เมื่อการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ อาจหมายถึงการล้มหายตายจากของธุรกิจในอนาคต

Article

“การท่องเที่ยว” และ “เกษตรกรรม” สองอุตสาหกรรมใหญ่ที่นำรายได้เข้าประเทศไทยมาอย่างยาวนาน ด้วยข้อได้เปรียบในความรุ่มรวยด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (Biological diversity) ทั้งผืนป่า ภูเขา ท้องทะเล พืชพันธุ์ สัตว์นานาชนิด ความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ เปรียบเสมือน “ต้นทุนทางเศรษฐกิจ” หรือขุมทรัพย์สำคัญด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะธุรกิจภาคการท่องเที่ยวที่มีจุดขายเป็นความหลากหลายของทรัพยากร นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกต่างเดินทางมาเพื่อค้นพบความงดงามของธรรมชาติที่บ้านเรา ความหลากหลายทางชีวภาพจึงมีความสำคัญอย่างมากต่อเศรษฐกิจไทย


ทุกวันนี้ ประเทศไทยยังนับว่าเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง แต่เราก็กำลังเผชิญปัญหาการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Loss) เช่นกัน หากเจาะถึงสถานการณ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ในปี 2021 ประเทศไทยเราอยู่อันดับที่ 20 ซึ่งลดลงมาจากอันดับที่ 18 ในปี 2016 เกือบ 470 สายพันธุ์กำลังถูกคุกคามจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจ หากไม่เร่งแก้ปัญหาได้ทันท่วงที การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพอาจส่งผลร้ายแรงต่อผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวและการเกษตร เศรษฐกิจไทยก็อาจย่ำแย่ลงได้ในอนาคต

GCNT สรุปรายงานวิกฤตความหลากหลายทางทรัพยากรทางธรรมชาติ ที่อาจกระทบฐานทรัพยากรขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยไปจนถึงเศรษฐกิจโลก เพื่อชวนคุณทำความเข้าใจต่อปัญหา ร่วมปรับตัวทางธุรกิจ โดยเฉพาะการดูแลปกป้องความหลากหลายทางทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นดั่งต้นทุนในการประกอบการ ถึงเวลาแล้วที่ภาคธุรกิจต้องร่วมกันออกมาอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติไม่ให้สูญเสียไปมากกว่านี้

01 ความหลากหลายทางชีวภาพคือทุนทางเศรษฐกิจที่เรามีเหนือคู่แข่ง 

ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biological diversity) หมายถึงการมีสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดอาศัยอยู่ในขอบเขตพื้นที่เดียวกัน ประกอบไปด้วย 3 ระดับด้วยกัน 

ความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศ (Ecosystem Diversity) คือการที่ประเทศเรามีภูมิทัศน์เชิงกายภาพอันหลากหลาย เช่น ภูเขาสูง เนินเขา ท้องทะเล ชายหาด เกาะ ป่าดิบชื้น และระบบนิเวศเกษตร เป็นต้น ความหลากหลายนี้เองตอบโจทย์กิจกรรมด้านการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ถูกใจนักเดินทางจากทั่วโลก แค่เดินทางมาที่ประเทศไทย ก็สามารถท่องเที่ยวได้ครบทุกรูปแบบ จะดำน้ำ โต้คลื่น หรือเดินเขา ประเทศเราก็มีครบ

ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ (Species Diversity) หมายถึงการมีสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์อันมากหน้าหลายตา สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ล้วนปรับตัวผ่านวิวัฒนาการมาหลายร้อยปี อาศัยบนบกและในน้ำ 

และสุดท้ายคือความหลากหลายทางสายพันธุ์ในสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน (Genetic Diversity) ความร่ำรวยด้านชนิดพันธุ์และสายพันธุ์ ทำให้เรามีวัตถุดิบสำหรับปรุงเมนูอาหารแสนอร่อยมากมายนับไม่ถ้วน เป็นต้นทุนที่มีคุณค่าต่อธุรกิจด้านอาหาร

