ใน บทความตอนที่แล้ว เรานำเสนอเนื้อหาในภาพรวมเกี่ยวกับ ‘Inclusive Business หรือ IB โมเดลธุรกิจแบบไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง กระตุ้นนวัตกรรม สร้างกำไรยั่งยืน และลดความยากจน’ ไปแล้ว บทความตอนนี้จะเจาะลึกไปที่บทบาทของโมเดล IB ในภาคเกษตรกรรมและอาหารซึ่งไม่เพียงมีส่วนสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยในด้าน GDP การจ้างงาน และการส่งออก แต่ยังมีความสำคัญต่อการพัฒนาสังคมและชนบทอีกด้วย
Photo by Sandy Zebua on Unsplash
หัวรถจักรทางเศรษฐกิจ
คุณปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) ให้มุมมองในรายการ The Secret Sauce ว่าธุรกิจเปรียบเสมือน ‘หัวรถจักร’ ที่ช่วยกระชากห่วงโซ่อุปทานโบกี้ต่างๆ ของตนไปข้างหน้า ประเทศไทยจะไปต่อได้ ธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะธุรกิจใหญ่ต้องตั้งเป้าหมายมากกว่าแค่การหาผลกำไร แต่ต้องสร้าง inclusive growth เป็นหัวรถจักรที่ดึงภาคส่วนต่างๆ ของเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องไปพร้อมกัน เพื่อให้ตลอดสายการผลิตสินค้าและบริการเป็นไปตามกติกาใหม่ๆ ของโลกอย่างไม่ตกขบวน
โดยยกตัวอย่างการทำงานร่วมกับ น้ำตาลมิตรผล ซึ่งธนาคาร ttb ได้ปล่อยสินเชื่อ sustainability linked loan แก่เกษตรกรซัพพลายเออร์ของมิตรผล เพื่อให้เกษตรกรมีต้นทุนไปใช้เปลี่ยนรูปแบบการกำจัดซากอ้อย จาก ‘เผา’ เป็น ‘ตัดทิ้ง’ ลดการปล่อย PM2.5 และก๊าซเรือนกระจกจากการเผา สอดคล้องกับกติกาใหม่ในการเพาะปลูก-ผลิตสินค้าแบบคาร์บอนต่ำของโลก โดยสินเชื่อนี้มีกลไกว่าหากมิตรผลช่วยให้เกษตรซัพพลายเออร์ ‘ตัดทิ้ง’ แทนการ ‘เผา’ ได้มากขึ้น อัตราดอกเบี้ยก็จะยิ่งลดลง
การดำเนินงานข้างต้นของมิตรผลคือโมเดลธุรกิจแบบ IB ที่มุ่งสร้างกำไรอย่างยั่งยืน โดยดึงประชากรกลุ่มฐานรากของปิรามิดเศรษฐกิจ (Base of the Pyramid หรือ BoP) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดแต่มีรายได้ต่ำที่สุดให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ ในฐานะผู้จัดหา ผู้จัดจำหน่าย ผู้ค้าปลีก หรือผู้บริโภค ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
ภาคเกษตรกรรมกับสังคมไทย
ประเทศไทยมีสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศที่เอื้อต่อการเกษตร ดินและแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ เป็นผู้นำในการส่งออกผลิตภัณฑ์เกษตรหลายประเภท ภาคเกษตรกรรมจึงมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมไทยเสมอมา มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรของประเทศไทยปี 2023 อยู่ที่ 384.5 พันล้านบาท (12.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ) โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุว่าแรงงานไทยประมาณ 12 ล้านคน หรือเกือบ 1 ใน 3 มีอาชีพในภาคเกษตร ป่าไม้ และประมง และตลอด 20 ปีที่ผ่านมา สัดส่วนของภาคเกษตรกรรมใน GDP ระดับประเทศคงอยู่ที่ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ภาคเกษตรกรรมยังมีความสำคัญต่อการพัฒนาสังคมและชนบท ข้อมูลปี 2021 ระบุว่าประมาณ 61 เปอร์เซ็นต์ ของประชากรกลุ่ม BoP ทำงานในภาคเกษตรกรรม อย่างไรก็ตามพวกเขามีรายได้ต่ำกว่ารายได้เฉลี่ยของประชากรกลุ่ม BoP ทั้งประเทศ
