เมื่อความพยายามในการต่อกรกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทวีความเข้มข้นขึ้น ปัญหา ‘การรั่วไหลของคาร์บอน’ ได้กลายเป็นความกังวลสำคัญสำหรับทั้งผู้กำหนดนโยบายและอุตสาหกรรมทั่วโลก หลายประเทศ
สำหรับประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่อย่างไทย ซึ่งการส่งออกมีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจ ‘มาตรการอุดการรั่วไหลของคาร์บอน’ ที่ประเทศต่างๆ โดยเฉพาะสหภาพยุโรปกำลังเร่งดำเนินการอยู่นั้น ย่อมส่งผลกระทบต่อเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยอุตสาหกรรมไทยอาจต้องเผชิญกับต้นทุนที่สูงขึ้นและความสามารถในการแข่งขันที่ลดลง ทั้งจากการที่บริษัทข้ามชาติเข้ามาตั้งฐานการผลิตสินค้าในไทย รวมถึงบริษัทไทยเองที่ยังคงใช้กระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนสูง
GCNT ชวนทำความเข้าใจ ปรากฏการณ์การรั่วไหลของคาร์บอน รวมถึงแนวทางการปรับตัวของภาคเอกชนเพื่อตามให้ทันกฎระเบียบใหม่ๆ ของโลกและยังได้เปรียบบนเวทีการค้าระหว่างประเทศ
Image by kp yamu Jayanath from Pixabay
การรั่วไหลของคาร์บอนคืออะไร
การรั่วไหลของคาร์บอน (Carbon Leakage) หมายถึงสถานการณ์ที่ธุรกิจย้ายการผลิตไปยังประเทศที่มีกฎระเบียบเกี่ยวกับการปล่อยคาร์บอนที่ไม่เข้มงวด หรือมีต้นทุนเกี่ยวกับคาร์บอนที่ต่ำกว่า และนำไปสู่การเพิ่มการปล่อยคาร์บอนในสถานที่ใหม่
ปรากฏการณ์นี้ทำให้ประสิทธิภาพของนโยบายการลดคาร์บอนในประเทศที่มีกฎระเบียบเข้มงวดลดลง และส่งผลให้ความพยายามของประเทศที่มีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมเข้มงวดนั้นไม่ได้ผลเต็มที่ เพราะการปล่อยคาร์บอนไม่ได้ถูกลดลงทั่วโลก แต่ถูกย้ายจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งเท่านั้น
เช่น บริษัทในยุโรปที่รัฐบาลเข้มงวดต่อการกำหนดภาษีคาร์บอนหรือจำกัดการปล่อยคาร์บอน ได้ทำการย้ายไปยังประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีกฎระเบียบน้อยกว่าเพื่อหลีกเลี่ยงต้นทุน รวมถึงภาระทางการเงินในการปฏิบัติตามกฎการปล่อยคาร์บอน และอาจมาจากการที่บริษัทกังวลว่าจะแพ้คู่แข่งในระดับนานาชาติที่ไม่ได้เผชิญกับข้อจำกัดด้านคาร์บอนเหมือนกัน
การรั่วไหลของคาร์บอนมักจะเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานมาก เช่น ปูนซีเมนต์ เหล็ก อลูมิเนียม และเคมีภัณฑ์ ซึ่งการลดการปล่อยก๊าซจะทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างมาก
ปัจจุบัน ความเสี่ยงของการรั่วไหลของคาร์บอนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เมื่อประเทศต่างๆ เริ่มมีนโยบายด้านสภาพภูมิอากาศที่เข้มงวดขึ้นเพื่อตอบสนองเป้าหมายการปล่อยก๊าซสุทธิเป็นศูนย์ หากไม่มีมาตรการที่เพียงพอ อุตสาหกรรมย้ายที่ตั้งไปยังประเทศที่มีกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่ไม่เข้มงวด ผลที่เกิดขึ้นไม่เพียงทำลายประสิทธิภาพของการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศทั่วโลก แต่ยังสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจให้กับอุตสาหกรรมในภูมิภาคที่มีกฎหมายเข้มงวดด้วย
Image by Tung Lam from Pixabay
แนวทางป้องกันการรั่วไหลของคาร์บอน
Photo by Matthew TenBruggencate on Unsplash
