6 แนวทางการลดก๊าซเรือนกระจกของเครือซีพีเพื่อมุ่งสู่ Net Zero Emissions

Environment

ท่ามกลางความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่กำลังส่งผลถึงความเสี่ยงในการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งเป็นต้นทางของทรัพยากรและต้นทุนธรรมชาติ (Nature Capital) ของอุตสาหกรรมอาหารที่ทั่วโลกต่างต้องพึ่งพาผลผลิตในการดำรงชีวิต

บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด โดยคุณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร ได้วางเป้าหมายด้านความยั่งยืนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ที่จะก้าวข้ามผ่านความท้าทายนี้ เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับโลก และรักษาสมดุลทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

โดยประกาศ
เป้าหมายที่จะเป็นองค์กรที่เป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ภายในปี ค.ศ. 2030 และมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายในปี ค.ศ. 2050 ถือเป็นการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ครั้งสำคัญ เพื่อบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมและชีวิตความเป็นอยู่ของทุกคน เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนเป้าหมายประเทศไทย และเป้าหมายของโลกตามความตกลงปารีส (Paris Agreement)

ในฐานะภาคเอกชนที่มีการดำเนินธุรกิจอยู่ใน 22 ประเทศทั่วโลก ใน 8 สายธุรกิจ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ตระหนักดีถึงพลังของภาคธุรกิจที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลง และปฏิบัติการในครั้งนี้ ไม่ได้จำกัดขอบเขตอยู่เพียงการประกอบธุรกิจของเครือเจริญโภคภัณฑ์เท่านั้น แต่ยังสนับสนุนให้คู่ค้าธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทาน ร่วมดำเนินการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเตรียมรับมือกับความเสี่ยงด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ผ่านการดำเนินงานอย่างจริงจังที่เห็นผลเป็นรูปธรรม



ปัจจุบันเครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้กำหนดแนวทางการลดก๊าซเรือนกระจก 6 ประเด็นหลัก 

  • ลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล 
  • พัฒนาการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยเน้นการปรับปรุงระบบ เพื่อไม่ให้สูญเสียพลังงานที่ไม่จำเป็น
  • จัดการของเสียด้วยการนำไปใช้ใหม่ให้เกิดประโยขน์แทนการฝังกลบ 
  • พัฒนาระบบโลจิสติกส์และการขนส่ง โดยเปลี่ยนมาใช้รถ EV หรือระบบขนส่งที่มีคาร์บอนต่ำ
  • ลดก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมในภาคการเกษตร โดยพัฒนาระบบ Smart Farming ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • ฟื้นฟูและเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ เพื่อรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ และคงประสิทธิภาพในการเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอน

กลุ่มธุรกิจต่างๆ ภายในเครือเจริญโภคภัณฑ์ เปลี่ยนมาใช้พลังงานหมุนเวียนมากขึ้น โดยได้ดำเนินการติดตั้งระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop) ทั้งที่โรงงานผลิตอาหารสัตว์ โรงงานแปรรูปอาหาร ฟาร์ม ศูนย์กระจายสินค้า อาคารสำนักงาน สถานีขนส่งสัญญาณ ไปจนถึงร้านสะดวกซื้อ และยังเพิ่มการใช้พลังงานจากชีวมวล ด้วยการผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลไก่และมูลสุกรใช้ทดแทนพลังงานไฟฟ้าในฟาร์ม และจากของเสียในระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงานแปรรูปอาหาร

จากการดำเนินงานที่ผ่านมา ปัจจุบันสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ อยู่ที่ ร้อยละ12 สามารถใช้พลังงานหมุนเวียนได้ 7.07 ล้านกิกะจูล ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 1.07 ล้านตันคาร์บอน
ไดออกไซด์เทียบเท่า

เครือเจริญโภคภัณฑ์ ยังมีแนวทางจัดการของเสียด้วยการนำกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์ ทดแทนการฝังกลบ โดยได้กำหนดเป้าหมายว่าจะลดของเสียและขยะอาหารที่ส่งไปกำจัดที่หลุมฝังกลบเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2030 โดยได้เริ่มแล้วกับขยะอาหาร ที่เป็นปัญหาสำคัญของธุรกิจภาคค้าปลีก มีการนำขยะอาหารไปใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์ทดแทนการฝังกลบ เช่น นำไปหมักเป็นสารบำรุงดิน หรือนำไปทำเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ หรือส่งมอบให้กับหน่วยงานที่มีความต้องการเพื่อนำไปเป็นอาหารสัตว์ ซึ่งเป็นจำนวน 4,091 ตันหรือคิดเป็นร้อยละ 7 ของขยะอาหารทั้งหมด

