จาก CBAM สู่การนำร่อง ‘ภาษีคาร์บอน’ มาตรฐานใหม่ของไทยที่คนทำธุรกิจต้องปรับตัว

Article


Image by Quân Lê Quốc from Pixabay

ปัจจุบันความรับผิดชอบต่อผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจ ไม่ได้เป็นเพียงทางเลือกอีกต่อไป ภาคส่วนต่างๆ ของโลกทยอยออกข้อกฏหมายและมาตรฐานใหม่ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าภาคเอกชนได้ดำเนินการเพื่อป้องกันและจัดการกับผลกระทบด้านลบในห่วงโซ่อุปทานทั้งหมดของตนอย่างแข็งขัน
           
เช่นเดียวกับประเทศไทยที่ตั้งเป้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero emissions) ภายในปี ค.ศ. 2065 แผนระยะสั้นของเราคือภายในปี ค.ศ. 2030 จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงให้ได้ 40 เปอร์เซ็นต์
           
ล่าสุดกรรมสรรพสามิตกำลังจะเริ่มนำร่องมาตรการทางภาษีอย่าง ภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 (เดือนตุลาคม พ.ศ. 2567) โดยการจัดเก็บภาษีจะมีทั้งทางตรงจากปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตสินค้า
(ผู้ประกอบการจ่าย) และทางอ้อมตามการบริโภค (ผู้บริโภคจ่าย) ความเปลี่ยนแปลงนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร ใครมีโอกาสจะได้รับผลกระทบ และต้องปรับตัวอย่างไรให้ทันท่วงนี้ UN GCNT สรุปข้อมูลสำคัญไว้ในบทความนี้

คลื่นความเปลี่ยนแปลงจาก EU

หลายปีที่ผ่านมาสหภาพยุโรปดำเนินการอย่างก้าวกระโดดเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านความยั่งยืน โดยเฉพาะเป้าในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ภายในปี 2050 เช่น การกำหนด European Green Deal ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2019 โดยแผนการปฏิรูปสีเขียวของสหภาพยุโรปนี้ประกอบด้วยกลยุทธ์และมาตรการที่หลากหลาย

หนึ่งในมาตรการที่ได้รับการจับตามองจากทั่วโลก คือการที่สหภาพยุโรปเริ่ม CBAM หรือ มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (Cross-Border Carbon Adjustment Mechanism) ซึ่งจะทำการเก็บภาษีนำเข้าจากผลิตภัณฑ์ที่ปล่อยคาร์บอนสูงในกระบวนการผลิต โดยมาตรการนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมต่อกลุ่มอุตสาหกรรมในสหภาพยุโรปซึ่งมีค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อมสูงกว่าทวีปอื่นๆ ด้วย

  • ปี ค.ศ. 2023-2025 ระยะเปลี่ยนผ่านของ CBAM
ในระยะนี้ผู้นำเข้าต้องรายงานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าตามที่กำหนด โดยขอบเขตของผลิตภัณฑ์ครอบคลุมธุรกิจที่ปล่อยคาร์บอนในปริมาณความเข้มข้นสูงและมีความเสี่ยงต่อการรั่วไหลของคาร์บอนสูง ได้แก่ เหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม ซีเมนต์ ปุ๋ย ไฟฟ้า รวมถึงไฮโดรเจน

  • ปี ค.ศ. 2026 บังคับใช้ CBAM ระยะถาวร
ผู้นำเข้าต้องรายงานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง นำข้อมูลที่จะนำส่งไปให้ผู้รับรองที่ได้รับอนุญาตรับรองข้อมูล และต้องซื้อ CBAM Certificate ตามปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสินค้านั้นๆ รวมถึงต้องจ่ายภาษีคาร์บอนตามปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสินค้าที่ตนนำเข้าด้วย เพื่อชดเชยส่วนต่างระหว่างค่าคาร์บอนที่ผู้ผลิตในสหภาพยุโรปต้องชำระกับค่าคาร์บอนที่ผู้ผลิตต่างชาติได้ชำระในประเทศต้นทาง โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่อาจรวมอยู่ในระยะนี้ ได้แก่ สารเคมีอินทรีย์ พลาสติก และแอมโมเนีย นอกจากนี้ สหภาพยุโรปยังมีแผนที่จะเพิ่มขอบเขตของ CBAM ให้ครอบคลุมกลุ่มผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่สำคัญอีกหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นเซรามิค ยิปซัม และกระดาษ
 

