ถอดบทเรียนจาก TEEBAgrifood ผลักดันภาคธุรกิจ ร่วมสร้างระบบอาหารที่ยั่งยืนในประเทศไทย

Article



ในปี 2050 โลกจะมีประชากรประมาณ 9 พันล้านคน คำถามที่ท้าทาย คือ เราจะผลิตอาหารให้เพียงพอต่อประชากรจำนวนนี้อย่างไร เราจะรักษาสมดุลธรรมชาติได้อย่างไร และเราจะสร้างเศรษฐกิจที่เป็นธรรมและสังคมที่สงบสุขได้อย่างไร

นอกจากนี้ วิกฤตการณ์โลกรวน ยังมีผลกระทบต่อการผลิตวัตถุดิบอาหาร  Business Insider, Euro News 1, Euro News 2, Greenpeace, Krishi Jagran, Topic Insight  รายงานวัตถุดิบที่อาจจะหายไป เพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น สตรอว์เบอรี่ เพราะอุณหภูมิที่สูงขึ้น ทำให้สตรอเบอรี่ออกดอกช้าลง และระดับความร้อนและคาร์บอนที่สูงขึ้น ก็ทำให้คุณภาพลดลงด้วย หรือ ช็อคโกแล็ตและอะโวคาโค ที่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าจะสูญพันธุ์ภายในปี 2050 เพราะอากาศที่ร้อนขึ้นส่งผลกระทบต่อผลผลิต

ตัวเลขจาก FAO ยังทำให้เราเห็นถึงแนวโน้มประชากรโลกที่ประสบภาวะอดอยากเพิ่มมากขึ้น จากปี 2019 จำนวน 687 ล้านคน เพิ่มขึ้นเป็น มากกว่า 783 ล้านคน ในปี 2022 และยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

01

นายแอนโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ กล่าวว่า ระบบอาหารที่ไม่ยั่งยืน คือสาเหตุหลักที่ทำให้เราใช้ทรัพยากรและระบบนิเวศเกินตัวและเชิญชวนทุกภาคส่วนทั่วโลกร่วมสร้าง “ระบบอาหารที่ยั่งยืน” โดยสหประชาชาติเห็นว่าระบบอาหารที่ยั่งยืน จะเป็นกลไกที่ช่วยให้เราเดินหน้kสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) จึงระดมความคิดจากทุกภาคส่วน หารือการแก้ไข และยกระดับการผลิตอาหารให้ยั่งยืน 

ผ่านกระบวนการ Food Systems Summit ที่มี 5 แนวทางยกระดับความยั่งยืนของระบบอาหาร หรือที่เรียกกันว่า 5 Action Tracks ได้แก่ การเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัยและมีประโยชน์  การบริโภคอย่างยั่งยืน  กระบวนการผลิตอาหารที่ปลอดภัย  การเป็นอยู่อย่างเท่าเทียมกัน และการสร้างความยืดหยุ่นให้กับระบบห่วงโซ่อาหาร

สำหรับประเทศไทย มีการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบอาหารที่ยั่งยืนและส่งเสริมความเท่าเทียม (National Pathway to Sustainable & Equitable Food Systems) ซึ่งสะท้อนแนวคิดที่ว่าระบบอาหาร เป็นปัจจัยหลักที่ส่งเสริมเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในทุกหัวข้อ ซึ่งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 ก็ได้นำแนวคิดการพัฒนาระบบอาหารที่ยั่งยืนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของแผน 


กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (UN GCNT) ได้ร่วมกันหาคำตอบในการสร้าง Food Value Chain ที่ดี ตอบมิติความยั่งยืน ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ประกาศออกมาเป็น 5 เส้นทางสู่ระบบอาหารที่ยั่งยืนและเป็นธรรม (5 Action Tracks) ภายใต้แนวทางขององค์การสหประชาชาติ ได้แก่

เส้นทางที่ 1 อิ่มดีถ้วนหน้า ความสำเร็จของเป้าหมายนี้ คือการลดความไม่เท่าเทียมของการเข้าถึงอาหาร เพื่อหยุดยั้งความหิวและการขาดโภชนาการในทุกด้าน ลดการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases หรือ NCDs) ทำให้คนทุกคนได้รับอาหารอย่างพอเพียงและมีสุขภาพดี ให้คนทุกคนเข้าถึงผลิตภัณฑ์อาหารที่ปลอดภัย สามารถหาได้ในปริมาณที่เพียงพอ

เส้นทางที่ 2 อิ่มดีมีสุข กรอบดำเนินการเพื่อปรับวิถีกินของผู้บริโภคให้อิ่มแบบสุขภาพดี ยืนยาว สู่อาหารที่มีโภชนาการซึ่งใช้ทรัพยาการที่น้อยลงในการผลิตและขนย้าย สร้างอุปทานของผู้บริโภคต่ออาหารที่ผลิตเพื่อความยั่งยืน เสริมสร้างความเข้มแข็งห่วงโซ่คุณค่าในพื้นที่ และส่งเสริมการนำทรัพยาการอาหารกลับมาใช้ใหม่หรือรีไซเคิล

เส้นทางที่ 3 อิ่มดีรักษ์โลก เป้าหมายนี้มีเพื่อส่งเสริมการผลิตอาหารให้เพียงพอ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ มลพิษ การใช้น้ำ ดินเสื่อมโทรมและการเกิดก๊าซเรือนกระจก รวมถึงทำความเข้าใจข้อจำกัดและโอกาสของเกษตรกรรายย่อย พร้อมสนับสนุนธรรมาภิบาลของระบบอาหารซึ่งปรับกระตุ้นการลดความสูญเสียอาหารและผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมด้านลบอื่น ๆ

