Climate Change 2022: Mitigation of Climate Change - Full video (แปลภาษาไทย)

Article

  • Video of Climate Change 2022: Mitigation of Climate Change - the Working Group III contribution to the IPCC Sixth Assessment Report.

(บทบรรยายภาษาไทย)
คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศปี 2022: การบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ - วิดีโอฉบับเต็ม

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกจากกิจกรรมของมนุษย์อยู่ที่ระดับสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ แต่มีหลักฐานเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการดำเนินการด้านสภาพอากาศ และอัตราการเติบโตของการปล่อยมลพิษทั่วโลกเฉลี่ยต่อปี ได้ชะลอตัวลงในทศวรรษที่ผ่านมา
ในสองสามปีข้างหน้านี้เป็นช่วงเวลาที่สำคัญอย่างยิ่ง หากทุกภาคส่วนไม่มีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทันทีและในเชิงลึก การจำกัดภาวะโลกร้อนไว้ที่ 1.5 ゚C คงจะไกลเกินเอื้อม

ในรายงานด้านมาตรการการลดก๊าซเรือนกระจกฉบับล่าสุดของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) แสดงให้เห็นว่ามีวิธีการหลายอย่างในทุกภาคส่วน ที่สามารถดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างน้อยครึ่งหนึ่งภายในปี 2573


การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2564: การลดก๊าซเรือนกระจก
บทสัมภาษณ์: คุณจิม สเคีย คณะทำงาน III ประธานร่วม

“ในรายงานฉบับนี้แสดงให้เห็นว่า หากเราดำเนินการตามที่เป็นอยู่ เราจะไม่สามารถจำกัดภาวะโลกร้อนไว้ที่ 2゚C ได้…หรือแม้แต่…1.5 ゚C  แต่เราพบสัญญาณของความคืบหน้า…
ฉันหมายถึง ครึ่งหนึ่งของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลก ได้มีข้อกำหนดทางกฎหมายและนโยบายเกี่ยวกับสภาพอากาศ และเราเห็นต้นทุนที่ลดลงของพลังงานหมุนเวียนและมีการใช้มากขึ้น สิ่งเหล่านี้กำลังเริ่มสร้างความแตกต่าง…

ดังนั้น หากเราพิจารณาทุกภาคส่วนที่เรากล่าวถึงในรายงาน เราจะพบทางเลือกมากมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งในเชิงเทคโนโลยีและในเชิงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
และเมื่อคุณรวมทั้งหมดเข้าด้วยกัน คุณจะเห็นว่าเรามีความสามารถในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณครึ่งหนึ่งภายในปี 2030 แต่จะต้องมีการดำเนินการอย่างรวดเร็วและมุ่งมั่นอย่างมาก เพื่อให้แผนการดำเนินการที่วางไว้เกิดขึ้นจริง”

ภาคพลังงานคิดเป็นสัดส่วนประมาณหนึ่งในสามของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด การเพิ่มขึ้นของนโยบายและกฎหมายในช่วงที่ผ่านมากได้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน และตั้งแต่ปี 2010 ต้นทุนการใช้พลังงานก็ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยลดลง 85% สำหรับพลังงานแสงอาทิตย์และแบตเตอรี่ และ 55% สำหรับพลังงานลมซึ่งจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในภาคส่วนนี้เพื่อลดการปล่อยมลพิษ


บทสัมภาษณ์: ผู้เขียนหลัก ลินดา สเตก
บทที่ 6: ระบบไฟฟ้า

“เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระบบพลังงาน มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง แม้ว่าเราจะใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลน้อยกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่นมากในปัจจุบัน แต่ก็ยังมีการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลอยู่ในโลก ดังนั้นเราควรที่จะใช้แหล่งพลังงานที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำทดแทน เช่น พลังลม พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานทางเลือก เช่น ไฮโดรเจน และเชื้อเพลิงชีวภาพที่ยั่งยืน ให้มากขึ้นไปอีก ยิ่งกว่านั้น การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานและส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ก็จะทำให้ในอนาคตเราใช้พลังงานน้อยขึ้นกว่าปัจจุบัน
ภาคการเกษตร ป่าไม้ และการใช้ที่ดิน มีส่วนทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่าหนึ่งในห้า ภาคส่วนนี้ไม่เพียงแต่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในวงกว้างเท่านั้น แต่ยังสามารถกำจัดและเก็บกักคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณมากได้อีกด้วย

