"HSBC" หนุน “การเงินสีเขียว” สู่เป้าธนาคารแห่งความยั่งยืน ตอบโจทย์นักลงทุนรุ่นใหม่ เปิดตัวกองทุน แก้ปัญหา Climate Change ขับเคลื่อนการเงินที่ยั่งยืนในประเทศไทยและระดับภูมิภาค

Article
"HSBC" ตั้งเป้าสู่องค์กรปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2050 เดินหน้าการลงทุนที่ยั่งยืน สนับสนุน "การเงินสีเขียว" ตอบโจทย์นักลงทุนรุ่นใหม่ เปิดตัวกองทุน แก้ปัญหา Climate Change ขับเคลื่อนการเงินที่ยั่งยืนในประเทศไทยและระดับภูมิภาค

แม้โควิด-19 จะทำให้เศรษฐกิจโลกหยุดชะงัก แต่อีกหนึ่งความท้าทายที่ทั่วโลกกำลังเผชิญ คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นโจทย์ใหญ่ของภาคธุรกิจในการเร่งปรับตัวให้ทันกับผู้บริโภคที่หันมาให้ความสนใจกับบริการและสินค้าที่สามารถแสดงมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล หรือ ESG ในระดับสูง

 

ความเร่งด่วนของการลดปริมาณการปล่อย “คาร์บอน” ส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สถาบันการเงินต่างเร่งเดินหน้าเข้าสู่โลกแห่งเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำโดยอาศัยเครื่องมือทางการเงินและการลงทุนที่เหมาะสม เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงวิธีการปฏิบัติงานของบริษัทต่างๆ ความต้องการโซลูชั่นด้านการเงินที่เชื่อมโยงกับ ESG ของนักลงทุนเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การออกพันธบัตรสีเขียวและพันธบัตรส่งเสริมความยั่งยืนของสังคมและสิ่งแวดล้อม เพิ่มขึ้นจากอัตราร้อยละ 5.2 สู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 12.1 พันล้านดอลลาร์ใน ปี 2020 ทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

 

  • ตั้งเป้า องค์กร Net zero ในปี 2050

 

จากรายงานของ HSBC พบว่า ร้อยละ 82 ของนักลงทุนรายย่อยมองว่า ประเด็นด้านความยั่งยืน สิ่งแวดล้อม และจริยธรรม มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการตัดสินใจด้านการลงทุน อีกร้อยละ 46 เชื่อว่าพอร์ตการลงทุนของตนจะประกอบด้วยการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน 100 เปอร์เซ็นต์ในอีก 3-5 ปีข้างหน้า

“HSBC” เป็นหนึ่งในธนาคารที่ระดมกำลังทรัพยากรจากทั่วโลก ปรับเปลี่ยนการปฏิบัติงานของธนาคารและห่วงโซ่อุปทาน เพื่อกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่เศรษฐกิจที่มีสภาวะการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ทั่วโลก หรือ (Net Zero Economy) และตั้งเป้าหมายสู่องค์กรที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2050 หรือเร็วกว่า รวมถึงมุ่งมั่นจัดหาการเงินและการลงทุนที่ยั่งยืน มูลค่า 750 พันล้านเหรียญสหรัฐ - 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2030 ภายใต้แผนกลยุทธ์ความยั่งยืนของ HSBC ที่แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ เป็นธนาคารที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ สนับสนุนลูกค้าและปลดล็อคโซลูชั่นทางออกใหม่เพื่อสภาพภูมิอากาศ

 

ศรัณยา อรุณศิลป์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร HSBC Global Private Banking ประเทศไทย

 

  • ส่งเสริมการลงทุนด้าน ESG

 

“ศรัณยา อรุณศิลป์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร HSBC Global Private Banking ประเทศไทย เปิดเผยว่า HSBC เดินหน้าสร้างความเข้าใจเชิงลึกเรื่อง net zero ให้กับทั้งลูกค้ารายบุคคลและลูกค้าองค์กร ซึ่งหลายรายสามารถช่วยผลักดันและสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก อีกทั้ง เชื่อมโยงลูกค้าที่กำลังมองหาผลตอบแทนจากการลงทุนด้าน ESG เข้ากับบุคคลที่มีความต้องการที่เหมือนกัน ด้วยประสบการณ์และความรู้จาก HSBC Global Private Banking ซึ่งได้รวมเอาผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนจากทั่วโลกและทั่วภูมิภาคมาร่วมออกแบบสร้างผลิตภัณฑ์ด้าน ESG โดยแนวทางพอร์ตโฟลิโอหลักที่นำเสนอ มีความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติและข้อตกลงปารีส

 

“เชื่อว่าการลงทุนที่ยั่งยืนมีผลโดยตรงต่อการเสริมประสิทธิภาพของการลงทุน เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญอันดับแรกๆ สำหรับ HSBC ในการขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อค้นหาโซลูชั่นที่ตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกค้า" ศรัณยา กล่าว

