นายกฯ หารือรองเลขาฯ UN เดินหน้าขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้

Thailand's Hot Issues


นายกฯ หารือรองเลขาฯ UN เดินหน้าขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้
.
วันนี้ นางอามีนา เจ โมฮัมเหม็ด รองเลขาธิการสหประชาชาติ เข้าเยี่ยมคารวะ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ณ ทำเนียบรัฐบาล เนื่องในโอกาสเยือนประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุม Asia-Pacific Forum on Sustainable Development
.
นายกฯ ระบุ ไทยพร้อมสนับสนุนการทำงานของรองเลขาธิการฯ อย่างเต็มที่ เชื่อมั่นว่าสหประชาชาติจะสนับสนุนประเทศต่าง ๆ ในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
.
บวกกับในฐานะที่ไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคในปีนี้ ได้มุ่งส่งเสริมการเติบโตที่ยั่งยืน และครอบคลุมด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งสอดคล้องและส่งเสริมกับการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
.
ที่ผ่านมา ไทยได้จัดตั้ง "คณะอนุกรรมการด้านเยาวชนและด้านเอกชน" ภายใต้คณะกรรมการด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีนายกฯ เป็นประธาน เพื่อรับฟังความเห็นจากภาคส่วนต่างๆ และได้จัดทำรายงาน Voluntary National Review (VNR) เพื่อใช้ติดตามความคืบหน้าการขับเคลื่อน SDGs ของไทย
.
ส่วนปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศนั้น ได้เร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าว พร้อมร่วมมือกับประชาคมโลกมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไทยเป็นประเทศกลุ่มแรก ๆ ที่เข้าร่วมเป็นภาคีความตกลงปารีส และได้จัดส่งแผนงานการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contributions: NDCs) ตามกรอบเวลา
.
โดยตั้งเป้า "ความเป็นกลางทางคาร์บอน" ภายในปี ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2065 เชื่อว่าไทยจะสามารถยกระดับ NDC ของไทยขึ้นเป็นร้อยละ 40 ได้

ที่มา: ไทยคู่ฟ้า

นางอามีนา เจ. โมฮัมเหม็ด (Ms. Amina J. Mohammed) รองเลขาธิการสหประชาชาติ เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี ในโอกาสเยือนไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุม Asia-Pacific Forum on Sustainable Development ครั้งที่ 9 ณ ห้องสีม่วง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล วันที่ 28 มีนาคม 2565

นายกฯ หารือรองเลขาธิการสหประชาชาติ แสวงหาแนวทางการเติบโตที่ยั่งยืน ย้ำไทยพร้อมส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

วันนี้ (28 มีนาคม 2565) เวลา 11.00 น. ณ ห้องสีม่วง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นางอามีนา เจ โมฮัมเหม็ด (Ms. Amina J. Mohammed) รองเลขาธิการสหประชาชาติ เข้าเยี่ยมคารวะ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในโอกาสเยือนไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุม Asia-Pacific Forum on Sustainable Development ครั้งที่ 9 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญการหารือ ดังนี้

นายกรัฐมนตรีกล่าวต้อนรับในโอกาสเยือนไทย และชื่นชมรองเลขาธิการฯ ที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาของสหประชาชาติท่ามกลางความท้าทายต่างๆ ซึ่งไทยพร้อมสนับสนุนการทำงานของรองเลขาธิการฯ อย่างเต็มที่ พร้อมเชื่อมั่นว่า สหประชาชาติจะสนับสนุนประเทศต่างๆ ในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) และตอบสนองต่อความท้าทายของโลกปัจจุบัน ในฐานะที่ไทยเป็นเจ้าภาพเอเปคในปีนี้ ไทยมุ่งส่งเสริมการเติบโตที่ยั่งยืนและครอบคลุมด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งสอดคล้องและส่งเสริมกับการพัฒนาที่ยั่งยืนและSDGs

