UNGCNT หนุนสร้างความรู้ให้สมาชิกมี Integrity checklist ต้านทุจริตเริ่มจากภายในองค์กรสู่ภายนอก

UNGCNT News

UNGCNT หนุนสร้างความรู้ให้สมาชิกมี Integrity checklist ต้านทุจริตเริ่มจากภายในองค์กรสู่ภายนอก

ผอ.สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (UNGCNT) เผยแนวทางต้านทุจริตคอร์รัปชันภาคเอกชน หนุนสร้างความรู้ Integrity checklist ความตระหนักไม่ให้ทำผิดซ้ำ ชี้คอร์รัปชันเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศทุกด้าน และนับวันการทุจริตจะขยายตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะเดียวกันก็ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและการลงทุน

ธันยพร กริชติทายาวุธ ผู้อำนวยการสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (UN Global Compact Network Thailand: UNGCNT) กล่าวถึงปัญหาคอร์รัปชันว่า ในต่างประเทศเคยมีการประเมินตัวเลขการจ่ายสินบนเป็นจำนวนเงินสูงถึง 1.1 ล้านล้านดอลลาร์ สหรัฐ และสูญเสียเงินไปกับการคอร์รัปชันมากถึง 2.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งการทุจริตคอร์รัปชันส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจทั้งในเรื่องของค่าใช้จ่ายของบริษัทที่เพิ่มมากขึ้น ความสูญเสียในเรื่องประสิทธิภาพการแข่งขันและภาพลักษณ์ของบริษัท รวมถึงมีความเสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมาย เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศทุกด้าน และนับวันการทุจริตจะขยายตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะเดียวกันก็ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและการลงทุน

ผอ. UNGCNT กล่าวว่า บทบาทและหน้าที่ของ UNGCNT คือ การส่งเสริมให้ความรู้กับองค์กรสมาชิก การสร้างแรงจูงใจให้สมาชิกมีจุดยืนในนโยบายและการปฏิบัติที่ดี UNGCNT ไม่ได้มีหน้าที่ตรวจสอบการทุจริตของสมาชิก แต่ UNGCNT จะหาระบบหรือกลไกให้คำแนะนำหรือ Integrity checklist เพื่อช่วยสร้างความตระหนักและป้องกันไม่ให้เกิดรูรั่วซ้ำอีก แต่เราทำในภาพรวมไม่ได้เฉพาะเจาะจงบริษัทใดบริษัทหนึ่ง

สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (UNGCNT) ก่อตั้งเมื่อปี 2539 เป็นการทำงานร่วมกันกับภาคธุรกิจของไทย โดยมีจุดยืนร่วมกันในหลักการด้านสิทธิมนุษยชน แรงงาน สิ่งแวดล้อม และการต่อต้านการทุจริต ตามหลักสากล 10 ประการของ UN Global Compact (UNGC) ซึ่งการต่อต้านการทุจริตเป็นประเด็นสำคัญ ที่ UNGCNT ให้ความสำคัญ โดย UNGCNT ดำเนินการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันผ่านโครงการ Anti-Corruption Collective Action (ACCA) ซึ่งเป็นการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อเพิ่มศักยภาพของภาคเอกชนในการนำเครื่องมือไปปรับใช้

เน้นการจัดฝึกอบรมและworkshop สำหรับองค์กรภาคธุรกิจเพื่อแบ่งปันประสบการณ์และพัฒนาการต่อต้านการคอร์รัปชัน การผลิตสื่อ เช่น แนวปฏิบัติที่ดีในการต่อต้านการทุจริต และรายงานสถานการณ์คอร์รัปชัน เป็นต้น รวมถึงการตั้งคณะกรรมการด้านการต่อต้านการทุจรติคอร์รัปชัน เพื่อเพิ่มช่องทางในการหารือเกี่ยวกับแนวปฏิบัติในการป้องกันการทุจริต การจัดทำคู่มือที่เหมาะสมกับประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือการสร้างขีดความสามารถ ซึ่งเป็นคู่มือและหลักสูตรจากทาง UNGC เพื่อให้เกิดความเข้าใจในแนวปฏิบัติการต่อต้านการคอร์รัปชันและลดความเสี่ยงทางธุรกิจที่อาจจะเกิดขึ้น

