Circular Transition Indicators ตัวชี้วัดการหมุนเวียนวัสดุ เพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน

Article

วันนี้โลกเรานำทรัพยากรมาหมุนเวียนเพียง 7.2% เท่านั้น โมเดลเศรษฐกิจแบบเส้นตรง Take – Make – Waste ยังคงเติบโตต่อเนื่อง ภายในปี 2030 เราจะผลาญทรัพยากรธรรมชาติที่เทียบเท่ากับโลกสองใบ ธุรกิจต้องเลือกก้าวขึ้นมาแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง หรือยอมทำตามกิจกรรมภาคบังคับ เช่น ชุดมาตรฐาน ISO 59000 ที่เพิ่งออกมาในปี 2024 ซึ่งนำหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ดำเนินการและวัดผล ช่วยให้บริษัทต่างๆ มีส่วนร่วมมากขึ้นในการทำตามเป้า SDGs 2030 ขององค์การสหประชาชาติ



UN Global Compact จึงได้คัดเลือกเครื่องมือที่จะช่วยเปลี่ยนผ่านองค์กรสมาชิกให้เข้าสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนได้อย่างเป็นระบบ กรอบการทำงาน Circular Transition Indicators (CTI) พัฒนาโดย World Business Council for Sustainable Development (WBCSD) เป็นแนวทางให้ธุรกิจวัดประสิทธิภาพของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนภายใน โดยเจาะลึกไปถึงการไหลของวัสดุ (Material Flow) ทำให้บริษัทระบุความสามารถในการลดใช้ทรัพยากรและวัสดุเหลือทิ้งได้ การประเมินนี้ครอบคลุมสามจุดสำคัญ ได้แก่

INFLOW
การไหลเข้าของวัสดุ:
 บริษัทหมุนเวียนทรัพยากร วัสดุ ผลิตภัณฑ์ และชิ้นส่วนอย่างไร?

OUTFLOW – RECOVERY POTENTIAL
การไหลออกของวัสดุตามศักยภาพในการกู้คืน :
 บริษัทออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อให้สามารถกู้คืนส่วนประกอบและวัสดุอย่างไร? เช่น การออกแบบเพื่อการถอดประกอบ การซ่อมแซม การรีไซเคิล หรือการใช้วัสดุย่อยสลายได้

OUTFLOW – ACTUAL RECOVERY
การไหลออกของวัสดุตามการกู้คืนจริง :
 บริษัทกู้คืนของเสีย ผลพลอยได้จากการผลิต และวัสดุเหลือทิ้งได้มากน้อยเพียงใด? บริษัทสามารถปรับปรุงอัตราการกู้คืนผ่านโมเดลธุรกิจ  close loop / open loop ภาคบังคับหรือสมัครใจ ได้หรือไม่?



บริษัททุกขนาด ทุกภาคส่วน หรือทุกตำแหน่งในห่วงโซ่คุณค่า สามารถใช้กรอบการทำงานนี้ได้ ด้วยการเลือกตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง การประเมินนี้ประกอบไปด้วย 4 โมดูล เริ่มต้นด้วยการทำโมเดลธุรกิจปิดวงจรวัสดุ (Close the Loop) คือการตั้งเป้าดึงเอาวัสดุที่ใช้แล้วกลับสู่กระบวนทั้งหมด ไม่ให้หลุดรอดออกไปสู่สิ่งแวดล้อม จากนั้น บริษัทสามารถคำนวณตัวชี้วัดจากการเพิ่มประสิทธิภาพวงจร (Optimize the Loop) และประเมินคุณค่าทั้งวงจร (Value the Loop) ในขณะที่การวัดผลกระทบ (Impact of the Loop) จะช่วยสร้างกลยุทธ์หมุนเวียนเพื่อความยั่งยืนของบริษัท



1.CLOSE THE LOOP

โมดูลนี้คำนวณประสิทธิภาพของบริษัทในการปิดวงจรวัสดุ สามารถประเมินได้ในระดับบริษัท หน่วยธุรกิจ โรงงาน หรือกลุ่มผลิตภัณฑ์