รองเลขาธิการฯ รู้สึกยินดีที่ได้พบนายกรัฐมนตรี การหารือวันนี้จะเป็นโอกาสอันดีต่อความร่วมมือระหว่างไทยและสหประชาชาติ ไทยเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญในภูมิภาค และสนับสนุนการดำเนินงานของสหประชาชาติมาอย่างต่อเนื่อง สหประชาชาติมุ่งแสวงหาความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับไทยเพื่อเชื่อมโยงความร่วมมือระดับภูมิภาคไปสู่การแก้ไขปัญหาในประเด็นท้าทายระดับโลก ทั้งปัญหาความมั่นคงทางอาหาร พลังงาน และการเงิน ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการรับมือกับโรคระบาด พร้อมกล่าวชื่นชมบทบาทผู้นำของนายกรัฐมนตรีและหน่วยงานสาธารณสุขของไทยในการรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จนอยู่ในระดับที่น่าพอใจ

นายกรัฐมนตรีและรองเลขาธิการฯ ต่างเห็นพ้องว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และความขัดแย้งของประเทศต่างๆ เป็นความท้าทายสำคัญต่อการบรรลุ SDGs ภายในปี ค.ศ. 2030 โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ไทยได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการด้านเยาวชนและด้านเอกชน ภายใต้คณะกรรมการด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อรับฟังความเห็นจากภาคส่วนต่างๆ และไทยยังจัดทำรายงาน Voluntary National Review (VNR) เป็นเครื่องมือสำคัญในการติดตามความคืบหน้าในการขับเคลื่อน SDGs ของไทย รวมทั้งไทยได้นำปัญหาและอุปสรรคมาเป็นบทเรียนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และคนรุ่นใหม่ ให้มีฐานรากที่มั่นคง ร่วมกันขับเคลื่อนประเทศ ซึ่งรองเลขาธิการฯ ชื่นชมที่ไทยรับฟังความเห็นจากภาคส่วนต่างๆ พร้อมชื่นชมว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการเข้ามามีส่วนร่วมของคนรุ่นใหม่และภาคประชาสังคม มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ

ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ นายกรัฐมนตรีตระหนักถึงความสำคัญเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหานี้ ไทยร่วมมือกับประชาคมโลกอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ทั้งการเป็นประเทศกลุ่มแรกๆ ที่เข้าร่วมเป็นภาคีความตกลงปารีส และจัดส่งแผนงานการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contributions: NDCs) ตามกรอบเวลา นอกจากนี้ ไทยตั้งเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2065 และเชื่อว่าไทยจะสามารถยกระดับ NDC ของไทยขึ้นเป็นร้อยละ 40 ได้ ด้านรองเลขาธิการฯ กล่าวชื่นชมไทยที่มีบทบาทสำคัญ และมีส่วนร่วมในการการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมาโดยตลอด โดยยินดีพิจารณาหารือเพิ่มเติมในเรื่องการสนับสนุนเพื่อให้ไทยและประเทศกำลังพัฒนาสามารถบรรลุเป้าหมายได้

ที่มา: https://siamrath.co.th/n/335064 
ร่วมเปลี่ยนแปลงโลกกับเรา
UN Global Compact
Network Thailand
APPLY FOR MEMBERSHIP
เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ เราใช้คุกกี้เพื่อเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และการใช้งานของเว็บไซต์เพื่อปรับปรุง ปรับแต่งเนื้อหา และโฆษณาตามความต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้ เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์ และ นโยบายสิทธิส่วนบุคคล
Subscribe
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถปรับแต่งการตั้งค่าคุกกี้ในแต่ละประเภทได้ดังต่อไปนี้
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่จำเป็นต่อการให้บริการ
(Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการบนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่จะช่วยให้ท่านสามารถเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยของเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้เพื่อการวัดผลการทำงานและฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์
(Performance and Functionality Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะถูกใช้เพื่อจดจำท่านเมื่อท่านกลับเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้ง ช่วยให้เราปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะกับท่านและจดจำการตั้งค่าของท่าน (เช่น ภาษาหรือภูมิภาคที่ท่านเลือก) แต่ไม่จำเป็นต่อการวัดผลการทำงานของเว็บไซต์
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์หรือเพื่อการปรับแต่ง
(Analytical or Customization Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ใช้งานเข้าสู่เว็บไซต์และออกจากเว็บไซต์ เราใช้ข้อมูลนี้ในลักษณะของข้อมูลโดยรวมเพื่อช่วยให้เราปรับปรุงวิธีการทำงานของเว็บไซต์ หรือเพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราตามความสนใจของท่านได้