ผลกระทบต่อประเทศไทย
ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ มีความเชื่อมโยงกับห่วงโซ่อุปทานระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในภาคการผลิต เช่น อิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ และสิ่งทอ หากบริษัทในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหภาพยุโรปหรือสหรัฐอเมริกา ย้ายการผลิตมายังประเทศไทยซึ่งมีกฎเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่ไม่เข้มงวดเท่า การเปลี่ยนแปลงนี้จะทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทยเพิ่มขึ้น แม้ประเทศไทยเองจะไม่ใช่ผู้บริโภคหลักของสินค้าที่ผลิต
ผลที่ตามมา ประเทศไทยอาจกลายเป็นศูนย์กลางสำหรับอุตสาหกรรมที่ปล่อยคาร์บอนสูง ซึ่งอาจทำลายความพยายามในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก แม้ว่าสิ่งนี้อาจส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในระยะสั้น แต่ก็อาจทำให้ประเทศไทยต้องพึ่งพาอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานคาร์บอนมากในระยะยาว และเป็นอุปสรรคในการเปลี่ยนไปสู่อุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
หากเป็นเช่นนั้น ภาคเอกชนไทยก็จะมีความเสี่ยงด้านความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ และอย่างที่กล่าวไปถึง CBAM ซึ่งเป็นการเก็บภาษีสินค้านำเข้าตามปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอน หากอุตสาหกรรมของไทยยังคงใช้วิธีการผลิตที่ปล่อยคาร์บอนสูง สินค้าส่งออกของไทยอาจถูกเก็บภาษีที่สูงขึ้นเมื่อส่งไปยังประเทศที่มีกลไก CBAM ซึ่งจะทำให้สินค้าของไทยมีราคาแพงขึ้นและสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในตลาด
ภาคเอกชนต้องปรับตัวอย่างไร
แม้จะมีเสียงวิจารณ์ว่า CBAM เป็นการกีดกันทางการค้า ซึ่งอาจขัดต่อกฎระเบียบขององค์การการค้าโลก (WTO) และอาจทำให้การร่วมมือด้านสภาพภูมิอากาศระดับโลกเป็นเรื่องยากขึ้น แต่ก็มีหลายส่วนมองว่านโยบายนี้จำเป็นต่อการกระตุ้นให้ทุกประเทศดำเนินมาตรการด้านสภาพภูมิอากาศอย่างเข้มแข็งขึ้น
สหภาพยุโรปคือผู้นำในการออกมาตรการ CBAM ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านและคาดว่าจะเริ่มใช้งานเต็มรูปแบบภายในปี 2026 ขณะเดียวกัน แคนาดา ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย ก็กำลังพัฒนาหรือถกเถียงเกี่ยวกับนโยบายที่คล้ายกัน เช่น ระบบการซื้อขายสิทธิ์ในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ETS) และภาษีคาร์บอน
ภาคธุรกิจต้องเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อให้อุตสาหกรรมของตนยังสามารถแข่งขันได้ เมื่อมาตรการอุด ‘การรั่วไหลของคาร์บอน’ ของประเทศต่างๆ ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายและเข้มข้นขึ้น โดยตัวอย่างกลยุทธประกอบไปด้วย
Photo by Tyler Casey on Unsplash
ความคืบหน้าล่าสุด
ปลายปี 2024 นี้ ประเทศไทยมีแนวทางที่ภาคเอกชนได้นำเสนอต่อรัฐบาลเพื่อหาแนวทางร่วมเร่งเปลี่ยนประเทศไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ผลักดันการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด พร้อมกับผลักดันระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ประกอบไปด้วย
ข้อมูลอ้างอิง