GCNT จัดอบรมออนไลน์เสริมทักษะและเตรียมความพร้อมสำหรับการปฏิบัติตามข้อกำหนด EU ในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนและเคารพสิทธิมนุษยชน

Article



สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (GCNT) ภายใต้
ฺBHR Academy จัดอบรมออนไลน์เรื่อง “การสร้างความรู้และเตรียมความพร้อมสำหรับปฏิบัติตามข้อกำหนดของสหภาพยุโรป (EU) ในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน (EU Corporate Sustainability Due Diligence Directive (CSDDD) และ EU Regulation on Forced Labour)”

โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์ ดร.ภัทรพงษ์ แสงไกร อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ คุณนรีลักษณ์ แพไชยภูมิ ผู้อำนวยการกองสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ในวันศุกร์ที่ 25 เมษายน 2567 รูปแบบ Zoom Webinar เพื่อสร้างความเตรียมพร้อมสำหรับการปฏิบัติตามข้อกำหนดสหภาพยุโรป (EU) ในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน และเรียนรู้กรอบนโยบายของประเทศไทยในการส่งเสริมธุรกิจที่มีความรับผิดชอบและเคารพสิทธิมนุษยชนให้ดำเนินตามหลักการยั่งยืน

ในการนี้ ดร.ขวัญฤทัย ศิริพัฒนโกศล รองเลขาธิการสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย ได้กล่าวเปิดงานถึงการเตรียมความพร้อมเรื่องข้อกำหนดของสหภาพยุโรป (EU) ที่มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมความรับผิดชอบของบริษัทในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยกำหนดให้บริษัทต้องดำเนินการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence) เพื่อระบุ ป้องกัน บรรเทา และรับผิดชอบต่อผลกระทบด้านลบที่อาจเกิดขึ้นต่อสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม ซึ่งในมุมของภาคธุรกิจไทยควรเตรียมตัวและรับมืออย่างไรในอนาคต ให้แก่ผู้เข้าร่วมการอบรบจากบริษัทสมาชิกของ GCNT บริษัทในห่วงโซ่อุปทาน และเครือข่ายพันธมิตรกว่า 60 คน



การเตรียมตัวสำหรับการปฏิบัติตามข้อกำหนดของสหภาพยุโรป (EU) ในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน

อาจารย์ ดร.ภัทรพงษ์ แสงไกร กล่าวถึงความสำคัญของ EUCSDDD มีผลกระทบต่อบริษัทไทยเพราะเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานของบริษัทใน EU ที่อยู่ในขอบเขตของ CSDDD บริษัทเหล่านี้ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดขึ้น รวมถึงการให้ข้อมูลและสามารถตรวจสอบที่เกี่ยวข้องได้ โดยบริษัทไทยควรรับมือ 2 สิ่งสำคัญคือ 

1) ประเทศคู่ค้าจาก EU มาจากประเทศอะไร รวมถึงมีเนื้อหาและขั้นตอนการทำ Due Diligence  ในประเทศและระบุการปรับลงโทษอย่างไร 

2) รายละเอียดของ Guidance ของ Due Diligence มีอะไรบ้าง ซึ่งบริษัทไทยสามารถเช็กคู่ค้าบริษัทอยู่ในสมาชิก EU มีหน้าที่ต้องทำ Due Diligence หรือไม่ที่เว็ปไซต์:  https://www.somo.nl/csddd-datahub/#look-for-company


ในส่วนของขั้นตอนการทำ Due Diligence ให้เข้าข่ายกฎหมายของ EUCSDDD ครอบคลุม 2 เรื่องหลักคือ สิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม รวมถึงแต่ละขั้นตอนจะต้องมีข้อตกลงกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องตามข้อกำหนด ดังนี้

- ต้องจัดทำนโยบายบริษัท Human Rights and Environmental Due Diligence (HREDDD) การตรวจสอบสถานะด้านสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมและ Code of conduct

- ระบุและประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นจริงต่อสิทธิมนุษยนชนและสิ่งแวดล้อมตาม

- การจัดลำดับความสำคัญของปัญหาตามความร้ายแรงประกอบกับความน่าจะเป็นของการเกิดผลกระทบ

- มีการชดเชยเยียวยาการละเมิดสิทธิ

- ต้องมีการปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อประเมินผลกระทบ การออกแบบแผนการป้องกันและแก้ไขผลกระทบ การตัดสินใจยุติหรือระงับความสัมพันธ์ทางธุรกิจ รวมถึงการดำเนินการเยียวยาความเสียหาย

นอกจากนั้น อาจารย์ ดร.ภัทรพงษ์ แสงไกร ยังกล่าวถึง EU Regulation on Forced Labour ข้อกำหนดเรื่องแรงงาน ซึ่งเป็นข้อกำหนดหนึ่ของสหภาพยุโรปที่ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจไทยธุรกิจทุกขนาดไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ห้ามนำสินค้าที่ผลิตโดยการบังคับแรงงานมาวางขายในตลาดสหภาพยุโรป (EU) และห้ามส่งออกสินค้าเหล่านั้นออกจาก EU ด้วย


