UNGCNT หนุนธุรกิจบูรณาการสิทธิมนุษยชน แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม

UNGCNT News


สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (
UNGCNT : Global Compact Network Thailand) ร่วมกับกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ  และผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน จัดงานสัปดาห์ “ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน”ต่อเนื่องเป็นปีที่ หนุนธุรกิจบูรณาการสิทธิมนุษยชน เพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ควบคู่กันไปอย่างแท้จริง มีผู้สนใจเข้าร่วมงานผ่านระบบออนไลน์ กว่า 200 คน

ดร.เนติธร ประดิษฐ์สาร รองเลขาธิการ UNGCNT ในฐานะหนึ่งในองค์กรร่วมจัดงาน ร่วมกล่าวในพิธีเปิดว่า การหารือในวันนี้มุ่งเน้นไปที่การบูรณาการสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไป ตามที่สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้ประกาศถึงสิทธิของมนุษย์ทุกคนในการมีชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพ ในส่วนของสมาคมฯ  ได้จัดตั้ง Human Rights Academy ที่บรรจุประเด็นความเชื่อมโยงระหว่างสิทธิมนุษยชนกับสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนหนึ่งของการอบรมหลักสูตรต่างๆ เพื่อให้ภาคธุรกิจได้เห็นความสำคัญและนำไปปรับใช้    และร่วมมือกับองค์กรสมาชิกธุรกิจไทย ส่งเสริมให้มีการกำหนดกลยุทธ์ธุรกิจที่บูรณาการประเด็นสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปอย่างสมดุล  โดยเฉพาะการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ  รวมทั้งยังได้ให้ข้อสังเกต 4 ประการเพื่อผลักดันเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง  ได้แก่  1) การส่งเสริมความโปร่งใสด้วยการจัดทำรายงานสิทธิมนุษยชน   2) การตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence: HRDD) และการประเมินด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Due Diligence, EDD) โดยเฉพาะการส่งเสริมความรู้ด้านเทคนิคและเทคโนโลยี     เพื่อให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กในห่วงโซ่อุปทานเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ 3) การสร้างแรงจูงใจที่เหมาะสมให้ภาคธุรกิจ อาทิ มาตรการเชิงภาษี นโยบาย เงินทุนสนับสนุน 4) การคำนึงผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน ในระหว่างที่ธุรกิจกำลังเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจสีเขียว (Just Transition) โดยเฉพาะกับกลุ่มเปราะบาง

“การก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม ถือเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบสุขภาพและเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม จึงควรบูรณาการประเด็นสิทธิมนุษยชนควบคู่กันไปอย่างแท้จริง โดยสมาคมฯ พร้อมร่วมขับเคลื่อนเรื่องนี้อย่างเป็นระบบ ทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค เพื่อให้เกิดความยั่งยืน ทั้งในเชิงสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม“ ดร. เนติธร กล่าว

ในงานดังกล่าว มีการบรรยาย หัวข้อ “ความสำคัญของการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบ และเคารพสิทธิมนุษยชน : ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ”  โดยผู้แทนจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ  ซึ่งได้เน้นย้ำว่าสิทธิด้านสิ่งแวดล้อมถือเป็นสิทธิมนุษยชน เพราะทุกคนต้องได้เข้าถึงสิ่งแวดล้อมที่สะอาด และได้หยิบยกรายงานของ IPCC ปี 2022 ที่ยืนยันว่าการกระทำของมนุษย์ส่งผลต่อสภาพอากาศของโลก จึงจำเป็นที่ทุกภาคส่วนต้องมีแผนรับมือในเรื่องนี้ โดยเฉพาะภาคธุรกิจ จะได้รับผลกระทบทั้งทางกายภาพ (Physical Risks) เช่น ภัยแล้ง น้ำท่วม  และผลกระทบจากการเปลี่ยนผ่าน (Transition Risk) เช่น กฎหมาย ข้อบังคับ หรือข้อตกลงร่วมกัน   โดยบทบาทของภาคธุรกิจ ควรไปไกลกว่าการดำเนินงานตามกฎหมาย (legal compliance) รวมทั้งควรมีกระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนรอบด้านและมีนโยบายในระดับธุรกิจของตนเอง

