การจัดหาและส่งเสริมค่าจ้างเพื่อการดำรงชีวิตที่เหมาะสม (Living Wage) ประเด็นเร่งด่วน เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมาย SDGs

Article
  • ระดับค่าจ้างเพื่อการดำรงชีวิตที่เหมาะสม เป็นรายได้ที่เพียงพอต่อความจำเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตของตนเองและครอบครัวครอบคลุมค่าอาหารที่มีปริมาณพอเพียง ค่าที่อยู่อาศัยค่าสาธารณูปโภค ค่าใช้จ่ายในการศึกษา ค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ ค่าเดินทาง ค่าเสื้อผ้า และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่จำเป็น
  • การให้ความสำคัญกับระดับค่าจ้างที่เหมาะสมกับทักษะของแรงงานภายในองค์กร และขยายขอบเขตไปถึงแรงงานในห่วงโซ่อุปทาน
นับตั้งแต่ปี 2000 ธุรกิจต่างๆ มีความก้าวหน้าอย่างมาก ในการลดจำนวนคนทำงานที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน (Working Poverty) อย่างไรก็ตามความเหลื่อมล้ำยังคงรุนแรง ทั้งในด้านรายได้ ความเป็นอยู่และโอกาส จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องจำลองโมเดลธุรกิจที่ประสบความสำเร็จและความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อขจัดความยากจนให้หมดสิ้น

ตามสถิติขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ทุกวันนี้คนทำงานมากกว่าหนึ่งพันล้านคน หรือคิดเป็น 1 ใน 3 ของคนทำงานทั้งหมดทั่วโลก ได้รับการประเมินว่ามีรายได้น้อยกว่ามาตรฐานการครองชีพที่ดีกฎหมายเกี่ยวกับค่าจ้างขั้นต่ำ (Minimum Wage) มักไม่สอดคล้องกับระดับค่าจ้างที่จำเป็น เพื่อให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี เนื่องจากกฎหมายเหล่านั้นมักไม่ได้มีการบังคับใช้อย่างสม่ำเสมอ รวมถึงไม่ได้รับการปรับเปลี่ยนให้เท่าทันกับอัตราเงินเฟ้อ หรือไม่ได้มีผลบังคับใช้กับคนทุกกลุ่ม เช่น เกษตรกรรายย่อยและผู้ประกอบการอิสระ

ค่าจ้างเพื่อการดำรงชีวิตที่เหมาะสม (Living Wage) จึงเป็นแนวคิดที่มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่แรงงานที่ได้รับค่าจ้างในระดับต่ำสุด ให้ได้รับค่าจ้างที่เหมาะสมกับมาตรฐานการครองชีพที่ดี โดยการจ่ายค่าจ้างที่เป็นธรรมให้พนักงานทุกคน ไม่เพียงลดความเหลื่อมล้ำ แต่ยังเป็นการสร้างห่วงโซ่อุปทานที่ยืดหยุ่นพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงด้วย



บริษัทต่างๆ จึงต้องก้าวไปไกลกว่าข้อกำหนดทางกฎหมายเพื่อปรับปรุงค่าจ้างและเพิ่มคุณภาพชีวิตของพนักงาน  

  • ตั้งแต่ปี 2015 การเติบโตของอินเตอร์เน็ตเพิ่มช่องทางสร้างรายได้ทั่วโลก มีผู้คนเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต 300 ล้านคนต่อปี รวมถึงคนในพื้นที่ห่างไกล ทำให้ประชากรส่วนใหญ่เข้าถึงโอกาสสร้างรายได้ใหม่ๆ
  • จนถึงตอนนี้ มีเพียง 4 เปอร์เซ็นต์ของบริษัททั่วโลก และ 10 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทเกษตรกรรม เหมืองแร่ หรือบริษัทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ขนาดใหญ่ ที่แสดงความมุ่งมั่นตั้งใจจะจ่ายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีวิตที่เหมาะสมแก่คนทำงาน
  • มากกว่า 28 ล้านคนตกเป็นเหยื่อแรงงานบังคับ และเด็กกว่า 168 ล้านคนทั่วโลกถูกใช้แรงงานอย่างผิดกฎหมาย

