นโยบาย Circular Economy ที่ผู้ประกอบการไทยต้องรู้ เพื่อเดินหมากธุรกิจให้สอดคล้องกับทิศทางโลก

Article

โลกเผชิญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกวัน เพราะระบบเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ทั่วโลกเน้นการเติบโตในเชิงปริมาณ ทําให้เกิดการนําทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ในอัตราที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด เพื่อรับมือกับปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรในอนาคต การผลักดันระบบเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเชิงโครงสร้างใหม่จึงเกิดขึ้น จากระบบเศรษฐกิจทางตรง (Linear Economy) สู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) 

3-4 ปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการในประเทศไทยเริ่มตื่นตัวกับการปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่และบริษัทข้ามชาติ เมื่อผู้ประกอบการรายใหญ่ทยอยปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจ ย่อมส่งผลให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่อยู่ในห่วงโซ่การผลิตต้องปรับตัวตามไปด้วย 

ขณะเดียวกัน หากพิจารณาสถานการณ์ในเวทีการค้าระหว่างประเทศ จะพบว่าปัจจุบันมีความตื่นตัว ด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนและประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมอย่างมาก โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งนํามาตรฐานการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากําหนดเป็นข้อบังคับทางการค้ามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นมาตรการเก็บค่าธรรมเนียมคาร์บอนสําหรับการนําเข้าสินค้า (Border Carbon Adjustments (BCAs) tax scheme) มาตรการที่กําหนดให้สินค้านําเข้าต้องมีส่วนประกอบ หรือสัดส่วนของวัตถุดิบที่ได้มาจากการรีไซเคิล (Imported products consist of recycled content) หรือมาตรการฉลากคาร์บอน (Carbon footprint : CF)

มาตรการเหล่านี้เป็นเครื่องบ่งชี้ว่า ในอนาคตการค้าเสรีและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติจะดําเนินไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้นผู้ประกอบการไทยต้องตระหนักและวางกลยุทธ์ธุรกิจให้สอดคล้องไปกับทิศทางโลก เพื่อป้องกันการถูกกีดกันทางการค้า และเพื่อเพิ่มโอกาสการแข่งขันในเวทีสากล 

โดยปัจจุบัน ประเทศไทยมีการกําหนดนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เป็นเหมือนเข็มทิศให้ผู้ประกอบการบ้างแล้ว ทั้งในส่วนของกรอบวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์การพัฒนา แผนแม่บท และแผนปฏิบัติการในระดับต่างๆ เพื่อผลักดันประเทศไปสู่ความระบบเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และนี่คือ 8 นโยบาย Circular Economy ที่ผู้ประกอบการไทยต้องรู้! 


01 ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580)

แม้ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี จะไม่ได้กล่าวถึงเศรษฐกิจหมุนเวียนไว้โดยตรง แต่กรอบแนวทางการพัฒนามิติต่างๆ ภายใต้ยุทธศาสตร์นี้ ก็มีนัยยะที่สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อเป้าหมายในการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็น ยุทธศาสตร์การสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจสีเขียว โดยเพิ่มมูลค่าของเศรษฐกิจฐานชีวภาพ และส่งเสริมการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน หรือยุทธศาสตร์การสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ โดยลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก มุ่งเป้าสู่การลงทุนที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ของภาครัฐและภาคเอกชน 


02 แผนปฏิรูปประเทศ

การพัฒนาตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนสอดคล้องกับแผนปฏิรูปประเทศ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในประเด็นปฏิรูประบบการวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพ โดยการพัฒนากลไกที่เชื่อมโยงองค์ความรู้ งานวิจัย และนวัตกรรมของภาครัฐ เอกชน ชุมชนเข้าด้วยกัน จะช่วยสนับสนุนให้เกิดการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน ตอบสนองเป้าหมาย Zero waste ตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน


03 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ

การพัฒนาตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนสอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ในประเด็นการเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งให้ความสําคัญกับการใช้ประโยชน์ การอนุรักษ์ ฟื้นฟูและสร้างฐาน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ไม่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติจนเกินพอดี ส่งเสริมการผลิต และการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยประกอบด้วย 2 แผนย่อยคือ

หนึ่ง สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และท่องเที่ยว ดำเนินกิจการในทิศทางที่ยั่งยืน เช่น การกําหนดให้ผลิตผลิตภัณฑ์ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมพร้อมติดฉลากสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีการผลิตให้เป็น มิตรต่อสิ่งแวดล้อม 

สอง จัดการมลพิษที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสารเคมีในภาคเกษตรกรรมทั้งระบบให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยให้ความสําคัญกับการป้องกันและลดมลพิษจากของเสียอันตรายจากแหล่งกําเนิด รวมถึงส่งเสริมให้ภาคเอกชนร่วมลงทุนด้านการจัดการขยะ ตลอดจนทบทวนและตรวจสอบกลไกการบริหารจัดการขยะของประเทศทั้งระบบ ต้ังแต่ผู้ผลิต ผู้นําเข้า ผู้บริการ ผู้บริโภค ผู้กําจัด และหน่วยงานกํากับดูแล


