ในห้วงเวลาที่สังคมยังมีช่องว่างและความแตกต่างทางข้อเท็จจริงและความคิดสูง บางประเด็นที่เกิดขึ้นในสังคมอาจถูกขยายผลจนนำไปสู่วิกฤตการณ์ หากไร้ซึ่งเวทีในการพูดคุยแลกเปลี่ยนทางความคิดสำหรับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
สื่อมวลชนเอง ในขณะที่ทำหน้าที่บอกกล่าวและให้แรงบันดาลใจกับผู้คนในสังคม สามารถมีบทบาทช่วยอํานวยความสะดวกการพูดคุยและสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เกิดขึ้น เป็นเสมือน “สะพานเชื่อม” เพื่อประสานช่องว่างและความแตกต่างทางข้อมูลข้อเท็จจริง พร้อมๆ กับเชื่อมร้อยประเด็นที่กระจัดกระจายเข้าด้วยกันจนเกิดเป็นภาพใหญ่เพื่อความเข้าใจที่ดีขึ้นในสังคม
โดยการสนับสนุนของมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ สำนักงานประเทศไทย (Konrad Adenauer Foundation (KAS), Thailand Office) และความร่วมมือกับองค์กรพันธมิตร, สำนักข่าว Bangkok Tribune ร่วมกับ Decode.plus Thai PBS, ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม, และ SEA-Junction จัดเวทีเสวนาประจำเดือนภายใต้โครงการ “Dialogue Forum” เพื่อเป็นพื้นที่พูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลข้อเท็จจริง รวมทั้งข้อคิดเห็นต่างๆ ของทุกฝ่ายในประเด็นที่กำลังอยู่ในความสนใจของสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเด็นเชิงนโยบายทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ เพื่อช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจในประเด็นดังกล่าวเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจเชิงนโยบายที่ดีขึ้น
นับตั้งแต่ประชาคมโลกก้าวเข้าสู่ทศวรรษแห่งความท้าทายในการแก้ปัญหาโลกร้อนระยะ 10 ปีแรก ตั้งแต่ พ.ศ.2564-2573 (2021-2030) โดยมีการประชุมเจรจาฯ ลดโลกร้อน COP26 และ COP27 ที่เมืองกลาสโกล์ว ประเทศอังกฤษ และประเทศอียิบต์ ในปี 2564 และ 2565 ตามลำดับ โลกกำลังก้าวสู่บททดสอบที่หนักหนาสาหัสเนื่องจากความไม่ลงรอยในแนวทางแก้ปัญหาของประเทศสมาชิกในการเจรจาตกลงเพื่อแก้ไขปัญหาโลกร้อนในเวทีดังกล่าว
เพื่อจะบรรลุเป้าหมายที่จะรักษาระดับอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงเกินกว่า 2 องศาเซลเซียส หรือไม่เกินขีดจำกัดที่ 1.5 องศาฯ ทุกประเทศต้องร่วมมือช่วยกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่น้อยกว่า 43% ของระดับการปล่อยในปี 2019 แต่ข้อมูลจาก World Resources Institute (WRI) กลับพบว่า ความพยายามในการช่วยกันลดก๊าซฯ ผ่านการดำเนินงาน “การมีส่วนร่วม (ลดก๊าซ) ที่ประเทศกำหนด' (NDCs) ตามข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) โลกจะสามารถลดก๊าซฯ ได้เพียง 7% เท่านั้น นอกจากนั้น ทางสถาบัน WRI กลับพบว่า การให้เงินอุดหนุนการใช้พลังงานฟอสซิลกลับพุ่งสูงถึงกว่า US$7 ล้านล้านในปีที่ผ่านมา
แม้จะมีความสำเร็จในการเจรจาในเบื้องต้นใน COP27 ไม่ว่าจะเป็นข้อตกลงในการจัดทำ Global Stocktake การเตรียมจัดตั้งทุนสำหรับ Loss and Damage หรือการเพิ่มเงินสนับสนุนการปรับตัวฯ (Adaptation) ก็ตาม ประเด็นเหล่านี้ยังเป็นความท้าทายในการเจรจาฯ ลดโลกร้อนใน COP28 ที่ประเทศดูไบและอนาคต ซึ่งในที่สุดก็ยังตกลงกันได้เพียง “การเปลี่ยนผ่าน” ให้ไกลจากการใช้พลังงานฟอสซิล และแม้จะบรรลุข้อตกลงการจัดตั้งทุน Loss and Damage ได้ก็ตาม
เวทีเสวนาเชิงนโยบาย Dialogue Forum จึงใคร่ถือโอกาสนี้เรียนเชิญท่านที่สนใจ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนในประเด็นดังกล่าวกับผู้เชี่ยวชาญและผู้ดูแลรับผิดชอบที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันวิเคราะห์นัยยะความท้าทายที่จะเกิดขึ้นและเส้นทางในอนาคตในการแก้ปัญหาและการรับมือโลกร้อนในเวทีเสวนา Dialogue Forum 6 l Year 4: COP28 และเส้นทางสู่อนาคต ในวันที่ 22 ธันวาคม 2566 เวลา 10.00-12.30 น. ณ SAE-Junction ชั้น 4 หอศิลปแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC)
วัตถุประสงค์
ร่วมจัดโดย
Supported by