทำกำไรควบคู่กับการสร้างผลกระทบเชิงสังคม ถือเป็นโอกาสทางการตลาดใหม่ที่มีศักยภาพสูงในการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อทั้งธุรกิจและชุมชน GCNT ชวนทำความรู้จักโมเดลธุรกิจแห่งอนาคตที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ที่ไม่เพียงสร้างกำไรอย่างยั่งยืนเท่านั้น แต่ยังช่วยกระตุ้นนวัตกรรม พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น และลดความยากจน
ทำความเข้าใจธุรกิจ IB
Inclusive Business หรือ IB หมายถึงธุรกิจที่สามารถสร้างกำไรได้อย่างยั่งยืน โดยมุ่งเป้าไปยังประชากรกลุ่มฐานรากของปิรามิดเศรษฐกิจ (Base of the Pyramid หรือ BoP) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดแต่มีรายได้ต่ำที่สุดให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ ในฐานะผู้จัดหา ผู้จัดจำหน่าย ผู้ค้าปลีก หรือผู้บริโภค
ธุรกิจ IB ไม่เพียงสร้างกำไรแก่ตัวธุรกิจเอง แต่ยังนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม รวมถึงช่วยลดความยากจนและการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
แนวคิดธุรกิจ IB ถูกกล่าวถึงครั้งแรกในปี 2005 โดย World Business Council for Sustainable Development หรือ WBCSD) โดยนำเสนอแนวทางในการยกระดับบทบาทของภาคเอกชนจากการทำกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ไปสู่การยกระดับรายได้ให้ชุมชน ผ่านการนำชุมชนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของโซ่คุณค่า จากนั้นในปี 2015 แนวคิดนี้ก็ได้รับการรับรองนิยามและกรอบการดำเนินงานอย่างเป็นทางการโดย G20
ปัจจุบันแนวคิดธุรกิจ IB ได้รับการยอมรับจากประเทศสมาชิกอาเซียน ภายใต้กรอบธุรกิจแบบองค์รวมของอาเซียน (ASEAN Inclusive Business Framework)
การแปลความหมายที่สร้างความสับสน
หนึ่งในความท้าทายของการส่งเสริมธุรกิจ IB ในประเทศไทยคือการแปลคำว่า “inclusive business” เนื่องจากในภาษาไทยไม่มีคำที่เทียบเคียงความหมายได้โดยตรง ในเอกสารทางการมักแปลคำนี้เป็น “เศรษฐกิจฐานราก” ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่มุ่งส่งเสริมรายได้ของประชากรฐานราก โดยสนับสนุนให้เป็นผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ หรือวิสาหกิจเพื่อสังคม (SEs)
อย่างไรก็ตาม การใช้คำว่า “เศรษฐกิจฐานราก” นั้นไม่สอดคล้องกับแนวคิดของ IB ตามกรอบอาเซียนอย่างสมบูรณ์ เนื่องจาก IB เน้นการส่งเสริมธุรกิจที่มีส่วนร่วมกับประชากรกลุ่มฐานรากในห่วงโซ่ธุรกิจหลัก มากกว่าที่จะมุ่งเน้นการสนับสนุนพวกเขาโดยตรง
ความคลาดเคลื่อนนี้อาจสร้างความสับสน ในบทความนี้ จึงใช้คำว่า “inclusive business” หรือ “ธุรกิจ IB” แทนในระหว่างการหารือร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดคำแปลและนิยามที่ชัดเจนโดยการแก้ไขปัญหาด้านภาษาและความเข้าใจจะช่วยให้ประเทศไทยออกแบบนโยบายและกลยุทธ์ธุรกิจ IB ที่สอดคล้องกับกรอบอาเซียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4 ลักษณะสำคัญของธุรกิจ IB
ใครคือกลุ่มฐานรากของปิรามิดเศรษฐกิจ
หัวใจสำคัญของธุรกิจ IB คือการมุ่งเน้นไปที่ประชากรกลุ่มฐานรากของปิรามิดเศรษฐกิจ ในระดับสากล กลุ่มฐานรากคือผู้ที่มีรายได้ไม่เกิน 8.44 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อวัน ครอบคลุมกลุ่มคนยากจน (รายได้ต่ำกว่า 2.97 ดอลลาร์สหรัฐฯ) และกลุ่มรายได้ต่ำ (2.98 – 8.44 ดอลลาร์สหรัฐฯ)
