หัวใจในการสร้างเยาวชนของคอนคอร์เดียน โรงเรียนที่ขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงด้วยการเรียนรู้

Article



แม้ทุกวันนี้เราจะอยู่ในโลกแห่งเทคโนโลยีที่ผู้คนสามารถใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกสบาย แต่ภายใต้นวัตกรรม
อันล้ำหน้า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัญหาสิ่งแวดล้อมถูกคุกคามกำลังทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น สิ่งที่ผู้ใหญ่อย่างเราควรตั้งถามคือ เราจะเตรียมความพร้อมให้เยาวชนเติบโตอย่างแข็งแกร่งในสังคมที่ขยับไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว


ในวันที่โลกเชื่อมต่อกันอย่างไร้พรมแดน การสร้างพลเมืองโลกที่มีคุณภาพ อาจต้องบ่มเพาะกันตั้งแต่พวกเขา
ยังเป็นต้นกล้าต้นเล็ก ค่อยๆ รดน้ำ พรวนดิน ปลูกฝังความความรู้ทางวิชาการแล้ว พร้อมๆ ไปกับความรอบรู้ทางความคิดและการใช้ชีวิตอย่างสมดุล 

เราได้พูดคุยกับคุณวรรณี เจียรวนนท์ รอสส์ ผู้อำนวยการโรงเรียนนานาชาติคอนคอร์เดียน หรือ Concordian International School) ถึงวิสัยทัศน์การสร้าง “โรงเรียน” ที่ไม่ใช่แค่ “ห้องเรียน” สี่เหลี่ยม แต่คือพื้นที่ไร้กำแพงที่เด็กๆ ได้เรียนรู้และเติบโตอย่างเข้าใจตัวเอง เข้าใจผู้คนรอบข้างและสังคม ไปจนถึงเข้าใจโลกกว้างใหญ่ไร้พรมแดนใบนี้




01 บทเรียนสู่ความเข้าใจเพื่อนมนุษย์

นับตั้งแต่วันแรกของการก่อตั้งโรงเรียน คอนคอร์เดียนยังคงยึดมั่นในปณิธานที่ตั้งไว้ไม่เคยเปลี่ยนแปลง นั่นคือ บ่มเพาะการศึกษาที่ดีเลิศ ไปพร้อมกับการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และที่สำคัญที่สุด คือ เมตตาธรรม 

ไม่มีอะไรการันตีว่า นักเรียนที่เก่งที่สุด เข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกได้ จะประสบความสำเร็จ เพราะความสำเร็จของชีวิตนั้นมีหลากมิติ เช่นเดียวกับความรู้ที่มีหลายแขนง คำถาม คือ เมื่อคนๆ หนึ่งมีความรู้ที่ดีเลิศแล้ว 

คุณเอามันไปใช้ทำอะไรต่างหาก เมื่อคนๆ หนึ่งมีคุณธรรม ถูกปลูกฝังให้มีความเห็นอกเห็นใจ ก็ยากที่คนๆ นั้นจะนำความรู้ความสามารถของตนไปใช้เอาเปรียบผู้อื่น ในช่วงร้อยปีที่ผ่านมา ถ้าไปอ่านประวัติศาสตร์ดู จะรู้ว่าคนที่ทำให้โลกยุ่งเหยิงล้วนเป็นคนที่การศึกษาสูงทั้งนั้น” 




คุณวรรณีอธิบายถึงการเรียนการสอนของคอนคอร์เดียน ที่นำหลักสูตร IB Leaner Profile มาใช้ ซึ่งหลักสูตรนี้ไม่เพียงเน้นการบ่มเพาะพลเมืองโลกและผู้นำที่ดี แต่ยังมีหัวใจที่สอดคล้องกับปณิธานของคอนคอร์เดียน ซึ่งเน้นการปฏิบัติและปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นด้วยใจที่เปิดกว้าง โดยนักเรียนแต่ละคนจะได้เรียนมากกว่า 1 ภาษา เพราะเชื่อว่าภาษาจะช่วยเปิดโลกไปสู่ความเข้าใจในความหลากหลายของมนุษย์ 

