นโยบาย Circular Economy จาก 3 ประเทศต้นแบบที่สร้างทางรอดให้ชาติ การดำเนินธุรกิจ การใช้ชีวิตของผู้คน

Article


วิกฤตการณ์ข้าวยากหมากแพงที่กำลังเกิดขึ้น เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ทำให้ฤดูกาลเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวแปรปรวน นับจากนี้ไปผลกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตและบริโภคของโลกจะยิ่งรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

“ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน” หรือ Circular Economy จึงไม่ใช่แค่ทางเลือกของระบบเศรษฐกิจและการดำเนินธุรกิจอีกต่อไป แต่คือโอกาสและแนวทางที่เป็น “ทางรอด” จึงไม่น่าแปลกใจที่ทุกวันนี้ Circular Economy จะกลายเป็นวาระเร่งด่วนที่ทุกประเทศทั่วโลกต่างเร่งผลักดัน นโยบายที่สนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งเชิงโครงสร้างและพฤติกรรม

GCNT ชวนคุณสำรวจนโยบายของประเทศเล็กๆ อย่างคอสตาริกา ประเทศพัฒนาแล้วอย่างสิงคโปร์ และประเทศต้นแบบของเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นเสมือน Game Changer ที่พลิกโฉมประเทศทั้งสามสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนและความยั่งยืน

ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนไม่ได้ส่งผลดีแค่ด้านทรัพยากรหรือสิ่งแวดล้อมเพียงเท่านั้น แต่ทำให้เกิดข้อได้เปรียบทางการค้า นักท่องเที่ยว คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รวมถึงการหลั่งไหลเข้ามาของนักลงทุนที่มองเห็นและให้ความสำคัญกับธุรกิจและกลุ่มประเทศที่ใส่ใจเรื่องความยั่งยืน

การวางรากฐานสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนจะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นประเทศเล็กหรือใหญ่ก็สามารถสร้างเมืองยั่งยืน ที่พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้คนในระยะยาวได้ หากผู้นำมีวิสัยทัศน์กว้างไกล เกิดนโยบายและกฎหมายที่เข้มงวด ชัดเจน บังคับใช้ได้จริง 

นอกเหนือจากโครงสร้างนโยบายที่แข็งแกร่งแล้ว ความรู้ความเข้าใจเรื่องสิ่งแวดล้อมของภาคธุรกิจและภาคประชาชน คืออีกกุญแจที่ทำให้เกิดความตระหนักและการลงมือทำอย่างจริงจัง เพราะไม่ว่าจะเป็นการออกแบบโมเดลธุรกิจ ไม่ให้สินค้าและบริการต่างๆ กลายเป็นขยะตั้งแต่ต้นทางของผู้ประกอบการ หรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเล็กๆ ของทุกคนอย่างการคัดแยกขยะในแต่ละวัน ล้วนสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในภาพใหญ่ทั้งสิ้น


©Unsplash/Etienne Delorieux

01 คอสตาริกา 

หน่วยงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมครบวงจร และนโยบายยกเลิกพลาสติกใช้แล้วทิ้ง

แม้เมื่อหลายสิบปีก่อน ประเทศเล็กๆ แถบอเมริกากลางอย่างคอสตาริกาที่มีประชากรเพียง 5.1 ล้านคน และมีขนาดเล็กกว่าประเทศไทยถึง 10 เท่า จะเคยเป็นอาณานิคมของสเปน และเคยต้องเผชิญกับปัญหารอบด้านทั้งการเมือง สิ่งแวดล้อม ความยากจน ความขัดแย้ง คอร์รัปชัน รวมถึงภัยธรรมชาติ

แต่ในปัจจุบันคอสตาริกากลับโฉมเป็นประเทศตัวอย่างในหลายๆ ด้านด้วยกัน ทั้งการบริหารบ้านเมือง การศึกษา การเกษตร การท่องเที่ยว โดยเฉพาะการเพิ่มพื้นที่สีเขียวและการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างจริงจัง จนทำให้ได้รับการยกย่องว่าเป็น “สวิตเซอร์แลนด์ของอเมริกากลาง” และเคยครองแชมป์ “ประเทศที่มีความสุขอย่างยั่งยืนที่สุดในโลก”

จุดเปลี่ยนที่ทำให้คอสตาริกาพลิกจากวิกฤตได้ มีจุดตั้งต้นจากการดูแลสิ่งแวดล้อม โดยคอสตาริกาเป็นประเทศแรกที่มี MINAET หรือ “Ministry of Environment, Energy and Telecommunications” ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมครบวงจร ลดการทำงานซ้ำซ้อนของหน่วยงานต่างๆ ที่ดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อมในประเทศ 

เนื่องจากคอสตาริกาเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางธรรมชาติสูงมาก พื้นที่ส่วนใหญ่เต็มไปด้วยป่าเขา พืชพรรณ และสัตว์มากมาย และรายได้ส่วนใหญ่ของประเทศก็มาจากผลผลิตทางการเกษตรและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การดูแลด้านสิ่งแวดล้อมจึงนับเป็นประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญอย่างมาก โดย MINAET ให้เงินสนับสนุนเจ้าของที่ดินที่เลือกบริจาคที่ดินส่วนบุคคล ไว้ใช้เพื่อฟื้นฟูพื้นที่สีเขียวสำหรับอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าและพืชพรรณนานาชนิด 

