การสร้างองค์กรแห่งความเสมอภาค ที่ขยายสู่การขับเคลื่อนสิทธิมนุษยชนระดับสากล

Article

เคยสงสัยไหมว่า ข้าวของที่เราใช้งาน และอาหารที่เราดื่มกินในแต่ละวัน ใครคือผู้อยู่เบื้องหลังสายพานการผลิต? คนทำงานที่ส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้คนทั่วโลกใช้ชีวิตอย่างสะดวกสบาย ได้รับค่าแรงที่เป็นธรรมและมีคุณภาพชีวิตที่ดีเพียงพอหรือไม่? และต้องทำอย่างไรจึงจะสามารถยกระดับชีวิตของพวกเขาให้ดีขึ้นได้?

“ทั้งหมดคือคำถามที่ผู้บริโภค ตลอดจนองค์กรธุรกิจยุคใหม่ต้องตระหนักอย่างจริงจัง เพราะมันคือหลักการสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับการจ้างงานอย่างมีจริยธรรม” คุณแนท-นิธิพัศ นันทวโรภาส และคุณพราว-ปรมินทร วงศ์ไตรรัตน์ สำนักความร่วมมือระหว่างประเทศและสื่อสารองค์กร บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด กล่าวขึ้นระหว่างการสนทนากับเรา

ในปัจจุบันที่พัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว บทบาทขององค์กรธุรกิจไม่ใช่เพียงการส่งมอบสินค้าคุณภาพต่อลูกค้าและการสร้างผลกำไร แต่ยังต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจ เครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นองค์กรธุรกิจแห่งแรกๆ ของประเทศไทย ที่เดินหน้าผลักดันการประกอบธุรกิจควบคู่กับการเคารพสิทธิมนุษยชน

คุณแนทและคุณพราว จะมาเล่าให้ฟังถึงเรื่องราวเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับเราทุกคน ตั้งแต่แรกเกิด ไปจนถึงการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะการปฏิบัติด้านแรงงานของเครือเจริญโภคภัณฑ์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินธุรกิจจะสร้างผลกระทบต่อสังคมน้อยที่สุด
 

01 สิทธิที่ทุกคนมีตั้งแต่แรกเกิด

ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร อาศัยอยู่ที่ไหน และใช้ชีวิตแบบใด เราทุกคนเกิดมาพร้อมสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่ตั้งอยู่บนคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ทั้งความมีศักดิ์ศรี การได้รับความเคารพ ตลอดจนความยุติธรรมและความเท่าเทียม

“สิทธิมนุษยชน  คือเรื่องใกล้ตัวที่อยู่ในทุกอณูของการใช้ชีวิต นาทีนี้ที่คุณถือสมาร์ทโฟนอยู่ในมือ ก็มีเรื่องสิทธิมนุษยชนหลายมิติอยู่ในนั้น มันถูกผลิตขึ้นด้วยแรงงานที่ได้รับการปฏิบัติอย่างยุติธรรมหรือเปล่า แม้แต่ข้อมูลส่วนบุคคลที่บรรจุลงในสมาร์ทโฟน นั่นก็เป็นส่วนหนึ่งของสิทธิมนุษยชนที่หากคุณไม่ยินยอม  ก็ไม่มีใครสามารถนำไปเปิดเผยได้ ดังนั้น การใช้ชีวิตโดยไม่คำนึงถึงสิทธิมนุษยชน จึงอาจสร้างผลกระทบต่อตัวเองและคนอื่นโดย
ที่เราไม่รู้ตัว” คุณพราวอธิบาย

ก่อนหน้าจะมาทำงานกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ คุณพราวทำงานด้านสิทธิมนุษยชนในภาคประชาสังคมมาก่อน การขยับมาศึกษาและทำงานในมิติของภาคเอกชน ทำให้เธอเห็นถึงบทบาทและความสำคัญขององค์กรธุรกิจต่างๆ ที่มีทรัพยากรมากพอจะสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชนให้เกิดขึ้นได้

คุณแนทเสริมว่า “การทำงานด้านนี้ ทำให้เราได้สัมผัสและพูดคุยกับกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากประเด็นสิทธิมนุษยชนโดยตรง ซึ่งมีหลายกลุ่ม และแต่ละกลุ่มก็เผชิญกับผลกระทบในรูปแบบที่แตกต่างกัน ประสบการณ์เหล่านี้ไม่เพียงเกี่ยวข้องในด้านการทำงาน แต่ยังหล่อหลอมการใช้ชีวิตให้เราคิดลึกซึ้งขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่าเราไม่ได้ไปลิดรอนสิทธิมนุษยชนของใครโดยไม่ตั้งใจ”