สำหรับผู้ประกอบการที่กำลังใช้ประโยชน์จากความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องภาคการท่องเที่ยวหรือเกษตรกรรม เจ้าของทัวร์ เจ้าของโรงแรม ร้านอาหาร ฟาร์มผักผลไม้ ชาวประมง สิ่งที่ต้องตระหนักคือ ผลกระทบของการสูญเสียพืช สัตว์ และสถานที่ธรรมชาติ สัมพันธ์โดยตรงกับทุนและกำไรทางธุรกิจ แย่ที่สุดคือเราอาจได้เห็นบางธุรกิจต้องปิดตัวลงอย่างถาวรเลยก็ได้ ผู้ประกอบการด้านอาหารอาจต้องเผชิญวิกฤตด้านวัตถุดิบครั้งใหญ่ ธุรกิจท่องเที่ยวอาจเหี่ยวเฉา ธรรมชาติไร้ความสวยงาม 


02 ทำธุรกิจตามธรรมชาติ

ประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านในแถบ SEA มีจุดแข็งด้านสภาพภูมิศาสตร์อยู่แล้ว เขตร้อนชื้นที่ขึ้นชื่อด้านความหลากหลายของสัตว์และพืชพันธุ์ก็เติบโตได้ดี ในขณะเดียวกันเราเองก็มีจุดอ่อนต่อการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอยู่ไม่น้อย ภาวะน้ำท่วมใหญ่ พายุรุนแรง ภัยธรรมชาติที่ค่อยๆ ทวีความรุนแรงขึ้นกำลังคร่าสิ่งมีชีวิตให้ตายทีละน้อย ซัดภาคธุรกิจอ่วม ขาดทุนมหาศาล

ถึงเวลาแล้วที่เราต้องทบทวนกันครั้งใหญ่ในความสามารถในการปรับตัว ทบทวนประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าและบริการที่สอดคล้องกับการดูแลธรรมชาติมากขึ้น ด้วยวิธี Nature-Base Solutions บริหารแบบองค์รวมแล้วเราจะรอดกันทุกคน

เข้าใจฐานธรรมชาติ แล้วพัฒนาดูแลรักษาให้ถูกจุด ธุรกิจที่ดีต้องดำเนินการบนฐานความเข้าใจธรรมชาติ ไม่ฝืนธรรมชาติจนทรัพยากรเสียหาย เช่น ไม่มีสิ่งปลูกสร้างที่ขวางแนวทางน้ำไหล สิ่งปลูกสร้างตามแนวหน้าผา ไม่ทำเขื่อนกั้นน้ำแบบผิดๆ จนขวางการไหลของตะกอน 

ปกป้องจริงจัง ลงมืออนุรักษ์อย่างจริงใจ ใช้ทรัพยากรแล้วต้องฟื้นฟูให้ได้ด้วย ภาคเอกชนสามารถร่วมจัดสรรการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนและเกิดประโยชน์สูงสุดกับทุกฝ่าย รวมถึงการสร้างพื้นที่สีเขียวเพื่อเป็นสาธารณะประโยชน์ ฟื้นฟูธรรมชาติที่อาจถูกทำลายไป

นับความหลากหลายทางชีวภาพเป็นผลประโยชน์ เมื่อธุรกิจลงมือดูแลระบบนิเวศน์ของสิ่งแวดล้อม ลูกค้าก็รู้สึกว่าพวกเขาเองได้รับการดูแลอยู่ด้วยเช่นกัน

03 โลกปรับ ไทยเปลี่ยน ความท้าทายหลายมิติ

เพื่อปกป้องธรรมชาติอย่างยั่งยืน โลกเรามีอนุสัญญาในระดับสากลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Convention on Biological Diversity) เป็นข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ ทุกประเทศที่เข้าร่วมจะต้องพัฒนาประเทศโดยไม่ละเลยการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 

หัวใจสำคัญเพื่อดูแลความหลากหลายทางชีวภาพ คือทุกหน่วยงานของรัฐบาลต้องทำงานกับร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการร่วมกันดูแลทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงภาคเอกชน และภาคประชาชน ก็สามารถร่วมกันอนุรักษ์ได้ กว่าร้อยประเทศทั่วโลกกำลังเข้าร่วมและดำเนินการตามอนุสัญญา น่าเสียดายที่ประเทศไทยเพิ่งเข้าร่วมไม่นานมานี้เอง

