ที่มาและความสำคัญ
ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2562-2566) การค้าระหว่างไทยและสหภาพยุโรป (European Union – EU) มีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 38,796.47 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยในปี 2567 (มกราคม - มิถุนายน) สหภาพยุโรปยังคงเป็นคู่ค้าระดับที่ 4 ของประเทศไทย (รองจากจีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น) โดยมูลค่าการค้ารวมอยู่ที่ 21,394.02 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 7.23 ของการค้าไทยในตลาดโลก1 สหภาพยุโรปจึงเป็นคู่ค้าที่สำคัญต่อไทย ทั้งเป็นตลาดในการส่งออกสินค้า และการสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ทั้งนี้ สหภาพยุโรปเป็นกลุ่มประเทศที่มี ความยึดมั่นด้านหลักการ มาตรฐาน และกฎระเบียบต่าง ๆ ทั้งด้านธรรมาภิบาล สิทธิมนุษยชน และความยั่งยืน ด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีการกำหนดกฎระเบียบและมาตรฐานด้านการค้าให้ธุรกิจคู่ค้าและบริษัทในห่วงโซ่อุปทานถือ ปฏิบัติ การติดตามพัฒนาการและการเตรียมพร้อมรับมือกับกฎระเบียบและข้อบังคับด้านการค้าของสหภาพยุโรป จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อภาคธุรกิจของไทย
ในช่วงที่ผ่านมาสหภาพยุโรปได้ออกกฎระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจที่น่าจับตา มองที่สำคัญ ได้แก่ (1) EU Corporate Sustainability Due Diligence Directive (CSDDD) ซึ่งกำหนดให้ บริษัททั้งใน EU และนอก EU ที่มีรายได้ใน EU ถึงเกณฑ์ที่กำหนดจัดทำรายงานการตรวจสอบย้อนกลับด้าน สิทธิมนุษยชนและมาตรฐานสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่การผลิต และ (2) EU Regulation on Forced Labour ซึ่งกำหนดห้ามขายสินค้าที่ผลิตด้วยแรงงานบังคับในสหภาพยุโรป
ข้อกำหนดเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจของท่านอย่างไร ท่านมีความพร้อมรับมือกับมาตรการใหม่ ๆ เหล่านี้หรือไม่ สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (Global Compact Network Thailand - GCNT) โดยสถาบันธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (Business and Human Rights (BHR) Academy) ขอเชิญชวนท่านเข้าร่วมรับฟังการอบรมออนไลน์ หัวข้อ “การสร้างความรู้และเตรียมความพร้อมสำหรับการปฏิบัติตามข้อกำหนดของสหภาพยุโรป (EU) ในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน” ในวันศุกร์ที่ 25 เมษายน 2568 เวลา 10.00-12.00 น. เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกฎระเบียบใหม่ของสหภาพยุโรปดังกล่าวข้างต้น เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับกฎระเบียบข้อบังคับ ผลกระทบต่อธุรกิจไทย และการเตรียมความพร้อมของธุรกิจของ ท่านและบริษัทในห่วงโซ่อุปทาน โดยการอบรมนี้ไม่เพียงแต่ให้ความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดใหม่ ๆ แต่ยังช่วยเพิ่มทักษะในการปรับปรุงกระบวนการและระบบภายในองค์กรเพื่อให้การดำเนินธุรกิจสามารถเป็นไปอย่างยั่งยืนและมีความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นอีกด้วย
การอบรมนี้ถือเป็นสิทธิประโยชน์ที่มอบให้กับบริษัทสมาชิกของ GCNT โดยตรง ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างศักยภาพในการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความยั่งยืนและการกำกับดูแลระดับสากล โดยเฉพาะการเตรียมพร้อม เพื่อปฏิบัติตาม EU CSDDD และ EU Regulation on Forced Labour ซึ่งจะเป็นการเสริมความแข็งแกร่งและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก ช่วยสนับสนุนให้ธุรกิจไทยสามารถพัฒนากระบวนการและจัดการทรัพยากรอย่างมีความรับผิดชอบและยั่งยืน
วัตถุประสงค์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
รายละเอียดการประชุม