บทสัมภาษณ์: ผู้ประสานงาน ราชิต มราเบศร์
บทที่ 7 เกษตรกรรม ป่าไม้ และการใช้ประโยชน์ที่ดินอื่นๆ (AFOLU)

“จากรายงานฉบับนี้แสดงให้เห็นว่า เพื่อหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เราต้องอนุรักษ์ระบบนิเวศและปรับปรุงระบบห่วงโซ่อาหาร นอกจากเราจะต้องฟื้นฟู ปกป้อง และจัดการระบบนิเวศที่อุดมด้วยคาร์บอนอย่างยั่งยืน เช่น ป่าไม้และทุ่งหญ้า และเราจะต้องลดความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกจากระบบการผลิตอาหาร เรายังต้องควบคุมการลดเศษอาหารและอาหารเหลือทิ้ง และเปลี่ยนไปรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและยั่งยืนมากขึ้นด้วย ทางเลือกทั้งหมดเหล่านี้ สามารถลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 8 ถึง 14 กิกะตันต่อปีจากปัจจุบันจนถึงปี 2050 ด้วยต้นทุนที่ค่อนข้างต่ำ”

นี่เป็นการประเมินของ IPCC ครั้งแรกที่ในการนำหัวข้อเรื่องต้องการบริโภคและบริการและแง่มุมทางสังคมของการลดก๊าซเรือนกระจกมาพิจารณาเพื่อให้เกิดการผสมผสานนโยบายที่มีประสิทธิภาพ การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและการปรับปรุงด้านเทคโนโลยีซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่มีศักยภาพในการลดการปล่อยมลพิษได้อย่างไร


บทสัมภาษณ์: ผู้เขียนหลัก นาเดีย ไมซิ
บทที่ 6: ความต้องการ บริการ และด้านสังคมของการบรรเทาทุกข์

“รายงานนี้แสดงให้เห็นเป็นครั้งแรกถึงความสำคัญของความต้องการด้านสังคมและศักยภาพมหาศาลในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นที่ชัดเจนว่าขณะนี้พฤติกรรมของมนุษย์เป็นศูนย์กลางของปัญหา และยังเป็นแนวทางแก้ไขหากเกี่ยวข้องกับนโยบายที่เกี่ยวข้อง โครงสร้างพื้นฐานที่ปรับเปลี่ยน และเทคโนโลยีที่มีอยู่ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อทุกคน แต่ 10% ของคนรวยที่สุดต้องรับผิดชอบ 40% ของการปล่อยมลพิษ ดังนั้นพวกเขาจึงต้องตั้งคำถามเกี่ยวกับวิถีชีวิต บรรทัดฐานทางวัฒนธรรม และเปลี่ยนแปลงในที่สุด”



เมืองและอาคาร

เมืองและพื้นที่เขตเมืองอื่นๆ ที่ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ทั่วโลกมีความรับผิดชอบต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกมากกว่าสองในสาม ไม่ว่าจะผ่านการผลิตสินค้าและบริการหรือการขนส่งไปยังเมืองต่างๆ อาคารยังมีบทบาทสำคัญในการลดการปล่อยมลพิษ

บทสัมภาษณ์: ไดอาน่า เออร์เจ-วอร์แซทซ์ คณะทำงาน ๓ รอง - ประธาน

“การประเมินนี้แสดงให้เห็นว่า ทั้งภาคการอาคารและเมืองต่างๆ สามารถปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ได้ในช่วงกลางศตวรรษ อย่างไรก็ตาม ทศวรรษหน้ามีความสำคัญเพิ่มขึ้น เนื่องจากทั้งสองสิ่งนี้เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานที่จะบังคับให้เราปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ในเมืองต่างๆ การดำเนินการที่สำคัญที่สุดคือการออกแบบเมืองให้ทำงานร่วมกันกับครัวเรือนได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังต้องทำให้ระบบขนส่งดีขึ้น ซึ่งเราอาจจะทำการขนส่งแบบแอคทีฟได้จริงเช่นเดียวกับการใช้ไฟฟ้า และสุดท้าย คือดำเนินการกำจัดและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ในสภาพแวดล้อมในเมือง เช่น พื้นที่สีเขียวและสวนสาธารณะ อาคารต่างๆ ก็สามารถช่วยได้ ตัวอย่างเช่น เราแสดงให้เห็นว่าในสภาพอากาศปัจจุบัน เราสามารถสร้างอาคารที่เป็นอาคารการปล่อยก๊าซเรือนกระจุสุทธิเป็นศูนย์ได้ ในประเทศที่พัฒนาแล้ว คำว่า ‘ดัดแปลงแก้ไข’ นั้นสำคัญกว่า ในขณะที่ในประเทศกำลังพัฒนา การมุ่งเน้นที่การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพและการจ่ายพลังงานสะอาดเป็นสำคัญ เช่น การจ่ายไฟฟ้าพลังงานสะอาด”

