จับตางานใหญ่แห่งปี GCNT Forum 2022
ภาคธุรกิจแสดงพลัง เร่งปกป้องระบบนิเวศ ร่วมขับเคลื่อนเป้าหมายประเทศ
สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (GCNT : Global Compact Network Thailand) ร่วมกับสหประชาชาติในประเทศไทย เตรียมจัดงานประชุมผู้นำความยั่งยืนประจำปี GCNT Forum 2022 ภายใต้แนวคิด Accelerating Business Solutions to Tackle Climate & Biodiversity Challenges รวมพลังสมาชิก ภาคธุรกิจ เร่งเพิ่มมาตรการรับมือกับวิกฤตจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565 เวลา 9.30 – 17.00 น. โดยมีนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้เกียรติเป็นประธาน เชิญชวนผู้สนใจลงทะเบียนร่วมงานผ่านแพล็ตฟอร์มออนไลน์ ได้แล้ววันนี้
นางสาวธันยพร กริชติทายาวุธ ผู้อำนวยการ GCNT เปิดเผยว่า GCNT ร่วมกับ UN in Thailand และองค์กรสมาชิกกว่า 110 องค์กร รวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งไทยและต่างประเทศ ตระหนักดีว่าภาคเอกชนจะเป็นเครื่องจักรขับเคลื่อนที่สำคัญในการร่วมบรรเทาและแก้ไขปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งขณะนี้ถือเป็นหนึ่งในวิกฤตที่สำคัญของโลก ในการประชุมปีนี้ สมาชิก GCNT ร่วมกับทุกภาคส่วน จึงเร่งเพิ่มมาตรการรับมือกับวิกฤตดังกล่าว รวมทั้งเตรียมประกาศเจตนารมณ์ความร่วมมือที่เป็นรูปธรรม วัดผล และขยายผลได้เพื่อนำไปสู่ทางออกระดับประเทศและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเป้าหมายของประเทศไทยในเรื่องนี้ ซึ่งคาดว่าจะมีการเคลื่อนไหวครั้งสำคัญและการแสดงความมุ่งมั่นของผู้นำทั่วโลก ในงาน COP27 และ COP15 ที่จะมีขึ้นในช่วงปลายปีนี้
GCNT Forum 2022 จะจัดขึ้นในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565 เวลา 9.30 – 17.00 น. ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติตามรูปแบบการประชุมอย่างยั่งยืน (Sustainable Event) โดยสอดคล้องกับแนวทางของสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. (Thailand Convention & Exhibition Bureau หรือ TCEB) โดยมีนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้เกียรติเป็นประธานในงาน พร้อมด้วยนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายศุภชัย เจียรวนนท์ นายกสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทยและประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ นางกีต้า ซับบระวาล ผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทย นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ดร. ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และผู้นำจากองค์กรธุรกิจชั้นนำ อาทิ บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จํากัด บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เอ็น อาร์ อินสแตนท์โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จํากัด บริษัท ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ลอรีอัล ประเทศไทย จำกัด บริษัท แพรนด้า จิวเวลรี่ จำกัด (มหาชน) บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) บริษัท เอส
ซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยวา จำกัด (มหาชน)
Concept note & Agenda [EN]
Registration link for onsite: GCNT Members Only https://indico.un.org/event/1003022/
Concept note & Agenda [TH]
ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดและลงทะเบียนเข้าร่วมงาน ผ่านทางแพล็ตฟอร์มออนไลน์ได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายที่ https://lnkd.in/gHFupQCG หรือแสกน QR Code
###
สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (GCNT - Global Compact Network Thailand): เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนธันวาคม 2561 โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งในไทย 15 บริษัท ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 110 องค์กร โดยสมาคมฯ นับเป็นหนึ่งในเครือข่ายท้องถิ่น (Local Network) ของโครงการสำคัญในระดับโลกของสหประชาชาติ หรือ UN Global Compact ซึ่งเป็นเครือข่ายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในโลก รณรงค์ให้ภาคเอกชนทั่วโลกวางกลยุทธ์และยึดหลักการทำงานที่สร้างเศรษฐกิจยั่งยืน ภายใต้หลักสากล 10 ประการ ครอบคลุม 4 ด้าน ได้แก่ สิทธิมนุษยชน มาตรฐานแรงงาน สิ่งแวดล้อม การต่อต้านทุจริต ตลอดจนดำเนินกิจกรรมที่ช่วยผลักดันเป้าหมายสหประชาชาติ อาทิ เป้าหมายว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) รวมไปถึงความตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Paris Agreement)
สหประชาชาติในประเทศไทย (United Nations in Thailand): สหประชาชาติทำงานร่วมกับรัฐบาลไทยและประชาชนไทยมากว่า 50 ปี เพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ครอบคลุมและยั่งยืน โดยยึดตามวาระสำคัญและแผนงานระดับชาติ ทีมสหประชาชาติประจำประเทศประกอบด้วยหน่วยงานของสหประชาชาติ 21 หน่วยงาน ซึ่งต่างดำเนินโครงการและกิจกรรมเฉพาะด้านในประเทศไทย ผ่านความร่วมมือกับรัฐบาลไทย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระดับชาติ ภาคประชาสังคม สถาบันการศึกษา ภาคเอกชนผู้บริจาค และสื่อมวลชน และยังทำงานอย่างใกล้ชิดกับคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (เอสแคป) อีกด้วย