วิกฤติอาหารขาดแคลนระยะยาว แก้ไขให้ทันด้วยเศรษฐกิจหมุนเวียน

Article



ปี 2020-2021 โลกเผชิญหน้ากับวิกฤติใหญ่อย่างการระบาดของโควิด-19 ที่คร่าชีวิตผู้คนไปนับล้าน ทำให้การดำรงชีวิตของคนหลายพันล้านและเศรษฐกิจโดยรวมหยุดชะงัก จากนั้นเมื่อโรคระบาดคลี่คลาย สถานการณ์อื่นๆ ก็เริ่มถาโถมในพื้นที่ส่วนต่างๆ ของโลก หนึ่งในนั้นคือเหตุการณ์รัสเซียบุกยูเครน ที่ไม่เพียงสร้างความทุกข์ทรมานและความสูญเสียให้คนในพื้นที่ แต่ยังส่งผลให้อุปทานของทรัพยากรหลัก ตั้งแต่พลังงานไปจนถึงโลหะ ธัญพืช และสินค้าอุปโภคบริโภคอื่นๆ มีราคาพุ่งสูงขึ้น

ผู้คนที่ยังบอบช้ำจากแรงเหวี่ยงของโควิด-19 ได้รับผลกระทบอีกครั้ง โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อย และผู้ที่กำลังฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ เราไม่ได้เตรียมการ เราไม่มีความยืดหยุ่น ผลกระทบจากวิกฤตการณ์ข้าวยากหมากแพง จะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นไปอีกภายในปี 2022 นี้ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลต่อดินฟ้าและฤดูกาลเกษตรกรรม 

โดยรากของสาเหตุนั้นมาจากระบบเศรษฐกิจแบบเส้นตรง (Linear Economy) ของโลกที่พึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล ก่อมลพิษ ถลุงใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง และบ่อนทำลาย “ความหลากหลายทางชีวภาพ” อันเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของมนุษย์และสรรพชีวิต

นับตั้งแต่การสูญพันธุ์ใหญ่ครั้งล่าสุดเมื่อ 66 ล้านปีก่อน วันนี้สายพันธุ์ต่างๆ กำลังจะตายในอัตราที่ไม่เคยเห็นมาก่อน เรากำลังสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพในอัตราที่น่าตกใจไปทั่วโลก สถานการณ์นี้ร้ายแรงเพราะสุขภาพ เศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ของเราล้วนขึ้นอยู่กับธรรมชาติ อนาคตของทุกคนอยู่ในความเสี่ยง 

มีเพียงหน้าต่างโอกาสแคบๆ เท่านั้นที่จะเปลี่ยนชะตาของโลกได้ เราต้องปฏิรูประบบเศรษฐกิจของโลกใหม่เดี๋ยวนี้ จัดการกับรากของสาเหตุแห่งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ในระบบการบริโภคและการผลิตเชิงแบบเส้นตรง

ผลการศึกษาล่าสุด “Tackling Root Causes – Halting Biodiversity Loss Through The Circular Economy” โดยกองทุนนวัตกรรมฟินแลนด์ (Sitra) แสดงให้เห็นว่า หากภาครัฐและเอกชนเปลี่ยนมาขับเคลื่อนอุตสาหกรรม 4 ภาคส่วนหลักของโลกตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน เราจะสามารถหยุดยั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพของโลก และฟื้นคืนมันกลับสู่ระดับความสมบูรณ์ที่เคยเป็นเมื่อปี 2000 ได้ ภายในปี 2035 โดยเน้นไปที่การปฏิรูปการผลิต เปลี่ยนวิธีที่เราผลิต บริโภค และจัดการผลิตภัณฑ์รวมถึงวัสดุใหม่ทั้งหมด ดังนี้

01 อุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร: ลดมลภาวะและการสูญเสียอาหาร ตลอดจนของเสียตลอดห่วงโซ่อุปทาน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ซึ่งทำให้ความต้องการทรัพยากร/ปัจจัยการผลิตลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแหล่งโปรตีน ขณะเดียวกันการปฏิรูประบบเกษตรกรรมจะส่งผลกระทบเชิงบวกต่อความหลากหลายทางชีวภาพ

02 อุตสาหกรรมป่าไม้: พัฒนาให้ผลิตภัณฑ์มีอายุยืนยาวขึ้น พร้อมทั้งนำผลิตภัณฑ์และวัสดุกลับมาใช้ใหม่ เพื่อช่วยลดความต้องการไม้ ขณะเดียวกัน หากต้องการใช้ไม้ใหม่ มันจะต้องมาจากป่าที่ได้รับการจัดการตามหลักการปฏิรูปฟื้นฟูที่สร้างสมดุลแก่ธรรมชาติ เพื่อปรับปรุงผลลัพธ์ความหลากหลายทางชีวภาพ

03 อุตสาหกรรมอาคารและการก่อสร้าง: ใช้วัสดุน้อยลงและใช้พื้นที่ในเมืองน้อยลง โดยยืดอายุอาคาร เพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน ลดการใช้วัสดุ และการนำกลับมาใช้ใหม่ และวัสดุรีไซเคิล ใช้วัสดุหมุนเวียนมากขึ้นในการก่อสร้าง

04 อุตสาหกรรมเส้นใยและสิ่งทอ: ลดความต้องการวัสดุใหม่ลง โดยการเพิ่มความทนทาน อัตราการใช้ การนำกลับมาใช้ใหม่และการรีไซเคิลเสื้อผ้า ในขณะเดียวกันก็เพิ่มเกษตรกรรมด้วยกระบวนการฟื้นฟูธรรมชาติให้มากขึ้น