ประเทศไทยมีความก้าวหน้าในการลดความยากจนอย่างมีนัยสำคัญ จาก 58 เปอร์เซนต์ ในปี 1990 เหลือ 6.8 เปอร์เซนต์ ในปี 2020 ทำให้ประเทศก้าวสู่สถานะรายได้ปานกลางระดับสูง อย่างไรก็ตาม ความคืบหน้าในการลดความยากจนเริ่มชะลอตัวลงตั้งแต่ปี 2015
แม้ว่าความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในประเทศไทยจะลดลงบ้าง แต่ยังคงอยู่ในระดับสูง รายได้เฉลี่ยของครัวเรือนในชนบท มีเพียง 68 เปอร์เซนต์ ของครัวเรือนในเมืองในปีเดียวกัน โดยครัวเรือนในชนบทยังเผชิญกับ ข้อจำกัดด้านการศึกษา มี ภาระพึ่งพิงสูง และ สภาพความเป็นอยู่ยากลำบาก
ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้มุ่งเน้นการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่การขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม พร้อมทั้งส่งเสริมการพัฒนาแบบครอบคลุมด้วยนโยบายที่สนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กและเศรษฐกิจฐานราก โดยแนวคิดธุรกิจ IB ที่เน้นความสามารถในการทำกำไรควบคู่กับการสร้างผลกระทบเชิงสังคม นับเป็นโอกาสทางการตลาดใหม่ ที่มีศักยภาพสูงในการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อทั้งธุรกิจและชุมชน ช่วยยกระดับรายได้และสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน
นวัตกรรมในโมเดลธุรกิจ IB
แนวคิดธุรกิจ IB ช่วยยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตแก่ประชากรกลุ่มฐานรากของปิรามิดเศรษฐกิจ ด้วย 2 แนวทางหลัก คือ
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้บริการแก่ตลาดที่มีรายได้น้อยและยังคงทำกำไรได้ ธุรกิจ IB จำเป็นต้องมีนวัตกรรมทั้งในด้านการออกแบบธุรกิจและการลดความเสี่ยง เช่น มีการรับประกันเงินกู้และมีแผนการชำระเงินแบบยืดหยุ่น ที่สอดคล้องกับความสามารถทางการเงินของประชากรกลุ่มฐานราก หรือมีกลไกการจัดส่งสินค้า ที่ช่วยลดต้นทุนการขนส่งและลดความเสี่ยงให้กลุ่มผู้มีรายได้น้อย
โดยบริษัทหนึ่งๆ อาจดำเนินธุรกิจทั้งแบบปกติและ IB ไปพร้อมกัน หรืออาจมุ่งเน้นไปที่การดำเนินธุรกิจ IB โดยเฉพาะก็ได้
3 แนวทางการดำเนินธุรกิจ IB
1. โมเดลธุรกิจแบบมีส่วนร่วม (Inclusive Business Models): บริษัทในกลุ่มนี้ผสานประชากรกลุ่มฐานรากของปิรามิดเศรษฐกิจเข้ากับกระบวนการดำเนินธุรกิจหลัก โดยมักเป็นธุรกิจขนาดกลาง ที่ออกแบบมาเพื่อสร้างทั้งผลตอบแทนในตลาดและผลกระทบทางสังคมในวงกว้าง เช่น Mivana บริษัทกาแฟในภาคเหนือของไทย ที่ช่วยเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรผ่านการปลูกกาแฟออร์แกนิกในระบบป่าธรรมชาติ
2. กิจกรรมธุรกิจแบบมีส่วนร่วม (Inclusive Business Activities): ธุรกิจกลุ่มนี้เหล่านี้เกี่ยวข้องกับประชากรกลุ่มฐานรากในลักษณะที่เป็นประโยชน์ แต่ไม่ใช่กิจกรรมที่จำเป็นต่อการอยู่รอดของบริษัท มักปรากฏในรูปแบบ CSR เชิงกลยุทธ์ที่เชื่อมโยงกับธุรกิจหลัก ซึ่งหากประสบความสำเร็จอาจขยายเป็นโมเดลธุรกิจ IB เต็มรูปแบบ เช่น CPF ดำเนินโครงการ CSR ชื่อโครงการเลี้ยงสุกรรับประกันรายได้ ซึ่งเป็นการทำสัญญากับเกษตรกรเพาะเลี้ยงสุกรเพื่อรับประกันรายได้
3. โครงการของวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise Initiatives): เป็นกิจกรรมเชิงพาณิชย์ที่มีเป้าหมายทางสังคมชัดเจน แต่ไม่มุ่งเน้นการเพิ่มกำไรสูงสุดให้แก่นักลงทุน เช่น Jasberry วิสาหกิจเพื่อสังคมในประเทศไทย ที่มุ่งปรับปรุงคุณภาพชีวิตผ่านการผลิตข้าวออร์แกนิก
ความแตกต่างระหว่างธุรกิจทั่วไป ธุรกิจ IB โครงการ CSR และวิสาหกิจเพื่อสังคม คือธุรกิจทั่วไปให้ความสำคัญกับผลกำไรเป็นหลัก ส่วน CSR และวิสาหกิจเพื่อสังคม (SE) ให้ความสำคัญกับผลกระทบทางสังคมมากกว่าผลกำไร
ขณะที่ธุรกิจ IB มุ่งสร้างความสมดุลระหว่างผลกระทบทางสังคมและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ โดยให้ผลกระทบทั้งสองเสริมสร้างกัน ธุรกิจ IB ยังแตกต่างจาก CSR ตรงที่การดำเนินงานหลักทั้งหมดมีเป้าหมายในการสร้างประโยชน์ในมิติทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างครบถ้วน รวมถึงมุ่งเน้นการขยายโอกาสทางธุรกิจเพื่อสร้างผลกระทบที่กว้างไกลขึ้น
สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อธุรกิจ IB
ธุรกิจ IB มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น เติบโต และประสบความสำเร็จได้ดี เมื่อดำเนินการในสภาพแวดล้อมที่สนับสนุน ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลายฝ่าย ทั้งภาครัฐ สถาบันต่างๆ และผู้นำที่มีบทบาทสำคัญ โดยต้องมีการให้ข้อมูลที่จำเป็น มีการพัฒนานโยบายและมาตรการจูงใจที่เหมาะสม รวมถึงมีการอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงแหล่งทุน และมีการส่งเสริมความสามารถของผู้นำธุรกิจและผู้มีส่วนร่วมในห่วงโซ่อุปทานในการพัฒนาโมเดลธุรกิจ IB เช่น
ทุกวันนี้ประเทศไทยกำลังพัฒนาระบบนิเวศที่สนับสนุนธุรกิจ IB อย่างต่อเนื่อง โดยมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนกว่า 30 แห่งที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและขยายการดำเนินงานตามโมเดลธุรกิจ IB
เช่น คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) ที่กำลังทำงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนสำคัญในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการเจรจาระหว่างภาครัฐและภาคธุรกิจ และสนับสนุนฟอรัมการลงทุน IB แห่งชาติ ทั้งยังร่วมมือกับ มูลนิธิ Bill & Melinda Gates สนับสนุนธุรกิจ IB ด้านเกษตรกรรมและระบบอาหาร และได้จัดทำรายงานศึกษาภาพรวมของโมเดลธุรกิจ IB ในอาเซียนและประเทศไทยอย่างครอบคลุม
ในส่วนของการพัฒนาทักษะให้กับธุรกิจและผู้ประกอบการ ประเทศไทยมีโปรแกรมเสริมสร้างศักยภาพจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่ครอบคลุมการฝึกอบรมด้านพัฒนาธุรกิจ การเข้าถึงข้อมูล แหล่งเงินทุน เครือข่าย และโครงสร้างพื้นฐาน เช่น
อย่างไรก็ตาม ยังมีอุปสรรคและข้อจำกัดหลายด้านที่ชะลอการเกิดและงอกงามของธุรกิจ IB ในประเทศไทย เช่น แม้ว่า IB จะสามารถเชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ได้ แต่ยังไม่มีนโยบายหรือโปรแกรมเฉพาะที่สนับสนุนหรือส่งเสริมโมเดล IB อย่างเป็นระบบ
การลงทุนเพื่อผลกระทบ (impact investing) ในประเทศไทยยังคงมีอยู่อย่างจำกัด โดยแหล่งเงินทุนสำหรับธุรกิจระยะเริ่มต้นส่วนใหญ่จะเน้นที่สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยี ทำให้เกิดช่องว่างในด้านการสนับสนุนการขยายตัวของธุรกิจ IB