เกษตรกรรายย่อยต้องเผชิญกับปัญหาหลายด้าน ทั้งความยากจน ผลผลิตตกต่ำ ตลอดจนการเข้าถึงที่ดิน เงินทุน และเทคโนโลยีที่จำกัด โดย 40 เปอร์เซ็นต์ ของครัวเรือนเกษตรกรมีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจนระดับชาติ เกษตรกรไทยน้อยกว่า 30 เปอร์เซ็นต์เป็นเจ้าของที่ดิน ขณะที่การเช่าที่ดินคิดเป็นประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด นอกจากนี้ เกษตรกรรายย่อยยังเข้าถึงข้อมูลและเทคโนโลยีได้ยาก และการนำเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มผลผลิตยังคงเป็นความท้าทาย โดยเฉพาะกับเกษตรกรสูงอายุและเกษตรกรหญิง
Image by Marco Torrazzina from Pixabay
นอกจากนโยบายพัฒนาเกษตรกรรมและชนบท ภาคธุรกิจก็สามารถเป็น ‘หัวรถจักร’ ที่มีบทบาทในการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรรายย่อยได้ ปัจจุบัน หลายบริษัทในภาคเกษตรของไทยใช้โมเดลธุรกิจ IB ทำงานร่วมกับเกษตรกรรายย่อย สนับสนุนให้พวกเขาพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ช่วยให้เข้าถึงที่ดิน เงินทุน และเทคโนโลยี
ข้อมูลปี 2024 จากรายงาน ‘Landscape Study of Inclusive Business in Agrifood Systems in THAILAND’ โดยคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) ระบุถึง 9 บริษัทสัญชาติไทยที่ใช้โมเดล IB ในการดำเนินธุรกิจ และอีก 11 บริษัทที่มีศักยภาพจะปรับโมเดลธุรกิจเป็นแบบ IB โดยบริษัทเหล่านี้ได้ร่วมงานกับเกษตรกที่มีรายได้น้อยมากกว่า 750,000 คน ความท้าทายคือเราจะขยายและเพิ่มจำนวนโมเดลธุรกิจเช่นนี้ทั่วประเทศได้อย่างไร?
IB ยกระดับความเป็นอยู่ให้เกษตรกรได้อย่างไร?
ประเทศไทยประสบความสำเร็จในการลดสัดส่วนประชากรที่อยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจนระดับชาติจาก 65 เปอร์เซ็นต์ ในปี 1988 เหลือเพียง 6.2 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2019 อย่างไรก็ตาม ประชากรที่มีรายได้น้อยจำนวนมากยังคงอาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบท เกษตรกรรายย่อยต้องเผชิญกับความท้าทายดังที่กล่าวไปข้างต้น
ความท้าทายทั้งด้านที่ดิน แรงงาน เงินทุน และเทคโนโลยี แก้ไขได้ด้วยการสนับสนุนจากภาคธุรกิ โดยโมเดลธุรกิจ IB ทำให้บริษัทต่างๆ มีบทบาทในการยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรรายย่อยประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างรวดเร็ว ในปี 2013 เกษตรกรอายุ 60 ปีขึ้นไป มีถึง 19 เปอร์เซ็นต์ เกษตรกรสูงอายุเหล่านี้มักอยู่ในกลุ่มประชากรที่มีรายได้ต่ำที่สุด เพื่อแก้ปัญหาประชากรสูงอายุในภาคเกษตรกรรม เราต้องเปลี่ยนการทำเกษตรแบบใช้แรงงานมากและมีกำไรต่ำ ไปสู่ ‘การเกษตรสมัยใหม่’ ที่มีประสิทธิผลสูงขึ้นและสามารถตั้งราคาสูงขึ้นได้ นี่คือโอกาสในการใช้โมเดลธุรกิจ IB models ในการจัดหาโซลูชันให้กับเกษตรกรรายย่อย
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องความไม่เท่าเทียมทางเพศในภาคเกษตรกรรมของไทยด้วย ผู้หญิงมักต้องรับผิดชอบงานที่ใช้เครื่องมือแบบดั้งเดิมและแรงงานเข้มข้น ขณะที่ผู้ชายมักทำงานในส่วนที่ใช้เครื่องจักร เช่น การไถด้วยรถแทรกเตอร์ ในบริบทนี้ ธุรกิจก็มีส่วนร่วมในการพัฒนาโซลูชันที่ตอบสนองความต้องการของผู้หญิงและแก้ไขปัญหาเฉพาะด้านที่พวกเธอเผชิญได้เช่นกัน เช่น
Image by Jupi Lu from Pixabay
2. ทุน
ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ของครัวเรือนเกษตร มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจนระดับชาติ ขณะที่ 30 เปอร์เซ็นต์ มีหนี้สินมากกว่าสองเท่าของรายได้ต่อปีรายได้ที่ต่ำและภาระหนี้สินทำให้เกษตรกรไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากธนาคารพาณิชย์แบบดั้งเดิมได้ เนื่องจากขาดคะแนนเครดิตและหลักประกัน เกษตรกรรายย่อยจำนวนมากจึงต้องหันไปกู้เงินนอกระบบซึ่งมีดอกเบี้ยสูง ทำให้ภาระหนี้เพิ่มขึ้นอีก
รายงาน ‘Landscape Study of Inclusive Business in Agrifood Systems in THAILAND’ นำเสนอตัวอย่างบางส่วนของโมเดลธุรกิจแบบ IB models ที่ช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ เช่น
3. ข้อมูลและเทคโนโลยี
มีข้อมูลเชิงเกษตรกรรมหลายประเภทที่สำคัญต่อการทำการเกษตร แต่เกษตรกรรายย่อยเข้าถึงได้ยาก เช่น ตัวชี้วัดคุณภาพดิน พยากรณ์อากาศเฉพาะพื้นที่ ข้อมูลความต้องการของตลาด กฎกติกาใหม่ๆ ด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจุบันมีสตาร์ทอัพไทยด้านเทคโนโลยีเกษตรหลายแห่งที่ให้บริการโซลูชันข้อมูลแก่เกษตรกร เช่น
อย่างไรก็ตาม การใช้งานเทคโนโลยียังคงเป็นความท้าทายต่อกลุ่มเกษตรกรสูงอายุและเกษตรกรหญิง เนื่องจากเทคโนโลยีการเกษตรที่ทันสมัยมักมีราคาสูงเกินไปสำหรับเกษตรกรที่มีรายได้น้อย และมักต้องเปลี่ยนจากวิธีการเพาะปลูกแบบดั้งเดิมที่ปฏิบัติกันมายาวนาน โดยเทคโนโลยีที่นำไปใช้งานจริงจนสามารถสร้างพฤติกรรมใหม่ให้เกษตรกรได้ ต้องใช้เวลาและการทำงานต่อเนื่อง ซึ่งต้องอาศัยทั้งคน เวลา และการลงทุน
1 ใน 4 ของสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีเกษตรประมาณ รายงานว่าความยากลำบากในการนำเทคโนโลยีมาใช้กับเกษตรกร เป็นปัจจัยที่จำกัดการเติบโตของธุรกิจ นอกจากนี้ การที่ผู้หญิงไม่ได้รับการการศึกษา STEM (วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์) อย่างทั่วถึง ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ขัดขวางการยอมรับและการใช้งานเทคโนโลยีในภาคเกษตรกรรมและอาหารของไทย
กรณีศึกษา 20 ตัวอย่างธุรกิจ IB
อย่างที่กล่าวไปข้างต้น รายงาน ‘Landscape Study of Inclusive Business in Agrifood Systems in THAILAND’ นำเสนอบริษัทการเกษตรที่ใช้โมเดล IB และมีศักยภาพจะปรับโมเดลธุรกิจเป็นแบบ IB จำนวน 20 แห่งในประเทศไทย โดยประกอบไปด้วย
ทั้ง 20 บริษัทนำเสนอโซลูชันนวัตกรรมหลายประเภทสำหรับเกษตรกรรายย่อยในกลุ่ม BoP ทั้งนวัตกรรมในการจัดการธุรกิจ เช่น การบริหารจัดการปัจจัยการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มรายได้ นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การทำเกษตรออร์แกนิกและการจัดการของเสีย นวัตกรรมทางสังคม (เช่น การฝึกอบรมทักษะ ไปจนถึงนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี เช่น แพลตฟอร์มออนไลน์และแอปพลิเคชันมือถือ
ข้าว เป็นผลิตภัณฑ์ที่พบมากที่สุดในบรรดา 20 บริษัท รองลงมาคือ กาแฟ มันสำปะหลัง และผักผลไม้ โดยธุรกิจทั้ง 20 แห่งนี้ ได้สร้างคุณค่าให้กับทั้งเกษตรกรและบริษัทเอง โดยรวมแล้วพวกเขาได้ร่วมงานกับเกษตรกรจำนวน 757,261 คน
ในปี 2023 โมเดลธุรกิจ IB 15 แห่ง สร้างรายได้รวม 11,106 ล้านบาท (370 ล้านเหรียญสหรัฐ) และมีกำไรรวม 787 ล้านบาท (26.2 ล้านเหรียญสหรัฐ) โดยจำนวนผู้ได้รับประโยชน์ต่อบริษัทมีตั้งแต่ 200 คนถึงกว่า 400,000 คน ขึ้นอยู่กับรูปแบบธุรกิจ นอกจากนี้ ยังมี 15 บริษัท ที่วางแผนจะเพิ่มจำนวนผู้ได้รับประโยชน์เป็นสองเท่าในอีก 3 ปีข้างหน้า