ธันยพร กล่าวว่า สมาชิกของ UNGCNT จะต้องมีนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน เช่น การงดรับของขวัญ กลไกการแจ้งเบาะแส การประเมินความเสี่ยงด้านการทุจริต การสอบทานห่วงโซ่อุปทาน และการจัดฝึกอบรมและตรวจวัดความเข้าใจของพนักงาน ซึ่งการมีนโยบายอย่างเดียวไม่พอ ต้องมีการประเมินความเสี่ยงด้วย เช่น หากมีความเสี่ยงที่จะเกิดการทุจริตคอร์รัปชัน พนักงานจะกล้าแจ้งเบาะแสหรือไม่ ขณะเดียวกันองค์กรจะกล้าประเมินความเสี่ยงในองค์กรหรือไม่ นอกจากนี้ยังต้องประเมินความเสี่ยงของคู่ค้า ตรวจสอบคู่ค้าด้วย

ธันยพร เห็นว่า คอร์รัปชันเป็นผลพวงมาจากกฎหมายไทยที่เปิดช่องให้เจ้าหน้าที่ใช้ดุลยพินิจมากจนเกินไป ดังนั้นการป้องกันการทุจริตและคอร์รัปชันจำเป็นต้องมีการนำเครื่องมือใหม่ ๆ รวมถึงเทคโนโลยีมาใช้เพื่อลดการใช้ดุลยพินิจของผู้มีอำนาจตัดสินใจ เช่น งานด้านภาษีและที่ดิน หรือการออกใบอนุญาตต่าง ๆ การแปลงงานบริการของรัฐให้เข้าสู่ระบบดิจิทัลมากขึ้น นอกจากจะอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนแล้ว ยังจะสามารถลดความเสี่ยงในการทุจริตคอร์รัปชัน และยังสามารถตรวจสอบเส้นทางการเงินได้ง่ายขึ้น

การจัดซื้อจัดจ้างสามารถที่จะนำระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) และ blockchain เข้ามาใช้มากขึ้น เช่น หน่วยงานหนึ่งจัดการประกวดราคาหรือประมูลงาน 20 โครงการในลักษณะเดียวกัน ถ้าเราสงสัยว่าเงื่อนไขหรือทีโออาร์งานเหล่านี้ ทำไมราคาเท่ากันหรือต่างกันเพียงเล็กน้อย บางรายการราคาก้าวกระโดด การที่เอา AI มาวิเคราะห์อาจจะทำให้ลดอคติจากผู้ใดผู้หนึ่งที่มีอำนาจในการคัดเลือกอยู่คนเดียวได้ นอกจากนี้ AI จะช่วยเตือนหรือช่วยจับทุจริตได้ด้วย

ซึ่งกรมสรรพากรของไทยก็ใช้ระบบ big data analysis และ AI ในการคำนวณภาษี หักจ่ายไม่ครบ สามารถติดตามมาให้ครบได้ และเมื่อสรรพากรทำได้ แต่ทำไมหน่วยงานอื่น ๆ ไม่นำระบบ AI มาใช้ในการจัดซื้อจัดจ้าง เช่น การทำ data Integrity check ซึ่งหากรัฐต้องการจะทำจริง ๆ เชื่อว่าย่อมสามารถทำได้

ร่วมเปลี่ยนแปลงโลกกับเรา
UN Global Compact
Network Thailand
APPLY FOR MEMBERSHIP
เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ เราใช้คุกกี้เพื่อเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และการใช้งานของเว็บไซต์เพื่อปรับปรุง ปรับแต่งเนื้อหา และโฆษณาตามความต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้ เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์ และ นโยบายสิทธิส่วนบุคคล
Subscribe
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถปรับแต่งการตั้งค่าคุกกี้ในแต่ละประเภทได้ดังต่อไปนี้
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่จำเป็นต่อการให้บริการ
(Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการบนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่จะช่วยให้ท่านสามารถเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยของเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้เพื่อการวัดผลการทำงานและฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์
(Performance and Functionality Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะถูกใช้เพื่อจดจำท่านเมื่อท่านกลับเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้ง ช่วยให้เราปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะกับท่านและจดจำการตั้งค่าของท่าน (เช่น ภาษาหรือภูมิภาคที่ท่านเลือก) แต่ไม่จำเป็นต่อการวัดผลการทำงานของเว็บไซต์
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์หรือเพื่อการปรับแต่ง
(Analytical or Customization Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ใช้งานเข้าสู่เว็บไซต์และออกจากเว็บไซต์ เราใช้ข้อมูลนี้ในลักษณะของข้อมูลโดยรวมเพื่อช่วยให้เราปรับปรุงวิธีการทำงานของเว็บไซต์ หรือเพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราตามความสนใจของท่านได้