 บทบาทของภาคธุรกิจ

ภาคเอกชนสร้างงาน 90 เปอร์เซ็นต์ในประเทศกำลังพัฒนา แต่ธุรกิจต้องดำเนินการต่อไปเพื่อให้แน่ใจว่าคนงานและครอบครัวได้รับค่าจ้างเพื่อการดำรงชีวิตที่เหมาะสม การละเมิดสิทธิของคนงานยังคงเกิดขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะในเศรษฐกิจนอกระบบ การทำสัญญาอิสระ และในห่วงโซ่อุปทานทางการเกษตร ซึ่งคนงานต้องเผชิญกับชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน วันหยุดน้อย และไม่มีการลาป่วย โดยได้รับค่าจ้าง

ในฐานะแหล่งการจ้างงานที่ใหญ่ที่สุด ภาคเอกชนมีบทบาทสำคัญในการสร้างงานที่เหมาะสมให้กับผู้คนในทุกประเทศ รวมถึงการปรับปรุงสภาพการทำงานของคนงานทั่วโลก โดยเฉพาะประชากรที่มีความเปราะบางมากที่สุด การดูแลให้คนงานทุกคนได้รับค่าจ้างที่สามารถสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน รวมถึงสนับสนุนครอบครัวได้ เป็นพื้นฐานของแนวทางความยั่งยืนที่ยึดผู้คนเป็นศูนย์กลางและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

แม้ว่าการจ่ายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีวิตที่เหมาะสม มักถูกมองว่าเป็นต้นทุน แต่ก็ให้ประโยชน์มากมายแก่ธุรกิจ เช่น สร้างแรงจูงใจให้พนักงานทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อัตราการลาออกและขาดงานจะลดลง ทั้งยังเพิ่มแรงดึงดูดผู้มีความสามารถหน้าใหม่ ที่จะมาช่วยสร้างการเติบโตให้ธุรกิจ

ในภาพใหญ่ นี่คือการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนคุ้มค่า เพราะนับเป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพของห่วงโซ่อุปทาน แก้ปัญหาความยากจน และลดความเหลื่อมล้ำ รวมถึงแสดงให้เห็นว่าองค์กรมุ่งมั่นต่อการเคารพและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน



นอกจากเป้าหมายภายในองค์กร บริษัทสามารถจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกับผู้รับเหมา พันธมิตรในห่วงโซ่อุปทาน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักอื่นๆ เพื่อผลักดันค่าจ้างหรือรายได้เพื่อการดำรงชีวิตที่เหมาะสมในระดับประเทศ การเพิ่มค่าจ้างที่ยั่งยืนควรได้รับการส่งเสริมด้วยการผสมผสานนโยบายเศรษฐกิจระดับจุลภาคและมหภาคที่ส่งผลให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ  ไปพร้อมกับการกระจายผลของการเติบโตนี้อย่างยุติธรรม

  • Álvarez-Díaz & Villalón (AD&V) บริษัทออกแบบในประเทศเปอร์โตริโก มุ่งมั่นจะจ่ายค่าจ้างเพื่อการดำรงชีวิตที่เหมาะสมให้พนักงาน 100 เปอร์เซ็นต์ จึงติดต่อมหาวิทยาลัย MIT ให้รวมเปอร์โตริโกไว้ใน MIT Living Wage Calculator เครื่องมือคำนวณที่จะเปรียบเทียบค่าครองชีพกับค่าจ้าง ความยากจนและค่าแรงขั้นต่ำของพื้นที่นั้นๆ เพื่อกำหนดจำนวนเงินที่จำเป็นในการใช้ชีวิต โดยในปี 2022 บริษัทได้ขึ้นเงินเดือน 55 เปอร์เซ็นต์ให้พนักงานทั้งบริษัท ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานจากการคำนวณดังกล่าว

ปี 2003 Amy Glasmeier ศาสตราจารย์ด้านภูมิศาสตร์เศรษฐกิจแห่งสถาบัน MIT ได้ริเริ่มโครงการ MIT Living Wage Calculator  โดยปัจจัยที่นำมาคำนวณ ประกอบด้วย ค่าอาหารค่าดูแลเด็ก ค่ารักษาพยาบาล ค่าที่อยู่อาศัย ค่าขนส่ง ความต้องการขั้นพื้นฐานอื่นๆ เช่น เสื้อผ้า ผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคล อินเตอร์เน็ต อัตราภาษีในแต่ละรัฐ จำนวนสมาชิกเด็กและผู้ใหญ่วัยทำงานในครัวเรือน