นอกจากนี้ ยังมีเสวนาในหัวข้“การดำเนินการของภาคธุรกิจเพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบและเคารพสิทธิมนุษยชน มุ่งสู่การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” โดยผู้แทนจากกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงอุดมศึกษาและวิทยาศาสตร์  และกองสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ  กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ โดยได้แลกเปลี่ยนถึงบทบาทของหน่วยงานรัฐในการดำเนินงาน ภายใต้กรอบงานของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Human Rights Council: UNHRC) โดยระบุถึงความพยายามผลักดันประเด็นสิทธิมนุษยชนในการมีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ดีต่อสุขภาพและยั่งยืน  ให้เกิดการยอมรับอย่างกว้างขวางทั่วโลก  สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันเรื่องนี้เป็นมาตรการตามความสมัครใจ  โดยรัฐได้พัฒนามาตรการ กลไกตลาด และกำหนดมาตรฐานในแต่ละอุตสาหกรรม เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการ  อาทิ กลไกตลาดคาร์บอน  สิทธิทางภาษี Green Taxonomy  หรือกลไกสนับสนุนทางการเงิน ทั้งนี้  ในแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ระยะที่ 2 (2566 - 2570) จะเพิ่มรายละเอียดในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น การแก้ไขปัญหา PM 2.5  การจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน และเตรียมการรองรับมาตรฐานสากลอื่นๆ เพื่อเตรียมความพร้อมและเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกให้กับธุรกิจไทย

ปิดท้ายด้วยเสวนา ในหัวข้อ “การดำเนินการของภาคธุรกิจเพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบและเคารพสิทธิมนุษยชน มุ่งสู่การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” โดยผู้แทนจากบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน)  และบริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) ได้แชร์ประสบการณ์ของแต่ละองค์กรในการบูรณาการหลักสิทธิมนุษยชนเข้ากับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนมุมมองต่อความท้าทายเพื่อการเปลี่ยนผ่านอย่างเป็นธรรม (Just Transition) ซึ่งทั้ง 4 องค์กรชี้ว่าการส่งเสริมบทบาทของภาคเอกชนในประเด็นสิทธิมนุษยชน ยังจำเป็นต้องสร้างการรับรู้(Awareness) และความรู้ความเข้าใจ(Knowledge)  ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและกว้างขวาง ทั้งในกลุ่มองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ และ SMEs ที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทาน  ควบคู่ไปกับการทำงานร่วมกันกับทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและภาคประชาสังคม  เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง  รวมทั้งได้เสนอให้ภาครัฐพิจารณามาตรการทางภาษีและมาตรการอื่นๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ภาคธุรกิจเข้ามาดำเนินงานเรื่องสิทธิมนุษยชนให้มากขึ้น

 
ร่วมเปลี่ยนแปลงโลกกับเรา
UN Global Compact
Network Thailand
APPLY FOR MEMBERSHIP
เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ เราใช้คุกกี้เพื่อเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และการใช้งานของเว็บไซต์เพื่อปรับปรุง ปรับแต่งเนื้อหา และโฆษณาตามความต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้ เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์ และ นโยบายสิทธิส่วนบุคคล
Subscribe
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถปรับแต่งการตั้งค่าคุกกี้ในแต่ละประเภทได้ดังต่อไปนี้
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่จำเป็นต่อการให้บริการ
(Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการบนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่จะช่วยให้ท่านสามารถเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยของเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้เพื่อการวัดผลการทำงานและฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์
(Performance and Functionality Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะถูกใช้เพื่อจดจำท่านเมื่อท่านกลับเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้ง ช่วยให้เราปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะกับท่านและจดจำการตั้งค่าของท่าน (เช่น ภาษาหรือภูมิภาคที่ท่านเลือก) แต่ไม่จำเป็นต่อการวัดผลการทำงานของเว็บไซต์
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์หรือเพื่อการปรับแต่ง
(Analytical or Customization Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ใช้งานเข้าสู่เว็บไซต์และออกจากเว็บไซต์ เราใช้ข้อมูลนี้ในลักษณะของข้อมูลโดยรวมเพื่อช่วยให้เราปรับปรุงวิธีการทำงานของเว็บไซต์ หรือเพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราตามความสนใจของท่านได้