 

  • การลงทุนเพื่อความยั่งยืน ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่

 

ปัจจุบัน การลงทุนเพื่อความยั่งยืน ได้รับความสนใจมากขึ้นจาก Entrepreneur และบรรดานักลงทุนรุ่นใหม่ โดยจากการศึกษาพบว่า คนรุ่นใหม่ที่อายุระหว่าง 25 ถึง 40 ปี มีความต้องการด้านการลงทุนที่มีผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมหรือสิ่งแวดล้อม มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 

โดย HSBC ได้นำจุดแข็งของการมีเครือข่ายทั่วโลกมาช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานร่วมกับลูกค้าในเชิงรุก ตามกลยุทธ์ Net Zero ใน 2 ด้าน ได้แก่ 1. การส่งเสริมความยั่งยืนระหว่างผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั้งจากภาครัฐและเอกชน สอดคล้องกับการทำงานร่วมกับนักลงทุน รัฐบาล เอ็นจีโอ สถาบันการเงินอื่นๆ และซัพพลายเออร์เพื่อสนับสนุนการลงทุนระยะยาวในโครงการที่เป็นไปเพื่อ ความยั่งยืน ของสิ่งแวดล้อม และ 2. ด้านความสัมพันธ์กับลูกค้าถือเป็นหัวใจสำคัญขององค์กร

 

พร้อมเป็นหนึ่งในผู้นำร่วมในการออกพันธบัตรสีเขียวครั้งแรกในประเทศไทย โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ที่นำไปลงทุนในโครงการป่าไม้และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และให้คำแนะนำเงินฝากสีเขียวครั้งแรกสู่ตลาดการเงินไทยสำหรับลูกค้าองค์กรรายใหญ่ของไทย เพื่อส่งเสริมให้ลูกค้าบรรลุวัตถุประสงค์ด้านความยั่งยืนในการลงทุนในโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม และ HSBC สนับสนุน WWF-Thailand ในการดำเนินโครงการ "การฟื้นฟูภูมิทัศน์ป่าผ่านการเกษตร" จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเกษตรกรรายย่อยจะได้รับการสนับสนุนในการปลูกป่า เพื่อฟื้นฟูผืนดิน น้ำสะอาด และอากาศ เพื่อสร้างระบบอาหารที่ปลอดภัย

 

 

  • กองทุน แก้ปัญหา Climate Change

 

ทั้งนี้ ในเดือนเมษายน ปี 2020 HSBC ได้เปิดตัวกองทุนไพรเวทอิควิตี้กองทุนแรกที่มุ่งสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ในขณะเดียวกันก็ให้ผลตอบแทนที่จูงใจในระดับที่แข่งขันได้ และยังมีการร่วมทุนก่อตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ HSBC Pollination Climate Asset Management เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น การทำฟาร์ม การประมง และป่าไม้ยั่งยืน ตลอดจนทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนขับเคลื่อนการเงินที่ยั่งยืนในประเทศไทยและระดับภูมิภาค ลงทุนในโครงการอนุรักษ์ธรรมชาติ ปกป้องและพัฒนาสิ่งแวดล้อมในระยะยาว รวมถึงการจัดการปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอีกด้วย

#ThailandClimatesLeadership #GCNTFORUM2021 

ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/social/977930 

ร่วมเปลี่ยนแปลงโลกกับเรา
UN Global Compact
Network Thailand
APPLY FOR MEMBERSHIP
เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ เราใช้คุกกี้เพื่อเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และการใช้งานของเว็บไซต์เพื่อปรับปรุง ปรับแต่งเนื้อหา และโฆษณาตามความต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้ เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์ และ นโยบายสิทธิส่วนบุคคล
Subscribe
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถปรับแต่งการตั้งค่าคุกกี้ในแต่ละประเภทได้ดังต่อไปนี้
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่จำเป็นต่อการให้บริการ
(Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการบนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่จะช่วยให้ท่านสามารถเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยของเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้เพื่อการวัดผลการทำงานและฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์
(Performance and Functionality Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะถูกใช้เพื่อจดจำท่านเมื่อท่านกลับเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้ง ช่วยให้เราปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะกับท่านและจดจำการตั้งค่าของท่าน (เช่น ภาษาหรือภูมิภาคที่ท่านเลือก) แต่ไม่จำเป็นต่อการวัดผลการทำงานของเว็บไซต์
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์หรือเพื่อการปรับแต่ง
(Analytical or Customization Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ใช้งานเข้าสู่เว็บไซต์และออกจากเว็บไซต์ เราใช้ข้อมูลนี้ในลักษณะของข้อมูลโดยรวมเพื่อช่วยให้เราปรับปรุงวิธีการทำงานของเว็บไซต์ หรือเพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราตามความสนใจของท่านได้