ในภาษาต่างๆ มีวัฒนธรรมที่หลากหลายซ่อนอยู่ในนั้น บางคำไม่มีคำแปลในทุกภาษาด้วยซ้ำ อย่างคำว่า Ambitious ซึ่งมีความหมายเชิงบวกในภาษาอังกฤษ  สื่อถึงความมุ่งมั่นไม่ย่อท้อ ให้ไปถึงจุดหมายที่หวังไว้ แต่ในภาษาไทยกลับแปลว่า ทะเยอทะยาน หรือ มักใหญ่ใฝ่สูง ซึ่งเป็นความหมายเชิงลบ ความแตกต่างของความหมายในคำเหล่านี้ แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างในการดำเนินชีวิตของผู้คนแต่ละภาษาและวัฒนธรรม ดังนั้น การมีความเข้าใจในหลายภาษา จึงเป็นเหมือนหน้าต่างหลายๆ บาน ที่ทำให้เราเข้าใจโลกได้กว้างขึ้น เข้าใจผู้คนในวัฒนธรรมอื่นๆ ได้ลึกซึ้งขึ้น”




02 เรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ

นอกจากวิชาเรียนปกติ นักเรียนคอนคอร์เดียนจะต้องทำโครงงานที่เรียกว่า Group Work ซึ่งมีความต่อเนื่องกันประมาณ 6 ครั้งต่อปี นั่นเท่ากับว่าทุก 6 สัปดาห์ เด็กๆ จะได้เริ่มต้นโครงงานชิ้นใหม่กับเพื่อนกลุ่มใหม่อยู่เสมอ 

“การฝึกทำงานกับเพื่อนหลายกลุ่ม ทำให้เด็กๆ เรียนรู้ว่าในสังคมของเรา ประกอบไปด้วยคนหลายแบบ มีทั้งเพื่อนที่ขยันสุดๆ หรือเพื่อนที่ทำบางอย่างไม่เป็น การทำโครงงานลักษณะนี้ จะฝึกให้เขามองหาข้อดีของคนอื่นๆ โดยอัตโนมัติ งานกลุ่มจะเดินหน้า เมื่อเราเคารพว่าทุกคนมีความสามารถ ความสนใจ และความเชี่ยวชาญแตกต่างกัน”

คุณวรรณีเล่าถึงการทำโครงงานว่า  เด็กๆ จะค้นคว้าวิจัยกันอย่างหนัก โดยคอนคอร์เดียนมี Database ขนาดใหญ่  ซึ่งประกอบไปด้วยข้อมูลและชุดความรู้จากทั่วโลกให้นักเรียนสามารถเข้าไปใช้งานได้ โดยผลพลอยได้จากการทำโครงงานไม่เพียงฝึกให้เด็กอ่านหนังสือเป็น แต่พวกเขาจะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้นเป็นด้วย เพราะทุกวันนี้ความรู้มีอยู่ทั่วไปไร้ขีดจำกัด นับเป็นความโชคดีของคนเจเนอร์เรชั่นปัจจุบัน




“ตอนลูกชายดิฉันยังเล็ก เขาต้องค้นข้อมูลเรื่องนักสำรวจอาณานิคมที่ชื่อ กับตันเจมส์ คุ๊ก ผู้ค้นพบประเทศนิวซีแลนด์ ข้อมูลจากแต่ละที่บอกเล่าเรื่องราวของกัปตันคนนี้แตกต่างกัน บทความแรก บอกว่าเขาเป็นฮีโร่ที่เก่งกาจ บทความที่สองและสามก็ยังชื่นชม แต่พอมาถึงบทความที่สี่ มันเริ่มมีข้อมูลแง่มุมอื่นๆ อย่างการที่เขาค้าทาสและ
ทำสงครามกับคนพื้นเมือง

“ดิฉันจึงถามลูกชายว่าเขาคิดอย่างไร สรุปการสำรวจอาณานิคมเป็นสิ่งที่ดีหรือแย่ สิ่งที่เด็กประถมตอบกลับมาทำให้ดิฉันทึ่งมาก ลูกชายอธิบายว่าใครได้ประโยชน์ย่อมเห็นมันเป็นเรื่องดี ในขณะที่คนเสียประโยชน์ย่อมมองเป็นเรื่องเลวร้าย ในมุมมองของเขาการล่องเรือออกไปสำรวจ แสวงหาทรัพยากรใหม่ๆ มันก็ดีนะ แต่ทำไมนักสำรวจอาณานิคมบางคนต้องพรากเอาของๆ คนพื้นเมืองมาจนหมด ทำไมจึงไม่แบ่งปันกัน ทำไมไม่เอาเทคโนโลยีไปแลกกับทรัพยากร นี่คือสิ่งที่เด็ก ป.5 (10 ขวบ)  คิดและวิเคราะห์ได้จากการอ่านและทำความเข้าใจเรื่องราวในหลากมิติ” คุณวรรณีกล่าวพร้อมรอยยิ้ม