นอกจากนี้ผลการศึกษายังระบุอีกด้วยว่า อุตสาหกรรมอาหารและการเกษตรคือภาคส่วนที่จะสร้างผลเชิงบวกมากที่สุด จากการเปลี่ยนสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน หากมนุษย์สามารถเปลี่ยนไปบริโภคโปรตีนทางเลือกแทนเนื้อสัตว์ได้มากขึ้น ลดปริมาณการสูญเสียอาหารลงได้ครึ่งหนึ่ง พื้นที่เกษตรกรรมที่เราจำเป็นต้องใช้ในการผลิตอาหารหล่อเลี้ยงผู้คน จะมีขนาดเล็กลงกว่าเดิมมาก ทำให้มีพื้นที่มากขึ้นสำหรับธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่จะเจริญเติบโต

ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนช่วยให้เราจัดการกับวิกฤติการใช้ทรัพยากรโลกมากเกินไป วิกฤติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และวิกฤติการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพทั้งหมดในคราวเดียว ทำให้เราพึ่งพาทรัพยากรและห่วงโซ่อุปทานที่เปราะบางน้อยลง ในขณะเดียวกันก็บรรเทาสภาพภูมิอากาศและลดแรงกดดันต่อธรรมชาติ 

เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรม ภาครัฐผู้กำหนดนโยบาย และภาคธุรกิจทุกขนาดในทุกพื้นที่ทั่วโลก จะต้องบูรณาการแนวคิดตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนเข้ากับการตัดสินใจและกลยุทธ์ทั้งหมด โดยเน้นการดำเนินการแบบหมุนเวียนที่ทั้งจัดการกับการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปพร้อมกัน 

ภาครัฐผู้กำหนดนโยบาย คือผู้มีบทบาทสำคัญในการกำหนดเส้นทางไปข้างหน้า โดยจะต้องให้ความสำคัญกับนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียน ทำให้เกิดเทคโนโลยีและรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ เป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์ให้ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม รวมถึงต้องให้ความสนใจในการวัดผล และจัดการกับผลกระทบด้านความหลากหลายทางชีวภาพที่อยู่นอกเหนือพรมแดนของประเทศต่างๆ ด้วย

ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม เพื่อเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง เจ้าของธุรกิจและผู้ประกอบการมีโอกาสมากมายในการปฏิรูปการผลิต และสร้างกำไรด้วยการปลดล็อกคุณค่าของทรัพยากรที่มีอยู่ด้วยการหมุนเวียนเพื่อสร้างประสิทธิผลสูงสุด เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ บริษัทต่างๆ ควรใช้วิธีการแบบลำดับขั้น โดยแบ่งกระบวนการออกเป็นขั้นตอนต่างๆ ลดหลั่นกัน เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจและดำเนินการกระโดดสู่การลงมือทำ ผ่านบทความ “บันได 6 ขั้นสู่ธุรกิจหมุนเวียน สร้างความยั่งยืนวันนี้ก่อนถูกดิสรัปชั่น” โดย GCNT ที่จะช่วยให้การเริ่มต้นของคุณมีทิศทางมากขึ้น https://globalcompact-th.com/6stepsCE

ปัจจุบันระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนได้ถูกผลักดันให้เป็นวาระสำคัญ มีการจัดทำแผนดำเนินงานระดับชาติ กลยุทธ์ในสหภาพยุโรปและอีกหลายสิบประเทศทั่วโลก อย่างไรก็ตามการดำเนินการต้องอาศัยแรงขับเคลื่อนจากทั้งโลก ผู้อ่านทุกท่านเองต้องเริ่มผลักดันระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนตั้งแต่วันนี้เช่นกัน ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ผลิตหรือผู้บริโภค 

มิเช่นนั้น ในอีก 10 ปีข้างหน้า เราจะต้องพบกับการเปลี่ยนแปลงที่ลึกซึ้งที่สุดเท่าที่โลกเคยรู้จัก ความเสื่อมโทรมของความหลากหลายทางชีวภาพ จะนำไปสู่วิกฤติการดำรงชีวิต ตลอดจนการขาดแคลนอาหารระยะยาวของผู้คนทั่วโลก


ข้อมูลอ้างอิง:
https://www.sitra.fi/en/news/circular-solutions-can-halt-biodiversity-loss-the-food-and-agriculture-sector-can-make-the-largest-contribution/

https://www.sitra.fi/en/publications/tackling-root-causes/#methodology

ร่วมเปลี่ยนแปลงโลกกับเรา
UN Global Compact
Network Thailand
APPLY FOR MEMBERSHIP
เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ เราใช้คุกกี้เพื่อเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และการใช้งานของเว็บไซต์เพื่อปรับปรุง ปรับแต่งเนื้อหา และโฆษณาตามความต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้ เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์ และ นโยบายสิทธิส่วนบุคคล
Subscribe
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถปรับแต่งการตั้งค่าคุกกี้ในแต่ละประเภทได้ดังต่อไปนี้
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่จำเป็นต่อการให้บริการ
(Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการบนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่จะช่วยให้ท่านสามารถเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยของเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้เพื่อการวัดผลการทำงานและฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์
(Performance and Functionality Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะถูกใช้เพื่อจดจำท่านเมื่อท่านกลับเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้ง ช่วยให้เราปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะกับท่านและจดจำการตั้งค่าของท่าน (เช่น ภาษาหรือภูมิภาคที่ท่านเลือก) แต่ไม่จำเป็นต่อการวัดผลการทำงานของเว็บไซต์
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์หรือเพื่อการปรับแต่ง
(Analytical or Customization Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ใช้งานเข้าสู่เว็บไซต์และออกจากเว็บไซต์ เราใช้ข้อมูลนี้ในลักษณะของข้อมูลโดยรวมเพื่อช่วยให้เราปรับปรุงวิธีการทำงานของเว็บไซต์ หรือเพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราตามความสนใจของท่านได้