เส้นทางที่ 4 อิ่มดีทั่วถึง ส่งเสริมความเป็นอยู่และกระจายความเท่าเทียม เพื่อลดความยากจนโดยส่งเสริมการจ้างงานที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมสำหรับทุกคนในห่วงโซ่คุณค่าอาหาร พูดถึงการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรและการแจกจ่ายคุณค่าที่ไม่ยุติธรรม ปรับปรุงความยืดหยุ่นผ่านทางการปกป้องทางสังคม เพื่อให้มั่นใจว่า ระบบอาหารจะไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง

เส้นทางที่ 5 อิ่มดีทุกเมื่อ กรอบดำเนินการนี้ เพื่อให้เกิดการทำงานของระบบอาหารยั่งยืนต่อเนื่อง ในพื้นที่ ที่มีแนวโน้มการเกิดความขัดแย้งและภัยธรรมชาติ ส่งเสริมกิจกรรมทั่วโลกเพื่อปกป้องการผลิตอาหารจากผลกระทบของการระบาดของโรค เพื่อให้แน่ใจว่า ทุกคนภายในระบบอาหารได้รับการเพิ่มพลังในการเตรียมพร้อมเพื่อต้านทานและฟื้นตัวจากความไม่มั่นคง


02

เมื่อเร็วๆ นี้  สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (UNGCNT) ได้ร่วมมือกับ The Capitals Coalition UNEP และมูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ จัดสัมมนา Food System Transformation เปิดเวทีเรียนรู้แนวทางปฏิบัติทางธุรกิจที่ดีที่สุดในการเปลี่ยนแปลงระบบอาหารในประเทศไทยและต่างประเทศ  

รวมทั้งสร้างเส้นทางการเปลี่ยนแปลงระบบอาหารร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตั้งแต่ตัวแทนภาคธุรกิจไปจนถึงตัวแทนภาครัฐ  ตลอดจนเสริมสร้างเครือข่ายระหว่างประเทศและท้องถิ่น  เพื่อเร่งสร้างการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบอาหารยั่งยืน 

ในงานมีการอบรมเชิงปฎิบัติการ (Workshop) 5 เส้นทาง (Action Tracks) เพื่อสร้างระบบอาหารยั่งยืนขององค์กรธุรกิจในประเทศไทย และการนำเสนอกรณีศึกษาขององค์กรธุรกิจ ในประเทศไทยและต่างประเทศ ได้แก่ จีน อินเดีย และสิงคโปร์ ที่ได้ดำเนินงานตามกรอบการประเมินทฤษฎีทุน ของ TEEBAgriFood ซึ่งให้ความสำคัญกับการกำหนดให้ ธรรมชาติและคน เป็นศูนย์กลางของการเปลี่ยนแปลงระบบอาหาร 

โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรพิเศษจาก คุณบุษยดา ยังเฟื่องมนต์, ผู้อำนวยการอาวุโสด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร ที่ได้มาบรรยาย กรณีศึกษา ตัวอย่างของภาคธุรกิจที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการพัฒนาระบบอาหารในประเทศไทย

กรอบการประเมินทฤษฎีทุนของ TEEBAgriFood  ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยในการระบุ วัดผล และประเมินมูลค่าความสัมพันธ์ธรรมชาติและผู้คน โดยมีโครงสร้างในการประเมินมูลค่าความหลากหลายทางชีวภาพและบริการของระบบนิเวศ ที่ช่วยให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจรับรู้ถึงประโยชน์อันมากมายจากระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ โดยแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของสิ่งเหล่านี้ในมิติเศรษฐกิจ

 ทั้งนี้ องค์กรธุรกิจที่สนใจเรียนรู้กรอบการดำเนินงาน TEEBAgriFood เพื่อร่วมสร้างระบบอาหารยั่งยืน สามารถดาวน์โหลดคู่มือการดำเนินงานได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ในวันที่ 14 กันยายนเป็นต้นไป ที่เว็บไซต์ https://capitalscoalition.org/project/teebagrifood-for-business/

ร่วมเปลี่ยนแปลงโลกกับเรา
UN Global Compact
Network Thailand
APPLY FOR MEMBERSHIP
เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ เราใช้คุกกี้เพื่อเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และการใช้งานของเว็บไซต์เพื่อปรับปรุง ปรับแต่งเนื้อหา และโฆษณาตามความต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้ เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์ และ นโยบายสิทธิส่วนบุคคล
Subscribe
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถปรับแต่งการตั้งค่าคุกกี้ในแต่ละประเภทได้ดังต่อไปนี้
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่จำเป็นต่อการให้บริการ
(Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการบนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่จะช่วยให้ท่านสามารถเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยของเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้เพื่อการวัดผลการทำงานและฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์
(Performance and Functionality Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะถูกใช้เพื่อจดจำท่านเมื่อท่านกลับเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้ง ช่วยให้เราปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะกับท่านและจดจำการตั้งค่าของท่าน (เช่น ภาษาหรือภูมิภาคที่ท่านเลือก) แต่ไม่จำเป็นต่อการวัดผลการทำงานของเว็บไซต์
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์หรือเพื่อการปรับแต่ง
(Analytical or Customization Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ใช้งานเข้าสู่เว็บไซต์และออกจากเว็บไซต์ เราใช้ข้อมูลนี้ในลักษณะของข้อมูลโดยรวมเพื่อช่วยให้เราปรับปรุงวิธีการทำงานของเว็บไซต์ หรือเพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราตามความสนใจของท่านได้