การขนส่ง

วิธีต่างๆ ที่เราใช้ในภาคขนส่ง ไม่ว่าเพื่อการเดินทางหรือเพื่อขนส่งสินค้า มีศักยภาพอย่างยิ่งต่อการลดการปล่อยมลพิษ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการลดปริมาณคาร์บอนในภาคพลังงาน รถยนต์ไฟฟ้าที่ผสมผสานกับการผลิตไฟฟ้าที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์นั้นทำให้เกิดศักยภาพสูงสุดในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีแบตเตอรี่สามารถช่วยในการใช้พลังงานไฟฟ้าของรถบรรทุกได้ สำหรับการขนส่งทางเรือและทางอากาศซึ่งกำจัดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ยากกว่า โดยมีไฮโดรเจนและเชื้อเพลิงชีวภาพที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำกว่าเป็นทางเลือกแทนการใช้ไฟฟ้า ทางเลือกเหล่านี้เมื่อผนวกกับแนวทางการแก้ปัญหาในพื้นที่อื่นๆ เช่น พื้นที่ในเขตเมืองบวกกับความต้องการที่ลดลง ทำให้เราพอที่จะมองเห็นหนทางของการลดการปล่อยมลพิษในภาคการขนส่ง


อุตสาหกรรม

หนึ่งในสี่ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกมาจากภาคอุตสาหกรรม ซึ่งการก้าวไปถึงจุดที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์เป็นสิ่งที่ท้าทาย การก้าวไปถึงจุดนั้นต้องใช้กระบวนการผลิตรูปแบบใหม่ และใช้ไฟฟ้าที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกต่ำ ไฮโดรเจ และอีกทั้งเรายังจำเป็นต้องดักจับและกักเก็บคาร์บอน

บทสัมภาษณ์: ผู้เขียนหลัก คานาโกะ ทานากะ
บทที่ 16: นวัตกรรม การพัฒนาเทคโนโลยี

“การปล่อยมลพิษจากภาคอุตสาหกรรมได้เพิ่มขึ้นเร็วกว่าภาคส่วนอื่นๆ ตั้งแต่ปี 2543 ซึ่งคิดเป็น 34% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดเมื่อรวมการปล่อยทางอ้อมด้วย เช่น การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตไฟฟ้าหรือความร้อน ปัจจุบันทุนในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมต่อหัวในประเทศพัฒนาแล้วบางประเทศทรงตัว บ้างไม่คงที่ และกำลังเพิ่มขึ้นทั่วโลก ซึ่งหมายความว่าการผลิตภาคอุตสาหกรรมจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสงผลให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน

เมื่อพิจารณาถึงวิธีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนั้น การประหยัดพลังงานและการใช้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญ และยังต้องใช้ความพยายามอย่างมาก เช่น การใช้วัสดุที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น การนำผลิตภัณฑ์กลับมาใช้ใหม่และการรีไซเคิล หรือการใช้ไฟฟ้าและไฮโดรเจน และการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน

การที่เราใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ปัจจุบันเพื่อนำพาภาคอุตสาหกรรมทั้งหมดไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์นั้นต้องใช้เวลา 5 ถึง 15 ปีในการสร้างสรรค์นวัตกรรม การค้า และนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ การพัฒนาเทคโนโลยีเท่านั้นไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้เท่านั้น ความต้องการวัสดุใหม่ การพัฒนาตลาด ธรรมาภิบาล และห่วงโซ่คุณค่าใหม่ที่จะเป็นผลมาจากภูมิรัฐศาสตร์ด้านพลังงานใหม่ของพลังงานหมุนเวียน โครงสร้างอุตสาหกรรมใหม่นั้นมีความจำเป็นต่อความต้องการของโลกที่ปลอดคาร์บอน”


บทสัมภาษณ์: ผู้ประสานงาน ราชิต มราเบศร์
บทที่ 7 การเกษตรกรรม การป่าไม้ และการใช้ประโยชน์ที่ดิน (AFOLU)