นอกจากนี้ แหล่งเงินทุนอื่นๆ ที่สนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนส่วนใหญ่ยังมุ่งเน้นที่ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และเกี่ยวข้องกับองค์กรขนาดใหญ่ในภาคการเงิน ที่อยู่อาศัย และพลังงาน ที่สำคัญธุรกิจขนาดเล็กมักไม่มีทรัพยากรหรือระบบที่เพียงพอในการวัดและรายงานผลกระทบอย่างเป็นระบบ ซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการพิสูจน์คุณค่าทางสังคมและดึงดูดนักลงทุน
บทเรียนจากบริษัทอูรมัต
บริษัทอูรมัต จำกัด (Urmatt Limited) คือเป็นหนึ่งในผู้ผลิตข้าวหอมมะลิออร์แกนิกรายใหญ่ที่สุดของโลก อีกทั้งยังผลิตข้าวออร์แกนิกชนิดอื่นๆ และผลิตภัณฑ์จากข้าวคุณภาพสูง บริษัทมีชื่อเสียงในฐานะผู้นำด้านการเกษตรอย่างยั่งยืน และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในระดับภูมิภาค บริษัทอูรมัตปฏิบัติตามมาตรฐาน Fairtrade และได้รับการรับรองจาก Ecocert ซึ่งเป็นองค์กรรับรองผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกระดับสากลในปี 2000
ภารกิจของบริษัทอูรมัตคือการส่งเสริมการเกษตรออร์แกนิกที่ยั่งยืน ผ่านความร่วมมือกับเกษตรกรในภาคเหนือของประเทศไทยกว่า 3,000 ราย (36 เปอร์เซนต์เป็นผู้หญิง) โดยใช้ระบบการดำเนินงานแบบครบวงจรที่โปร่งใสและตรวจสอบได้ มีพื้นที่กว่า 29,000 ไร่ ภายใต้สัญญาการทำฟาร์มแบบมีเงื่อนไข โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 100 เปอร์เซนต์ของสัญญาซื้อขายฟางข้าวทำกับผู้หญิงทั้งหมด
เพื่อเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร บริษัทอูรมัตจ่ายค่าผลผลิตสูงกว่าราคาตลาด นอกจากนี้ บริษัทให้การสนับสนุนทางการเงินล่วงหน้า และจัดหาปุ๋ยชีวภาพและเมล็ดพันธุ์ออร์แกนิกโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ในภาพรวมบริษัทอูรมัตส่งผลกระทบเชิงบวกต่อชีวิตของผู้คนประมาณ 21,000 คน
ในด้านนวัตกรรม บริษัทอูรมัตมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนแบบไร้ของเสีย (Zero-Waste Circular Economy) เพื่อสร้างช่องทางรายได้เพิ่มเติมให้กับเกษตรกร บริษัทมีแผนกวิจัยและพัฒนา (R&D) ที่แข็งแกร่ง ซึ่งผลักดันการ กระจายผลิตภัณฑ์ ขยายจากข้าวออร์แกนิกไปสู่รำข้าว แป้งข้าว เส้นพาสต้าและก๋วยเตี๋ยวจากข้าว ข้าวอบกรอบและเค้กข้าว ไข่ไก่ออร์แกนิกจากการเลี้ยงปล่อย เมล็ดเจียและเครื่องเทศ
ผลิตภัณฑ์บางชนิดของบริษัทอูรมัต เช่น เครื่องเทศคุณภาพสูง ประสบความสำเร็จทางการเงินมาก ในขณะที่ผลิตภัณฑ์อื่น เช่น ไข่ออร์แกนิก ที่ผลิตโดยเกษตรกรจากกลุ่มชาติพันธุ์พื้นเมือง แม้จะเพียงแค่คุ้มทุน แต่ก็มอบประโยชน์ทางการเงินที่สำคัญให้แก่เกษตรกร ปัจจุบันอูรมัตเป็นแบรนด์ไข่ออร์แกนิกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
จากบทความข้างต้น จะเห็นได้ว่าปัจจุบันเริ่มมีธุรกิจที่ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีหลายๆ อย่าง ซึ่งช่วยประหยัดต้นทุนได้ รวมถึงบริษัทขนาดใหญ่ที่ทำธุรกิจไปพร้อมกับการพัฒนาสังคมแบบไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
“ถ้าโลกรอด ธุรกิจก็รอด”
“ถ้าลูกค้าประสบความสำเร็จ ธุรกิจก็ประสบความสำเร็จ”
“ถ้าคู่ค้าเจริญเติบโต ธุรกิจก็เจริญเติบโต”
“ถ้าซัพพลายเออร์แข็งแรง ธุรกิจก็แข็งแรง”
ข้อมูลอ้างอิง