02 องค์กรแห่งความหลากหลาย

“เครือเจริญโภคภัณฑ์มีพนักงานอยู่กว่า 450,000 คน  ซึ่งแน่นอนว่าพนักงานจำนวนมากขนาดนี้ ย่อมมีความหลากหลายในด้านต่างๆ ทั้งอายุ เพศ วัฒนธรรม และศาสนาเป็นต้น เราจึงยึดมั่นในหลักความเท่าเทียม และเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้ยอมรับในความแตกต่าง โดยมีการจัดพื้นที่ที่หลากหลายและเหมาะสมเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่พนักงานทุกคน”

คุณแนท เล่าต่อถึงโครงการจัดทำห้องน้ำเสมอภาค (Universal Design) ซึ่งมีการนำร่องที่ ทรูคอร์ปอเรชั่น สำนักงานใหญ่ เพื่อให้พนักงานโดยเฉพาะกลุ่มเพศทางเลือกรู้สึกปลอดภัยในการใช้พื้นที่สาธารณะในที่ทำงาน นอกจากนี้ ยังการสร้างห้องประกอบศาสนกิจหรือห้องละหมาดขึ้น ตามสถานประกอบการในเครือ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่พนักงานมุสลิมด้วย

เครือเจริญโภคภัณฑ์ คือบริษัทแรกในประเทศไทยที่จัดทำรายงานสิทธิมนุษยชนประจำปี (Human Rights Report) เพื่อเผยแพร่แนวทางการเคารพสิทธิมนุษยชน กระบวนการตรวจสอบ การประเมินความเสี่ยง ตลอดจนการวางแผนและแนวทางแก้ไข พร้อมเครื่องมือชี้วัดด้านสิทธิมนุษยชนที่ชัดเจน เปิดช่องทางในการร้องเรียน และกลไกในการเยียวยาอย่างโปร่งใส

คุณพราวเล่าว่า “ทุกวันนี้ สังคมทั่วโลกตระหนักมากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ผู้คนเปิดกว้างและยอมรับความหลากหลายของมนุษย์มากขึ้น องค์กรธุรกิจก็เช่นกัน เราต้องเปิดรับและสนับสนุนคนทุกกลุ่มให้ได้รับโอกาสที่เท่าเทียม และสามารถแสดงศักยภาพของตนอย่างเต็มที่”

 03 ขับเคลื่อนด้วยความโปร่งใส

เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้กำหนดแนวทางการจ้างงานอย่างมีจริยธรรม โดยจัดทำนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติด้านแรงงานที่สอดคล้องกับกฎหมายของประเทศและมาตรฐานสากล เพื่อให้มั่นใจว่า

การดำเนินธุรกิจสร้างผลกระทบด้านลบต่อสังคมน้อยที่สุด

“มีการพัฒนาหลักสูตรอบรม เพื่อสร้างความเข้าใจแก่บริษัทจัดหาแรงงานข้ามชาติจากประเทศต่างๆ ว่ากระบวนสรรหาและคัดเลือกคนทำงานที่เป็นธรรมและเปิดเผยนั้นเป็นอย่างไร โดยเฉพาะการจัดหาบุคคลมาทำงานเครือเจริญโภคภัณฑ์ ที่เราเข้มงวดมากว่ากระบวนการทั้งหมดต้องโปร่งใส เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการใช้แรงงานบังคับในทุกรูปแบบ  ไม่ว่าจะเป็นแรงงานเด็กหรือการใช้แรงงานข้ามชาติอย่างผิดกฎหมาย   รวมถึงการหลอกขอเงินค่าธรรมเนียมใดๆ จากผู้ที่จะมาทำงาน” คุณแนทเล่า

คุณพราวเสริมต่อว่า นี่เป็นโครงการที่ทีมงานปลุกปั้นกันมาตั้งแต่ปี 2019 จนถึงปัจจุบัน ผลลัพธ์ความเปลี่ยนแปลงในด้านทางการจ้างงานอย่างมีจริยธรรมก็งอกเงยเห็นผลลัพธ์เชิงรูปธรรมที่ชัดเจน นอกจากงานขับเคลื่อนทางตรง ทีมของคุณพราวและคุณแนทยังประสานงานกับหลายองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนระดับสากล เพื่อแบ่งปันประสบการณ์และชุดข้อมูลที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน

“การแลกเปลี่ยนข้อมูลทำให้เราเห็นว่าแม้ปัญหาทั่วโลกจะมีคล้ายคลึงกัน แต่ในรายละเอียดก็แตกต่างกันไปตามบริบทของพื้นที่ เศรษฐกิจ และสังคม เราได้ศึกษาวิธีแก้ปัญหาของภูมิภาคอื่น ในขณะเดียวกันก็บอกเล่าวิธีแก้ปัญหาของเราให้เขาสามารถนำไปประยุกต์ปรับใช้ได้ด้วยเช่นกัน การแบ่งปันนี้ช่วยผลักดันให้เรื่องสิทธิมนุษยชนเคลื่อนขบวนไปพร้อมกันทั่วโลก และทำให้ผลลัพธ์ยิ่งขยายกว้างไกลขึ้น” คุณแนทกล่าว

04 สร้างมาตรฐานใหม่ให้สังคม

ในมุมมองของคนทำงาน คุณแนทและคุณพราวบอกว่า จากวันที่เครือเจริญโภคภัณฑ์ลุกขึ้นมาผลักดันเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นบริษัทแรกๆ ในประเทศไทย ทุกวันนี้เราเริ่มเห็นองค์กรธุรกิจใหญ่ๆ อีกหลายแห่งทยอยเข้ามาร่วมขับเคลื่อนเรื่องนี้กันอย่างจริงจังแล้ว ตอนนี้ภาพฝันของทั้งคู่จึงอยากเห็นความร่วมมือขยายไปสู่บริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กด้วย

คุณพราว กล่าวว่า “การผลักดันเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องที่ในบางครั้งคนทั่วไปมองว่าเป็นหน้าที่ขององค์กรขนาดใหญ่ และต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมาก แต่เพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดและเกิดการเคารพสิทธิมนุษยชนอย่างเต็มรูปแบบ ธุรกิจขนาดเล็กและใหญ่ รวมกับภาคส่วนอื่น ๆ จะต้องร่วมมือกัน เพื่อขับเคลื่อนเรื่องนี้ และยกระดับมาตรฐานของสังคม โดยการผลักดันสามารถเริ่มได้แล้วตั้งแต่วันนี้”

สำหรับองค์กรธุรกิจ ประเด็นสิทธิมนุษยชนเป็นหนึ่งในประเด็นด้านความยั่งยืนที่ต้องให้ความสำคัญ ควบคู่ไปกับการผลักดันเรื่องสิ่งแวดล้อม เพราะทรัพยากรบุคคลคือหัวใจของธุรกิจ ในขณะเดียวกันผู้บริโภคอย่างเราๆ ก็สามารถร่วมขับเคลื่อนเรื่องนี้ได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน ที่ทำงาน ที่ห้างสรรพสินค้า ที่สวนสาธารณะ คุณปฏิบัติต่อคนคุ้นเคยรอบตัวและคนแปลกหน้าที่พบเจอด้วยความเคารพและความเท่าเทียมหรือไม่

“ประเด็นนี้อาจเป็นเรื่องใหม่ที่หลายคนยังไม่คุ้นเคย แต่มันสำคัญมากที่เราจะต้องใช้ชีวิตอย่างรอบรู้ในสิทธิตัวเอง ไม่ก้าวก่ายสิทธิของคนอื่น เพื่อความเท่าเทียมของคนในสังคมที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนของโลก” คุณแนททิ้งท้าย


ร่วมเปลี่ยนแปลงโลกกับเรา
UN Global Compact
Network Thailand
APPLY FOR MEMBERSHIP
เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ เราใช้คุกกี้เพื่อเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และการใช้งานของเว็บไซต์เพื่อปรับปรุง ปรับแต่งเนื้อหา และโฆษณาตามความต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้ เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์ และ นโยบายสิทธิส่วนบุคคล
Subscribe
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถปรับแต่งการตั้งค่าคุกกี้ในแต่ละประเภทได้ดังต่อไปนี้
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่จำเป็นต่อการให้บริการ
(Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการบนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่จะช่วยให้ท่านสามารถเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยของเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้เพื่อการวัดผลการทำงานและฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์
(Performance and Functionality Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะถูกใช้เพื่อจดจำท่านเมื่อท่านกลับเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้ง ช่วยให้เราปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะกับท่านและจดจำการตั้งค่าของท่าน (เช่น ภาษาหรือภูมิภาคที่ท่านเลือก) แต่ไม่จำเป็นต่อการวัดผลการทำงานของเว็บไซต์
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์หรือเพื่อการปรับแต่ง
(Analytical or Customization Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ใช้งานเข้าสู่เว็บไซต์และออกจากเว็บไซต์ เราใช้ข้อมูลนี้ในลักษณะของข้อมูลโดยรวมเพื่อช่วยให้เราปรับปรุงวิธีการทำงานของเว็บไซต์ หรือเพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราตามความสนใจของท่านได้