กรอบนโยบายไทยในการส่งเสริมธุรกิจให้เคารพสิทธิมนุษยชน

คุณนรีลักษณ์ แพไชยภูมิ อธิบายประเด็นสิทธิมนุษยชนในบริษัทไทยว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยมักพูดถึงการละเมินสิทธิมนุษยชนในเรื่องประชาชนกับประชาชน หรือประชาชนกับเจ้าหนาที่รัฐ แต่ที่ผ่านมาก็มีประเด็นเรื่องธุรกิจที่เกิดขึ้นมากมายด้วยเช่นกัน ทางองค์การสหประชาชาติ (UN) จึงออกหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (United Nations Guiding Principles on Business and Human Right: UNGPs) เป็นหลักการมาตรฐานสากลให้บริษัทปฏิบัติตามได้ โดยมีหลักการสำคัญ 3 ประเด็น

1.การคุ้มครอง (Protect): กำหนดหน้าที่ของภาครัฐในการคุ้มครองประชาชนไม่ให้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยภาคธุรกิจ
2.การเคารพ (Respect): กำหนดหน้าที่ภาคธุรกิจให้ประกอบธุรกิจด้วยความเคารพสิทธิมนุษยชน
3.การเยียวยา (Remedy): กำหนดหน้าที่ของทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจในการเยียวยาผู้เสียหายจากการถูกละเมิด

สำหรับทางรัฐบาลไทยและภาคส่วนต่างๆ ตระหนักถึงความเชื่อมโยงระหว่างการดำเนินธุรกิจและผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนมากขึ้น จึงได้จัดทำแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562-2565) เป็นมาตรการผสมผสานระหว่าง มาตรการบังคับสำหรับภาครัฐ และ มาตรการสมัครใจสำหรับรัฐวิสาหกิจและภาคธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วย 4 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1) ด้านแรงงาน 2)ด้านชุมชน ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3) ด้านนักปกป้องสิทธิมนุษยชน และ 4) ด้านการลงทุนระหว่างประเทศและบรรษัทข้ามชาติ

 

ปัจจุบันอยู่ในแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) มีการเพิ่มประเด็นใหม่ๆ เข้าไปในแผนฯ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การแก้ไขปัญหา PM 2.5 การลดคาร์บอน การใช้พลังงานไฟฟ้า แนวทางการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน และสังคมผู้สูงอายุ รวมถึงเพิ่มการดำเนินการและเตรียมการรองรับมาตรฐานสากลอื่นๆ เช่น OECD, EU, IPEF ซึ่งมีเป้าหมายในการส่งเสริมการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบและเคารพสิทธิมนุษยชนเช่นกัน


ทั้งนี้การสร้างความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับข้อกำหนด EU Corporate Sustainability Due Diligence Directive (CSDDD) และ EU Regulation on Forced Labour ถือเป็นก้าวสำคัญสำหรับภาคธุรกิจไทยในการยกระดับมาตรฐานการดำเนินงานสู่ความยั่งยืนและเคารพสิทธิมนุษยชน ควบคู่ไปกับการเรียนรู้และนำกรอบนโยบายระดับชาติของไทยไปปฏิบัติ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหภาพยุโรป และแสดงถึงความมุ่งมั่นของธุรกิจไทยในการเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสังคมและเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและมีความรับผิดชอบร่วมกัน 

UNGCNT ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนให้ภาคธุรกิจไทยสามารถเตรียมตัวและดำเนินการตามข้อกำหนดที่มีความสำคัญเหล่านี้ต่อไปอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทั้งในตลาดภายในและตลาดโลกอย่างยั่งยืน โดยมุ่งหวังให้ธุรกิจไทยสามารถปฏิบัติตามมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนและการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมได้อย่างเต็มที่ พร้อมทั้งส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจที่มีความรับผิดชอบและยั่งยืนในระยะยาว

ร่วมเปลี่ยนแปลงโลกกับเรา
UN Global Compact
Network Thailand
APPLY FOR MEMBERSHIP
เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ เราใช้คุกกี้เพื่อเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และการใช้งานของเว็บไซต์เพื่อปรับปรุง ปรับแต่งเนื้อหา และโฆษณาตามความต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้ เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์ และ นโยบายสิทธิส่วนบุคคล
Subscribe
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถปรับแต่งการตั้งค่าคุกกี้ในแต่ละประเภทได้ดังต่อไปนี้
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่จำเป็นต่อการให้บริการ
(Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการบนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่จะช่วยให้ท่านสามารถเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยของเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้เพื่อการวัดผลการทำงานและฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์
(Performance and Functionality Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะถูกใช้เพื่อจดจำท่านเมื่อท่านกลับเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้ง ช่วยให้เราปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะกับท่านและจดจำการตั้งค่าของท่าน (เช่น ภาษาหรือภูมิภาคที่ท่านเลือก) แต่ไม่จำเป็นต่อการวัดผลการทำงานของเว็บไซต์
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์หรือเพื่อการปรับแต่ง
(Analytical or Customization Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ใช้งานเข้าสู่เว็บไซต์และออกจากเว็บไซต์ เราใช้ข้อมูลนี้ในลักษณะของข้อมูลโดยรวมเพื่อช่วยให้เราปรับปรุงวิธีการทำงานของเว็บไซต์ หรือเพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราตามความสนใจของท่านได้