ต่อมาใน 2017 รัฐบาลของคอสตาริกาตั้งเป้าหมายยกเลิกการใช้ถุงพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งภายในปี 2021 ซึ่งในเวลานั้นนับเป็นเป้าหมายที่อย่างมากสำหรับประเทศกำลังพัฒนา ความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ ถูกงัดออกมาใช้ โดยหนึ่งในนั้นคือถุงจาก “กล้วย” ที่ชาวคอสตาริกาหันมาใช้แทนถุงพลาสติก โดยถุงกล้วนมีความทนทานและย่อยสลายได้เองโดยปราศจากสารตกค้างใดๆ ภายใน 18 เดือน ทั้งยังปล่อยสารที่ช่วยกำจัดศัตรูพืช

คอสตาริกาเป็นที่รู้จักในฐานะประเทศที่มีเสถียรภาพทางการเมืองสูงและเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง งบประมาณจำนวนมากถูกแบ่งสรรไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม ผลผลิตของการที่ภาครัฐผลักดันการศึกษาให้ประชาชนเรียนฟรีถึงระดับมหาวิทยาลัย ทำให้ประเทศอุดมด้วยบุคลากรที่มีคุณภาพ ผู้คนส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจประเด็นต่างๆ อย่างครบถ้วน เพราะได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง


©Unsplash/Sandra Tan

02 สิงคโปร์

แผนแม่บทขยะเป็นศูนย์ และการรับมือ Climate Change ด้วยเศรษฐกิจหมุนเวียน

ก่อนจะมีเป็นเมืองสะอาด น่าอยู่ ไร้ขยะ เต็มไปด้วยพื้นที่สีเขียวและธรรมชาติอย่างทุกวันนี้ สิงคโปร์เคยเป็นเมืองที่ผู้คนอยู่อย่างยากลำบากและอาศัยในสลัม เต็มไปด้วยมลภาวะทางอากาศ ขยะจำนวนมหาศาล ทั้งขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์ ไม่มีพื้นที่สีเขียว ทั้งทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ก็ล้วนถูกทำลาย

“ลี กวนยู” นายกรัฐมนตรีคนแรกของสิงคโปร์ ก่อสร้างประเทศแห่งนี้ขึ้นใหม่ โดยเริ่มจากการปรับปรุงคุณภาพการศึกษา ดูแลที่อยู่อาศัย และเพิ่มพื้นที่สีเขียว ทำให้สิงคโปร์ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น กลายเป็นประเทศที่เต็มไปด้วยพื้นที่สีเขียว ประชาชนมีความสุขเพราะคุณภาพชีวิตที่ดีในสายตาชาวโลกอย่างทุกวันนี้

การเคลื่อนไหวที่โดดเด่นของสิงคโปร์คือการบริหารจัดการขยะ ซึ่งประเด็นนี้อยู่ในแผนแม่บทขยะเป็นศูนย์ หรือ “Zero Waste Master Plan” ที่ประกาศใช้ไปเมื่อปี 2019 โดยมุ่งเน้นการสร้างประเทศอย่างยั่งยืน จัดสรรทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดให้คุ้มค่า และเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่เปลี่ยนทั้งโครงสร้างและพฤติกรรม ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ ทั้งด้านทรัพยากรตั้งต้น กระบวนการผลิต การสร้างการบริโภคแบบยั่งยืน รวมถึงการบริหารจัดการขยะ

หนึ่งในเป้าหมายที่น่าสนใจของแผนแม่บทขยะเป็นศูนย์ของสิงคโปร์ คือการลดปริมาณขยะที่จะส่งไปยังพื้นที่ฝังกลบอย่างเกาะเซมาเกา (Semakau) ลง 1 ใน 3 ภายในปี 2030 เพื่อเปลี่ยนเกาะแห่งขยะและมลภาวะนี้ให้กลายเป็น “เกาะแห่งการเรียนรู้” และคืนธรรมชาติที่งดงามกลับมา 

การขับเคลื่อนทั้งหมดนี้ ทำให้สิงคโปร์กลายเป็นประเทศที่โดดเด่นหลายด้าน ทั้งการจัดการขยะ การรักษาพื้นที่สีเขียวอนุรักษ์ธรรมชาติ การเป็นเมืองท่องเที่ยว รวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน เปลี่ยนจากประเทศที่แทบไม่มีอะไรเลย สู่การเป็นประเทศโลกที่หนึ่ง ศูนย์กลางอาเซียน ภายในเวลาไม่ถึง 50 ปี จนได้รับเลือกจาก MIT ในปี 2019 ว่าเป็นเมืองที่มีพื้นที่สีเขียวเป็นอันดับสองของโลก

