สำหรับผู้ประกอบการทุกคน การออกงานแสดงสินค้า (Trade Show) นับเป็นอีกหนึ่งช่องทางสำคัญในการประชาสัมพันธ์รวมถึงสร้างยอดขายให้ผลิตภัณฑ์ เพราะเป็นพื้นที่ๆ ผู้บริโภคตลอดจนคู่ค้าต่างตั้งใจเข้ามาเพื่อจับจ่ายหรือแลกเปลี่ยนโอกาสทางธุรกิจกันอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม แม้ว่างานแสดงสินค้าส่วนใหญ่จะมีระยะเวลาจัดงานที่ไม่นานมากเต็มที่ไม่เกิน7 วัน แต่ไม่ว่าจะเป็นการจัดบูธแสดงสินค้า การตกแต่งสถานที่จัดงาน ตลอดจนกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น ล้วนสร้างขยะและจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรมหาศาล ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเหมือนกันทั่วโลก
ที่สหรัฐอเมริกาและแคนาดา จึงเกิดการรวมกลุ่มกันของสมาชิกจากทั้งห่วงโซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมขึ้น ตั้งแต่คณะผู้จัดงานแสดงสินค้า ผู้ดูแลสถานที่ ผู้รับเหมาบริการติดตั้ง ไปจนถึงพันธมิตรอื่นๆ ทั้งหมด เพื่อมองหาวิธีจัด Trade Show แบบผู้ประกอบการยุคใหม่ ที่ดำเนินการอย่างเป็นระบบและมีการประสานงานอย่างจริงจังเพื่อแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน
Finding the future, together: Towards a B2B trade show industry in the U.S. and Canada คือรายงานการวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมการแสดงสินค้า โดยคณะทำงานซึ่งนำโดย Little Blue Research ที่ปรึกษาอิสระที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมและผลกระทบทางสังคม
“อุตสาหกรรมการแสดงสินค้าแบบ B2B เป็นกลไกสำคัญสำหรับการเชื่อมต่อ การถ่ายทอดความรู้ การค้า การศึกษา และการจ้างงาน อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมนี้ก็มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกับอุตสาหกรรมอื่นๆ โครงการวิจัยดังกล่าวจึงเกิดขึ้นเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมการแสดงสินค้าแบบ B2B ของสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ไปสู่เศรษฐกิจที่ยั่งยืนและมีคาร์บอนต่ำ” Heather Farley ประธานคณะกรรมการความยั่งยืนของ Society of Independent Show Organizer กล่าว
โดยในรายงานระบุว่า ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ใหญ่ที่สุด 3 อันดับแรกของอุตสาหกรรมการแสดงสินค้า B2B ของสหรัฐอเมริกาและแคนาดา คือ
จากผลกระทบดังกล่าว คณะทำงานจึงได้ระบุวิธีการที่ผู้เกี่ยวข้องสามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และปรับปรุงความยั่งยืนโดยรวมของอุตสาหกรรมการแสดงสินค้าได้ เช่น
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของรายงาน Finding the future, together: Towards a B2B trade show industry in the U.S. and Canada (อ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่นี่) ที่จะช่วยสร้างความเข้าใจให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของอุตสาหกรรมการแสดงสินค้าแบบ B2B ทั่วโลก เห็นถึงความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรมที่คาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ที่ไม่เพียงขับเคลื่อนด้วยหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน แต่ยังดำเนินการด้วยการคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นดันดับแรก
สำหรับผู้ประกอบการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียชาวไทยในห่วงโซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมการจัดแสดงสินค้า ตลอดจนผู้จัดนิทรรศการ รวมถึงกิจกรรมประเภทอื่นๆ สามารถศึกษาแนวทางปฏิบัติสําหรับการจัดงานอย่างยั่งยืน โดยสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (TCEB) ได้ที่ Knowledge Center ของเราที่รวบรวมข้อปฏิบัติสู่ความยั่งยืนในมิติต่างๆ ไว้หลากหลาย