UN Global Compact Virtual Leaders Summit 2020

UNGCNT News

ในวาระครบรอบ 20ปี การก่อตั้ง UN Global Compact ผู้นำด้านความยั่งยืนจากทั่วโลกต่างเข้าร่วม UN Global Compact Virtual Leaders Summit 2020” การประชุมครั้งสำคัญที่เปิดโอกาสให้ร่วมพูดคุยในประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นให้โลกไปด้วยกัน ถ่ายทอดสดไปทั่วโลกผ่านระบบออนไลน์ต่อเนื่องตลอด 26 ชม. ระหว่างวันที่ 15-16 มิถุนายน 2563 โดยมีผู้นำระดับโลกกว่า 200 ท่าน ร่วมแบ่งปันวิสัยทัศน์ และมุมมองธุรกิจบนรากฐานของความยั่งยืนให้ฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่งจากวิกฤติโควิด-19 ภายใต้แนวคิด Recover Better, Recover Stronger, Recover Together” ซึ่งมีผู้สนใจเข้าร่วมงานกว่า 15,000 คน จาก 193 ประเทศ

ในพิธีเปิดการสัมมนาครั้งสำคัญนี้ ผู้นำการขับเคลื่อนความยั่งยืนระดับโลกทั้งจากสหประชาชาติและภาคธุรกิจเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก อาทิ คุณอันโตนิโอ กูร์เตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ คุณบัน คี มูน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ คุณอัล กอร์ อดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ และผู้นำในการรณรงค์เพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คุณพอล โพลแมน อดีตซีอีโอของยูนิลีเวอร์ และคุณลิเซ่ คิงโก้ ซีอีโอและผู้อำนวยการบริหาร UN Global Compact

ที่ประชุมได้ตอกย้ำความมุ่งมั่นของ UN Global Compact ที่ได้ดำเนินงานมายาวนานกว่า 20 ปี ที่จะฟื้นฟูโลกให้ดีขึ้นกว่าเดิมภายหลังจากวิกฤติโควิด-19 ในด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเพื่อบรรลุผลสำเร็จการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals – SDGs) 17 ข้อ ภายในปี 2573 หรืออีกเพียง 10 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เลขาธิการสหประชาชาติเรียกว่าเป็น “ทศวรรษแห่งการลงมือทํา” ด้วยการย้ำความมุ่งมั่นขององค์กรธุรกิจในการบูรณาการทั้งหลักการสิบประการของ UN Global Compact และ SDGs มาปรับใช้ในกลยุทธ์ทางธุรกิจ ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน วัดผลได้ ตลอดจนร่วมมือกับทุกภาคส่วน โดยเฉพาะในรูปแบบประชารัฐ

ในช่วงพิธีเปิดวันที่ 15 มิถุนายน 2563 เริ่มต้นด้วยการเสวนาในหัวข้อ Reflections on Change & Roadmaps to Recovery” หรือ“การทบทวนความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นพร้อมปูทางสู่การฟื้นตัว” โดยมี คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ และนายกสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย ได้รับเกียรติเป็นผู้แทนภาคธุรกิจไทยเพียงคนเดียวบนเวทีสัมมนาระดับโลกนี้ ร่วมพูดคุยกับ คุณคลาร่า อาภา อโซฟรา ซีอีโอแห่ง ARPA Equipos Móviles de Campaña จากสเปน คุณคาร์มานี เรดดี้ นักพัฒนานวัตกรรมด้านความยั่งยืนของบริษัท Distell จากแอฟริกาใต้ และ คุณฟิลลิป เจนนิงส์ อดีตเลขาธิการ UNI Global Union โดยมีคุณเฟมิ โอคิ ผู้สื่อข่าวระดับนานาชาติ เป็นผู้ดำเนินการเสวนา

คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ย้ำว่าการทำงานร่วมกันขององค์กรภาคเอกชน คือ กุญแจดอกสำคัญสู่อนาคตที่ยั่งยืน และการพัฒนาผู้นำที่มีจิตสำนึกด้านความยั่งยืน จะเป็นรากฐานสำคัญและช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมได้ในที่สุด และชี้ให้เห็นว่า ปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีความรุนแรงกว่าวิกฤติโควิด-19 หลายเท่า อย่างไรก็ดี วิกฤติโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก สะท้อนให้เห็นว่า ประเด็นด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ของคนจะเป็นความท้าทายใหม่ของเราทุกคน 