ย้อนกลับไป หากสิงคโปร์ไม่สร้างความเปลี่ยนแปลง ไม่ยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนและประเทศให้ดีขึ้นโดยเร็ว ก็อาจทำให้เสียโอกาสทางการค้า การเจรจา อำนาจในสังคมโลก และประชาชนต้องเจอแต่ความยากลำบากต่อไปอย่างที่ผ่านมา 




©Unsplash/Adrien Olichon


03 เนเธอร์แลนด์

Roadmap สู่ Circular Economy บริหารทรัพยากรไปพร้อมพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้คน

การปฏิวัติอุตสาหกรรมของเนเธอร์แลนด์ในอดีต ทำให้ประเทศต้องเผชิญกับปัญหามลพิษทั้งทางน้ำ และอากาศ ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกเผาผลาญไปเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้คนในระยะยาว

ประกอบกับในปัจจุบัน จากการประเมินความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หากอุณหภูมิโลกเพิ่ม น้ำแข็งละลาย และระดับน้ำทะเลสูงขึ้น มีการคาดการณ์ว่าเนเธอร์แลนด์จะเป็นประเทศแรกๆ ที่จะจมน้ำ เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่ต่ำกว่าน้ำทะเลเป็นทุนเดิม

จึงเกิด Roadmap สู่ Circular Economy ของชาติขึ้น โดยมีการกำหนดอย่างชัดเจนถึงเป้าหมายที่ต้องการบรรลุในแต่ละปีอย่างเป็นรูปธรรม โดยเป้าหมายไม่เพียงให้ความสำคัญกับทรัพยากรตั้งต้นและการบริหารจัดการขยะอย่างจริงจัง แต่ยังมุ่งเน้นการพัฒนาระบบสาธารณสุขและคุณภาพชีวิตของคนทั้งประเทศ 

เนเธอร์แลนด์ตั้งเป้าที่จะทำให้ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ภายในปี 2050 โดยจะยกเลิกการใช้วัตถุดิบหลักถาวร เปลี่ยนมาใช้วัตถุดิบจากการรีไซเคิลแทน รวมถึงจะลดการใช้ทรัพยากร เช่น แร่ธาตุ โลหะ และเชื้อเพลิงฟอสซิลลง 50% ภายในปี 2030 ซึ่งตั้งแต่ปี 2016 เป็นต้นมา เนเธอร์แลนด์ได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งองค์กรด้านสิ่งแวดล้อม สหภาพแรงงาน ตลอดจนสถาบันการเงินต่างๆ ผลักดันหมุดหมายนี้อย่างจริงจัง

นอกจากนี้ยังส่งเสริมการศึกษาและการเพิ่มองค์ความรู้ เช่น การสร้างความเข้าใจในการคัดแยกขยะ มีการปลูกฝังตั้งแต่วัยเรียนเพื่อให้เด็กๆ รู้ว่าขยะมีกี่ประเภท มีวิธีคัดแยกและการจัดการอย่างไร รวมถึงคุณค่าของขยะในแง่การเป็นทรัพยากรที่ถูกนำมาหมุนเวียนใช้ได้อย่างไม่รู้จบ 

เนเธอร์แลนด์มีวิธีการมากมายเกี่ยวกับการจัดการกับขยะประเภทต่างๆ ที่ควรศึกษา เช่น ขยะเศษอาหาร ที่นี่จะมี Warm Hotel ซึ่งเป็นโรงแรมหนอนและไส้เดือน เอาไว้ทิ้งเศษผักหรือผลไม้ที่เหลือและยังไม่ผ่านการปรุงใดๆ หรือขยะอิเล็กทรอนิกส์ หากผู้บริโภคต้องการทิ้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ก็จะมีการเก็บ Recycling Tax เป็นต้น

ร่วมเปลี่ยนแปลงโลกกับเรา
UN Global Compact
Network Thailand
APPLY FOR MEMBERSHIP
เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ เราใช้คุกกี้เพื่อเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และการใช้งานของเว็บไซต์เพื่อปรับปรุง ปรับแต่งเนื้อหา และโฆษณาตามความต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้ เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์ และ นโยบายสิทธิส่วนบุคคล
Subscribe
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถปรับแต่งการตั้งค่าคุกกี้ในแต่ละประเภทได้ดังต่อไปนี้
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่จำเป็นต่อการให้บริการ
(Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการบนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่จะช่วยให้ท่านสามารถเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยของเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้เพื่อการวัดผลการทำงานและฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์
(Performance and Functionality Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะถูกใช้เพื่อจดจำท่านเมื่อท่านกลับเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้ง ช่วยให้เราปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะกับท่านและจดจำการตั้งค่าของท่าน (เช่น ภาษาหรือภูมิภาคที่ท่านเลือก) แต่ไม่จำเป็นต่อการวัดผลการทำงานของเว็บไซต์
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์หรือเพื่อการปรับแต่ง
(Analytical or Customization Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ใช้งานเข้าสู่เว็บไซต์และออกจากเว็บไซต์ เราใช้ข้อมูลนี้ในลักษณะของข้อมูลโดยรวมเพื่อช่วยให้เราปรับปรุงวิธีการทำงานของเว็บไซต์ หรือเพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราตามความสนใจของท่านได้