- Material Circularity

ดูประสิทธิภาพของบริษัทในการเป็น Closed-loop business จากค่าอัตราส่วนของวัสดุหมุนเวียน ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่าง % การไหลเข้าของวัสดุหมุนเวียน และ % การไหลออกของวัสดุหมุนเวียน โดยติดตามทั้งวัสดุทางธรรมชาติและวัสดุทางเทคนิค หากมีโมเดลทางธุรกิจแบบ open loop อาจทำให้ % Actual Recovery Outflow ต่ำมาก

- Water Circularity

ในขณะที่วัสดุสามารถหมุนเวียนในระบบระดับโลก การประเมินการหมุนเวียนน้ำจืดต้องทำในระดับท้องถิ่น โดยสำรวจจากพื้นที่รับน้ำหรือลุ่มน้ำ การหมุนเวียนของน้ำมีเป้าหมายเพื่อลดความต้องการน้ำจืดและเตรียมความพร้อมของทรัพยากรน้ำสำหรับผู้ใช้งานและสิ่งแวดล้อม การหมุนเวียนของน้ำจึงกำหนดผ่าน % การไหลเข้าของน้ำที่หมุนเวียน และ % การไหลออกของน้ำที่หมุนเวียน

- Renewable Energy

เนื่องจากบริษัทส่วนใหญ่มีมาตรวัดที่ใช้วัดพลังงานหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจอยู่แล้ว CTI จึงพิจารณาพลังงานแยกต่างหาก โดยสามารถใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้วในการคำนวณ % พลังงานหมุนเวียน

2.OPTIMIZE THE LOOP

ขั้นตอนนี้ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความสำคัญของวัสดุ ประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร และกลยุทธ์การกู้คืนที่ช่วยให้มูลค่าสูงขึ้น

- Critical Materials

ชี้วัดจาก % การไหลเข้าของ Critical materials สามารถอ้างรายการวัสดุตามข้อกำหนดภายในหรือรายการสาธารณะที่มีอยู่แล้วเช่น จากคณะกรรมาธิการยุโรปหรือสำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยาของสหรัฐอเมริกา ช่วยให้บริษัทประเมินระดับความเสี่ยงและจัดลำดับความสำคัญตามความเหมาะสม

- Recovery Type

ชี้วัดจาก % ของประเภทวัสดุที่กู้คืน เน้น Actual Recovery Outflow ที่หมุนเวียนกลับเข้าสู่ห่วงโซ่คุณค่าได้ ผลลัพธ์จะแสดงรายละเอียดของการกู้คืนที่นำกลับมาใช้ใหม่ ซ่อมแซม ปรับปรุงใหม่ ผลิตซ้ำ รีไซเคิล หรือย่อยสลายได้

กลยุทธ์การยืดอายุการใช้งาน เช่น การนำกลับมาใช้ใหม่ การปรับปรุงใหม่ หรือการผลิตซ้ำ ถือเป็นกลยุทธ์การกู้คืนมูลค่าที่สูงขึ้น ช่วยให้บริษัทสามารถรักษามูลค่าทางเศรษฐกิจที่ฝังอยู่ในผลิตภัณฑ์และวัสดุ ชะลอการไหลของทรัพยากร ลดของเสีย และลดผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม แม้ว่าการรีไซเคิลจะเป็นกลยุทธ์แบบวงจรภายใต้ประเภทการกู้คืน แต่ไม่ได้ทำให้อายุการใช้งานยาวขึ้น กลยุทธ์การยืดอายุการใช้งานควรพิจารณาทางเลือกอื่นนอกเหนือจากการรีไซเคิลหากเป็นไปได้



- Actual Lifetime

อายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ หมายถึงระยะเวลาตั้งแต่ผลิตภัณฑ์ถูกปล่อยออกมาใช้งาน จนถึงเวลาที่ผลิตภัณฑ์หมดสภาพ ในขณะที่ Technical Lifetime เป็นระยะเวลาหรือจำนวนรอบการใช้งานของผลิตภัณฑ์ ที่ได้ทำงานตามที่กำหนดหรือผู้ผลิตมีการจำกัดอายุการใช้งาน ส่วน Functional Lifetime คือเวลาที่ผลิตภัณฑ์ถูกใช้งานจนกระทั่งไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อีกต่อไป

