ปตท.สผ. ร่วมขับเคลื่อนการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนในงานประชุม COP28

Environment

ปตท.สผ. เป็นหนึ่งในภาคเอกชนไทย เข้าร่วมการประชุมระดับโลกว่าด้วยสภาพภูมิอากาศ COP28 ณ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยให้พันธสัญญา 3 ข้อหลักเพื่อช่วยลดปัญหาสภาวะโลกร้อน และแลกเปลี่ยนมุมมองการดำเนินงานกับบริษัทพลังงาน ผู้นำองค์กรภาคธุรกิจ และองค์กรด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อการลดก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นรูปธรรม

นายมนตรี ลาวัลย์ชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เปิดเผยว่า ปตท.สผ. ได้ร่วมกับบริษัทด้านพลังงานจากทั่วโลกให้พันธสัญญาว่าด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ (Oil & Gas  Decarbonization Charter) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในงานประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 28 (COP28) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน - 12 ธันวาคม 2566 ที่นครดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดย ปตท.สผ. ได้ให้พันธสัญญาใน 3 เรื่องที่สำคัญซึ่งจะส่งผลต่อการมีส่วนร่วมจัดการกับปัญหาภาวะโลกร้อน ได้แก่ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 ตามเป้าหมายที่บริษัทตั้งไว้ การปล่อยก๊าซมีเทนจากกระบวนการผลิตปิโตรเลียมให้ใกล้ศูนย์มากที่สุด และการปล่อยก๊าซส่วนเกินจากกระบวนการผลิตปิโตรเลียมเป็นศูนย์ (Zero Routine Flare) ภายในปี 2573 ตามกำหนดใน "Zero Routine Flaring by 2030" โดยเวิร์ลแบงก์ นอกจากนี้ บริษัทยังได้เข้าร่วมการประชุม Business & Philanthropy Climate Forum กับกว่า 500 ผู้นำองค์กรภาคธุรกิจและองค์กรด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมจากทั่วโลก เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนอย่างเป็นรูปธรรม 

ในการประชุมครั้งนี้ ปตท.สผ. ได้ร่วมจัดแสดงข้อมูลภายในบูธ Thailand Pavilion ซึ่งจัดขึ้นโดยกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมของไทย เกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานของบริษัทในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2593 ผ่านแนวคิด EP Net Zero 2050 โดยใช้เทคโนโลยีการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ CCS (Carbon Capture and Storage) การบริหารจัดการการปล่อยก๊าซมีเทน การนำเทคโนโลยี Smart Forest Solution มาใช้ในการบริหารจัดการพื้นที่สีเขียว รวมทั้ง การพัฒนาตลาดคาร์บอนเครดิต  


นอกจากนี้ ผู้บริหาร ปตท.สผ. ได้ร่วมแสดงวิสัยทัศน์และแลกเปลี่ยนมุมมองในการเสวนาของกิจกรรมคู่ขนาน (Side Event) ที่บูธ Thailand Pavilion เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ เช่น การพัฒนาเทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน หรือ CCUS (Carbon Capture, Utilization and Storage) ซึ่งเป็นแนวทางที่สำคัญในการช่วยลดภาวะโลกร้อน การริเริ่มนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ในการดำเนินงาน การพัฒนาพลังงานแห่งอนาคต เช่น ไฮโดรเจน รวมถึงการฟื้นฟูดูแลความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งอาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐานในการช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อน ควบคู่ไปกับการดำเนินกิจกรรมอื่น ๆ ของบริษัทเพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ร่วมเปลี่ยนแปลงโลกกับเรา
UN Global Compact
Network Thailand
APPLY FOR MEMBERSHIP
เกี่ยวกับคุกกี้บนเว็บไซต์นี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ เราใช้คุกกี้เพื่อเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และการใช้งานของเว็บไซต์เพื่อปรับปรุง ปรับแต่งเนื้อหา และโฆษณาตามความต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้ เงื่อนไขการใช้งานเว็บไซต์ และ นโยบายสิทธิส่วนบุคคล
Subscribe
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุณสามารถปรับแต่งการตั้งค่าคุกกี้ในแต่ละประเภทได้ดังต่อไปนี้
จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่จำเป็นต่อการให้บริการ
(Strictly Necessary Cookies)
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการบนเว็บไซต์ของเรา ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่จะช่วยให้ท่านสามารถเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัยของเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้เพื่อการวัดผลการทำงานและฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์
(Performance and Functionality Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้จะถูกใช้เพื่อจดจำท่านเมื่อท่านกลับเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้ง ช่วยให้เราปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะกับท่านและจดจำการตั้งค่าของท่าน (เช่น ภาษาหรือภูมิภาคที่ท่านเลือก) แต่ไม่จำเป็นต่อการวัดผลการทำงานของเว็บไซต์
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์หรือเพื่อการปรับแต่ง
(Analytical or Customization Cookies)
คุกกี้ประเภทนี้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่ผู้ใช้งานเข้าสู่เว็บไซต์และออกจากเว็บไซต์ เราใช้ข้อมูลนี้ในลักษณะของข้อมูลโดยรวมเพื่อช่วยให้เราปรับปรุงวิธีการทำงานของเว็บไซต์ หรือเพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราตามความสนใจของท่านได้