จากทั้งหมด 20 บริษัท บางซื่อโรงสีไฟเจียเม้ง เป็นบริษัทที่เก่าแก่ที่สุด ก่อตั้งขึ้นในปี 1937 ขณะที่ Happy Grocers และ Find Food Marketplace ก่อตั้งขึ้นระหว่างการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยนำเสนอโซลูชันช่วยเหลือประชากรกลุ่ม BoP ผ่านการสร้างตลาดออนไลน์เพื่อตอบสนองปัญหาการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน
โอกาสของธุรกิจ IB ในไทยและระดับโลก
ความผันผวนในตลาดโลก โดยเฉพาะหลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และสงครามในยูเครน ส่งผลให้ราคาผลิตภัณฑ์เกษตรสูงขึ้น และเกิดการหยุดชะงักของห่วงโซ่คุณค่า ซึ่งเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารและห่วงโซ่อุปทาน
ราคาสินค้าเกษตรที่สูงขึ้นนั้นสร้างโอกาสให้กับประเทศไทย โดยธุรกิจ IB สามารถพัฒนากลยุทธ์การจัดหาและผลิตในท้องถิ่น จัดหาเทคโนโลยีที่มีราคาย่อมเยาและเข้าถึงได้ ซึ่งไม่เพียงช่วยให้เกษตรกรรายย่อยเพิ่มคุณภาพผลผลิตและพัฒนาความยั่งยืนในการดำเนินงาน แต่ยังช่วยสร้างเสถียรภาพให้กับห่วงโซ่อุปทานด้วย
ปัจจุบัน ผู้บริโภคมีความต้องการเพิ่มขึ้นในสินค้าออร์แกนิก ผลิตภัณฑ์จากพืช และ อาหารที่มีประโยชน์เชิงหน้าที่ (functional foods) ซึ่งเป็นสินค้าที่ผู้บริโภคยินดีจ่ายในราคาสูง ธุรกิจ IB สามารถรองรับความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มนี้ที่เพิ่มขึ้นได้ ซึ่งจะเป็นการสร้างคุณค่าให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พร้อมทั้งส่งเสริมความยั่งยืนและความครอบคลุมในภาคธุรกิจการเกษตร
ตลาดอาหารออร์แกนิกทั่วโลกในปี 2023 มีมูลค่าประมาณ 177-231 พันล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่าจะเติบโตประมาณ 13 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ในช่วง 10 ปีข้างหน้า ธุรกิจ IB สามารถใช้ประโยชน์จากความต้องการนี้ในการขยายตลาดระหว่างประเทศ หลายบริษัทในรายงาน ‘Landscape Study of Inclusive Business in Agrifood Systems in THAILAND’ ได้รับการรับรองมาตรฐานออร์แกนิก เช่น กาแฟดอยช้าง ที่ได้รับการรับรองจาก EU Organic Farming และ USDA Organic
ความต้องการบริโภคอย่างยั่งยืนเพิ่มขึ้นทั่วโลก ธุรกิจขนาดใหญ่จากต่างชาติจึงมีแรงจูงใจในการร่วมมือกับธุรกิจ IB ที่ทำงานกับเกษตรกรท้องถิ่น เช่น Jasberry ที่ร่วมมือกับบริษัทในสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 2016 ส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานออร์แกนิกจาก USDA และ EU โดยปัจจุบัน Jasberry ขยายตลาดไปยัง UAE เยอรมนี สิงคโปร์ และนิวซีแลนด์
Photo by Jacopo Maiarelli on Unsplash
เส้นทางสู่โมเดลธุรกิจ IB
แนวคิดธุรกิจ IB ยังค่อนข้างใหม่ในประเทศไทย หลายครั้ง IB ถูกเข้าใจผิดว่าเป็นแนวทาง ESG หรือเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม หรือการเกษตรพันธสัญญแบบเดิม การขาดความเข้าใจนี้ส่งผลต่อความไว้วางใจ โดยเฉพาะเมื่อขาดการวัดผลกระทบที่ชัดเจน จึงจำเป็นต้องมีการส่งเสริมความเข้าใจอย่างกว้างขวางขึ้น รวมถึงการสนับสนุนการวัดและรายงานผลกระทบของธุรกิจ
