การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในบริบทของเศรษฐกิจไทย

Article

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทความที่จะนำเสนอในงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2564 ของธนาคารแห่งประเทศไทยในหัวข้อ “
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียว” ซึ่งจะจัดในวันที่ 30 กันยายน 2564 ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียน ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ และธนาคารแห่งประเทศไทย 

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียว บทความที่ 3
การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศในบริบทของเศรษฐกิจไทย
ประเทศไทยควรจะเตรียมรับมืออย่างไรกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อลดมูลค่าความเสียหายที่คาดว่าจะสูงมากในอนาคต?

คณะผู้เขียน
ดร.กรรณิการ์ ธรรมพานิชวงค์
รศ. ดร.วิษณุ อรรถวานิช
รศ. ดร.บัณฑิต ลิ้มมีโชคชัย
ดร.อัศมน ลิ่มสกุล


ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นลำดับต้นๆ ของโลก โดยเหตุการณ์ด้านภูมิอากาศเกิดขึ้นมากกว่า 140 ครั้ง สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจไทยสูงถึง $7,719 ล้าน PPP หรือคิดเป็น 0.82% ของ GDP ผลการคาดการณ์สภาพภูมิอากาศชี้ให้เห็นว่า ในอนาคต ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบจากอุณหภูมิที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และความแปรปรวนของปริมาณฝน รวมถึงตัวแปรภูมิอากาศอื่น ๆ ทั้งเชิงพื้นที่และเวลา หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ได้สะท้อนให้เห็นถึงความเสี่ยงที่ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบจากสภาวะสุดขั้วของลมฟ้าอากาศที่อาจเกิดบ่อยครั้งขึ้นและจะทวีความรุนแรงมากขึ้น และเหตุการณ์ที่มีจุดเริ่มต้นเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ ที่ส่งกระทบแบบสะสมและเพิ่มขึ้นในระยะยาว โดยเหตุการณ์เหล่านี้ล้วนสร้างความเสียหายต่อหลายภาคเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ เพื่อรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ต้องเร่งดำเนินการ ถึงแม้ว่าประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกเทียบเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.9 ของโลก การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะช่วยชะลอการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับชุมชน บทความนี้วิเคราะห์ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อภาคเศรษฐกิจที่สำคัญ รวมถึงวิเคราะห์ผลกระทบจากการดำเนินมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมทั้งนำเสนอปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในบริบทของประเทศไทย

อ่านบทความทั้งหมดที่นี่ https://www.pier.or.th/abridged/2021/15/

โลกร้อนอาจทำเศรษฐกิจไทยพัง! GDP ลด 40% 


ที่มา: Executive Espresso EP.352, Jun 23, 2022
ร่วมเปลี่ยนแปลงโลกกับเรา
UN Global Compact
Network Thailand
APPLY FOR MEMBERSHIP
เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ เราใช้คุกกี้เพื่อเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และการใช้งานของเว็บไซต์เพื่อปรับปรุง ปรับแต่งเนื้อหา และโฆษณาตามความต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้ เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์ และ นโยบายสิทธิส่วนบุคคล
Subscribe
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถปรับแต่งการตั้งค่าคุกกี้ในแต่ละประเภทได้ดังต่อไปนี้
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่จำเป็นต่อการให้บริการ
(Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการบนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่จะช่วยให้ท่านสามารถเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยของเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้เพื่อการวัดผลการทำงานและฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์
(Performance and Functionality Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะถูกใช้เพื่อจดจำท่านเมื่อท่านกลับเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้ง ช่วยให้เราปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะกับท่านและจดจำการตั้งค่าของท่าน (เช่น ภาษาหรือภูมิภาคที่ท่านเลือก) แต่ไม่จำเป็นต่อการวัดผลการทำงานของเว็บไซต์
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์หรือเพื่อการปรับแต่ง
(Analytical or Customization Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ใช้งานเข้าสู่เว็บไซต์และออกจากเว็บไซต์ เราใช้ข้อมูลนี้ในลักษณะของข้อมูลโดยรวมเพื่อช่วยให้เราปรับปรุงวิธีการทำงานของเว็บไซต์ หรือเพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราตามความสนใจของท่านได้