ขั้นตอนการคำนวณ แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน 

  1. รวบรวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดของครัวเรือนในแต่ละปี (อ้างอิง https://livingwage.mit.edu/pages/methodology)
  2. บวกด้วยค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมของรายได้และภาษีเงินได้ หักจากเช็คเงินเดือน (Payroll Taxes)
  3. หารด้วยจำนวนผู้ใหญ่วัยทำงานในครัวเรือน (ทำงานประจำ 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์)
  4. คำนวณเป็นค่าจ้างเพื่อการดำรงชีวิตที่เหมาะสม (รายได้ต่อชั่วโมง)
  • McCormick ผู้นำระดับโลกด้านเครื่องปรุงรสชาติ ในประเทศสหรัฐอเมริกา กำลังเพิ่มทักษะ รายได้การเข้าถึงบริการทางการเงิน การศึกษา โภชนาการ และสุขภาพแก่เกษตรกรรายย่อยในห่วงโซ่คุณค่าของพวกเขา โดยองค์กรได้สร้างผลกระทบเชิงบวกแก่เกษตรกรไปแล้วกว่า 31,000 ราย

Action Guide แนวปฏิบัติเพื่อเร่งให้เกิดผลลัพธ์ที่เร็วขึ้น

    เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ 1 ค่าจ้างเพื่อการดำรงชีวิตที่เหมาะสมสำหรับพนักงานทุกคน (all employees)

  • จัดทำนโยบายหรือแสดงความมุ่งมั่นในการจ่ายเงินค่าจ้างที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตที่ดีให้กับพนักงานทุกคนตามที่ฝ่ายบริหารกำหนด
  • ระบุช่องว่าง (Gap) ระหว่างค่าจ้างที่ได้รับในปัจจุบัน กับ ค่าจ้างที่เหมาะสมกับมาตรฐานการครองชีพที่ดี

   เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ 2 ค่าจ้างเพื่อการดำรงชีวิตที่เหมาะสมสำหรับห่วงโซ่อุปทาน (supply chain)

  • จัดทำนโยบายที่แสดงความมุ่งมั่นจากฝ่ายบริหารในการรับรองและสนับสนุนให้พนักงานในองค์กร ผู้รับเหมาที่เกี่ยวข้อง และพันธมิตรในห่วงโซ่อุปทาน ได้รับค่าจ้างที่เหมาะสมกับมาตรฐานการครองชีพที่ดี ครอบคลุมถึงการจัดซื้ออย่างรับผิดชอบที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดสภาพการทำงานที่ดี
  • รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับค่าจ้างสำหรับผู้รับเหมาและพันธมิตรในห่วงโซ่อุปทาน
  • ระบุช่องว่าง (Gap) ระหว่างค่าจ้างที่ผู้รับเหมาและพันธมิตรในห่วงโซ่อุปทานได้รับในปัจจุบัน กับค่าจ้างที่เหมาะสมกับมาตรฐานการครองชีพที่ดี และจำนวนแรงงานที่ได้รับประโยชน์จากแนวคิดนี้

ตัวอย่างข้อมูลที่ควรเปิดเผย

ข้อมูลเพื่อแสดงผลการดำเนินงานตามเป้าหมายที่ 1 ค่าจ้างเพื่อการดำรงชีวิตที่เหมาะสม สำหรับพนักงานทุกคน (all employees)