“การจำกัดอุณหภูมิโลกที่เพิ่มเป็น 1.5゚C จะไม่สามารถทำได้โดยปราศจากการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ วิธีการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์อาจเป็นวิธีการแก้ปัญหาตามธรรมชาติในการกักเก็บคาร์บอนไว้บนบกและในมหาสมุทร ตลอดจนเทคโนโลยีที่ดึง [คาร์บอนไดออกไซด์] CO2 ออกจากบรรยากาศโดยตรง

การกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สามารถสร้างดุลยภาพที่แข็งแรง เพื่อขจัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากอุตสาหกรรมการบินและกระบวนการทางอุตสาหกรรม ในระยะยาว ถึงแม้ว่าการขยายเทคโนโลยีการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์อาจทำให้ภาวะโลกร้อนลดลงได้ แต่ในปัจจุบันยังคงจำเป็นต้องมีการลงทุนและการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ต่อไป”


การเงิน

ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าถือว่าเป็นช่วงเวลาวิกฤต แต่ก็ยังมีวิธีที่จะปรับปรุงโอกาสที่จะทำให้ภารกิจของเราลุล่วง

บทสัมภาษณ์: รามอน ปิกซ์ มาโดรกา คณะทำงาน ๓ รองประธาน

“ในด้านการเงิน มีช่องว่างมากมายระหว่างข้อกำหนดในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและกระแสการเงินที่มีอยู่ กระแสการเงินในปัจจุบันเป็นปัจจัยหนึ่งในสามของมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจกซึ่งปัจจุบันมีการดำเนินการน้อยกว่าหกเท่าจากที่ต้องการ เพื่อจำกัดภาวะโลกร้อนไว้ที่ 1.5゚C หรือ 2゚C ภายในปี พ.ศ. 2573 และนี่คือสัญญาณทั้งสำหรับรัฐบาลและสำหรับประชาคมระหว่างประเทศเกี่ยวกับความจำเป็นในการปิดช่องว่างนี้ ซึ่งอาจจะกว้างกว่าในกรณีของประเทศกำลังพัฒนา โดยคำนึงถึงความสามารถที่จำกัดในด้านการเงินในแง่ของเทคโนโลยีและในแง่ของความสามารถของสถาบัน ซึ่งสถานการณ์จะยากขึ้นมากในกรณีของประเทศที่พัฒนาน้อยกว่า”

การดำเนินการด้านสภาพอากาศแบบเร่งรัดมีความสำคัญต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคุกคามสุขภาพและการดำรงชีวิตของผู้คนทั่วโลกและสุขภาพของโลกเรามากขึ้น ในทุกประเทศ การดำเนินการเพื่อจำกัดภาวะโลกร้อนนั้นเป็นผลในเชิงกว้างต่อการลดก๊าซเรือนกระจกในสังคม

บทสัมภาษณ์: ปรียาดาร์ชิ ชุกละ คณะทำงาน III ประธานร่วม

“ในรายงานฉบับนี้ เราแสดงให้เห็นว่าการลดก๊าซเรือนกระจกนั้นดำเนินไปควบคู่กับการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนหลายข้อได้อย่างไร ตัวอย่างเช่น หากเราดูที่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน 'โครงสร้างพื้นฐานสีเขียวและสีน้ำเงิน' เราจะเห็นว่าหลังคาและอาคารสีเขียว เครือข่ายสวนสาธารณะและพื้นที่เปิดโล่ง พื้นที่ชุ่มน้ำ และการเกษตรในเมือง ไม่เพียงดูดซับและกักเก็บคาร์บอน แต่ยังบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนอื่น ๆ อีกมากมายในขณะเดียวกัน ซึ่งการดำเนินการเหล่านี้สามารถลดแรงดันต่อระบบท่อระบายน้ำในเมือง ลดความเสี่ยงจากน้ำท่วมและผลกระทบจากเกาะความร้อน และยังให้ประโยชน์มากมายต่อสุขภาพจากมลพิษทางอากาศที่ลดลงอีกด้วย”


บทสัมภาษณ์: โฮซอง ลี ประธาน IPCC

“เรามีเครื่องมือและความรู้ที่จำเป็นในการจำกัดภาวะโลกร้อนและอนาคตที่น่าอยู่ กฎระเบียบ กลไกทางการตลาด และนโยบาย มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างการตอบสนอง การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีความมุ่งมั่นจริงจังที่มากขึ้นจำเป็นต้องมีการร่วมกำหนดนโยบายทั่วทั้งรัฐบาลในระดับต่างๆ และผ่านความร่วมมือระหว่างประเทศ”