03 ทุกสิ่งที่เราทำ ส่งผลต่อสังคมและโลกเสมอ

ทุกครั้งที่ทำโครงงาน จะมีส่วน reflection ที่เด็กๆ ต้องสะท้อนให้เห็นว่าสิ่งที่ทำนั้นส่งผลต่อสังคมอย่างไร คุณจะลงมือทำอะไรกับเรื่องนี้ 

เคยมีนักเรียนทำโครงงานเรื่องสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ ทั้งสัตว์บกที่ถูกล่าไปทำขนสัตว์ หรือสัตว์ทะเลอย่างฉลามที่ถูกฆ่าแค่เพื่อหูฉลามเมนูเดียว สรุป คือเด็กคนนั้นตั้งปณิธานว่าจะไม่กินหูฉลามอีกเลยตลอดชีวิต ที่น่าประทับใจ คือเขาไปโน้มน้าว อธิบายข้อมูลที่เขาทำโครงงานให้ญาติพี่น้อง จนทั้งครอบครัวเลิกธรรมเนียมกินหูฉลามไปเลย”


คุณวรรณีอธิบายว่า
reflection นั้นไม่มีข้อจำกัด การช่วยเหลือมีได้หลายรูปแบบ ไร้กระบวนท่า เด็กบางคนอาจลงมือทำด้วยตัวเอง อย่างการไปเก็บขยะ ไปสอนหนังสือน้องๆ ด้อยโอกาส ส่วนบางคนเลือกสนับสนุนคนที่ทำงานแก้ปัญหาสังคมนั้นๆ อยู่แล้ว จึงเปิดรับบริจาค ทำ Fund raising เพื่อนำเงินไปมอบมูลนิธิ ในขณะที่บางคนรู้สึกว่าปัญหานี้ต้องถูกสร้างความตระหนัก เขาก็จะคิดแคมเปญสื่อสารออนไลน์  รวมถึงทำโปสเตอร์ไปติดประกาศให้ทั้งโรงเรียนรู้




เด็กที่มาจากครอบครัวฐานะดี เขามีโอกาสเติบโตไปเป็นเจ้าของธุรกิจ ลองคิดดูว่าผู้บริหารธุรกิจรุ่นปู่ย่าตายายหรือแม้แต่พ่อแม่ของเขา อาจไม่เข้าใจเรื่องสิ่งแวดล้อมเลย จนกระทั่งมาถึงรุ่นของเด็กคนนี้ เขาเติบโตมาพร้อมการบ่มเพาะให้เข้าใจตัวเองและสังคมรอบข้าง เวลาจะตัดสินใจอะไร เขาจะคำนึงถึงเรื่องพวกนี้เสมอ ก่อนจะไปซื้อรถสปอร์ต เขาจะอนุมัติการปรับปรุงระบบบำบัดมลพิษ เปลี่ยนโรงงานทั้งหมดเป็นพลังงานสะอาด

การขับเคลื่อนเรื่องสิ่งแวดล้อมจะเกิดขึ้นอย่างจริงจัง ก็ต่อเมื่อผู้บริหารและครูบาอาจารย์เชื่อจริงๆ และความเชื่อเหล่านั้นมันจะยิ่งทรงพลัง เมื่อถูกปลูกฝังไว้ตั้งแต่ยังเด็ก”




04 การสอนที่สะท้อนกลับมาเป็นบทเรียน

คุณวรรณีกล่าวทิ้งท้ายว่า สำหรับเธอสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการก่อตั้งและบริหารโรงเรียนมากว่า 20 ปี คือความเข้าใจถ่องแท้ถึงคำว่าเด็กคือผ้าขาว ซึ่งไม่ใช่แค่นิยาม และมันคือความจริงอย่างที่สุด