“วิกฤตโควิด-19 ในครั้งนี้ ปลุกให้ภาคธุรกิจตื่นตัวและเร่งเครื่องสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และเป็นโอกาสที่ดีในการผลักดันการปฏิรูปการเปลี่ยนแปลงใหม่  โดยต้องนำมาใช้เป็นกลยุทธ์ธุรกิจและดำเนินงานอย่างรวดเร็ว เพื่อให้เท่าทันกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ในฐานะผู้นำองค์กร สิ่งที่ผมให้ความสำคัญในการบริหารงานในช่วงโควิดที่ผ่านมา คือ การดูแลพนักงาน โดยเน้นความมั่นคงในการทำงานด้วยการไม่ปลดพนักงาน การปรับทักษะในการทำงานและสร้างงานใหม่ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ อาทิ อีคอมเมิร์ซ การให้ความรู้และสร้างความตระหนัก ส่งเสริมความโปร่งใสผ่านการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ผ่านกลไกที่มีอยู่ อาทิ ตลาดหลักทรัพย์ฯ เช่นเดียวกับที่บริษัทต้องเปิดเผยข้อมูลเรื่องบรรษัทภิบาล ผู้นำในวันนี้ต้องนำการเปลี่ยนแปลง (Change agent) และมีจิตสำนึก (Mindset) ด้านความยั่งยืน เป็นตัวอย่างที่ดี มีวิสัยทัศน์ที่ยิ่งใหญ่ และที่สำคัญ คือ ควรเห็นความสำคัญของการร่วมมือ เพราะเราไม่สามารถก่อให้เกิดความยั่งยืนเพียงลำพัง จำเป็นต้องอาศัยการสร้างพันธมิตร ความร่วมมือแบบประชารัฐ (Public Private Partnership) จึงเป็นกุญแจดอกสำคัญสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ผู้นำองค์กรจะต้องทำงานร่วมกันเพื่อกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงผ่านกระบวนการทางธุรกิจ สินค้า บริการ เทคโนโลยี และนวัตกรรมขององค์กร โดยจะต้องลงมือทำอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม”

คุณศุภชัยยังได้กล่าวทิ้งท้ายถึงความสำคัญของนวัตกรรมว่า “ความหมายที่แท้จริงของนวัตกรรม มิใช่เป็นเพียงเทคโนโลยี แต่ยังรวมถึงนวัตกรรมทางความคิด โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ จะต้องมีแนวคิดเรื่องความยั่งยืน ให้คุณค่ากับสังคมและสิ่งแวดล้อม พร้อมไปกับการสร้างมูลค่าทางธุรกิจ ทั้งนี้ การลงทุนที่มีศักยภาพและคุ้มค่าที่สุดเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน คือ การลงทุนด้านบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่แสดงความคิดสร้างสรรค์ สามารถช่วยต่อยอดเพิ่มมูลค่าแก่ธุรกิจได้อยู่ตลอดเวลา และจะต้องเข้าใจการสร้างคุณค่าให้สังคมและสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปด้วย นอกจากนั้น เทคโนโลยีและนวัตกรรมจะช่วยเป็นทางออกของปัญหาด้านสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และความท้าทายทางสังคมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโรคระบาด อาทิ โควิด-19 หรือในด้านการเกษตร รวมทั้งปัญหาภาวะโลกร้อนและปัญหาขยะ อีกทั้งยังสร้างความเชื่อมั่นแก่ลูกค้าและสังคมว่าธุรกิจของเรายังคงเดินหน้าไปได้อย่างต่อเนื่องและแข็งแกร่ง ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เพื่อสร้างประโยชน์สู่ลูกหลานของเรา”


วันที่สองของงานสัมมนา (16 มิถุนายน 2563) สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย ร่วมเป็นเจ้าภาพในเวทีสัมมนา Global Townhall Session ในหัวข้อ Build Back Better: Business Resilience for our Future” โดยเชิญองค์กรชั้นนำของประเทศ ถกประเด็นการมีส่วนร่วมขององค์กรธุรกิจไทยเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals ตลอดจนประเด็นท้าทายและโอกาสที่เกี่ยวข้อง เพื่อแบ่งปันแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนจากการแปลงกลยุทธ์ระดับโลกให้พลิกเข้าสู่โซลูชั่นที่สอดคล้องกับสถานการณ์ในประเทศไทย เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายในปีพ.ศ. 2573

บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) โดยมร.ริชาร์ด โจนส์ รองประธานอาวุโส และหัวหน้าฝ่ายสื่อสารองค์กรและความยั่งยืน  เปิดมุมมองของไอวีแอลว่า “สถานการณ์วิกฤตโควิด-19 แสดงให้เห็นบทบาทสำคัญของพลาสติกในการส่งเสริมสุขภาพ โดยสามารถเพิ่มความปลอดภัยและสุขอนามัยที่ดีสำหรับผู้บริโภค ความต้องการสินค้าที่มีความปลอดภัยและสะอาดที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงนี้สะท้องให้เห็นว่าพลาสติกเป็นส่วนสำคัญของสังคม ปัจจุบัน อินโดรามา เวอเจอร์ส ได้สร้างแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ในการดำเนินธุรกิจของเรา โดยมุ่งเน้นการนำ PET ที่ใช้งานแล้วมารีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เรากำลังขยายกำลังการรีไซเคิลทั่วโลก เพื่อตอบสนองความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์รีไซเคิลที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะมีส่วนสนับสนุนเป้าหมายด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนของรัฐบาลและแบรนด์ต่างๆ ทั่วโลก ไอวีแอลจะเดินหน้าแสดงให้ผู้คนเห็นประโยชน์ของ PET และ PET รีไซเคิล (rPET) ในด้านสุขภาพและสุขอนามัย เพื่อทุกคนจะสามารถมีส่วนในการสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนไปด้วยกัน”


บริษัท ไทยวา จำกัด (มหาชน)
มร. โฮ เรน ฮวา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กล่าวว่า “บริษัท ไทยวา จำกัด (มหาชน) ดำเนินธุรกิจหลักในการพัฒนาบริษัทที่สอดคล้องกับ SDGs ผ่านสามปัจจัยหลัก 1. แป้งมันสำปะหลังใช้วัตถุดิบจากการพัฒนาเครือข่ายเกษตรกรรมที่ยั่งยืน 2. การพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพที่ทำจากแป้งมันสัมปะหลัง 3. การพัฒนาผลิตภัณฑ์โปรตีนจากพืช เป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างมูลค่าเพื่มตลอดกระบวนการผลิตตั้งแต่เริ่มปลูกไปจนถึงมือผู้บริโภค (Creating Value from Farm to Shelf)

ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) คุณเรืองโรจน์ พูนผล ประธาน กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป ชี้ให้เห็นว่า ในมุมมองของธุรกิจด้านการเงินการธนาคาร “ธนาคารกสิกรไทยมีเป้าหมายที่จะเป็นธนาคารแห่งความยั่งยืน (Bank of Sustainability) ดำเนินธุรกิจบนรากฐานการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยการนำแนวคิดการพัฒนาในด้านเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม มาเป็นหลักการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้เกิดนวัตกรรมเชิงธุรกิจที่สามารถอำนวยประโยชน์สูงสุดต่อสังคมและประเทศชาติ ผ่านโครงการ Green DNA เพื่อปลูกฝังแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ลงไปในดีเอ็นเอของพนักงานทุกคน ซึ่งซึมซับอยู่ในทุกกระบวนการดำเนินธุรกิจ นอกจากนี้การให้ความสำคัญกับการศึกษาก็เป็นสิ่งที่สำคัญ กสิกรได้มีการร่วมมือกับทางภาครัฐจัดตั้งกองทุนเพื่อการเสมอภาคทางการศึกษา (Equitable Education Fund) เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการศึกษา และลดปัญหาความเหลื่อมล้ำจากการศึกษา นอกจากนี้ ทางธนาคารยังมีการสงเสริมด้าน  Digital Transformation โดยได้มีการทำระบบการเรียนออนไลน์เพื่อ reskill เก่า upskill ใหม่ เสริมความรู้ให้ทันโลกดิจิทัล เพื่อต่อยอดเป็นอาชีพได้ในอนาคต  กสิกรสามารถอยู่มาได้กว่า 75 ปี และยังคงอยู่ต่อไปได้ เพราะเราเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาสังคม บางครั้งเราจะต้องเสียสละผลกำไรเพื่อที่จะให้คนที่เดือดร้อนสามารถอยู่รอดได้ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็ก หรือ SME เราให้ความช่วยเหลือมากกว่าแค่ภาคธุรกิจ แต่เราช่วยเหลือไปถึงภาคสังคมและนำองค์ความรู้ที่มีมาสร้างความยั่งยืน”

บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) คุณสมฤดี ชัยมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กล่าวเน้นย้ำว่า “การสร้างความยั่งยืนด้านพลังงาน (Energy Sustainability) ต้องมีแนวทางปฏิบัติอย่างชัดเจน เราต่อยอดการสร้างความยั่งยืนด้านพลังงานจากเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน Sustainable Development Goals (SDGs) มาเป็น 4 แนวทาง ได้แก่ 1. สร้างการมีส่วนร่วมกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนในการสร้างความยั่งยืน ซึ่งหมายรวมถึงการลดทอนผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19  2. ‘E’ (Environmental)-Link เชื่อมโยงเรื่องสิ่งแวดล้อม ทั้งการสร้างความยั่งยืนและลดผลกระทบเชิงลบ เป็นส่วนหนึ่งในเป้าหมายในการดำเนินงานธุรกิจ 3. ชูประเด็น ‘S’ (Social - สังคม) และ ‘G’ (Governance - บรรษัทภิบาล) ตามแนวคิด ESG โดยให้ความสำคัญกับการผลักดันการเติบโตและความเป็นอยู่ที่ดีให้กับสังคม รวมทั้งดำเนินกิจการอย่างโปร่งใส มีจรรยาบรรณและเป็นธรรม และข้อ 4. ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่เป็นหัวใจหลักของบ้านปูฯ คือ Greener & Smarter Investment Focus ที่ให้ความสำคัญกับการลงทุนในการสร้างพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการนำเสนอแนวทางให้ประชาชนและผู้ประกอบการสามารถใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด (Energy Efficiency)”

บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จํากัด (มหาชน) ดร. แดเรียน แมคเบน ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมกิจการองค์กรและความยั่งยืน มองมิติของความยั่งยืนของไทยยูเนี่ยนว่า “ท่ามกลางสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 แต่ปัญหาด้านความยั่งยืนยังคงมีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสุขภาพคนของเราและความสามารถในการทำงานอย่างปลอดภัยและถูกต้องตามกฎหมาย ความสามารถของเราในการจัดหาวัตถุดิบอย่างรับผิดชอบ และความต้องการที่จะจัดการกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมทั่วโลก เช่น เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งในฐานะผู้นำด้านอาหารทะเลระดับโลก ไทยยูเนี่ยนมีความมุ่งมั่นในการสร้างสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี รวมถึงการมีท้องทะเลที่อุดมสมบูรณ์ ผ่านการดำเนินงานภายใต้กลยุทธ์ความยั่งยืนของเรา หรือ SeaChange® ซึ่งจะครอบคลุมการดำเนินงานของธุรกิจอาหารทะเลทั้งหมด”

UN Global Compact Virtual Leaders Summit 2020 : GCNT PLAYLISTS

Highlights from 2020 Leaders Summit: UNGC PLAYLISTS


ร่วมเปลี่ยนแปลงโลกกับเรา
UN Global Compact
Network Thailand
APPLY FOR MEMBERSHIP
เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ เราใช้คุกกี้เพื่อเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และการใช้งานของเว็บไซต์เพื่อปรับปรุง ปรับแต่งเนื้อหา และโฆษณาตามความต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้ เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์ และ นโยบายสิทธิส่วนบุคคล
Subscribe
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถปรับแต่งการตั้งค่าคุกกี้ในแต่ละประเภทได้ดังต่อไปนี้
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่จำเป็นต่อการให้บริการ
(Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการบนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่จะช่วยให้ท่านสามารถเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยของเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้เพื่อการวัดผลการทำงานและฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์
(Performance and Functionality Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะถูกใช้เพื่อจดจำท่านเมื่อท่านกลับเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้ง ช่วยให้เราปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะกับท่านและจดจำการตั้งค่าของท่าน (เช่น ภาษาหรือภูมิภาคที่ท่านเลือก) แต่ไม่จำเป็นต่อการวัดผลการทำงานของเว็บไซต์
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์หรือเพื่อการปรับแต่ง
(Analytical or Customization Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ใช้งานเข้าสู่เว็บไซต์และออกจากเว็บไซต์ เราใช้ข้อมูลนี้ในลักษณะของข้อมูลโดยรวมเพื่อช่วยให้เราปรับปรุงวิธีการทำงานของเว็บไซต์ หรือเพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราตามความสนใจของท่านได้