เมื่อมองเข้าไปลึกขึ้น ความท้าทายด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพนั้นมีอยู่หลายประการด้วยกัน

หนึ่งในนั้นคือ ไม่ใช่แค่ธุรกิจใหญ่ แต่ธุรกิจระดับ SME ก็ต้องเข้ามามีบทบาทในการดูแลทรัพยากรท้องถิ่น รวมถึงผลักดันให้ปัญหาด้านความหลากหลายทางชีวภาพอยู่ในกระแสหลักให้ได้ เพื่อผู้ประกอบการและประชาชนคนไทยทั่วไปจะได้ตระหนักถึงปัญหานี้ก่อนสายไป 

ปัจจุบันประเทศไทยเรากำลังดูแลความหลากหลายขอทรัพยากรธรรมชาติ โดยใช้กลไกทางการเงิน ภายใต้แผนแม่บทบูรณาการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ

ภาคเอกชนมีบทบาทสำคัญในเรื่องเงินทุน สิ่งที่ผู้ประกอบการสามารถลงมือทำได้เลยคือการนำกำไรจากธุรกิจมาดูแลธรรมชาติในพื้นที่ แบ่งส่วนเงินกำไรมาอนุรักษ์และฟื้นฟูชนิดพันธุ์ ถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ เช่น ผู้ประกอบการโฮมสเตย์ท้องถิ่น นำเงินจากการเข้าพักของนักท่องเที่ยวมาช่วยดูแลธรรมชาติแนวชายฝั่งได้ มีตัวอย่างให้เห็นที่เกาะยาวน้อย จังหวัดพังงา เมื่อผู้ประกอบการลงมือดูแลจริงจัง นักท่องเที่ยวทั่วโลกก็พร้อมใจสนับสนุน ผู้ประกอบการหลายรายในพื้นที่จึงยังคงทำธุรกิจได้ดีจนถึงทุกวันนี้


04 สิ่งแวดล้อมกับธุรกิจ สองฟันเฟืองที่ต้องไปด้วยกัน

ระบบธุรกิจที่ต้องพึ่งพาธรรมชาติเพียงอย่างเดียวโดยไม่ดูแลเลยนั้นจัดว่าเปราะบางมาก เพราะธรรมชาติกำลังเผชิญภาวะโลกร้อนซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายทางทรัพยากรได้ นั่นเท่ากับว่าทุนทางธุรกิจกำลังพังทลายลงอย่างช้าๆ อย่างเช่น ปะการังใต้ท้องทะเล กว่า 25% ของพันธุ์ปะการังกำลังเสี่ยงกับสภาพอากาศ เราสูญเสียปะการังทั่วโลกไปแล้วกว่า 50% นักวิชาการคาดการณ์ว่าในปี 2050 ประเทศเขตร้อนอาจสูญเสียปะการังอันสวยงามไปเกือบ 90% นั่นหมายถึงจุดดึงดูดด้านการท่องเที่ยวของเรากำลังจะหายไป

ก่อนจะถึงวันนั้น ผู้ประกอบการเองอาจยังมีเวลายื้อชีวิตธรรมชาติไว้อยู่

เปลี่ยนเป้าหมายทางธุรกิจ เป้าหมายเชิงกำไรอาจไม่ใช่แค่ตัวเงินอีกต่อไป แต่อาจหมายถึงการตัดสินใจในวันนี้ที่จะรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่ด้วย เช่น ธุรกิจด้านพลังงานอาจต้องลงมือการปกป้องและจัดการธรรมชาติอย่างจริงจังด้วย  

ห่วงโซ่คุณค่าทางธุรกิจ เมื่อผู้ประกอบการต้องตัดสินใจ แค่หวังผลลัพธ์ในเชิงตัวเงินนั้นไม่พออีกต่อไปแล้ว ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึงผลลัพธ์ทางสังคมและธรรมชาติร่วมมากขึ้นด้วย

เอาจริงกับนโยบายการอนุรักษ์ เพื่อลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและถิ่นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต พื้นที่บนบกและในน้ำ 30-50% จะต้องถูกอนุรักษ์ไว้ให้สมบูรณ์มากที่สุด ไม่ใช่แค่พื้นที่คุ้มครองบางจุดเท่านั้น

