Toggle main menu visibility
ABOUT US
UNGCNT
Our Board
Our Members
Contact Us
MEMBERSHIP
Join us
Benefits
Best Practices
Awards
Human Rights
แนวทางการดำเนินงานของ ก.ล.ต. เพื่อขับเคลื่อนความยั่งยืนในตลาดทุนไทย
Environment
ซีไอเอ็มบี ไทย การเงินที่ยั่งยืน ขับเคลื่อนสังคมและสิ่งแวดล้อมเชิงบวก
Human Rights
หัวเว่ย มุ่งมั่นพัฒนาคนดิจิทัล ขับเคลื่อนอนาคตประเทศไทย
ACADEMY
UNGC Academy
BHR Academy
CIRCO Hub
SI SPHERE
NEWS & EVENTS
News
Events
News
GCNT ร่วมงาน Corporate Sustainability and Environmental Rights in Asia 2025 (CSERA)
READ MORE
News
UN Global Compact Network Thailand ร่วมกิจกรรมในวันสตรีสากลที่จัดโดยหอการค้าอเมริกันในประเทศไทย
READ MORE
News
เชิญสมาชิก GCNT และบริษัทในห่วงโซ่อุปทานร่วมสัมมนาออนไลน์ในหัวข้อ การสร้างความรู้และเตรียมความพร้อมสำหรับการปฏิบัติตามข้อกำหนดของสหภาพยุโรป (EU) ในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
READ MORE
KNOWLEDGE CENTER
Articles
Publications
Media
Publication
SDGs Mega Trends 2025: Forward Faster Now
เราเดินทางมามากกว่าครึ่งทางของ SDGs Agenda 2030 ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายนานับประการ การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน เป็นหนึ่งในวาระแห่งโลกที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ นี่คือโอกาสของผู้นำที่จะร่วมขับเคลื่อนความยั่งยืนให้กับประเทศไทย และโลกของเรา มาเร่งสร้างอนาคตที่ดีให้แก่ทุกคน และสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนร่วมกัน วันนี้
READ MORE
Publication
GCNT Forum 2024: Inclusive Business for Equitable Society
พลิกธุรกิจแห่งอนาคต สร้างสังคมที่เท่าเทียมและยั่งยืน
READ MORE
Publication
Forward Faster: UNGCNT Special Report
UNGC เปิดตัว Forward Faster โครงการที่เรียกร้องให้ภาคธุรกิจเร่งรัดการดำเนินงานใน 5 ประเด็นเร่งด่วนที่จะสร้างผลกระทบด้านความยั่งยืนอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว เพื่อขับเคลื่อนโลกสู่การบรรลุเป้าหมาย SDGs
READ MORE
MEMBERS' AREA
ไทย
English
ดร.วนิดา กำเนิดเพ็ชร์ เส้นทางสู่ระบบอาหารที่ยั่งยืนของประเทศไทยในฐานะผู้ผลิตอาหารรายสำคัญของโลก
Article
1 Oct 2021
Share on
“ระบบอาหารที่ยั่งยืน คือกลไกสู่การบรรลุ SDGs เพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติ สร้างความเข้มแข็งของสังคม และเสริมสร้างความมั่นคงของระบบเศรษฐกิจโลก”
วารสาร GCNT ฉบับ Food Systems ชวน ดร.วนิดา กำเนิดเพ็ชร์ ผู้อำนวยการสำนักการเกษตรต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สนทนาถึงเส้นทางสู่ระบบอาหารที่ยั่งยืนของประเทศไทย ในฐานะผู้ผลิตอาหารรายสำคัญของโลก เพื่อตอบมิติความยั่งยืนทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
ทำไมระบบอาหารจึงสำคัญ
การผลิตและบริโภคอาหารเป็นเรื่องท้าทายระดับโลก ในปี 2050 โลกเราอาจมีประชากรมากถึง 9 พันล้านคน ประเด็นที่เราทุกภาคส่วนต้องร่วมกันคิดตั้งแต่วันนี้ คือเราจะผลิตอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการของประชากรโลกจำนวนนั้นได้อย่างไร โดยไม่รบกวนโลกมากจนเกินไป เราจะผลิตอาหารอย่างไรให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมากที่สุด
องค์การสหประชาชาติเล็งเห็นว่าระบบอาหารที่ยั่งยืน จะเป็นกลไกที่ช่วยให้เราเดินหน้าสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่ประชาคมโลกสร้างข้อตกลงกันเมื่อปี 2015 ว่าภายในปี 2030 เราต้องรักษาทรัพยากรธรรมชาติ สร้างความเข้มแข็งของสังคม และเสริมสร้างความมั่นคงของระบบเศรษฐกิจโลกได้ จึงมีแนวคิดที่จะระดมความคิดจากทุกภาคส่วน หารือการแก้ไข และยกระดับการผลิตอาหารให้ยั่งยืนผ่านกระบวนการ Food Systems Summit ขึ้น