  • จำนวนพนักงานที่ได้รับค่าจ้างเพื่อการดำรงชีวิตที่เหมาะสม โดยองค์กรสามารถเปิดเผยข้อมูลตัวเลข
  • ร้อยละของพนักงานที่ได้รับค่าจ้างที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิต หรือในกรณีที่ยังไม่มีข้อมูล แต่กำลังดำเนินการเก็บข้อมูล องค์กรสามารถสื่อสารได้ว่า กำลังอยู่ในขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล
  • ข้อมูลพนักงานที่ได้ค่าจ้างต่ำกว่ามาตรฐานการครองชีพที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นแรงงานที่ทำงานในประเทศใดหรือภูมิภาคใด โดยรายงานผลเป็นค่าประมาณการร้อยละของจำนวนพนักงานกลุ่มดังกล่าวโดยพนักงานกลุ่มที่ได้เงินต่ำกว่ามาตรฐานการครองชีพ ควรน้อยกว่า ร้อยละ 50
  • ระบุวิธีการที่องค์กรเลือกใช้ในการพิจารณาเพื่อกำหนดค่าจ้างและวิธีการที่ใช้ประมาณการค่าใช้จ่ายเพื่อการดำรงชีพที่เหมาะสม รวมทั้งเปิดเผยข้อมูลแหล่งอ้างอิงที่นำมาใช้อย่างเป็นทางการ
  • การดำเนินงานอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยเป็นเวลา 12 เดือน

ข้อมูลเพื่อแสดงผลการดำเนินงานตามเป้าหมายที่ 2 ค่าจ้างเพื่อการดำรงชีวิตที่เหมาะสม สำหรับห่วงโซ่อุปทาน (supply chain)

  • แผนดำเนินงานความร่วมมือร่วมกับผู้รับเหมา เพื่อผลักดันให้ได้รับค่าจ้างที่เหมาะสมกับมาตรฐานการครองชีพที่ดี หรือรายได้เพื่อการเลี้ยงชีพ ที่สามารถวัดผลได้และมีกำหนดช่วงเวลาที่แน่นอน

          o ถ้าครอบคลุมผู้รับเหมา ‘น้อยกว่า 100%’  ควรระบุเกณฑ์การคัดเลือกผู้รับเหมากลุ่มดังกล่าวอาทิ เป็นกลุ่มที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง หรือแบ่งตามกลุ่มผลิตภัณฑ์หรือกลุ่มอุตสาหกรรม

  • แผนความร่วมมือร่วมกับพันธมิตรในห่วงโซ่อุปทาน เพื่อผลักดันให้ได้รับค่าจ้างที่เหมาะสมกับมาตรฐานการครองชีพที่ดี หรือรายได้เพื่อการเลี้ยงชีพ ที่สามารถวัดผลได้และมีกำหนดช่วงเวลาที่แน่นอน

          o ถ้าครอบคลุมพันธมิตรในห่วงโซ่อุปทาน ‘น้อยกว่า 100%’ ควรระบุเกณฑ์การคัดเลือกพันธมิตรในห่วงโซ่อุปทานกลุ่มดังกล่าว อาทิ เป็นคู่ค้าใน tier1 หรือ ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง หรือแบ่งตามกลุ่มผลิตภัณฑ์หรือกลุ่มอุตสาหกรรม 

  • อธิบายวัตถุประสงค์ที่สามารถวัดผลได้และความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุเป้าหมายนี้ อย่างน้อย 12 เดือน
ร่วมเปลี่ยนแปลงโลกกับเรา
UN Global Compact
Network Thailand
APPLY FOR MEMBERSHIP
เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ เราใช้คุกกี้เพื่อเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และการใช้งานของเว็บไซต์เพื่อปรับปรุง ปรับแต่งเนื้อหา และโฆษณาตามความต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้ เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์ และ นโยบายสิทธิส่วนบุคคล
Subscribe
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถปรับแต่งการตั้งค่าคุกกี้ในแต่ละประเภทได้ดังต่อไปนี้
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่จำเป็นต่อการให้บริการ
(Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการบนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่จะช่วยให้ท่านสามารถเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยของเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้เพื่อการวัดผลการทำงานและฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์
(Performance and Functionality Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะถูกใช้เพื่อจดจำท่านเมื่อท่านกลับเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้ง ช่วยให้เราปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะกับท่านและจดจำการตั้งค่าของท่าน (เช่น ภาษาหรือภูมิภาคที่ท่านเลือก) แต่ไม่จำเป็นต่อการวัดผลการทำงานของเว็บไซต์
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์หรือเพื่อการปรับแต่ง
(Analytical or Customization Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ใช้งานเข้าสู่เว็บไซต์และออกจากเว็บไซต์ เราใช้ข้อมูลนี้ในลักษณะของข้อมูลโดยรวมเพื่อช่วยให้เราปรับปรุงวิธีการทำงานของเว็บไซต์ หรือเพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราตามความสนใจของท่านได้