ปิยะชาติ อิศรภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แบรนดิ แอนด์ คอมพานีส์ จำกัด
นอกจากนี้ แบรนดิ ยังเชื่อว่าการพัฒนาความสามารถหรือเพิ่มพูนศักยภาพให้กับบุคลากร เป็นตัวชี้วัดค่าจ้างเพื่อการดำรงชีวิตที่เหมาะสมด้วยเพราะเมื่อบุคลากรมีประสิทธิภาพองค์กรก็จะสามารถทำกำไรและเสนอค่าจ้างที่เหมาะสมได้แต่ถ้าหากบุคลากรขาดการพัฒนาความสามารถองค์กรก็จะไม่เติบโตและไม่สามารถสนับสนุนคุณภาพชีวิตของบุคลากรผ่านค่าตอบแทนที่เหมาะสมได้เช่นกันจึงมีความท้าทายในประเด็นของความไม่สอดคล้องกันระหว่างความสามารถในการสร้างผลผลิตและคุณค่าให้กับธุรกิจ กับค่าจ้างเพื่อการดำรงชีวิต
แบรนดิเชื่อว่าธุรกิจจะต้องสร้างการเติบโตจากภายในก่อนจึงจะสามารถเสนอค่าตอบแทนบุคลากรที่สมสัดส่วนได้และในมิติของบุคลากรจะต้องสร้างรายรับให้ได้มากกว่ารายจ่าย เพราะถ้าหากมีรายจ่ายมากกว่ารายรับ จากเดิมที่ค่าจ้างเหมาะสมกับมาตรฐานการดำรงชีวิต ก็อาจกลายเป็นขัดสน และไม่ยั่งยืน ค่าจ้างเพื่อการดำรงชีวิต ผลผลิต และความสามารถ จึงถือเป็นสมการที่แยกจากกันไม่ได้
สถาบันแห่งการเรียนรู้ คู่ขนานการทำงาน
แบรนดิไม่เพียงมุ่งเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นต่ออนาคตให้กับองค์กรเท่านั้นแต่ยังให้ความสำคัญกับการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาบุคลากรอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างองค์กรแนวราบ (Flat Organization) หรือทำงานแบบมุ่งเน้นผลลัพธ์เป็นหลัก(Result-oriented) ซึ่งทำให้เกิดการเติบโตของบุคลากรเกิดขึ้นอย่างก้าวกระโดด และไม่ถูกจำกัดโดย อายุ เพศ หรือการศึกษา เรียกได้ว่า แบรนดิสร้าง “สถาบันแห่งการเรียนรู้คู่ขนาน” ที่ทำให้องค์กรเป็นทั้งสถาบันการศึกษา และสถานที่ทำงานไปในขณะเดียวกัน สร้างสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยให้ธุรกิจและบุคลากรสามารถเติบโตไปพร้อม ๆ กันได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ แผนงานในการสนับสนุนให้บุคลากรทุกคนในองค์กรได้รับค่าจ้างที่เหมาะสมกับมาตรฐานการครองชีพที่ดี จึงไม่ใช่การบริหารค่าใช้จ่ายองค์กร แต่คือแผนงานที่ช่วยให้บุคลากรได้พัฒนาความรู้ ความสามารถในการเรียนรู้ ด้วยเหตุนี้ แบรนดิจึงกลายเป็นหนึ่งในองค์กรต้นแบบของโลก ด้านการจ้างงานและพัฒนาทุนมนุษย์สำหรับอนาคต (Future-ready Human Capital)
ส่งต่อแนวปฏิบัติสู่ลูกค้า
นอกจากการพัฒนาบุคลากรในองค์กรแล้วแบรนดิยังส่งต่อแนวทางการปฏิบัติให้แก่ลูกค้าธุรกิจในหลากหลายอุตสาหกรรม ยกตัวอย่างเช่น
เมื่อธุรกิจเติบโตโดยให้ความสำคัญกับบุคลากรเป็นแรงขับเคลื่อนหลัก (Key Enabler) ซึ่งสะท้อนผ่านค่าจ้างที่เหมาะสมกับมาตรฐานคุณภาพชีวิตที่ดี ธุรกิจจะสามารถส่งมอบคุณค่าและส่งผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมในวงกว้างไม่ว่าจะเป็นการกระจายความมั่งคั่ง (Wealth Distribution) เพื่อเพิ่มศักยภาพให้ระบบเศรษฐกิจชุมชน และท้องถิ่น ไปพร้อมกับการสร้างรายได้ (Wealth Creation) ให้กับธุรกิจ หรือการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ช่วยแก้ไขปัญหาสภาพอากาศ
ประเด็นค่าจ้างเพื่อการดำรงชีวิตที่เหมาะสม (Living Wage) และความความสามารถในการสร้างผลผลิตของธุรกิจนั้นเกี่ยวข้องกันอย่างมีนัยยะสำคัญ ปัจจัยหลักที่ธุรกิจควรคำนึงถึงจึงกลับมาที่คุณภาพของบุคลากรภายในธุรกิจ ซึ่งเป็นผู้กำหนดการเติบโตขององค์กรอย่างแท้จริง เพราะฉะนั้น องค์กรควรมุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรเพื่อไปเป็น “ทุนมนุษย์” (Human Capital) ที่มีความสามารถในการเสริมสร้างศักยภาพและประสิทธิภาพของธุรกิจ และเมื่อธุรกิจสามารถดำเนินงานได้อย่างยั่งยืน กล่าวคือสร้างรายได้ไปพร้อม ๆ กับสร้างประโยชน์แก่ผู้คน และสิ่งแวดล้อม ธุรกิจก็จะสามารถยกระดับค่าจ้างที่เหมาะสมกับบริบทเศรษฐกิจและมาตรฐานการครองชีพให้กับบุคลากรได้เช่นกัน