แม้ว่าโมเดล IB จะมีศักยภาพในการแก้ปัญหาทางสังคมและเศรษฐกิจ แต่ปัจจุบันยังไม่มีนโยบายหรือโปรแกรมที่ชัดเจนในการส่งเสริมและจูงใจธุรกิจเหล่านี้
ธุรกิจขนาดเล็กยังคงประสบปัญหาในการหาทุน การสนับสนุนสตาร์ทอัพส่วนใหญ่จำกัดอยู่ที่การพัฒนาโครงการนำร่องหรือผลิตภัณฑ์ต้นแบบ แต่ขาดทรัพยากรเพื่อขยายขนาดธุรกิจ นอกจากนี้ การดำเนินงานกับเกษตรกรรายย่อยยังมีต้นทุนสูงกว่า SMEs ทั่วไป เนื่องจากต้องมีการลงทุนในการฝึกอบรมและควบคุมคุณภาพ โดยเฉพาะเมื่อมุ่งเน้นการส่งออก ซึ่งส่งผลต่อกำไรและการดึงดูดนักลงทุน
ภาคเกษตรกรรมและอาหารของไทยมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ และธุรกิจ IB คือแนวทางที่มีศักยภาพในการแก้ปัญหาความยากจนแบบไม่ทิ้งประชากรกลุ่ม BoP ไว้ข้างหลัง
เพื่อผลักดันให้ธุรกิจ IB ขยับขยายไปอย่างทั่วถึง นับจากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องกำหนดกลยุทธ์ สร้างความเข้าใจและการรับรู้เกี่ยวกับโมเดลธุรกิจ IB พร้อมทั้งจัดตั้งระบบที่มีมาตรฐานต่อการพัฒนาและขยายโมเดล IB รวมถึงต้องอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และส่งเสริมการวัดผลและรายงานผลกระทบของธุรกิจ IB ด้วย
เช่นเดียวกับสมาคมธุรกิจ นักลงทุน และองค์กรพันธมิตรการพัฒนา ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมโมเดล IB และช่วยให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงแหล่งทุนและความรู้ที่จำเป็นในการเติบโต สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเติบโตของธุรกิจแบบ IB ซึ่งนำไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างครอบคลุม ยั่งยืน ยืดหยุ่น และสนับสนุนการบรรลุเป้าหมาย SDGs
ร่วมสร้างสรรค์ธุรกิจแห่งอนาคตไปด้วยกัน
UN Global Compact Network Thailand ในฐานะเครือข่ายภาคธุรกิจที่มุ่งส่งต่อกระแสการทำธุรกิจทั่วโลกอย่างยั่งยืน เห็นความสำคัญของการสนับสนุนแนวคิดธุรกิจ IB
เราเชื่อว่าการดำเนินธุรกิจที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมและการรวมพลังทุกคนให้เดินหน้าไปด้วยกัน จะเป็นตัวเร่งการเปลี่ยนผ่านที่สำคัญที่สามารถสร้างความเติบโตให้กับองค์กรธุรกิจ ทุกขนาด ทุกภาคอุตสาหกรรม ควบคู่ไปกับการสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับสังคมแบบถ้วนหน้า
ทุกๆ ปี เราจัดงาน UN Global Compact Network Thailand Forum หรือ GCNT Forum ซึ่งเป็นเวทีประชุมผู้นำด้านความยั่งยืน เพื่อรวมพลังสมาชิก และภาคีจากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ องค์การระหว่างประเทศ ภาคประชาสังคม สถาบันการศึกษา มาระดมความคิดและขับเคลื่อนประเด็นด้านความยั่งยืนร่วมกัน
เวที GCNT Forum ประจำปี 2024 นี้ เราจึงตั้งหัวข้อการประชุมว่า “Inclusive Business for Equitable Society พลิกธุรกิจแห่งอนาคต สร้างสังคมที่เท่าเทียม และยั่งยืน” เพื่อตอกย้ำความสำคัญของการระดมพลังและการลงมือทำจากทุกภาคส่วน เพื่อร่วมขับเคลื่อนธุรกิจในห่วงโซ่อุปทานทั้งหมด ให้เปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืนไปพร้อมกัน
โดยงานจะจัดขึ้นวันที่ 2 ธันวาคมนี้ ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ESCAP Hall ถนนราชดําเนินนอก กรุงเทพฯ ผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์ https://globalcompact-th.com/ และโซเชียลมีเดีย UN Global Compact Network Thailand
ข้อมูลอ้างอิง