04 (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 

(ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ได้กำหนดหมุดหมายการพัฒนาจำนวน 13 ประการ เพื่อสะท้อนการพลิกโฉมประเทศไทยสู่ “สังคมก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน” โดยหนึ่งในหมุดหมายนั้นได้กำหนดให้ไทยมีเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ

หนึ่งในกลยุทธ์ คือการผลักดันให้ภาคเอกชนมีการลงทุนเพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตและการบริการให้มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการส่งเสริมให้เกิดการใช้น้อย ใช้ซ้ำนำกลับมาใช้ใหม่ และส่งเสริมให้นำหลักการลดของเสียให้เหลือน้อยที่สุดมาใช้ในขั้นตอนการผลิตและบริการ 

นอกจากนี้ยังมีกลยุทธ์ส่งเสริมให้ชุมชนนำขยะและวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่ๆ ที่มีมูลค่า เพื่อเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายให้กับชุมชน สร้างความร่วมมือระหว่างชุมชนกับผู้ประกอบการในพื้นที่ในการนำของเหลือในกระบวนการผลิตมาพัฒนาใช้ประโยชน์ในชุมชน

รวมถึงจะมีการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อเชื่อมโยงผู้ประกอบการเศรษฐกิจหมุนเวียน ให้สามารถเข้าถึงองค์ความรู้และนวัตกรรม ตลอดจนบูรณาการเครือข่ายความร่วมมือพัฒนาเทคโนโลยีการออกแบบเชิงนิเวศ การจัดการของเสีย การพัฒนาธุรกิจ และการแลกเปลี่ยนวัสดุเหลือใช้ระหว่างธุรกิจและอุตสาหกรรม


05 ยุทธศาสตร์การจัดการมลพิษ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) และแผนจัดการมลพิษ พ.ศ. 2560-2565

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมควบคุมมลพิษ ได้จัดทํายุทธศาสตร์การจัดการมลพิษ ให้สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี เพื่อกําหนดทิศทางการจัดการมลพิษของประเทศไทยในระยะยาว โดยมุ่งจัดการมลพิษที่ต้นทาง ส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ภาคการผลิตขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้กระบวนการผลิตที่ก่อมลพิษต่ำ มีระบบจัดการของเสียจากแหล่งกําเนิดมลพิษทุกประเภทอย่างเพียงพอ และจัดการมลพิษได้ตามมาตรฐาน

โดยหนึ่งในกลยุทธ์ดําเนินงานของแผนจัดการมลพิษระยะ 5 ปีแรก คือการพัฒนาและรับรองมาตรฐานสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การใช้กลไกทางเศรษฐศาสตร์และมาตรการทางสังคมจูงใจผู้ผลิตและผู้บริโภค การใช้สื่อประชาสัมพันธ์กระตุ้นการเปลี่ยนแปลง และการติดฉลากแสดงข้อมูลการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม


06 แผนแม่บทด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษจากขยะและของเสียอันตรายของประเทศ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580)

แผนนี้มีเป้าหมายเพื่อให้ขยะและของเสียอันตรายได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของประชาชน ซึ่งมีมาตรการหลัก 3 ด้านคือ

หนึ่ง มาตรการป้องกันและลดพิษจากขยะและของเสียอันตราย เช่น ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม (Design for Environment : DfE) ให้สามารถใช้ซ้ำและรีไซเคิลได้ง่าย หรือกําหนดเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ที่แสดงถึงการรีไซเคิล และวิธีการกําจัดบนบรรจุภัณฑ์

สอง มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการมลพิษจากการบําบัด กําจัดขยะและของเสียอันตราย เช่น ออกกฎหมายการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาบังคับใช้ ให้มีระบบการจัดการของเสีย ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการพัฒนาเทคโนโลยีหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ (Emerging Wastes) เช่น Nano waste 

สาม มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการมลพิษจากขยะและของเสียอันตราย เช่น จัดวางระบบการเก็บภาษีการจัดการสิ่งแวดล้อมสําหรับผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์กําจัดยาก รวมถึงจัดทํากฎหมาย จัดการขยะของประเทศในลักษณะกฎหมายกลาง ครอบคลุมขยะทุกประเภท และความรับผิดชอบของทุก ภาคส่วนตั้งแต่ผู้ผลิต ผู้นําเข้า ผู้บริการ ผู้บริโภค ผู้กําจัด และหน่วยงานกํากับดูแล