ระบบอาหารที่โลกกำลังผลักดัน เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยตรง เพราะอาหารเชื่อมโยงทั้ง 17 เป้าหมาย SDGs เข้าด้วยกัน หากทุกคนไม่ลงมือทำในส่วนที่ตัวเองทำได้ เราก็พลิกโฉมระบบอาหารให้ยั่งยืนไม่ได้
สำหรับประเทศไทย ได้มีการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบอาหารที่ยั่งยืนและส่งเสริมความเท่าเทียม (National Pathway to Sustainable & Equitable Food Systems) ซึ่งสะท้อนแนวคิดที่ว่าระบบอาหาร เป็นปัจจัยหลักที่ส่งเสริมเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในทุกหัวข้อ ซึ่งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 ที่กำลังจัดทำอยู่ในขณะนี้ ก็ได้นำแนวคิดการพัฒนาระบบอาหารที่ยั่งยืนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของแผน
พลิกโฉมระบบอาหารประเทศไทย
ระบบอาหารประกอบไปด้วยกระบวนการ ทรัพยากร และผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่คุณค่าของอาหาร (Food Value Chain) ตั้งแต่การผลิตวัตถุดิบ การเพาะปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ การแปรรูป ขนส่ง จัดจำหน่าย การบริโภคและจัดการของเสียที่เป็นขยะอาหารและบรรจุภัณฑ์ จนถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ และสุขภาพมนุษย์ ทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก
การขับเคลื่อนความยั่งยืนผ่านการพัฒนาระบบอาหาร ต้องคำนึงถึงบริบทของท้องถิ่น (Local Context) ทั้งในระดับภูมิภาค ระดับประเทศ เล็กลงมาถึงขั้นระดับชุมชน ร่วมกับปัจจัยระดับโลก (Global Trend)
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (GCNT) จึงได้เริ่มหารือกันตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา เพื่อหาคำตอบการสร้างตอบ Food Value Chain ที่ดี ตอบมิติความยั่งยืนทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ออกมาเป็น 5 เส้นทางสู่ระบบอาหารที่ยั่งยืนและเป็นธรรม (5 Action Tracks) ภายใต้แนวทางขององค์การสหประชาชาติ
5 Action Tracks เส้นทางสู่ระบบอาหารที่ยั่งยืนและเป็นธรรม
เส้นทางที่ 1 อิ่มดีถ้วนหน้า
ความสำเร็จของเป้าหมายนี้ คือการลดความไม่เท่าเทียมของการเข้าถึงอาหาร เพื่อหยุดยั้งความหิวและการขาดโภชนาการในทุกด้าน ลดการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases หรือ NCDs) ทำให้คนทุกคนได้รับอาหารอย่างพอเพียงและมีสุขภาพดี ให้คนทุกคนเข้าถึงผลิตภัณฑ์อาหารที่ปลอดภัย สามารถหาได้ในปริมาณที่เพียงพอ
เส้นทางที่ 2 อิ่มดีมีสุข
กรอบดำเนินการเพื่อปรับวิถีกินของผู้บริโภคให้อิ่มแบบสุขภาพดี ยืนยาว สู่อาหารที่มีโภชนาการซึ่งใช้ทรัพยาการที่น้อยลงในการผลิตและขนย้าย สร้างอุปทานของผู้บริโภคต่ออาหารที่ผลิตเพื่อความยั่งยืน เสริมสร้างความเข้มแข็งห่วงโซ่คุณค่าในพื้นที่ และส่งเสริมการนำทรัพยาการอาหารกลับมาใช้ใหม่หรือรีไซเคิล
เส้นทางที่ 3 อิ่มดีรักษ์โลก
เป้าหมายนี้มีเพื่อส่งเสริมการผลิตอาหารให้เพียงพอ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ มลพิษ การใช้น้ำ ดินเสื่อมโทรมและการเกิดก๊าซเรือนกระจก รวมถึงทำความเข้าใจข้อจำกัดและโอกาสของเกษตรกรรายย่อย พร้อมสนับสนุนธรรมาภิบาลของระบบอาหารซึ่งปรับกระตุ้นการลดความสูญเสียอาหารและผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมด้านลบอื่น ๆ
เส้นทางที่ 4 อิ่มดีทั่วถึง
ส่งเสริมความเป็นอยู่และกระจายความเท่าเทียม เพื่อลดความยากจนโดยส่งเสริมการจ้างงานที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมสำหรับทุกคนในห่วงโซ่คุณค่าอาหาร พูดถึงการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรและการแจกจ่ายคุณค่าที่ไม่ยุติธรรม ปรับปรุงความยืดหยุ่นผ่านทางการปกป้องทางสังคม เพื่อให้มั่นใจว่า ระบบอาหารจะไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง
