.jpg?1743666752236)
“หัวเว่ยมุ่งมั่นเสริมสร้างศักยภาพด้านดิจิทัลให้กับบุคลากรของประเทศไทย ด้วยการบูรณาการเทคโนโลยีล้ำสมัย และความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อร่วมสร้างอนาคตดิจิทัลที่ยั่งยืน”
คุณเดวิด หลี่
ประธานกรรมการบริหาร
บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด
หัวเว่ย ในฐานะผู้นำระดับโลกด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) พร้อมที่จะให้การสนับสนุนและส่งเสริมศักยภาพบุคลากรของประเทศไทยเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล ด้วยการดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อส่งเสริมการจัดเตรียมทักษะดิจิทัลที่จำเป็นโดยมุ่งเน้นการพัฒนาบุคลสกรด้านดิจิทัลในใน 4 ด้านสำคัญ ได้แก่
1. Business School (Digital Leadership)
สำหรับผู้บริหารองค์กรเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่กำลังเกิดขึ้น หัวเว่ยได้ออกแบบหลักสูตรเฉพาะสำหรับผู้บริหารองค์กร ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้ก้าวทัยเทรนด์เทคโนโ,ยีในอุตวาหกรรม พัฒนาศักยภาพความเป็นผู้นำ เสริมสร้างความเข้าใจเชิงเทคนิคอย่างลึกซึ้ง รวมถึงสนับสนุนการตัดสินใจในเชิงธุรกิจและนโยบายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. Engineering School
สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพ หัวเว่ยร่วมกับกระทรวงแรงงานออกแบบการฝึกอบรม เพื่อเตรียมความพร้อมให้ผู้ประกอบวิชาชีพมีความรู้ทางเทคนิคและประสบการณ์จริงในสาขาที่มีความต้องการสูง เช่น การติดตั้งเครือข่าย 5G การติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ และการจัดการโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมขั้นสูง ผสมผสานความรู้ทางทฤษฎีกับการปฏิบัติจริง ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถยกระดับทักษะที่มีให้ดีกว่าเดิม (Upskill) และสร้างทักษะใหม่ที่จำเป็นต่อการทำงาน (Reskill) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดแรงงาน

3. Technical School
สำหรับนักเรียน นักศึกษา ผู้สร้าง AI บนคลาวด์ SMEs และผู้ประกอบการ หัวเว่ยมุ่งมั่นบ่มเพาะบุคลากรด้านดิจิทัล โดยให้ความรู้เกี่ยวกับพื้นฐาน ICTและสร้างแรงบันดาลใจในสาขาวิชาSTEM ผ่านความร่วมมือกับโรงเรียนต่าง ๆ โดย Huawei ICT Academy ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำมากกว่า 45 แห่ง จัดการฝึกอบรมภาคปฏิบัติและการรับรองที่เป็นยอมรับในระดับสากล เช่น โครงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและเทคโนโลยี Seeds for the Future, HCIA (Huawei Certified ICT Associate) และ HCIE (Huawei Certified ICT Expert) ช่วยให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์จริงในโซลูชันคลาวด์, AI และ Datacom ควบคู่ไปกับการเตรียมความพร้อมสำหรับอาชีพในอุตสาหกรรม ICT ในปี 2566 โดยได้เปิดตัวแผน "20,000 Developers in 3 Years" ร่วมกับพันธมิตร เพื่อบ่มเพาะบุคลากรดิจิทัลที่มีทักษะสูง จำนวน 20,000 คน
4. Digital Inclusion การเข้าถึงการเรียนรู้ดิจิทัลขั้นพื้นฐานอย่างเท่าเทียมและครอบคลุมสำหรับกลุ่มด้อยโอกาส
หัวเว่ยถือว่า Digital Inclusion เป็นรากฐานสำคัญของกลยุทธ์ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร จึงจัดหาแหล่งข้อมูลการเรียนรู้ดิจิทัลขั้นพื้นฐานที่เข้าถึงได้สำหรับกลุ่มผู้ด้อยโอกาสและถูกละเลย โดยร่วมมือกับภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน และชุมชนท้องถิ่น พัฒนาโปรแกรมที่เฉพาะเจาะจงตามความต้องการ เช่น Digital Bus ศูนย์การเรียนรู้เคลื่อนที่ที่นำความรู้ดิจิทัลขั้นพื้นฐานและความตระหนักรู้ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ไปสู่พื้นที่ห่างไกลกว่า 15 จังหวัดของประเทศไทย

ทั้งยังร่วมเป็นพันธมิตรกับองค์การเพื่อสังคมอย่าง UNESCO และ กระทรวงศึกษาธิการ ภายใต้โครงการ TECH4ALL Green Education และ Open School สนับสนุนการนำห้องเรียนอัจฉริยะและนำนวัตกรรมด้านโซลูชันพลังงานดิจิทัลและประสบการณ์ด้านการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ มาใช้ในการฝึกอบรมและส่งเสริมความรู้ด้านพลังงานสีเขียวให้ผู้เข้าร่วมโครงการ หัวเว่ยยังสร้างโอกาสฝึกงานและการจ้างงานสำหรับนักศึกษาและคนทำงานรุ่นใหม่ ด้วยการจับมือเป็นพันธมิตรกับธุรกิจและสตาร์ตอัปในพื้นที่ ช่วยเชื่อมช่องว่างระหว่างการศึกษาและกำลังคน เพื่อให้มีบุคลากรที่มีทักษะดิจิทัล ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยอย่างต่อเนื่องและส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืน

ปัจจุบันหัวเว่ย ประเทศไทย มีพนักงานเกือบ 1,800 คน โดยร้อยละ 80 เป็นพนักงานคนไทย และได้พัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลรวมกว่า 100,000 คน ผู้เชี่ยวชาญด้าน ICT 80,000 คน นักพัฒนาคลาวด์ขั้นสูงและ AI 10,000 คน วิศวกรสีเขียว 2,000คน เจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ 5,000 คน ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และธุรกิจสตาร์ทอัพ 3,500 ราย และการฝึกอบรมฟรีสำหรับนักเรียนและผู้อยู่อาศัยในชนบท 6,000 คน
หัวเว่ยมั่นใจว่าจะสามารถสร้าง Ecosystem ของคลาวด์ในประเทศไทยอย่างแข็งแกร่ง ช่วยขับเคลื่อนสู่การเป็น "ประเทศไทยอัจฉริยะ" ที่เชื่อมถึงกันอย่างสมบูรณ์แบบในยุคดิจิทัลได้อย่างแท้จริง
:: ติดตามอ่าน SDGs MEGA TRENDS 2025 : FORWARD FASTER NOW ได้ที่ https://globalcompact-th.com/news/registration/1774 ::