ในการขนส่งกระจายสินค้า เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้พัฒนาระบบกรีนโลจิสติกส์และปรับเปลี่ยนวิธีการขนส่ง โดยเปลี่ยนขนาดรถขนส่งให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งสามารถบรรจุได้มากขึ้นต่อเที่ยวร้อยละ 30 ทำให้สามารถลดจำนวนการใช้รถขนส่ง และลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง และยังมีการพัฒนาระบบ K-Track เพื่อติดตามเส้นทางการขับขี่ด้วย GPS โดยระบบจะคำนวณเส้นทางและความเร็วที่เหมาะสมเพื่อการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพให้กับพนักงานบริการ รวมถึงกำลังขยายการดำเนินการเปลี่ยนมาใช้รถ EV ทดแทนรถแบบใช้พลังงานเชื้อเพลิง 

นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยได้นำหลักการในการทำเกษตรกรรมแบบอัจฉริยะ (Climate Smart Agriculture) เพื่อรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ มาเป็นแนวทางการพัฒนาธุรกิจ



เช่น การปรับปรุงสูตรอาหารที่นำมาใช้เลี้ยงสัตว์ เพื่อลดการปล่อยก๊าซ
ไนตรัสออกไซด์จากมูลสัตว์ เทียบเท่าได้กับการลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์กว่า 100,000 ตันต่อปี และจะนำเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างบล็อกเชน โดรนเพื่อการเกษตร และภาพถ่ายดาวเทียมมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ รวมไปถึงช่วยลดปริมาณขยะ และการสร้างความโปร่งใสในทุกขั้นตอนตลอดห่วงโซ่อุปทาน ทั้งในส่วนของภาคเกษตรกรรมและผลิตภัณฑ์เพื่อการปศุสัตว์

คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด กล่าวว่า นวัตกรรมระหว่างประเทศ รวมไปถึงความร่วมมือกันผ่านโครงการต่างๆ ทำให้เราเชื่อว่าธุรกิจสามารถแบ่งปันประสบการณ์ในการสร้างสรรค์วิธีการแก้ปัญหาให้กับภารกิจที่ยิ่งใหญ่ได้

โดยเฉพาะการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในห่วงโซ่คุณค่า จำเป็นที่จะต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างองค์กร สถาบันทางการเงิน และภาครัฐในการจัดหาทุน การให้ความรู้และฝึกทักษะใหม่ๆ รวมไปถึงการมอบเทคโนโลยีในการช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยและธุรกิจ SME เพื่อบรรลุเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ องค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ คือกำลังสำคัญในการให้ความร่วมมือและสนับสนุนสตาร์ทอัพที่มุ่งเน้นพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาความยั่งยืนต่อไป”

เครือเจริญโภคภัณฑ์ ยังร่วมสร้างสมดุลของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ ด้วยการฟื้นฟูป่าไม้ ให้ยังคงความอุดมสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ตามเดิม โดยตั้งเป้าหมายที่จะปลูกต้นไม้ให้ได้จำนวน 20 ล้านต้น ภายในปี ค.ศ. 2050 ปัจจุบันได้ปลูกและอนุรักษ์ป่าไม้ทั่วโลกไปแล้ว 10.4 ล้านต้น โดยติดตามผลด้วยโดรน และ AI ตรวจดูการเจริญเติบโต และตรวจดูการกักเก็บคาร์บอนของต้นไม้โดยใช้ข้อมูลดาวเทียม ทำงานควบคู่ไปกับคนในพื้นที่
ร่วมเปลี่ยนแปลงโลกกับเรา
UN Global Compact
Network Thailand
APPLY FOR MEMBERSHIP
เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ เราใช้คุกกี้เพื่อเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และการใช้งานของเว็บไซต์เพื่อปรับปรุง ปรับแต่งเนื้อหา และโฆษณาตามความต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้ เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์ และ นโยบายสิทธิส่วนบุคคล
Subscribe
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถปรับแต่งการตั้งค่าคุกกี้ในแต่ละประเภทได้ดังต่อไปนี้
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่จำเป็นต่อการให้บริการ
(Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการบนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่จะช่วยให้ท่านสามารถเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยของเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้เพื่อการวัดผลการทำงานและฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์
(Performance and Functionality Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะถูกใช้เพื่อจดจำท่านเมื่อท่านกลับเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้ง ช่วยให้เราปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะกับท่านและจดจำการตั้งค่าของท่าน (เช่น ภาษาหรือภูมิภาคที่ท่านเลือก) แต่ไม่จำเป็นต่อการวัดผลการทำงานของเว็บไซต์
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์หรือเพื่อการปรับแต่ง
(Analytical or Customization Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ใช้งานเข้าสู่เว็บไซต์และออกจากเว็บไซต์ เราใช้ข้อมูลนี้ในลักษณะของข้อมูลโดยรวมเพื่อช่วยให้เราปรับปรุงวิธีการทำงานของเว็บไซต์ หรือเพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราตามความสนใจของท่านได้