Image by Quân Lê Quốc from Pixabay

ก้าวใหม่ของภาษีคาร์บอนไทย
มาตรการ CBAM ส่งผลให้ประเทศคู่ค้าของสหภาพยุโรปทั่วโลกต้องปรับตัวและปฏิบัติตามกฏนี้ รวมถึงประเทศไทยที่มีผู้ประกอบการจำนวนมากส่งออกผลิตภัณฑ์ไปยังกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป กรมสรรพสามิตไทยจึงเตรียมใช้ ภาษีคาร์บอน เป็นกลไกภาคบังคับเพื่อตามคลื่นความเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศโลกและหวังให้ผู้ส่งออกนำอัตราภาษีคาร์บอนนี้ไปใช้ลดหย่อนค่าธรรมเนียมCBAMรูปแบบของการเรียกเก็บภาษีคาร์บอนจะนําปริมาณคาร์บอนส่วนเกินมาคํานวณกับอัตราภาษีคาร์บอน ซึ่งแต่ละประเทศจะมีฐานภาษีที่แตกต่างกันไป และส่วนใหญ่จะแบ่งประเภทของภาษีออกเป็น 2 ปะเภทคือ

  • ภาษีคาร์บอนทางตรง เก็บภาษีจากปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการ ‘ผลิต’ สินค้าโดยตรง ซึ่งมักจะมีอัตราภาษีที่สูงกว่า
  • ภาษีคาร์บอนทางอ้อม คือ เก็บภาษีจากปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามการ ‘บริโภค’ แต่ไม่ได้เป็นผู้ผลิตเอง

จากการคาดการณ์ ภาษีคาร์บอนของไทยจะสามารถบังคับใช้ได้เร็วที่สุดภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 หรือ ค.ศ. 2025 เพื่อให้ทันการบังคับใช้ CBAM ระยะถาวรในปี ค.ศ. 2026

ปัจจุบันอัตราภาษีคาร์บอนของแต่ละประเทศนั้นแตกต่างกันสำหรับประเทศไทยคาดว่าในระยะแรกจะกำหนดราคากลางที่200บาทต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์ อย่างไรก็ตาม ราคากลางนี้เป็นระดับที่ IMF มองว่าต่ำเกินไปที่จะช่วยลดการปล่อยมลพิษลงได้ เมื่อเทียบกับราคาคาร์บอนของสหภาพยุโรป (EU ETS) ที่มีอัตราประมาณ 2,700 บาท ต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์

ในระยะแรกการเก็บภาษีคาร์บอนนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชน เนื่องจากเป็นการแปลงภาษีสรรพสามิตน้ำมันที่เก็บอยู่แล้วให้ไปผูกติดกับภาษีคาร์บอน โดยปัจจุบันกรมสรรพสามิตจัดเก็บภาษีจากน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 6.44 บาทต่อลิตร และเก็บภาษีจากน้ำมันเบนซินอยู่ที่ 6.50 บาทต่อลิตร โดยตัวเลขการปล่อยคาร์บอนของน้ำมันดีเซล 1 ลิตร อยู่ที่ 0.0026987 ตันคาร์บอน ขณะที่น้ำมันเบนซิน 1 ลิตร ปล่อยคาร์บอนอยู่ที่ 0.0021816 ตันคาร์บอน