บทสัมภาษณ์: อับดุลลาห์ โมกษิต

เลขาธิการคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ IPCC

“IPCC เป็นมาตรฐานระดับทองสำหรับภูมิอากาศวิทยา รายงานของเราให้ความรู้ล่าสุด ทันสถานการณ์แก่รัฐบาลและผู้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะช่วยแจ้งให้ทราบถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ รอบการประเมินนี้เป็นรอบที่เข้มข้นที่สุดและเป็นประวัติของ IPCC ไม่เพียงเพราะรายงาน IPCC จำนวนมากเท่านั้น แต่ยังเป็นเพราะเราต้องหาวิธีใหม่ๆ ในการปรับตัวให้เข้ากับความท้าทายของการระบาดใหญ่ด้วย การระบาดใหญ่ไมสามารถหยุดการทำงานของ IPCC และเราสามารถทำได้สำเร็จร่วมกัน”

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นผลมาจากการใช้พลังงานและการใช้ที่ดินที่ไม่ยั่งยืน วิถีชีวิตของผู้คน และรูปแบบของการบริโภคและการผลิตมากว่าศตวรรษ ในรายงานแสดงวิธีดำเนินการ ณ ขณะนี้ ซึ่งสามารถขับเคลื่อนเราไปสู่โลกที่ยุติธรรมและน่าอยู่มากยิ่งขึ้น

รายงานนี้จัดทำโดยผู้เขียน 278 คนจาก 65 ประเทศ ผู้เขียนรวบรวมสิ่งพิมพ์มากกว่า 18,000 ฉบับในรายงานและพิจารณาความคิดเห็นทบทวน 59,212 รายการจากรัฐบาลและผู้เชี่ยวชาญหลายท่าน ช่วยทำให้การประเมินนี้มีประสิทธิภาพ มีความเกี่ยวข้อง และละเอียดถี่ถ้วน

ภาพ: จัดทำโดย
องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)
องค์การบริหารมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA)
สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR)
Taryn Elliot, Kelly L, Tom Fisk จาก Pexels

ผลิตโดย
สำนักเลขาธิการคณะกรรมมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
คณะทำงาน lll หน่วยสนับสนุนด้านเทคนิค
[เครดิต] 2022 คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC)
#IPCC
#รายงานสภาพอากาศ

คณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC)
องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO)
โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP)

ที่มาภาพประกอบของบทความ
Photo credit: ©Unsplash /Jeremy Bezanger /Jerry Zhang /Emma Gossett

เรียนรู้เพิ่มเติม
https://www.ipcc.ch/report/sixth-assessment-report-working-group-3/ 
https://globalcompact-th.com/news/detail/824 



ร่วมเปลี่ยนแปลงโลกกับเรา
UN Global Compact
Network Thailand
APPLY FOR MEMBERSHIP
เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ เราใช้คุกกี้เพื่อเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และการใช้งานของเว็บไซต์เพื่อปรับปรุง ปรับแต่งเนื้อหา และโฆษณาตามความต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้ เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์ และ นโยบายสิทธิส่วนบุคคล
Subscribe
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถปรับแต่งการตั้งค่าคุกกี้ในแต่ละประเภทได้ดังต่อไปนี้
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่จำเป็นต่อการให้บริการ
(Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการบนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่จะช่วยให้ท่านสามารถเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยของเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้เพื่อการวัดผลการทำงานและฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์
(Performance and Functionality Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะถูกใช้เพื่อจดจำท่านเมื่อท่านกลับเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้ง ช่วยให้เราปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะกับท่านและจดจำการตั้งค่าของท่าน (เช่น ภาษาหรือภูมิภาคที่ท่านเลือก) แต่ไม่จำเป็นต่อการวัดผลการทำงานของเว็บไซต์
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์หรือเพื่อการปรับแต่ง
(Analytical or Customization Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ใช้งานเข้าสู่เว็บไซต์และออกจากเว็บไซต์ เราใช้ข้อมูลนี้ในลักษณะของข้อมูลโดยรวมเพื่อช่วยให้เราปรับปรุงวิธีการทำงานของเว็บไซต์ หรือเพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราตามความสนใจของท่านได้