ปรับนโยบายทางสังคม ภาครัฐจะต้องมีนโยบายที่บูรณาการระหว่างการดูแลทรัพยากรท้องถิ่นกับปัญหาอาการแปรปรวน(climate change) ภายใต้บริบทการพัฒนาแบบ local-to-global 


05 ธุรกิจล้มหาย ธรรมชาติตายจาก

ปัญหาการสูญเสียทางชีวภาพ อาจเป็นสถานการณ์บังคับที่ทำให้ทุกผู้ประกอบการต้องปรับตัว ก่อนจะถึง point of no return วันที่ธุรกิจล้มหาย ธรรมชาติตายจาก

ผู้นำจากประเทศยักษ์ใหญ่จำนวนมากของหลายประเทศก็เคลื่อนไหวอย่างเอาจริงด้วย เพราะ GDP ของโลก กว่าครึ่งหนึ่งต้องพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติ ปีนี้จะมีการประชุมสุดยอดผู้นำด้านสภาพภูมิอากาศ COP 27 ในเดือนพฤศจิกายนที่ประเทศอียิปต์ เน้นย้ำการลงมือทำจริง ทำอย่างเร่งด่วนและจริงจัง ที่สำคัญคือในเดือนธันวาคมนี้ จะมีการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพสมัยที่ 15 ตอกย้ำว่าปัญหานี้กำลังเกิดขึ้นจริง ธุรกิจต้องปรับตัว ไม่นิ่งนอนใจ

จากรายงาน คาดว่าประเทศไทยจะมีการเริ่มบังคับใช้อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพในอีกไม่นานนี้ ผู้ประกอบการต้องปรับตัวกันอีกครั้งเพื่อความอยู่รอด มั่นใจได้ว่าจะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าต่อกำไรในอนาคตอย่างแน่นอน จากงานวิจัยพบว่า การลงทุนเพื่อปกป้องฟื้นฟูธรรมชาติจะส่งผลตอบแทนทางเศรษฐกิจได้ถึง 30 เท่าในอนาคต

การทำธุรกิจอย่างยั่งยืนอาจไม่ใช่แค่กระแสที่ผ่านมาแล้วผ่านไป แต่จะกลายเป็นค่านิยมใหม่ที่ผู้บริโภคพร้อมสนับสนุน ใครปรับก่อน ก็รอดก่อน และรวยก่อนอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะผู้ประกอบการไทยที่ต้องอาศัยความหลากหลายทางทรัพยากรธรรมชาติ

ร่วมเปลี่ยนแปลงโลกกับเรา
UN Global Compact
Network Thailand
APPLY FOR MEMBERSHIP
เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ เราใช้คุกกี้เพื่อเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และการใช้งานของเว็บไซต์เพื่อปรับปรุง ปรับแต่งเนื้อหา และโฆษณาตามความต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้ เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์ และ นโยบายสิทธิส่วนบุคคล
Subscribe
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถปรับแต่งการตั้งค่าคุกกี้ในแต่ละประเภทได้ดังต่อไปนี้
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่จำเป็นต่อการให้บริการ
(Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการบนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่จะช่วยให้ท่านสามารถเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยของเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้เพื่อการวัดผลการทำงานและฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์
(Performance and Functionality Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะถูกใช้เพื่อจดจำท่านเมื่อท่านกลับเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้ง ช่วยให้เราปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะกับท่านและจดจำการตั้งค่าของท่าน (เช่น ภาษาหรือภูมิภาคที่ท่านเลือก) แต่ไม่จำเป็นต่อการวัดผลการทำงานของเว็บไซต์
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์หรือเพื่อการปรับแต่ง
(Analytical or Customization Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ใช้งานเข้าสู่เว็บไซต์และออกจากเว็บไซต์ เราใช้ข้อมูลนี้ในลักษณะของข้อมูลโดยรวมเพื่อช่วยให้เราปรับปรุงวิธีการทำงานของเว็บไซต์ หรือเพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราตามความสนใจของท่านได้