ข้อมูลจาก ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่าการเดินหน้าของประเทศไทยในระยะแรกนี้นับเป็นเรื่องที่ดี เพราะเป็นการปรับใช้ภาษีคาร์บอนโดยใช้หลักการแปลงภาษีสรรพสามิตที่เดิมมีการผูกกับปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์อยู่แล้ว เช่น ภาษีน้ำมัน ภาษีรถยนต์ ให้อยู่ในรูปของภาษีคาร์บอน ซึ่งไม่สร้างภาระทางภาษีเพิ่มแก่ประชาชน และสามารถให้ผู้ส่งออกใช้ประโยชน์ในระหว่างรอกลไกราคาคาร์บอน (Carbon Pricing) ภาคบังคับจาก พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่จะเกิดขึ้นตามมา

โดย พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ของไทยที่จะเป็นกฎหมายเพื่อกำหนดกลไกราคาคาร์บอนภาคบังคับในรูปแบบระบบซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Trading Scheme หรือ ETS) คาดการณ์ว่าจะบังคับใช้ได้ในปี พ.ศ. 2572 หรือ ค.ศ. 2029

Image by wal_172619 from Pixabay

มาตรการ CBAM สร้างความท้าทายและโอกาสต่อทุกภาคส่วนทั่วโลก อย่างไรก็ตามนี่เป็นเพียงคลื่นระลอกแรกๆ ผู้ประกอบการไทยตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะตามมาอย่างต่อเนื่อง ยุคของภาษีคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว

ตามติดสถานการณ์และปรับตัวตามให้ทัน UN GCNT ชวนอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อกำหนดสำคัญอื่นๆ ของสหภาพยุโรปภายใต้ European Green Deal ที่จะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทย
  •  Corporate Sustainability Due Diligence Directive (CSDDD) ข้อกำหนดเพื่อให้บริษัทต่างๆ รับผิดชอบต่อผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม ทั้งในการดำเนินธุรกิจและในห่วงโซ่อุปทานทั้งหมด อ่าน ที่นี่
  • European Union Deforestation Regulation (EUDR) กฎหมายเพื่อลดการผลิตและการบริโภคสินค้าที่ได้จากการตัดไม้และทำให้เกิดการเสื่อมโทรมของป่า ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับเกษตรกรยางพาราโดยตรง โดยมีผลบังคับใช้วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2567 หรือ ค.ศ. 2024 
ข้อมูลอ้างอิง
 

 




ร่วมเปลี่ยนแปลงโลกกับเรา
UN Global Compact
Network Thailand
APPLY FOR MEMBERSHIP
เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ เราใช้คุกกี้เพื่อเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และการใช้งานของเว็บไซต์เพื่อปรับปรุง ปรับแต่งเนื้อหา และโฆษณาตามความต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้ เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์ และ นโยบายสิทธิส่วนบุคคล
Subscribe
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถปรับแต่งการตั้งค่าคุกกี้ในแต่ละประเภทได้ดังต่อไปนี้
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่จำเป็นต่อการให้บริการ
(Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการบนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่จะช่วยให้ท่านสามารถเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยของเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้เพื่อการวัดผลการทำงานและฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์
(Performance and Functionality Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะถูกใช้เพื่อจดจำท่านเมื่อท่านกลับเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้ง ช่วยให้เราปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะกับท่านและจดจำการตั้งค่าของท่าน (เช่น ภาษาหรือภูมิภาคที่ท่านเลือก) แต่ไม่จำเป็นต่อการวัดผลการทำงานของเว็บไซต์
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์หรือเพื่อการปรับแต่ง
(Analytical or Customization Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ใช้งานเข้าสู่เว็บไซต์และออกจากเว็บไซต์ เราใช้ข้อมูลนี้ในลักษณะของข้อมูลโดยรวมเพื่อช่วยให้เราปรับปรุงวิธีการทำงานของเว็บไซต์ หรือเพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราตามความสนใจของท่านได้