การอำนวยความสะดวกในการซ่อมแซม อัพเกรด และนำกลับมาใช้ใหม่ จะทำให้อายุการใช้งานยาวนานขึ้น ธุรกิจควรเข้าใจอายุการใช้งานเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์ แทนที่จะเป็นการกำหนดอายุตามดีไซน์หรือระยะเวลาการรับประกัน ตัวชี้วัดอายุการใช้งานจริงจะทำให้ได้คะแนนสูงขึ้นสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานได้นานกว่าค่าเฉลี่ยในอุตสาหกรรม

3. VALUE THE LOOP

โมดูลนี้แสดงให้เห็นถึงมูลค่าทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้นจากการหมุนเวียนของวัสดุ

- Circular Material Productivity

ตัวชี้วัดนี้แสดงถึงประสิทธิภาพของบริษัทในการแยกความสามารถในการทำเงิน ออกจากการใช้ทรัพยากรใน Linear Economy  บริษัทสามารถคำนวณประสิทธิภาพของวัสดุหมุนเวียนได้โดยดูความสัมพันธ์ของรายได้ (Revenue) กับ Total Mass of Linear Inflow การวิเคราะห์ข้อมูลในอดีตจะช่วยให้เข้าใจวิวัฒนาการของประสิทธิภาพวัสดุมากขึ้น 
- CTI Revenue
รายได้ CTI คือรายได้ที่ปรับตาม % ความหมุนเวียนของวัสดุในพอร์ตโฟลิโอผลิตภัณฑ์ของบริษัท การเข้าใจคุณค่าที่สร้างขึ้นจากการลงทุนในเศรษฐกิจหมุนเวียนช่วยให้นักลงทุนสามารถรับรู้และให้รางวัลแก่บริษัทที่ก้าวหน้าในด้านนี้ อีกทั้งเป็นโอกาสเข้าถึงสถาบันการเงิน อย่างไรก็ตาม การขาดความสม่ำเสมอในการวัดประสิทธิภาพหมุนเวียนจะอุปสรรคต่อการขยายการลงทุน

4. IMPACT THE LOOP

ช่วยให้บริษัทเข้าใจผลกระทบของกลยุทธ์หมุนเวียนต่อเป้าหมายความยั่งยืน โดยวัดความแตกต่างระหว่างประสิทธิภาพการหมุนเวียนวัสดุก่อนและหลังการเพิ่มประสิทธิภาพ

 - GHG Impact

กลยุทธ์หมุนเวียนย่อมช่วยให้ประหยัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น บริษัทควรมุ่งเน้นที่วิธีการกู้คืนมูลค่าสูง ซึ่งมีความแตกต่างของคาร์บอนฟุตปรินท์อย่างเห็นได้ชัด เช่น การนำกลับมาใช้ใหม่ การปรับปรุงใหม่ การผลิตใหม่ และการรีไซเคิล เมื่อเทียบกับวิธีการกำจัดแบบดั้งเดิม เช่น การเผา การฝังกลบ

- Nature Impact

ความหลากหลายทางชีวภาพลดลงอย่างไม่เคยมีมาก่อน โดยคาดว่าการสูญพันธุ์ในปัจจุบันเกิดขึ้นเร็วกว่าอัตราการสูญพันธุ์ตามธรรมชาตินับพันเท่า การสูญเสียธรรมชาติ (Nature loss) กว่า 90% เกิดจากการสกัดและการแปรรูปทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนแบบฟื้นฟูธรรมชาติ (Regenerative production practices) สามารถช่วยได้

นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน (Land-use change) มีผลกระทบมากที่สุดต่อการสูญเสียทางธรรมชาติ ตัวชี้วัดที่เน้นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน ด้วยการตรวจสอบผลกระทบการใช้ที่ดินจากการสกัดวัสดุและเพาะปลูกเพื่อเป็นวัตถุดิบ จะช่วยให้บริษัทเข้าใจว่าประสิทธิภาพการหมุนเวียนส่งผลกระทบต่อธรรมชาติอย่างไร


ทั้งนี้ ตัวชี้วัดแต่ละด้านเป็นเพียงตัวเลือกให้ภาคธุรกิจได้ลองนำไปเป็นสารตั้งต้นในการสำรวจประสิทธิภาพการหมุนเวียน การเก็บรวบรวมข้อมูลที่ถูกต้องเป็นเรื่องที่ท้าทายแต่จำเป็น และการลงทุนในระบบการจัดการข้อมูล พัฒนาวิธีการวัดผลที่เป็นมาตรฐาน จะช่วยให้ติดกระดุมเม็ดแรกได้ถูกจุด UN Global Compact กำลังมีส่วนร่วมเชิงรุกกับผู้กำหนดนโยบายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในตลาด สนับสนุนนโยบายที่เป็นมิตรและการสร้างแรงจูงใจในตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์หมุนเวียน

หากคุณสนใจเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ CTI และเครื่องมือออนไลน์ในการคำนวณการหมุนเวียนวัสดุของบริษัท สามารถติดตามแหล่งข้อมูลฟรีที่ช่วยอำนวยความสะดวกในกระบวนการเรียนรู้

  1. ศึกษาคู่มือ Circular Transition Indicators V4.0 Metrics for business และกำหนดขอบเขตการทำงานที่ชัดเจนตามคำแนะนำหน้า 33
  2. เข้าร่วม CTI Academy ที่wbcsd.org/ctice เพื่อชมสัมมนาออนไลน์
  3. ลงทะเบียนรับใบอนุญาต Essential CTI Online Tool ฟรีที่ctitool.com เพื่อช่วยเริ่มการประเมิน
  4. เริ่มการประเมินทดลองขนาดเล็กและง่าย ที่อาจมีข้อมูลอยู่แล้ว

นอกจากนี้ UNGCNT ยังเปิดอบรมหลักสูตรการพัฒนาโมเดลธุรกิจหมุนเวียน Creating Business Through Circular Design ให้เจ้าของธุรกิจ หรือผู้ขับเคลื่อนแผนงานด้านธุรกิจและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในองค์กร มีเครื่องมือในการปรับธุรกิจ เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน สร้างคุณค่าด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนให้กับผลิตภัณฑ์  ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ CIRCO Hub Thailand  

ร่วมเปลี่ยนแปลงโลกกับเรา
UN Global Compact
Network Thailand
APPLY FOR MEMBERSHIP
เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ เราใช้คุกกี้เพื่อเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และการใช้งานของเว็บไซต์เพื่อปรับปรุง ปรับแต่งเนื้อหา และโฆษณาตามความต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้ เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์ และ นโยบายสิทธิส่วนบุคคล
Subscribe
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถปรับแต่งการตั้งค่าคุกกี้ในแต่ละประเภทได้ดังต่อไปนี้
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่จำเป็นต่อการให้บริการ
(Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการบนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่จะช่วยให้ท่านสามารถเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยของเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้เพื่อการวัดผลการทำงานและฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์
(Performance and Functionality Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะถูกใช้เพื่อจดจำท่านเมื่อท่านกลับเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้ง ช่วยให้เราปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะกับท่านและจดจำการตั้งค่าของท่าน (เช่น ภาษาหรือภูมิภาคที่ท่านเลือก) แต่ไม่จำเป็นต่อการวัดผลการทำงานของเว็บไซต์
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์หรือเพื่อการปรับแต่ง
(Analytical or Customization Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ใช้งานเข้าสู่เว็บไซต์และออกจากเว็บไซต์ เราใช้ข้อมูลนี้ในลักษณะของข้อมูลโดยรวมเพื่อช่วยให้เราปรับปรุงวิธีการทำงานของเว็บไซต์ หรือเพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราตามความสนใจของท่านได้