“ธนาคารไม่ได้เป็นเพียงแค่ตัวกลางทางการเงินอีกต่อไป แต่กำลังกลายเป็นผู้ขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยบูรณาการ ESG เข้ากับการปล่อยสินเชื่อ การระดมทุน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการทางการเงิน รวมไปถึงการบริหารความเสี่ยง”
เจสัน ลีในการเดินหน้าสู่ความยั่งยืน สถาบันการเงิน คือกลไกสำคัญในระบบเศรษฐกิจ ผ่านการนำปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) มาผนวกเข้ากับการปล่อยสินเชื่อ การบริหารความเสี่ยง และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ธนาคารไม่ได้เป็นเพียงแค่ตัวกลางทางการเงินอีกต่อไป แต่กำลังกลายเป็นผู้ขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผ่านการสนับสนุนโครงการความยั่งยืนต่างๆ
ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) หนึ่งในสมาชิกกลุ่มซีไอเอ็มบี ซึ่งเป็นผู้นำด้านความยั่งยืน จึงก่อตั้ง ‘หน่วยงานความยั่งยืน’ เพื่อขับเคลื่อนการเงินและการธนาคารที่ยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม
ซีไอเอ็มบี ไทย และ กลุ่มซีไอเอ็มบี มีวัตถุประสงค์จะเป็นธนาคารที่ยั่งยืน กับภารกิจรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และสนใจผลลัพธ์ที่มากไปกว่าแค่รายได้หรือกำไร” โดยก่อตั้งทีมความยั่งยืน (Sustainability) เมื่อปี 2020 มีแผนงานที่สอดคล้องกับ UN ผ่าน 4 หลักความยั่งยืน ได้แก่ Sustainable Action, Sustainable Business, Governance and Risk, Stakeholder Engagement and Advocacy เพื่อผลักดันเป้าหมายของธนาคารที่สอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) รวมถึงความตกลงปารีส (Paris Agreement) ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 4 หลักในการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของซีไอเอ็มบีไทย ประกอบด้วย
ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) กำลังเดินหน้าสนับสนุนการเงินเพื่อการปรับตัวสู่ความยั่งยืนของภาคธุรกิจ (Transition Finance) เพื่อส่งเสริมให้บริษัทในอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง (Brown Industry) เริ่มให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงระยะยาว และปรับตัวสู่แนวทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยให้ความสำคัญกับกลุ่มธุรกิจที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสัดส่วนมากเป็นกลุ่มแรก ได้แก่ กลุ่มน้ำมันและก๊าซ เช่น โรงกลั่นน้ำมัน แท่นขุดเจาะน้ำมัน และกลุ่มพลังงาน เช่น โรงไฟฟ้า สองกลุ่มธุรกิจนี้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 70% ของอุตสาหกรรมทั้งหมด และต้องการเงินทุนไปพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และเทคโนโลยี ที่จะทำให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงให้ได้อย่างเป็นรูปธรรม
จากการสำรวจ ซีไอเอ็มบีไทยพบว่าธุรกิจทั้งสองกลุ่มมีความมุ่งมั่นและต้องการการสนับสนุนทางการเงินที่ชัดเจน รวมเป็นวงเงิน 20,000 ล้านบาท ซึ่งธนาคารพร้อมตอบสนองผ่านผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลาย ตามแนวทางการเงินเพื่อการปรับตัวสู่ความยั่งยืนของภาคธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อเพื่อความยั่งยืน (Sustainability-Linked Loan) ตราสารหนี้เปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน (Transition Bond) สินเชื่อเปลี่ยนผ่านเพื่อความยั่งยืน (Transition Loan)
นอกจากการสนับสนุนด้านการเงินแล้ว ซีไอเอ็มบีไทยยังมี ESG Advisory ที่พร้อมให้คำแนะนำด้านการเปลี่ยนผ่านอย่างมีหลักการแก่ภาคธุรกิจ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม (Just Transition) สู่เศรษฐกิจที่ยั่งยืน เป็นมิตร
ต่อสิ่งแวดล้อม และช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งยังสอดคล้องกับเป้าหมายตามหลักวิทยาศาสตร์ (Science-based Targets)
:: ติดตามอ่าน SDGs MEGA TRENDS 2025 : FORWARD FASTER NOW ได้ที่ https://globalcompact-th.com/news/registration/1774 ::