07 Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ.2561-2573

Roadmap นี้ได้ตั้งเป้าหมายในการลดและเลิกใช้พลาสติบางประเภท ภายในปี พ.ศ. 2562 เช่น พลาสติกหุ้มฝาขวดน้ําดื่ม (Cap Seal) และเปลี่ยนมาใช้วัสดุทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแทน รวมถึงตั้งเป้าการเลิกใช้พลาสติกประเภทถุงพลาสติกหูหิ้ว กล่องโฟม บรรจุอาหาร แก้วพลาสติก (แบบบางใช้ครั้งเดียว) และหลอดพลาสติก ภายในปี พ.ศ. 2565 นอกจากนี้ยังตั้งเป้าหมายให้มีการนําขยะพลาสติกเป้าหมายกลับมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมดภายในปี 2570


08 นโยบายเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG)

BCG Model เป็นรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นการสร้างสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจกับความยั่งยืนของฐานทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นการบูรณาการการพัฒนาเศรษฐกิจ 3 มิติ คือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียวไปพร้อมกัน

การขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายใต้ BCG Model ครอบคลุม 4 เป้าหมาย คือเกษตรและอาหาร พลังงานและเคมีชีวภาพ การแพทย์และสุขภาพ รวมถึงการท่องเที่ยว โดยเศรษฐกิจหมุนเวียนจะถูกนําไปใช้กับทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ผ่านการสร้างมูลค่าเพิ่มจากการนําทรัพยากรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ขณะเดียวกันก็ลดการสร้างของเสียให้เกิดขึ้นในปริมาณที่ต่ำที่สุด เช่น การเปลี่ยนกากมันสําปะหลังจากกระบวนการผลิตแป้งมาผลิตเป็นพลังงานอย่างเอทานอลหรือก๊าซชีวภาพ 


เพราะแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนไม่เพียงช่วยลดต้นทุน และเพิ่มรายได้จากการใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ยังสร้างโอกาสการลงทุนในธุรกิจใหม่ เช่น ธุรกิจการให้บริการด้านการขนส่งและกระจายสินค้า ธุรกิจรีไซเคิล ขยะคุณภาพสูง ธุรกิจ Remanufacturing ธุรกิจ Biofuel ธุรกิจแบบ Sharing platform และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี

อย่างที่อธิบายไปข้างต้นว่า ในอนาคตการค้าเสรีและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติจะดําเนินไปในทิศทางเดียวกัน นโยบายระดับประเทศและระดับโลกทั้งหมดล้วนมุ่งสู่เส้นทางนี้ ดังนั้นการดำเนินธุรกิจด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนจึงไม่ใช่แค่ทางเลือก แต่คือเส้นทางเดียวที่ผู้ประกอบการต้องมุ่งหน้าไป หากอยากเห็นธุรกิจของคุณเติบโตผลิบานต่อไปท่ามกลางวิกฤติการณ์ต่างๆ ที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น

ปัจจุบันผู้ประกอบการที่เห็นโอกาสก่อนได้เริ่มนําแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ และเริ่มเห็นผลจากการลดต้นทุน การเพิ่มรายได้ มีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น การขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยพึ่งพาทรัพยากรน้อยลง ทําให้มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เกิดผลกระทบเชิงบวกต่อระบบนิเวศ ช่วยลดการเกิดปัญหามลภาวะ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การปล่อย ก๊าซเรือนกระจก และช่วยรักษาทรัพยากรธรรมชาติในภาพรวมทั้งหมด

__

เรียบเรียงจาก รายงานการพิจารณาศึกษา เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โดยคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และการอุตสาหกรรมวุฒิสภา
ร่วมเปลี่ยนแปลงโลกกับเรา
UN Global Compact
Network Thailand
APPLY FOR MEMBERSHIP
เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ เราใช้คุกกี้เพื่อเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และการใช้งานของเว็บไซต์เพื่อปรับปรุง ปรับแต่งเนื้อหา และโฆษณาตามความต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้ เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์ และ นโยบายสิทธิส่วนบุคคล
Subscribe
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถปรับแต่งการตั้งค่าคุกกี้ในแต่ละประเภทได้ดังต่อไปนี้
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่จำเป็นต่อการให้บริการ
(Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการบนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่จะช่วยให้ท่านสามารถเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยของเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้เพื่อการวัดผลการทำงานและฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์
(Performance and Functionality Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะถูกใช้เพื่อจดจำท่านเมื่อท่านกลับเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้ง ช่วยให้เราปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะกับท่านและจดจำการตั้งค่าของท่าน (เช่น ภาษาหรือภูมิภาคที่ท่านเลือก) แต่ไม่จำเป็นต่อการวัดผลการทำงานของเว็บไซต์
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์หรือเพื่อการปรับแต่ง
(Analytical or Customization Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ใช้งานเข้าสู่เว็บไซต์และออกจากเว็บไซต์ เราใช้ข้อมูลนี้ในลักษณะของข้อมูลโดยรวมเพื่อช่วยให้เราปรับปรุงวิธีการทำงานของเว็บไซต์ หรือเพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราตามความสนใจของท่านได้