สิ่งแวดล้อมรอบตัวคือสิ่งที่หล่อหลอมว่าเด็กคนหนึ่งจะเติบโตมาอย่างไร มีทั้งสิ่งแวดล้อมที่ชักจูงไปสู่หนทางที่ดี และสิ่งแวดล้อมที่ชี้นำไปสู่เส้นทางที่ไม่ดี และถ้าเด็กสักคนหนึ่งบังเอิญเกิดมาในครอบครัวที่สิ่งแวดล้อมไม่ดีนัก โรงเรียนคือที่ๆ จะต้องเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมรอบตัวเขาไปสู่ทางที่ดีงาม เด็กทุกคนมีสิ่งพิเศษ และหน้าที่ของครูอย่างเรา คือต้องไปค้นหาและฟูมฟักความพิเศษนั้น มอบความภาคภูมิใจให้เขา ดิฉันเชื่อว่าเด็กทุกคนเป็นดอกไม้ที่รอการเบ่งบาน แต่ละคนมีช่วงเวลาที่ต่างกัน บางคนจบจากเราไปนานแล้ว จึงถึงเวลาเบ่งบานของเขา”





เราปรับ โลกเปลี่ยน
#NextGeneration


เพราะเราทุกคน เปลี่ยน” โลกให้ดีขึ้นได้  
พบหลาก idea หลาย action ของคนรุ่นใหม่ที่ลุกขึ้นมา “ปรับ”
คิดแล้วลงมือทำ เพื่อร่วมกันสร้างโลกให้ยั่งยืน

GCNT ขอเชิญติดตาม เราปรับ โลกเปลี่ยน
เผยแพร่ระหว่าง ก.ย.-พ.ย. 65

ทุกวันพุธ  
TNN
       หลังข่าวพระราชสำนัก เวลา 20.10-20.30 น  (โดยประมาณ)
               Rerun  วันศุกร์ ระหว่าง 10.40-11.00 น. (โดยประมาณ)

True4U  ก่อนเข้าข่าวพระราชสำนัก  เวลา 19.57 น. 
                Rerun วันจันทร์ 07.56 น. (ในสัปดาห์ถัดไป) 

GCNT FacebookGlobal Compact Network Thailand
GCNT YoutubeGlobal Compact Network Thailand

 

ทุกวันศุกร์ 
เพจมนุษย์เงินเดือนพันธุ์ใหม่ และ 
https://thepractical.co/category/sustainability/ 

ทุกวันเสาร์ 

Global Compact Network Thailand Website
https://globalcompact-th.com/news/media


#WeShiftWorldChange  #NextGeneration  #เราปรับโลกเปลี่ยน  #ทุกคนเปลี่ยนโลกให้ดีขึ้นได้











ร่วมเปลี่ยนแปลงโลกกับเรา
UN Global Compact
Network Thailand
APPLY FOR MEMBERSHIP
เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ เราใช้คุกกี้เพื่อเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และการใช้งานของเว็บไซต์เพื่อปรับปรุง ปรับแต่งเนื้อหา และโฆษณาตามความต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้ เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์ และ นโยบายสิทธิส่วนบุคคล
Subscribe
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถปรับแต่งการตั้งค่าคุกกี้ในแต่ละประเภทได้ดังต่อไปนี้
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่จำเป็นต่อการให้บริการ
(Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการบนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่จะช่วยให้ท่านสามารถเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยของเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้เพื่อการวัดผลการทำงานและฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์
(Performance and Functionality Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะถูกใช้เพื่อจดจำท่านเมื่อท่านกลับเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้ง ช่วยให้เราปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะกับท่านและจดจำการตั้งค่าของท่าน (เช่น ภาษาหรือภูมิภาคที่ท่านเลือก) แต่ไม่จำเป็นต่อการวัดผลการทำงานของเว็บไซต์
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์หรือเพื่อการปรับแต่ง
(Analytical or Customization Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ใช้งานเข้าสู่เว็บไซต์และออกจากเว็บไซต์ เราใช้ข้อมูลนี้ในลักษณะของข้อมูลโดยรวมเพื่อช่วยให้เราปรับปรุงวิธีการทำงานของเว็บไซต์ หรือเพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราตามความสนใจของท่านได้