เส้นทางที่ 5 อิ่มดีทุกเมื่อ
กรอบดำเนินการนี้ เพื่อให้เกิดการทำงานของระบบอาหารยั่งยืนต่อเนื่อง ในพื้นที่ ๆ มีแนวโน้มการเกิดความขัดแย้งและภัยธรรมชาติ ส่งเสริมกิจกรรมทั่วโลกเพื่อปกป้องการผลิตอาหารจากผลกระทบของการระบาดของโรค เพื่อให้แน่ใจว่า ทุกคนภายในระบบอาหารได้รับการเพิ่มพลังในการเตรียมพร้อมเพื่อต้านทานและฟื้นตัวจากความไม่มั่นคง
การทำงานร่วมกันแบบพันธมิตร
เส้นทางสู่ระบบอาหารที่ยั่งยืนและเป็นธรรมทั้ง 5 เกิดขึ้นได้ด้วยแนวร่วมพันธมิตรที่ทำงานร่วมกัน (Coalition of Actions) สำหรับประเทศไทย การก่อร่างสร้างพันธมิตรเพื่อทำงานร่วมกันนี้ จะแบ่งเป็น 2 ระดับ
ระดับแรกผลักดันผ่าน 8 หัวข้อสำคัญคือ
อาหารในโรงเรียน (School Feeding) การเสริมสารอาหารพิเศษ (Food Fortification) การส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศในระบบอาหาร (Gender 50/50) การมีส่วนร่วมของเยาวชน (Youth) การจัดการการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร (Food Loss & Food Waste) การสร้างปัจจัยส่งเสริมระบบอาหาร (Food Environment) การทำเกษตรเชิงนิเวศและการเกษตรที่สร้างสมดุลแก่ธรรมชาติ (Agroecology and Regenerative Agriculture) และการพัฒนานวัตกรรม (Innovation)
ส่วนระดับที่ 2
ขับเคลื่อนผ่าน 6 หัวข้อการดำเนินงานของภาคเอกชน ประกอบไปด้วย การประเมินมูลค่าที่แท้จริงของอาหาร (True Value of Food) รายได้ที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต (100% Living Income) การผลิตโปรตีนคุณภาพสูงอย่างยั่งยืนและทุกคนเข้าถึงได้ (Sustainable, high quality protein for all) อาหารที่เสริมสารอาหาร (Fortified foods) นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Innovations & Solutions) และการดูแลสุขภาพดิน (Soil Health)
Related Contents
Most Popular
ร่วมเปลี่ยนแปลงโลกกับเรา
UN Global Compact
Network Thailand
APPLY FOR MEMBERSHIP
เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ เราใช้คุกกี้เพื่อเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และการใช้งานของเว็บไซต์เพื่อปรับปรุง ปรับแต่งเนื้อหา และโฆษณาตามความต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้
เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์
และ
นโยบายสิทธิส่วนบุคคล
ยอมรับทั้งหมด
การตั้งค่าคุกกี้
Subscribe
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถปรับแต่งการตั้งค่าคุกกี้ในแต่ละประเภทได้ดังต่อไปนี้
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่จำเป็นต่อการให้บริการ
(Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการบนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่จะช่วยให้ท่านสามารถเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยของเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้เพื่อการวัดผลการทำงานและฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์
(Performance and Functionality Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะถูกใช้เพื่อจดจำท่านเมื่อท่านกลับเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้ง ช่วยให้เราปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะกับท่านและจดจำการตั้งค่าของท่าน (เช่น ภาษาหรือภูมิภาคที่ท่านเลือก) แต่ไม่จำเป็นต่อการวัดผลการทำงานของเว็บไซต์
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์หรือเพื่อการปรับแต่ง
(Analytical or Customization Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ใช้งานเข้าสู่เว็บไซต์และออกจากเว็บไซต์ เราใช้ข้อมูลนี้ในลักษณะของข้อมูลโดยรวมเพื่อช่วยให้เราปรับปรุงวิธีการทำงานของเว็บไซต์ หรือเพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราตามความสนใจของท่านได้
ยืนยันการตั้งค่า